เปิดพิกัด 18 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ในไทย ปี 2567

         เปิดตัว 18 พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ ขึ้นทะเบียนเป็น เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ปี 2567 ในโครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND Season 3
           ชวนทุกคนไปดูดาวพร่างพราวบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน กับ 18 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด สถานที่ดูดาวแห่งใหม่ของไทย ที่ถูกขึ้นทะเบียนและประกาศโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) ให้เป็น เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยประจำปี 2567 ในโครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND Season 3 เดินหน้าผลักดันการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ต่อเนื่อง ปลุกกระแสการเดินทางมิติใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความงดงามของธรรมชาติยามค่ำคืน ซึ่งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ปี 2567 ที่ได้รับการเปิดตัวใหม่จะมีที่ไหนบ้าง เราจะพาทุกคนไปดูกัน
18 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ปี 2567

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด
พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ในไทย ปี 2567

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

          สำหรับเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย

     1. อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่รักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม รักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ

     2. ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Communities) เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน เทศบาล ตำบล ที่รักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชน

     3. เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล (Dark Sky Properties) เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น รีสอร์ต โรงแรม ฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้ ฯลฯ ที่รักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม ไม่มีมลภาวะทางแสง มีความปลอดภัย

     4. เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง (Dark Sky Suburbs) เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง มีลักษณะเป็นลานโล่ง มีการใช้แสงสว่างอย่างระมัดระวัง สามารถสังเกตปรากฏการณ์และจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางดาราศาสตร์

เกณฑ์การพิจารณา คัดเลือกพื้นที่เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

  • ต้องมีพื้นที่โล่งไม่น้อยกว่า 100 ตารางเมตร

  • สังเกตการณ์ท้องฟ้าได้โดยรอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่

  • บริหารจัดการปริมาณแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพใน 3 ปัจจัย ได้แก่ ทิศทางแสง อุณหภูมิแสงสว่าง และการควบคุมเวลาเปิด-ปิด

  • ปราศจากแสงรบกวน ค่าความมืดท้องฟ้ามีไม่น้อยกว่า 19 แมกนิจูด/ตารางฟิลิปดา

  • สามารถสังเกตเห็นดาวเหนือได้ และสังเกตเห็นดาวฤกษ์ที่สว่างน้อยที่สุด หรือวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน และต้องมีผู้ให้บริการความรู้พื้นฐานทางดาราศาสตร์

  • มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการอย่างครบถ้วน อาทิ เส้นทางคมนาคม ห้องน้ำ ที่พัก ร้านอาหาร จุดบริการไฟฟ้า ฯลฯ

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ในไทย ปี 2567 มีที่ไหนบ้าง

          ในปี 2567 มีพื้นที่ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 18 แห่ง จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ประจำปี 2567 ดังนี้

อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park)
  1. สวนป่าบ้านวัดจันทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่

  2. อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  3. อุทยานแห่งชาติตาดโตน จังหวัดชัยภูมิ

  4. อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ

  5. อุทยานแห่งชาติภูผายล จังหวัดสกลนคร

  6. อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

สวนป่าบ้านวัดจันทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติตาดโตน จังหวัดชัยภูมิ

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติภูผายล จังหวัดสกลนคร

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Communities)
  1. วัดมกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
วัดมกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล (Dark Sky Properties)
  1. ฉ่าเก่อปอ จังหวัดเชียงใหม่        

  2. พร้าวแคมป์ปิ้งค์ จังหวัดเชียงใหม่

  3. ฮ่อมลมจอย จังหวัดเชียงราย

  4. ภาวนานิเวศน์ แคมป์ จังหวัดนครสวรรค์

  5. ภูคำหอม เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

  6. สวนไพลินชม จังหวัดนครราชสีมา

  7. อุ่นฟ้าอิงดาวแคมป์ปิ้ง จังหวัดนครราชสีมา

  8. โรงแรมโซเนวา คีรี จังหวัดตราด

  9. บ่อแสน วิลล่า แอนด์ สปา จังหวัดพังงา

  10. อธิ การ์เด้นท์ แคมป์ปิ้ง จังหวัดพังงา 

ฉ่าเก่อปอ จังหวัดเชียงใหม่

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

พร้าวแคมป์ปิ้งค์ จังหวัดเชียงใหม่

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ฮ่อมลมจอย จังหวัดเชียงราย

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาวนานิเวศน์ แคมป์ จังหวัดนครสวรรค์

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภูคำหอม เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

สวนไพลินชมดารา จังหวัดนครราชสีมา

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อุ่นฟ้าอิงดาวแคมป์ปิ้ง จังหวัดนครราชสีมา

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

โรงแรมโซเนวา คีรี จังหวัดตราด

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

บ่อแสน วิลล่า แอนด์ สปา จังหวัดพังงา

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อธิ การ์เด้นท์ แคมป์ปิ้ง จังหวัดพังงา

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง (Dark Sky Suburbes)
  1. สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี จังหวัดชลบุรี
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี จังหวัดชลบุรี

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

          ทั้ง 18 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดที่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในปี 2567 คงจะเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของสายดูดาวที่ชื่นชอบความสวยงามของท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่จะพร่างพราวไปด้วยดวงดาวระยิบระยับส่องแสงสุกสกาว แถมบางสถานที่ยังอยู่ใกล้กรุงเทพฯ และสะดวกสบายเพราะเป็นที่พักในตัวด้วย วันหยุดนี้อย่าลืมไปเพลิดเพลินกับกิจกรรมการดูดาวกันนะ
 

หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง

บทความ ดูดาว สถานที่ดูดาว อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดพิกัด 18 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ในไทย ปี 2567 อัปเดตล่าสุด 6 สิงหาคม 2567 เวลา 11:06:49 17,407 อ่าน
TOP
x close