เกี่ยวกับ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ภาพจาก : Khetsophon Thong-in / Shutterstock.com
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ไหน
ประวัติศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2325 ซึ่งตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์นั้น กล่าวว่าก่อนที่จะสร้างเมืองต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้นนั่นเอง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเสาหลักเมืองต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลา เป็นเสาไม้สักมีแกนอยู่ภายใน ประดับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ยอดเม็ดทรงมัณฑ์ และผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลายที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น

ภาพจาก : voravuds / Shutterstock.com
ศาลหลักเมือง ขอพรเรื่องอะไร
ขั้นตอนการไหว้ศาลหลักเมือง
- กราบสักการะพระพุทธรูป พระบรมสารีริกธาตุ และถวายดอกบัว 1 ดอก โดยไม่ต้องจุดธูปและเทียน
- ใส่บาตรพระประจำวันเกิด
- กราบสักการะองค์พระหลักเมืองจำลอง จุดธูป เทียน และปิดทอง ผูกผ้าแพร 3 สี บนองค์พระหลักเมืองจำลอง โดยให้ผูกพร้อมกันทั้ง 3 ผืน
- กราบสักการะและถวายพวงมาลัย งดจุดธูป เทียน และปิดทอง
- กราบไหว้องค์เทพารักษ์ทั้งห้า โดยถวายพวงมาลัย 5 พวง ได้แก่ พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, พระกาฬไชยศรี, เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง

- เติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิดครึ่งขวด
- อีกครึ่งขวดเติมลงในอ่างสะเดาะเคราะห์

ภาพจาก : maodoltee / Shutterstock.com
ไหว้ศาลหลักเมืองใช้อะไรบ้าง

ภาพจาก : ohhiioh / Shutterstock.com
ศาลหลักเมืองกับความเชื่อ
ไหว้ศาลหลักเมืองวันไหนดี
การไหว้ศาลหลักเมืองสามารถทำได้ทุกวันตามความสะดวก แต่มีบางวันและโอกาสที่เชื่อกันว่าเป็นฤกษ์ดีหรือเหมาะสมที่สุด ได้แก่
- วันขึ้นปีใหม่ เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ เชื่อกันว่าไหว้ศาลหลักเมืองในวันนี้จะช่วยเสริมสิริมงคลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองตลอดทั้งปี
- วันเกิดของตนเอง การไปไหว้ในวันเกิดถือเป็นการเสริมดวงชะตา สะเดาะเคราะห์ และเพิ่มพลังบวกในชีวิต
- วันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันพระใหญ่ วันพระใหญ่เป็นวันที่มีความเป็นมงคล เชื่อว่าการกราบไหว้ในวันนี้จะได้รับพรอย่างเต็มที่
- วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วิสาขบูชา หรืออาสาฬหบูชา เพราะเป็นช่วงเวลาที่จิตใจสงบและเหมาะกับการทำบุญ
- วันเริ่มต้นสิ่งใหม่ในชีวิต เช่น วันเปิดกิจการ วันเริ่มงานใหม่ หรือวันแต่งงาน เชื่อว่าการไหว้ศาลหลักเมืองจะช่วยส่งเสริมความสำเร็จและความมั่นคง
- วันอังคารหรือวันพฤหัสบดี ในทางโหราศาสตร์ วันอังคารถือเป็นวันแห่งการเสริมพลัง และวันพฤหัสบดีถือเป็นวันของครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ความเชื่อเสาร์แรกของปีกับการไหว้ศาลหลักเมือง
คำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุม เห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะฯ
ข้าพเจ้า…ขอถวายเครื่องสังเวย และสิ่งต่าง ๆ แด่องค์พระหลักเมือง ขอองค์พระหลักเมืองจงรับเครื่องสังเวย และสิ่งต่าง ๆ ของข้าพเจ้า ขอบารมีองค์พระหลักเมือง และเทพเทพารักษ์ ที่สถิตอยู่ ณ ที่นี้ จงบันดาลให้ข้าพเจ้าทำการสิ่งใดได้สำเร็จ สมปณิธานที่ปรารถนาทุกประการ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บริวาร ตลอดจนญาติสนิท มิตรสหาย จงแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวง ปราศจากโรคาพยาธิ และจงมีแต่ความสุขความเจริญ ตลอดกาลนานเทอญ
การแต่งกายในการไปไหว้ศาลหลักเมือง
การเดินทางไปศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมือง จุดจอดรถ
ใครที่วางแผนที่จะเดินทางไปสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ และต้องการหาที่จอดรถ มีที่แนะนำได้แก่
- สนามหลวง: สามารถจอดรถที่สนามหลวงได้ ในวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 07.00-18.00 น. และในวันเสาร์-อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 06.00-18.00 น.
- ราชนาวีสโมสร: ลานจอดรถของราชนาวีสโมสรเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเยี่ยมชมสถานที่ใกล้เคียง เช่น ศาลหลักเมือง สนามหลวง วัดพระแก้ว และวัดโพธิ์ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบล่วงหน้าเกี่ยวกับความพร้อมในการให้บริการจอดรถในวันที่คุณวางแผนจะไป เนื่องจากบางวันอาจไม่เปิดให้บริการ
*** โปรดทราบว่าในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะในเทศกาลหรือวันหยุดยาว ที่จอดรถอาจมีจำนวนจำกัด ควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้า และหากเป็นไปได้ ควรใช้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น
รายละเอียดการเข้าชมศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ภาพจาก : Jesse33 / Shutterstock.com
สำหรับใครที่สนใจอยากไปสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ bangkokcitypillarshrine.com ไว้หาวันว่างไปสักการะกราบไหว้กัน
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง