12 พิพิธภัณฑ์ในไทย แหล่งเรียนรู้ชั้นดีที่น่าไปเยือนสักครั้ง
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ภาพจาก thebigland / Shutterstock.com

ภาพจาก Kritthaneth / Shutterstock.com
ที่อยู่ : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงละครแห่งชาติ)
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม : คนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท ยกเว้นค่าเข้าชมสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี นักเรียน นักศึกษาไทย ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2224 1370
เฟซบุ๊ก : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
2. มิวเซียมสยาม

ภาพจาก JOYFULLIFE / Shutterstock.com

ภาพจาก Photo APS / Shutterstock.com
ที่อยู่ : บริเวณท่าเตียน ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : นักเรียน นักศึกษา (อายุ 15 ปีขึ้นไป) 50 บาท, ผู้ใหญ่คนไทย 100 บาท ผู้ใหญ่ชาวต่างชาติ 200 บาท เยาวชนไทยและเยาวชนต่างชาติ อายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ผู้พิการ และทุพพลภาพ มัคคุเทศก์ (แสดงบัตรประจำตัวที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) เข้าชมฟรี
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2225 2777
เว็บไซต์ : m.museumsiam.org
เฟซบุ๊ก : Museum Siam
3. พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ภาพจาก Camera_Bravo / Shutterstock.com
ที่อยู่ : ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 พิพิธภัณฑ์ 3 รอบ/วัน, ห้องสมุด ใช้บริการได้ต่อเนื่องตั้งแต่ 09.30-19.00 น., ห้อง Idea Box ร้านกาแฟ เปิดบริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2356 7766
เฟซบุ๊ก : ศูนย์การเรียนรู้แบงก์ชาติ - BOTLC
เว็บไซต์ : botlc.or.th
4. พิพิธบางลำพู
ตั้งอยู่ตรงบริเวณถนนพระสุเมรุ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จะพาพวกเราทั้งหลายนั่งเครื่องย้อนเวลา ไปรำลึกเสน่ห์วิถีชีวิตชุมชนคนบางลำพูกันแบบไม่หมกเม็ด จุดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ อยู่ที่การออกแบบอาคารที่รองรับคนได้ทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็ก รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ ในส่วนของห้องจัดแสดงนิทรรศการ ประกอบไปด้วยในส่วนนิทรรศการเทิดพระเกียรติ และการทำงานของกรมธนารักษ์เป็นหลัก และในส่วนของนิทรรศการชุมชนบางลำพู ที่จะนำพาทุกคนย้อนกลับไปยังอดีตแบบเต็มตัว ทั้งในเรื่องของรูปแบบดีไซน์ การนำเสนอที่อิงบรรยากาศได้แบบสมจริง ตลอดจนการจำลองวิถีชีวิตชุมชนและย่านการค้าต่าง ๆ
ที่อยู่ : ถนนพระสุเมรุ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : วันอังคาร- ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. รอบเข้าชมรอบสุดท้าย 15.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 10.00-18.00 น. รอบเข้าชมรอบสุดท้าย 16.00 น.
ค่าเข้าชม : บุคคลทั่วไป บัตรราคา 50 บาท เด็ก/นักเรียน อายุ 10-18 ปี บัตรราคา 20 บาท บุคคลที่ยกเว้นค่าเข้าชม : ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2281 9828
เฟซบุ๊ก : พิพิธบางลำพู
5. พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน กรุงเทพฯ

ภาพจาก amnat30 / Shutterstock.com
ภายในพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ทันสมัย ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมทั้งสื่อนำเสนอและระบบการเข้าชม สามารถรองรับการเยี่ยมชมได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบหมู่คณะคราวละหลายร้อยคน หรือผู้สนใจที่มาแบบส่วนตัวก็ได้เช่นกัน

ที่อยู่ : ริมน้ำท่ารถไฟ โรงพยาบาลศิริราช ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันพุธ-จันทร์ (ปิดวันอังคาร) ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 25 บาท, ต่างชาติ 200 บาท
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2419 2618
เฟซบุ๊ก : Siriraj Museum - พิพิธภัณฑ์ศิริราช
เว็บไซต์ : si.mahidol.ac.th
6. พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ กรุงเทพฯ
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมและเก็บรักษาอากาศยาน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารที่เคยใช้ในกองทัพอากาศ ตลอดจนบริภัณฑ์ประจำตัวนักบิน เครื่องแบบ เอกสารและพัสดุสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการบิน อีกทั้งยังมีห้องสมุดประวัติศาสตร์การบินที่รวบรวมหนังสือ จดหมายเหตุ รูปภาพ และเอกสารทางประวัติศาสตร์ของกิจการบินไว้ให้ศึกษาค้นคว้า
อาคารจัดแสดงมีการแยกออกเป็นสัดส่วน ด้านซ้ายประกอบไปด้วยเครื่องบินรบแบบต่าง ๆ และนิทรรศการ "100 ปี การบินบุพการีทหารอากาศ" นอกจากนั้นยังมีเครื่องบินประเภทต่าง ๆ ที่หาชมที่ไหนไม่ได้จัดแสดง ขณะที่ส่วนด้านขวาคือส่วนที่จัดแสดงเครื่องบินรบสมรรถนะสูง
อาคาร 2 จัดแสดงอากาศยานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิด "บริพัตร" ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบแรกที่คนไทยออกแบบและสร้างเอง รวมทั้งมีห้องสมุดประวัติศาสตร์ด้านการบิน มีอาคารจัดแสดงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบิน เครื่องแบบทหารอากาศในอดีตและปัจจุบัน ส่วนใครที่อยากศึกษาเรื่องการบินจริงจังที่นี่มีห้องปรับบรรยากาศความกดดันต่ำ (Hypobaric Chamber) ที่จะจำลองสภาพบรรยากาศความกดดันต่ำเพื่อการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย
เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.30 น. (ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ค่าเข้าชม : ไม่มีค่าใช้จ่าย
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2534 1853
เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
7. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี

ภาพจาก Yes058 / Shutterstock.com
- พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ โดดเด่นด้วยการออกแบบอาคารที่ทันสมัย ภายในมีนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย ตลอดจนกิจกรรมที่ชวนค้นพบ ทดลอง และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ค้นพบความหลากหลายทางธรรมชาติอันน่าพิศวงของพืชและสัตว์
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เรียนรู้วิธีคิดและกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การคำนวณ และคอมพิวเตอร์
- พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก ในบทบาทความสัมพันธ์ของระบบนิเวศที่สำคัญของโลกและของประเทศไทย ตามแนวคิดและวิธีการทรงงานต้นแบบจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เวลาเปิด-ปิด : วันอังคาร-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. (หยุดวันจันทร์)
ค่าเข้าชม : บัตรรวม 3 พิพิธภัณฑ์ (พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์) ผู้ใหญ่/ครู-อาจารย์ ราคา 100 บาท, นักเรียน นักศึกษาปริญญาตรี (ไม่เกิน 24 ปี โปรดแสดงบัตร) และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เข้าชมฟรี
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2577 9999
เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
เว็บไซต์ : nsm.or.th
8. พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยกับความสัมพันธ์ในด้านการเกษตรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็นโซนพิพิธภัณฑ์ในอาคารและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โดยพิพิธภัณฑ์ในอาคาร จัดแสดงพระราชพิธีในวิถีเกษตร, แนวประพฤติปฏิบัติทางด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, โรงภาพยนตร์ 3 มิติขนาดย่อม, ของใช้ ของเล่นโบราณจากธรรมชาติ, นิทรรศการแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, โครงการส่วนพระองค์, พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, ผลงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และนิทรรศการวัฏจักรของน้ำ
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จัดแสดงแปลงสาธิตการทำการเกษตรต่าง ๆ ทั้งการปลูกข้าว ทำแปลงนาอินทรีย์ เทคนิคการทำนาต่าง ๆ การทำแปลงผัก การปลูกสมุนไพร การเพาะเห็ด ไปจนถึงปศุสัตว์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ตามรอยวิถีเกษตรของในหลวง รัชกาลที่ 9
อีกทั้งยังมี Wisdom Farm ที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า "แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด WISDOM FARM" ที่เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร โดยจุดเด่นอยู่ที่สะพานไม้ไผ่กลางทุ่งนา ที่โค้งลัดเลาะไปรอบ ๆ ท้องทุ่งสีเขียวชอุ่ม มีศาลาและจุดนั่งพักชิล ๆ อยู่ตลอดทางเดิน ใกล้ ๆ กับสะพานไม้จะเป็น Wisdom Cafe' คาเฟ่ที่พร้อมเสิร์ฟน้ำผลไม้สด ๆ เย็นชื่นใจ ปลอดภัย ไร้สารพิษ เป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่เราแนะนำ
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 30 บาท (กรณีเข้าชมต่อหนึ่งอาคาร)
เบอร์โทรศัพท์ : 0 2529 2212
เว็บไซต์ : wisdomking.or.th
เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
9. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง แบ่งออกเป็น
ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ โดยส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพที่กลายมาเป็นโครงกระดูกในปัจจุบัน

ภาพจาก amnat30 / Shutterstock.com
ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโก (Unesco) ได้ขึ้นบัญชีให้เป็นมรดกโลกอันดับที่ 359 และนับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดีอันดับที่ 4 ของประเทศไทย ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันพุธ-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์-อังคาร) ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 30 บาท คนต่างชาติ 150 บาท
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4223 5040
เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum
10. ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือพิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์

ภาพจาก Nor Gal / Shutterstock.com

ภาพจาก Nor Gal / Shutterstock.com
ที่อยู่ : เลขที่ 200 หมู่ 11 ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เวลาเปิด-ปิด : วันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 09.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 40 บาท มัธยมศึกษา 10 บาท (อายุต่ำกว่า 12 ปี หรือเกิน 60 ปี ชมฟรี) โรงเรียนสามารถทำหนังสือขอเข้าชมโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมส่งมาได้เลย
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4387 1613
เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum
11. สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา
ถึงแม้ว่าที่นี่จะไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและพฤกษศาสตร์แห่งใหม่ของประเทศไทยที่เราอยากให้ไปสัมผัสกันสักครั้ง เพราะเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวจะได้เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ในเรื่องพฤกษศาสตร์และแมลงอย่างสนุกสนานทั้งครอบครัว ภายในพื้นที่กว่า 700 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนแรก "เรือนกระจก" จัดแสดงพรรณไม้หายากทั้งไทยและต่างประเทศ และโซนที่ 2 "จัดแสดงการใช้ประโยชน์จากพืช" นอกจากนี้ยังมีในส่วนของพิพิธภัณฑ์และห้องภาพ ที่ทำให้เห็นถึงการเชื่อมโยงงานศิลป์ของคนไปสู่แมลง โดยภายในอาคารจะมีเหล่าแมลงที่บินไปมาอย่างอิสระ ทักทายนักท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
ที่อยู่ : สถานีวิจัยลำตะคอง เลขที่ 333 หมู่ 12 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน (ปิดวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 40 บาท, เด็กอนุบาล 10 บาท, ประถมศึกษา-มัธยมศึกษา 20 บาท, นิสิต/นักศึกษา (ต้องแสดงบัตร) 20 บาท และเด็ก (ความสูงไม่เกิน 100 เซนติเมตร)/ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ เข้าชมฟรี
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4439 0107
เว็บไซต์ : tistr.or.th
เฟซบุ๊ก : สถานีวิจัยลำตะคอง วว.
12. พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่

ภาพจาก Artorn Thongtukit / Shutterstock.com
ภายในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) ประกอบไปด้วยส่วนหลัก ๆ 2 ส่วน ได้แก่
1. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) ที่มีวิสัยทัศน์ว่า "พิพิธภัณฑ์พื้นที่ที่มีชีวิต" โดยพัฒนาโรงงานหลวงและพื้นที่โดยรอบให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ (A Platform for Learning Experience) และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างดี อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. พิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงนิทรรศการที่น่าสนใจมากมาย เช่น นิทรรศการจัดแสดงวัตถุสะสม อันเป็นสิ่งของจากชาวบ้านชุมชนบ้านยางบริจาคให้พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง), นิทรรศการจัดแสดงภาพถ่ายขั้นตอนกระบวนการผลิตของโรงงานหลวง และภาพถ่ายสมัยที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นต้น

ภาพจาก Artorn Thongtukit / Shutterstock.com
โดยแวดล้อมไปด้วยชุมชนบ้านยางที่เงียบสงบและสวยงาม บรรยากาศเงียบสงบ นอกจากจะได้ความรู้กลับบ้านแล้ว ยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดอยคำหลากหลายแบบได้ที่นี่อีกด้วย
ที่อยู่ : หมู่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม : เข้าชมฟรี
เบอร์โทรศํพท์ : 0 5305 1021
เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
thai.tourismthailand.org, museumthailand.com, si.mahidol.ac.th