x close

17-18 พ.ย.นี้ สัมผัสปรากฎการณ์ฝนดาวตก

ฝนดาวตก

 



17-18 พ.ย.นี้ สัมผัสปรากฎการณ์ฝนดาวตก "ลีโอนิดส์"...ที่ลานดูดาวอุทยานแห่งชาติตากหมอก (MCOT)

          จังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนนักท่องเที่ยว ร่วม ชมปรากฎการณ์ฝนดาวตก "ลีโอนิดส์" ในช่วงวันที่ 17 - 18 พฤศจิกายน 2552 ณ ลานชมดาวอุทยานแห่งชาติตากหมอก, ภูทับเบิก, เขาค้อ และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตามที่นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ในคืนวันที่17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้ามืดวันที่ 18 พฤศจิกายน ซึ่งนักดาราศาสตร์คาดว่า ปริมาณดาวตกในช่วงเวลาสูงสุดสูงถึง 100-500 ดวงต่อชั่วโมง จะสร้างความตื่นตาตื่นใจ ให้กับผู้สนใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

          ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทำเลสามารถสังเกตฝนดาวตกได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ เขาค้อ, ภูทับเบิก, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และบริเวณลานดูดาว อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ซึ่งในช่วงดังกล่าวหน่วยราชการ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริการ จะเตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวคาดว่าจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวทั้งใน และนอกจังหวัด เดินทางมาเฝ้ารอชมฝนดาวตกอย่างคึกคัก และตอนนี้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ได้เตรียมรองรับนักท่องเที่ยว เช่น ทางชมรมไก่ย่างวิเชียรบุรี มีการเตรียมประชุมสมาชิกร้านไก่ย่างจำนวน 30 แห่ง ต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะไหลหลั่งเข้ามาชมฝนดาวตกที่ จ.เพชรบูรณ์

          ด้านความปลอดภัย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดูแลอย่างเต็มที่ โดยนักดาราศาสตร์ ได้ศึกษาถึงที่มาของฝนดาวตก หรือฝนอุกกาบาต พบว่าอุกกาบาตเหล่านี้ ต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเส้นทางของดาวหางบางดวง และได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ฝนดาวตกมีความสัมพันธ์กับดาวหาง ดาวหางเป็นวัตถุท้องฟ้าอย่างหนึ่ง คล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่น เกาะกันอยู่ด้วยก๊าชและน้ำแข็งที่แข็งตัว เมื่อดาวหางโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งรอบนอกระเหิดออก ปล่อยซากเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ กระจายเป็นธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ ไปตามเส้นทางโคจรของดาวหาง เมื่อโลกเคลื่อนที่ผ่านธารอุกกาบาตเหล่านี้ จึงดูดเศษหินและเศษโลหะเหล่านั้น ให้วิ่งเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก ด้วยความเร็วสูง ความร้อนจากการเสียดสีกับบรรยากาศ เกิดเป็นลูกไฟสว่าง เรียกว่า ฝนดาวตก

          ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์, ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล ค้นพบโดย วิลเฮล์ม เทมเพล ละฮอแรส ทัดเทิล ในปี พ.ศ.2408 เป็นดาวหางคาบสั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในคาบ 33.2 ปี วงโคจรรูปวงรี ซึ่งดาวหางนี้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวดาวหางราว 1.9 กิโลเมตร จึงเป็นดาวหางที่ไม่มสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า นอกจากจะอยู่ในสภาพท้องฟ้าที่ดีเยี่ยม แต่จะสามารถมองเห็นได้ หากใช้กล้องโทรทรรศน์หรือใช้กล้อง 2 ตาขนาดใหญ่ส่องสังเกต

          เป็นที่รู้กันดีว่า ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล เป็นแหล่งกำเนิดของซากเศษฝุ่น ต้นกำเนิดของฝนดาวตกลีโอนิดส์ ซึ่งปรากฏในเห็นในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ในปีอื่นๆ ฝนดาวตกลีโอนิดส์เบาบาง จำนวนราว 10 ดวง ต่อชั่วโมงเท่านั้น แต่ในปี 2541 ดาวหางจะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงคาดว่า น่าจะเกิดปรากฎการณ์พายุฝนดาวฝนดาวตก ในปี 2541 แต่ไม่เป็นตามคาด จึงติดตามเฝ้าดูกัน ในปี 2544 ก็ยังถือว่าเป็นฝนดาวตกที่น่าดูอยู่ หลังจากดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดแล้ว ขณะเดินทางห่างออกไป เส้นทางห่างออกไป เสนทางโคจรของดาวหางตัดผ่านเส้นทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นมุม 17 องศา ซึ่งโลกเคลื่อนที่มาถึงจุดตัดดังกล่าว ในช่วงวันที่ 17-18-19 พฤศจิกายนของทุกปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 056-721-733, 056-748-889


แนะนำการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรมเพียบ

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
17-18 พ.ย.นี้ สัมผัสปรากฎการณ์ฝนดาวตก อัปเดตล่าสุด 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 16:09:05
TOP