เที่ยวลาว ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของไทย ที่เพียบพร้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติสวย ๆ วิถีชีวิตผู้คน และวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ กลายเป็นหนึ่งในประเทศปลายทางท่องเที่ยวในฝันที่ใคร ๆ ก็อยากไป
ภาพจาก Em_7 / shutterstock.com
● 1. ใครที่ไปเที่ยวลาวไม่ต้องพกกระเป๋าใส่เศษเหรียญให้เสียเวลา เพราะที่ลาวไม่มีเงินในลักษณะเหรียญกษาปณ์ แต่สำหรับเงินที่ใช้กันแพร่หลายในลาวแบ่งออกเป็นใบละ 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ และ 20,000 กีบ (1 บาท เท่ากับ 230 กีบ โดยประมาณ ตรวจสอบ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2559*)
● 2. ไม่ต้องห่วงเรื่องสัญญาณโทรศัพท์ แนะนำให้นักท่องเที่ยวใช้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หรือใครจะสะดวกซื้อซิมการ์ดแบบเติมเงินที่ลาว ก็สามารถทำได้ โดยนักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อซิมการ์ดเหล่านี้ได้ที่ร้านโทรศัพท์ทั่วไป รับรองว่าจะไม่ขาดทุกการติดต่อแน่นอน
● 3. โดยรวมแล้วอาหารลาวจัดได้ว่ามีรสชาติใกล้เคียงกับอาหารไทย พลาดไม่ได้กับอาหารพื้นเมืองอย่าง "เฝอ" อาหารจานด่วน หน้าตาไม่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวน้ำใสบ้านเรา หรือ "บาแกตต์" ขนมปังฝรั่งเศส สามารถใส่ไส้ ผักสด เนื้อสัตว์ แฮม หมูยอ ตับบด เป็นต้น มีให้เลือกทั้งก้อนเล็ก กลาง ใหญ่ ทานก้อนเดียวอิ่มทั้งมื้อ และอื่น ๆ อีกมากมาย
● 5. การใช้หนังสือผ่านแดน (Border Pass) หากไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถทำบัตรอนุญาตผ่านแดนชั่วคราวเข้าไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้ โดยทำที่ศาลากลางจังหวัดที่มีด่านสากลตั้งอยู่ ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี หรือร้านที่รับทำ และบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ แต่ไม่สามารถเดินทางไปยังแขวงอื่น ๆ นอกเหนือจากแขวงซึ่งเป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้บัตรผ่านแดนเข้าลาว โดยสามารถเข้า-ออกได้ 3 วัน 2 คืน และต้องออกจากลาวจุดเดียวกับที่เข้าเท่านั้น
● 6. จากไทยสามารถเดินทางไปยังลาวโดยผ่านจุดผ่านแดนบริเวณชายแดนไทย-ลาวทั้งหมด 15 จุด สามารถดูรายละเอียดและเวลาเปิด-ปิดด่านพรมแดนต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ bts.dft.go.th หรือเว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน bts.dft.go.th
● 7. ปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ไว้เป็นสะพานเชื่อมสัมพันธ์ในการเดินทางไปมาหาสู่ของคนทั้งสองประเทศทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่
+ 1. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เข้ากับกรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
+ 2. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เข้ากับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
+ 3. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เข้ากับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว
+ 4. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4-สะพานที่เชื่อมต่อบ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เข้ากับบ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว
+ 5. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เข้ากับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว
+ 6. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เข้ากับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว
(***สร้างแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจรแล้ว 4 แห่ง คือแห่งที่ 1-4)
● 8. การเดินทางไปเที่ยวลาวทำได้ทั้ง นั่งเครื่องบิน รถทัวร์ รถไฟ และรถยนต์ส่วนตัว
● 9. ถ้าเดินทางด้วยรถทัวร์ ปัจจุบัน บขส. มีเส้นทางรถโดยสารระหว่างประเทศไปยังลาวทั้งหมด 14 เส้นทาง สามารถดูเส้นทางเดินรถและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ home.transport.co.th และกำลังเปิดเส้นทางที่ 15 คือเส้นทางน่าน-ไชยบุรี-หลวงพระบาง โดยมีกำหนดการเปิดเส้นทางไม่เกินสิ้นปี 2559
● 10. ถ้าเดินทางด้วยรถไฟมีให้บริการทุกวัน สายหนองคาย-ท่านาแล้ง (สามารถตรวจสอบตารางเดินรถไฟได้ที่ สถานีรถไฟจังหวัดหนองคาย (โทรศัพท์ 042 411 636-7, 042 411 592)
● 11. ถ้าเดินทางด้วยเครื่องบิน ท่าอากาศยานหลักของประเทศ คือท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตของเวียงจันทน์ และท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติปากเซมีเที่ยวบินระหว่างประเทศจำนวนน้อย สายการบินประจำชาติ คือ การบินลาว ปัจจุบันมีสายการบินที่คอยให้บริการจากไทยไปลาวมากมาย ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส เวียดนามแอร์ไลน์ แอร์เอเชีย การบินไทย และไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นต้น
● 12. นักท่องเที่ยวสามารถนำรถยนต์เข้าไปในลาวได้ โดยรถจะต้องเป็นรถที่มี "คู่มือจดทะเบียน" ไม่ได้อยู่ในไฟแนนซ์ พูดง่าย ๆ ว่าเป็นรถที่ผ่อนงวดหมดแล้ว
● 13. รถที่นำไปลาวจะต้องทำพาสปอร์ตรถให้เรียบร้อย รถทะเบียนอะไรให้ไปทำที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น จะได้พาสปอร์ตตราครุฑสีม่วง ป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษสองแผ่น สติ๊กเกอร์ตัว T (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงประเทศ) 2 แผ่น ติดด้านหน้ารถและหลังรถให้เรียบร้อย
● 14. ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศ (ใบขับขี่สากล) ขอได้ที่กรมการขนส่งทางบกกรุงเทพฯ หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ ขอได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ
● 15. รถยนต์จะต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่สามภายในประเทศลาว ซื้อได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว นำรถไปตรวจที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่จะประทับตราวันที่นำรถ พร้อมประทับตราในใบตรวจรถยนต์เข้า-ออกจากราชอาณาจักร ต้องเก็บใบนี้ให้ดีเพราะถ้าหายจะนำรถยนต์กลับเข้าไทยไม่ได้ เมื่อข้ามไปฝั่งลาวแล้ว ต้องไปซื้อกรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ที่สำนักงานตัวแทนประกันภัย บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง
● 16. โดยต้องแจ้งระยะเวลาที่จะซื้อ (อย่างต่ำ 5 วัน สามารถต่ออายุวันต่อวันได้ที่ทำการขนส่ง แต่ต้องก่อนหมดอายุกรมธรรม์) ที่สำคัญ !!! แจ้งรายชื่อแขวงที่เราจะเดินทางไป (ถ้าไปหลายแขวงต้องแจ้งให้ครบ) จากนั้นต้องไปเสียภาษีการนำรถยนต์เข้า สปป.ลาว ที่แผนกภาษีของศุลกากร จะได้รับเอกสารและสติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ 1 ใบ
● 17. การขับรถที่ลาว จะขับรถคนละเลนกับฝั่งไทยเรา ดังนั้นถ้าใครเอารถส่วนตัวไปต้องระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
● 18. การข้ามถนนหรือสัญจรไปไหนมาไหนในลาว ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากระบบการจราจรที่ลาวใช้พวงมาลัยซ้าย และมีรถจักรยานยนต์บนถนนจำนวนมาก ก่อนจะข้ามถนนก็มองดูซ้าย-ขวาให้ดี ๆ ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุเพราะความไม่เคยชินเอาได้ง่าย ๆ
● 19. ที่พักในลาวมีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่โรงแรมหรูยันเกสต์เฮ้าส์ราคาถูก (ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋า) ถ้าไม่อยากเสียเงินเยอะ ลองพักเกสต์เฮ้าส์ดูก็ไม่เสียหาย เพราะราคาถูก พบได้ตามเมืองต่าง ๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง เช่น น้ำอุ่น ทีวี แอร์ พัดลม เป็นต้น
● 21. ระบบไฟฟ้าและปลั๊กไฟของลาวเหมือนกับที่ไทยเป๊ะ ไม่ต้องพกตัวแปลงปลั๊กไฟให้เสียเวลา แต่ถ้าไปเที่ยวเมืองเล็ก ๆ บางเมืองอาจไม่ได้มีบริการไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง
● 22. จริง ๆ แล้วภาษาลาวมีสำเนียงคล้ายกับภาษาอีสานของไทย แต่เพื่อสร้างสีสันให้กับการเที่ยวลาว ลองเรียนรู้ศัพท์อย่างพวกคำทักทายเบื้องต้นเอาไปใช้ก็ได้นะ เช่น สะบายดี แปลว่า สวัสดี, จั๊กโมงแล้ว แปลว่า กี่โมงแล้ว มื้ออื่น แปลว่า วันพรุ่งนี้ เป็นต้น ลองศึกษาไว้บ้าง เอาที่สื่อสารแล้วไปเที่ยวได้แบบชิล ๆ ไม่มีปัญหาก็พอ
เป็นยังไงบ้างคะ ? พอได้ลองรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลาวแบบนี้แล้ว มีใครชักอยากที่จะเก็บกระเป๋าแล้วไปเที่ยวลาวบ้างหรือยัง เอาจริง ๆ แล้วการเดินทางไปเที่ยวลาวทุกวันนี้ทำได้สะดวกและง่ายกว่าเดิมเยอะมาก แถมลาวยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย ลองใครไปเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวลาวดูรับรองเลยว่ามีแต่คุ้มกับคุ้ม
หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
tourismlaos.org, vientiane.thaiembassy.org, home.transport.co.th, bts.dft.go.th
ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของไทย
ซึ่งในช่วงระยะหลังมานี้ได้รับกระแสความนิยมในเรื่องท่องเที่ยวค่อนข้างมาก
ด้วยเพราะลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภาษา ตลอดจนวิถีชีวิตของคนลาว มีลักษณะที่ไม่ต่างจากคนไทยมากนัก เชื่อแน่ว่าหลายคนอาจจะรู้จักแค่เวียงจันทน์ วังเวียง ปากเซ หรือหลวงพระบาง แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่น่าสนใจทั้งหมด
ลาวในวันนี้มีแง่มุมอะไรที่นักท่องเที่ยวควรรู้และต้องรู้บ้าง
มาสำรวจไปด้วยกันเลยค่ะ
● 2. ไม่ต้องห่วงเรื่องสัญญาณโทรศัพท์ แนะนำให้นักท่องเที่ยวใช้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หรือใครจะสะดวกซื้อซิมการ์ดแบบเติมเงินที่ลาว ก็สามารถทำได้ โดยนักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อซิมการ์ดเหล่านี้ได้ที่ร้านโทรศัพท์ทั่วไป รับรองว่าจะไม่ขาดทุกการติดต่อแน่นอน
● 3. โดยรวมแล้วอาหารลาวจัดได้ว่ามีรสชาติใกล้เคียงกับอาหารไทย พลาดไม่ได้กับอาหารพื้นเมืองอย่าง "เฝอ" อาหารจานด่วน หน้าตาไม่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวน้ำใสบ้านเรา หรือ "บาแกตต์" ขนมปังฝรั่งเศส สามารถใส่ไส้ ผักสด เนื้อสัตว์ แฮม หมูยอ ตับบด เป็นต้น มีให้เลือกทั้งก้อนเล็ก กลาง ใหญ่ ทานก้อนเดียวอิ่มทั้งมื้อ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ภาพจาก maodoltee / shutterstock.com
● 4. โดยทั่วไปนักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องมีวีซ่า สามารถใช้หนังสือเดินทาง (Passport) เดินทางเข้า-ออก และอยู่ในลาวได้เป็นเวลา 30 วัน เดินทางไปได้ทั่วประเทศ แต่ถ้าหนังสือเดินทางมีกำหนดวันหมดอายุน้อยกว่า 6 เดือน จะใช้ข้ามแดนไม่ได้● 5. การใช้หนังสือผ่านแดน (Border Pass) หากไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถทำบัตรอนุญาตผ่านแดนชั่วคราวเข้าไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้ โดยทำที่ศาลากลางจังหวัดที่มีด่านสากลตั้งอยู่ ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี หรือร้านที่รับทำ และบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ แต่ไม่สามารถเดินทางไปยังแขวงอื่น ๆ นอกเหนือจากแขวงซึ่งเป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้บัตรผ่านแดนเข้าลาว โดยสามารถเข้า-ออกได้ 3 วัน 2 คืน และต้องออกจากลาวจุดเดียวกับที่เข้าเท่านั้น
● 6. จากไทยสามารถเดินทางไปยังลาวโดยผ่านจุดผ่านแดนบริเวณชายแดนไทย-ลาวทั้งหมด 15 จุด สามารถดูรายละเอียดและเวลาเปิด-ปิดด่านพรมแดนต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ bts.dft.go.th หรือเว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน bts.dft.go.th
● 7. ปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ไว้เป็นสะพานเชื่อมสัมพันธ์ในการเดินทางไปมาหาสู่ของคนทั้งสองประเทศทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่
+ 1. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เข้ากับกรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
+ 2. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เข้ากับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
+ 3. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เข้ากับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว
+ 4. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4-สะพานที่เชื่อมต่อบ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เข้ากับบ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว
+ 5. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เข้ากับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว
+ 6. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6-สะพานที่เชื่อมต่ออำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เข้ากับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว
(***สร้างแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจรแล้ว 4 แห่ง คือแห่งที่ 1-4)
● 8. การเดินทางไปเที่ยวลาวทำได้ทั้ง นั่งเครื่องบิน รถทัวร์ รถไฟ และรถยนต์ส่วนตัว
● 9. ถ้าเดินทางด้วยรถทัวร์ ปัจจุบัน บขส. มีเส้นทางรถโดยสารระหว่างประเทศไปยังลาวทั้งหมด 14 เส้นทาง สามารถดูเส้นทางเดินรถและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ home.transport.co.th และกำลังเปิดเส้นทางที่ 15 คือเส้นทางน่าน-ไชยบุรี-หลวงพระบาง โดยมีกำหนดการเปิดเส้นทางไม่เกินสิ้นปี 2559
● 10. ถ้าเดินทางด้วยรถไฟมีให้บริการทุกวัน สายหนองคาย-ท่านาแล้ง (สามารถตรวจสอบตารางเดินรถไฟได้ที่ สถานีรถไฟจังหวัดหนองคาย (โทรศัพท์ 042 411 636-7, 042 411 592)
● 11. ถ้าเดินทางด้วยเครื่องบิน ท่าอากาศยานหลักของประเทศ คือท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตของเวียงจันทน์ และท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติปากเซมีเที่ยวบินระหว่างประเทศจำนวนน้อย สายการบินประจำชาติ คือ การบินลาว ปัจจุบันมีสายการบินที่คอยให้บริการจากไทยไปลาวมากมาย ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส เวียดนามแอร์ไลน์ แอร์เอเชีย การบินไทย และไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นต้น
● 12. นักท่องเที่ยวสามารถนำรถยนต์เข้าไปในลาวได้ โดยรถจะต้องเป็นรถที่มี "คู่มือจดทะเบียน" ไม่ได้อยู่ในไฟแนนซ์ พูดง่าย ๆ ว่าเป็นรถที่ผ่อนงวดหมดแล้ว
● 13. รถที่นำไปลาวจะต้องทำพาสปอร์ตรถให้เรียบร้อย รถทะเบียนอะไรให้ไปทำที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น จะได้พาสปอร์ตตราครุฑสีม่วง ป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษสองแผ่น สติ๊กเกอร์ตัว T (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงประเทศ) 2 แผ่น ติดด้านหน้ารถและหลังรถให้เรียบร้อย
● 14. ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศ (ใบขับขี่สากล) ขอได้ที่กรมการขนส่งทางบกกรุงเทพฯ หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ ขอได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ
● 15. รถยนต์จะต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่สามภายในประเทศลาว ซื้อได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว นำรถไปตรวจที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่จะประทับตราวันที่นำรถ พร้อมประทับตราในใบตรวจรถยนต์เข้า-ออกจากราชอาณาจักร ต้องเก็บใบนี้ให้ดีเพราะถ้าหายจะนำรถยนต์กลับเข้าไทยไม่ได้ เมื่อข้ามไปฝั่งลาวแล้ว ต้องไปซื้อกรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ที่สำนักงานตัวแทนประกันภัย บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง
● 16. โดยต้องแจ้งระยะเวลาที่จะซื้อ (อย่างต่ำ 5 วัน สามารถต่ออายุวันต่อวันได้ที่ทำการขนส่ง แต่ต้องก่อนหมดอายุกรมธรรม์) ที่สำคัญ !!! แจ้งรายชื่อแขวงที่เราจะเดินทางไป (ถ้าไปหลายแขวงต้องแจ้งให้ครบ) จากนั้นต้องไปเสียภาษีการนำรถยนต์เข้า สปป.ลาว ที่แผนกภาษีของศุลกากร จะได้รับเอกสารและสติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ 1 ใบ
● 17. การขับรถที่ลาว จะขับรถคนละเลนกับฝั่งไทยเรา ดังนั้นถ้าใครเอารถส่วนตัวไปต้องระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
● 18. การข้ามถนนหรือสัญจรไปไหนมาไหนในลาว ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากระบบการจราจรที่ลาวใช้พวงมาลัยซ้าย และมีรถจักรยานยนต์บนถนนจำนวนมาก ก่อนจะข้ามถนนก็มองดูซ้าย-ขวาให้ดี ๆ ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุเพราะความไม่เคยชินเอาได้ง่าย ๆ
● 19. ที่พักในลาวมีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่โรงแรมหรูยันเกสต์เฮ้าส์ราคาถูก (ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋า) ถ้าไม่อยากเสียเงินเยอะ ลองพักเกสต์เฮ้าส์ดูก็ไม่เสียหาย เพราะราคาถูก พบได้ตามเมืองต่าง ๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง เช่น น้ำอุ่น ทีวี แอร์ พัดลม เป็นต้น
ภาพจาก Ko Backpacko / shutterstock.com
● 20. นักท่องเที่ยวสามารถนั่งสามล้อเครื่องและรถป๊อก
เรียกให้ไปส่งตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในเมือง หรือจะเหมาทั้งวันไปเลยก็ได้
(ราคาขึ้นอยู่กับวาทศิลป์ล้วน ๆ)● 21. ระบบไฟฟ้าและปลั๊กไฟของลาวเหมือนกับที่ไทยเป๊ะ ไม่ต้องพกตัวแปลงปลั๊กไฟให้เสียเวลา แต่ถ้าไปเที่ยวเมืองเล็ก ๆ บางเมืองอาจไม่ได้มีบริการไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง
● 22. จริง ๆ แล้วภาษาลาวมีสำเนียงคล้ายกับภาษาอีสานของไทย แต่เพื่อสร้างสีสันให้กับการเที่ยวลาว ลองเรียนรู้ศัพท์อย่างพวกคำทักทายเบื้องต้นเอาไปใช้ก็ได้นะ เช่น สะบายดี แปลว่า สวัสดี, จั๊กโมงแล้ว แปลว่า กี่โมงแล้ว มื้ออื่น แปลว่า วันพรุ่งนี้ เป็นต้น ลองศึกษาไว้บ้าง เอาที่สื่อสารแล้วไปเที่ยวได้แบบชิล ๆ ไม่มีปัญหาก็พอ
ภาพจาก Em_7 / shutterstock.com
● 23. แหล่งท่องเที่ยวของลาวมีเยอะมากเกือบทั่วประเทศ เช่น
ลาวใต้ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ ปากเซ บ่อแก้ว ห้วยทราย
สะหวันนะเขต แขวงคำม่วน ทุ่งไหหิน เชียงขวาง เป็นต้น
แต่ละที่ล้วนให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ลองศึกษาหาข้อมูลดี ๆ
ก่อนเก็บกระเป๋าเตรียมตัวเดินทางเป็นยังไงบ้างคะ ? พอได้ลองรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลาวแบบนี้แล้ว มีใครชักอยากที่จะเก็บกระเป๋าแล้วไปเที่ยวลาวบ้างหรือยัง เอาจริง ๆ แล้วการเดินทางไปเที่ยวลาวทุกวันนี้ทำได้สะดวกและง่ายกว่าเดิมเยอะมาก แถมลาวยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย ลองใครไปเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวลาวดูรับรองเลยว่ามีแต่คุ้มกับคุ้ม
หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
tourismlaos.org, vientiane.thaiembassy.org, home.transport.co.th, bts.dft.go.th