ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด สังเกตได้ด้วยตาเปล่า วันที่ 12 มกราคม นี้

          ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด 12 มกราคม 2568 ชวนจับตาชมปรากฏการณ์ดังกล่าว ปรากฏสว่างสีส้มแดงบนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

          วันที่ 12 มกราคม 2568 จะเป็นอีกหนึ่งวันที่คนสนใจดาราศาสตร์ จับตามองปรากฏการณ์สำคัญ เมื่อดาวอังคารใกล้โลกที่สุด ดาวอังคารในครั้งนี้จะปรากฏสว่างชัดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน โดยสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นี่เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการศึกษาและชื่นชมความงดงามของระบบสุริยะ ซึ่งไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด

ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด 2568

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด

          ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด วันที่ 12 มกราคม 2568 ปรากฏสว่างสีส้มแดงบนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคารได้
ดาวอังคาร

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ชวนดูดาวอังคารใกล้โลก

          โดยช่วงวันที่ 12-16 มกราคม 2568 เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารมากที่สุด เนื่องจากคืนวันที่ 12 มกราคม 2568 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร หลังจากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวอังคารส่องสว่างประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า และเมื่อสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวที่อยู่บริเวณขั้วของดาวอังคารได้

วงโคจรดาวอังคารใกล้โลก

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

วงโคจรของดาวอังคารและโลก

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ชวนดูดาวอังคาร มีที่ไหนบ้าง

          เชิญชวนผู้สนใจส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ ในคืนวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 5 แห่ง ได้แก่

          แห่งที่ 1 เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ โทร. 08 4088 2261

          แห่งที่ 2 โคราช : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา โทร. 08 6429 1489

          แห่งที่ 3 ขอนแก่น : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น โทร. 06 3892 1854

          แห่งที่ 4 ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา โทร. 08 4088 2264

          แห่งที่ 5 สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา โทร. 09 5145 0411
          หรือรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

          ดาวอังคารไม่ได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดีเหมือนดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์ เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี จึงทำให้วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดนั้นเคลื่อนไปจากวันที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์เล็กน้อย ซึ่งดาวอังคารจะเคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งนี้ทุก ๆ 26 เดือน และจะโคจรมาใกล้โลกในครั้งถัดไปวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2570

          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือโทรศัพท์ 0 5312 1268 

หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง

บทความ ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 2568 สถานที่ดูดาว อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด สังเกตได้ด้วยตาเปล่า วันที่ 12 มกราคม นี้ อัปเดตล่าสุด 8 มกราคม 2568 เวลา 15:34:39 6,148 อ่าน
TOP
x close