1. พาสปอร์ตต้องมีอายุการใช้งานเหลือเกิน 6 เดือน
แต่ใครที่ทำไว้นานแล้ว ต้องลองเช็กกันให้ถี่ถ้วนก่อนเดินทาง เพราะด่านตรวจคนเข้าเมืองหลาย ๆ ประเทศกำหนดไว้เลยว่าผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศนั้น ๆ จะต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน ด้วยเหตุผลว่าเผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น การพลัดหลง, การเกิดอุบัติเหตุที่ต้องใช้เวลารักษายาวนาน และการติดค้างอยู่ที่สนามบินด้วยเหตุผลบางประการ พาสปอร์ตใครที่เหลืออายุน้อย ซึ่งเสี่ยงต่อการปฏิเสธการเดินทางจากสายการบินและด่านตรวจคนเข้าเมือง แนะนำว่าให้ไปทำใหม่ดีกว่า
2. เรื่องน่ารู้ในขั้นตอนของการเช็กอินที่สนามบิน
ภาพจาก 1000 Words / Shutterstock.com
ด่านแรกที่ทุกคนกังวลเกี่ยวกับการเดินทางต่างประเทศครั้งแรก ก็อยู่ที่สนามบินนี่เอง มีหลากหลายคำถามและหลายสิ่งที่ต้องกังวล จนบางทีก็ลืมสิ่งนั้นสิ่งนี้ งั้นมาลองดูลิสต์สิ่งที่ควรรู้ในขั้นตอนของการเช็กอินที่สนามบินกัน
- ทันทีที่จองตั๋วเครื่องบิน แล้วได้รับตั๋วเครื่องบินออนไลน์ (E-ticket) มา ให้เช็กรายละเอียดในนั้นอย่างละเอียด เช่น
* ชื่อ-นามสกุล-คำนำหน้าชื่อภาษาอังกฤษตรงกับพาสปอร์ตหรือไม่
* เป็นเส้นทางบินตรง หรือต่อเครื่องที่ประเทศอื่นก่อนไปถึงประเทศปลายทาง
* ถ้าต่อเครื่องที่ประเทศอื่นก่อนไปถึงประเทศปลายทาง มีเวลารอเครื่องกี่ชั่วโมง เพื่อจัดสรรเวลาเดินทาง
* โหลดกระเป๋าใต้ท้องเครื่องได้หรือไม่ ถ้าโหลดได้ โหลดได้กี่ใบ น้ำหนักได้กี่กิโลกรัม
* ถ้าเป็นเส้นทางที่ต้องไปต่อเครื่องที่ประเทศอื่น ต้องดูว่ากระเป๋าเดินทางที่โหลดใต้ท้องเครื่องจะเป็นแบบ Check Through หรือไม่ ถ้าไม่มีรายละเอียดให้สอบถามสายการบินอีกครั้ง เพราะถ้าหากเราไปต่อเครื่องที่ประเทศอื่นที่จะต้องใช้วีซ่าในการเข้า-ออกประเทศ เช่น ประเทศจีน จะได้เตรียมดำเนินการขอวีซ่า Transit ของจีนไปด้วย
* ถ้าเป็นเส้นทางบินนานหลายชั่วโมง มีอาหารบนเครื่องบินไว้ให้ไหม จะได้เตรียมเสบียง หรือซื้อเพิ่มเติมก่อนการเดินทาง
* สายการบินที่เราเดินทางด้วย มีระบบให้เช็กอินออนไลน์ไหม ถ้ามี...ให้ดำเนินการเช็กอินออนไลน์ไปก่อน แล้วค่อยไปโหลดกระเป๋ากับรับบอร์ดดิ้งพาสที่หน้าเคาน์เตอร์
- ในขั้นตอนการเช็กอินที่สนามบิน สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวต่างประเทศ จะใช้พาสปอร์ตตัวจริงในการยืนยันตัวตนเท่านั้น เพราะฉะนั้นห้ามลืมหรือฝากไว้ที่ผู้อื่นเด็ดขาด
- เคาน์เตอร์ของทุกสายการบินจะปิดให้บริการก่อนเวลาเครื่องออก (Boarding Time) อย่างน้อย 45 นาที ควรเผื่อเวลาไว้สำหรับการเข้าคิวโหลดกระเป๋าเยอะ ๆ ควรมาถึงสนามบินก่อนเวลาราว ๆ 1-1.30 ชั่วโมง เผื่อเหตุฉุกเฉิน
3. คำศัพท์ที่ควรรู้บนบอร์ดดิ้งพาส
* Name >> ชื่อ-นามสกุลผู้เดินทางที่ตรงกับพาสปอร์ต
* Flight No. >> รหัสเที่ยวบิน เช่น TG328, FD3188, JL417 เป็นต้น
* Seat >> หมายเลขที่นั่ง เช่น 7A, 7B, 7C เป็นต้น
* Gate >> ประตูขึ้นเครื่องบิน พอเราผ่านด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองเข้าไปยังพื้นที่ของห้องผู้โดยสารแล้ว ถ้าเป็นสนามบินใหญ่ ๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ จะมี Gate อยู่เยอะมาก แต่ก็มีป้ายบอกทาง Gate อยู่ตลอด
* From >> ชื่อเมือง/สนามบินที่เราจะขึ้นเครื่อง
* To >> ชื่อเมือง/สนามบินที่เราจะไปลงเครื่อง
* Date >> วัน/เดือน/ปี ที่จะเดินทาง
* Boarding Time >> เวลาที่เรียกขึ้นเครื่อง ถ้าไปเช็กอินใกล้เวลาเครื่องออกให้รีบเข้าไปที่เกตให้เร็วที่สุด ต้องเผื่อเวลาในขั้นตอนของด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองด้วย
4. เรื่องน่ารู้บนเครื่องบิน
แต่ละสายการบิน จะใช้เครื่องบินรุ่นที่แตกต่างกันออกไป เส้นทางในประเทศและต่างประเทศก็จะคนละรุ่นกัน บางท่านเคยขึ้นเครื่องบินครั้งแรก ก็อาจจะประเดิมด้วยการเที่ยวต่างประเทศเลย ทำให้เครียดและกังวลไม่น้อย แต่ก็อย่าเพิ่งคิดมาก เพราะการขึ้นเครื่องบินไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และถ้าไม่รู้จริง ๆ เราก็เชื่อว่าทั้งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและผู้โดยสารท่านอื่น ๆ ก็เต็มใจให้ความช่วยเหลือ มีอะไรน่ารู้เกี่ยวกับการใช้งานบนเครื่องบินบ้าง ไปดูกัน
- ที่นั่งบนเครื่องบิน ถ้าเป็นเครื่องบินลำเล็ก ส่วนใหญ่จะมีที่นั่งอยู่ 2 แถว ซ้าย-ขวา แต่ละแถวจะมีที่นั่งอยู่ 2-3 ที่นั่ง โดยจะมีรหัส เช่น 1A ก็คือ แถวที่ 1 ที่นั่ง A ส่วนใหญ่จะเรียงจากทางด้านซ้ายมือไปขวามือ (หันหน้าไปทางหัวเครื่องบิน) ฝั่งซ้ายคือ A, B, C และฝั่งขวามือคือ D, E, F ส่วนเครื่องบินลำใหญ่จะมี 3 แถว คือ ซ้าย ตรงกลาง และขวา เรียงจากทางด้านซ้ายมือไปขวามือ (หันหน้าไปทางหัวเครื่องบิน) เช่นกัน ฝั่งซ้าย คือ A, B, C ตรงกลางคือ D, E, F และฝั่งขวา คือ H, J, K
- บนเครื่องบินจะมีช่องเก็บสัมภาระให้เราใส่กระเป๋าเดินทางและข้าวของต่าง ๆ แต่ไม่ควรวางกระเป๋าเงินหรือสิ่งของมีค่าไว้ด้านบน เพราะเสี่ยงกับการถูกโจรกรรม ควรเก็บสิ่งของมีค่าใส่กระเป๋าสะพายขนาดเล็กวางไว้บนตัก หรือสอดไว้ใต้ที่นั่งด้านหน้าของเราในช่วงเครื่อง Take-off หรือ Landing
ภาพจาก Akimov Igor / Shutterstock.com
- การสาธิตใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน ก่อนที่เครื่องจะ Take-off พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะมีการสาธิตการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินทุกเที่ยวบิน ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดกรณีฉุกเฉินจริง ๆ จะได้ช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นได้
- บนเครื่องบินมีห้องน้ำ ไม่ต้องอั้นจนถึงปลายทาง แต่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณว่าผู้โดยสารสามารถลุกจากที่นั่งได้ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับห้องน้ำบนเครื่องบินเพิ่มเติมได้ที่ การใช้ห้องน้ำบนเครื่องบิน ง่ายนิดเดียว รู้แล้วต้องบอกต่อ
- การปรับเอนเบาะที่นั่ง สามารถทำได้เช่นกันในช่วงที่กัปตันแจ้งสัญญาณว่าปลอดภัยแล้ว โดยส่วนใหญ่ปุ่มปรับเบาะจะอยู่ที่พนักวางมือด้านขวามือ เป็นปุ่มขนาดใหญ่ ให้กดแล้วเอนตัวไปด้านหลัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้ระมัดระวังช่วงเวลาที่มีการเสิร์ฟอาหาร เพราะอาจจะทำให้อาหารของผู้ที่นั่งอยู่ด้านหลังเบาะของเราหกเลอะเทอะ และไม่ควรเอนมากเกินไป
- ไฟอ่านหนังสือ ในช่วงเวลาที่เครื่องบินไต่ระดับนิ่งแล้ว กัปตันจะปิดไฟบนเครื่องบิน ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะมืดทั้งลำ แต่ไม่ได้มืดจนเดินมองไม่เห็น แต่ก็ลำบากในการอ่านหนังสือพอสมควร ถ้าอยากเปิดไฟอ่านหนังสือ ให้เปิดที่ด้านบนของที่นั่ง
5. การจัดกระเป๋าเดินทาง และของต้องห้ามนำขึ้นเครื่องบิน
ไปเที่ยวต่างประเทศ ใช่ว่าเราจะพกทุกสิ่งทุกอย่างไปกับเราได้ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเพียงของชิ้นเล็ก ๆ น้ำหนักไม่เยอะ แต่ถ้าผิดกฎของสายการบินและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ก็ต้องจำใจวางทิ้งไว้ที่บ้าน แล้วจัดกระเป๋าอย่างไร ไม่ให้โดนรื้อที่สนามบินดีล่ะ...มาดูกัน
- การจัดกระเป๋าจะต้องแยกเอาพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พาวเวอร์แบงก์ และของมีค่าออกมาจากกระเป๋าเดินทางที่จะโหลดใต้ท้องเครื่อง
- พาวเวอร์แบงก์ที่จะพกไปด้วย ถ้ามีความจุน้อยกว่า 20,000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าความจุอยู่ที่ 20,000-32,000 mAh จะนำขึ้นเครื่องได้เพียง 2 เครื่องเท่านั้น ส่วนถ้าเกินกว่า 32,000 mAh จะไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ และห้ามไม่ให้โหลดใต้ท้องเครื่องในทุกกรณี
- การจัดกระเป๋า จะมีของบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สามารถโหลดใต้ท้องเครื่อง หรือนำขึ้นเครื่องบินได้ ดูรายละเอียดได้ที่ ก่อนจัดกระเป๋าควรรู้ สิ่งของต้องห้ามนำขึ้นเครื่องบิน
- น้ำหนักกระเป๋าที่สามารถโหลดใต้ท้องเครื่องบิน และนำขึ้นเครื่องบินได้นั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบินและเส้นทาง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำหนักสัมภาระก่อนขึ้นเครื่อง เรื่องควรรู้ของนักเดินทาง
6. เที่ยวต่างประเทศ ควรทำประกันการเดินทาง
แนะนำว่าให้ทำประกันการเดินทางไปดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศใกล้ไกลแค่ไหน หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา ก็มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่น้อยเหมือนกัน บางประเทศถ้าเราทำให้เกิดอุบัติเหตุอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ เองด้วย เช่น ค่าเรียกรถพยาบาล, ค่าเรียกตำรวจ เป็นต้น ทำประกันไปไม่กี่ร้อยบาทมันอุ่นใจกว่าเยอะ
7. ทำอย่างไรให้ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง
ภาพจาก 1000 Words / Shutterstock.com
อีกหนึ่งเรื่องที่น่ากังวลสำหรับการเที่ยวต่างประเทศ ก็คือ ด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่ละประเทศจะมีความเข้มงวดแตกต่างกันไป และเพื่อให้เราผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ง่าย ๆ สิ่งหลัก ๆ ที่ควรเตรียม มีดังนี้
- กรอกใบเข้าเมือง (Arrival Card) ให้ครบถ้วน และตอบตามความเป็นจริง บางประเทศก็มีให้กรอกออนไลน์ บางประเทศก็ไม่ต้องกรอก ดูรายละเอียดของแต่ละประเทศอีกครั้ง
- แผนการเที่ยวในแต่ละวันที่แน่นอน
- หลักฐานการจองตั๋วเครื่องบินกลับและการจองที่พัก
- ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ตามความเป็นจริง
8. ยารักษาโรค พกไปได้แค่บางประเภท
9. อาหาร สามารถพกไปได้แค่บางอย่าง
10. การใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ
11. แอปพลิเคชันช่วยชีวิตระหว่างเที่ยวต่างประเทศ
ทั้งนี้อยากให้ลองหาแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับตารางรถโดยสารประจำทางและรถไฟฟ้าของประเทศนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวโดยระบบขนส่งสาธารณะ
12. พกพาสปอร์ตและเอกสารสำคัญติดตัวตลอด
13. เอาบัตรเครดิต/เดบิตติดไปด้วยเสมอ
14. ศึกษาวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ
ภาพจาก MAHATHIR MOHD YASIN / Shutterstock.com
15. ช้อปปิ้งได้แค่ไหนถึงไม่เสียภาษีที่ด่านศุลกากร
ทั้งหมดนี้เป็นเกร็ดท่องเที่ยวเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีประโยชน์มากสำหรับคนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศด้วยตัวเองครั้งแรก รู้ไว้ก็ทำให้การจัดการการท่องเที่ยวในเรื่องต่าง ๆ ผ่านไปได้ด้วยดี เที่ยวสนุกขึ้น ไร้ความกังวล แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็อยากให้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเที่ยวประเทศนั้น ๆ เพิ่มเติมด้วย ก็จะช่วยได้อีกเยอะเลยทีเดียว :)
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2562
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
caat.or.th, Department of Airports : กรมท่าอากาศยาน, customs.go.th