เกี่ยวกับพระแม่อุมาเทวีนั้น พระองค์ทรงเป็นเทวีที่มีความสำคัญในศาสนาฮินดู และได้รับการบูชาในฐานะเทพธิดาแห่งการสร้างสรรค์ ปกป้องคุ้มครอง และความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังได้รับการบูชาในฐานะเทพธิดาแห่งความรัก ความเมตตา ความยุติธรรม และความกล้าหาญ พระแม่อุมาเทวียังได้รับการอัญเชิญให้ประทับอยู่ในสำรับไพ่เทวะมันตรา พยากรณ์เพื่อการทำนายโชคชะตา ความรัก การเงิน การงาน และสุขภาพอีกด้วย
ภาพปี พ.ศ. 2559
เทศกาลนวราตรี คืออะไร ?
ภาพปี พ.ศ. 2565
ภาพปี พ.ศ. 2559
ภาพปี พ.ศ. 2560
พิธีนวราตรี 2566 จัดวันไหน
สำหรับในปี 2566 เพจ Hindu Meeting (Fan Page) ได้เผยกำหนดการ พิธีนวราตรี และงานแห่ประเพณี เนื่องในวันวิชัยทัสมิ ประจำปี 2566 ที่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) แล้ว โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14-26 ตุลาคม 2566 โดยแต่ละวันมีกำหนดการพิธี ดังนี้
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระพิฆเนศ (บรมครู) พิธีบูชาเทพประจำแผ่นดิน เทพแห่งดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า พิธีบูชาเพื่อขออนุญาตต่อองค์มหาเทวีและมหาเทพทั้งหลายที่ประดิษฐานภายในวัด เพื่อเริ่มงานพิธีนวราตรี ประจำปี 2566
-
พิธีเช้า 09.00 น.
-
พิธีเย็น 16.00 น.
วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2566
เริ่มงานพิธีนวราตรี ประจำปี 2566
-
พิธีเช้า 09.00 น. บูชาองค์พระแม่มหาทุรคา
-
พิธีเย็น 16.00 น. บูชาองค์พระแม่มหาทุรคา
-
เวลาประมาณ 18.30 น. อัญเชิญธงสิงห์ขึ้นเสา
วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระแม่มหาทุรคา
-
พิธีเช้า 09.00 น.
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระแม่มหาทุรคา
-
พิธีเช้า 09.00 น.
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี
-
พิธีเช้า 09.00 น.
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี
-
พิธีเช้า 09.00 น
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี
-
พิธีเช้า 09.00 น
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566
พิธีอภิเษกสมรสขององค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีและองค์พระศิวะมหาเทพ
-
พิธีเช้า 09.00 น (พิธีอภิเษกสมรส)
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น. (พิธีบูชาพระแม่นั่งชิงช้า)
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น. (พิธีบูชาพระแม่นั่งชิงช้า)
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาพระแม่ปางบูชาองค์พระศิวลึงค์
-
พิธีเช้า 09.00 น.
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2566
พิธีบูชาองค์พระแม่มหาสรัสวดี
-
พิธีเช้า 09.00 น.
-
พิธีบูชาโฮมัม 17.00 น.
-
พิธีบูชาใหญ่ 19.30 น.
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2566
งานแห่ประเพณี เนื่องในวันวิชัยทัสมิ ประจำปี 2566 โดยขบวนแห่เริ่มเคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ในเวลาประมาณ 19.30 น. เป็นต้นไป
วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566
พิธีอัญเชิญธงสิงห์ลง และพิธีอาบน้ำคณะพราหมณ์และคณะคนทรง
-
พิธีเริ่ม 17.00 น. หลังจากเสร็จพิธี คณะพราหมณ์จะผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์ที่ทำพิธีมาแล้วให้แก่สานุศิษย์ทุกท่านฟรี
ภาพปี พ.ศ. 2559
การจัดขบวนแห่พระแม่อุมาเทวี
ในเทศกาลนวราตรีของประเทศไทย
การจัดขบวนแห่บูชาพระแม่อุมาเทวีของชาวฮินดูในประเทศไทยนั้น จะมีความแตกต่างจากที่อื่นเล็กน้อย ซึ่งโดยปกติจะเป็นการแห่พระแม่อุมา 9 ปาง แต่ในประเทศไทยจะเป็นการจัดขบวนแห่บูชาเทพฮินดู 8 ขบวน ดังนี้
-
ขบวนคนทรงองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี
-
ขบวนคนทรงองค์พระขันธกุมาร
-
ขบวนคนทรงองค์พระแม่กาลี
-
ขบวนราชรถองค์พระพิฆเนศ
-
ขบวนราชรถองค์พระขันธกุมาร
-
ขบวนราชรถองค์พระกฤษณะ
-
ขบวนราชรถองค์พระกัตตวรายัน
-
ขบวนราชรถองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี พระแม่มหาลักษมี และพระแม่มหาสรัสวตี
ทั้งนี้ ก่อนขบวนราชรถคันใหญ่ขององค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี พระแม่มหาลักษมี และพระแม่มหาสรัสวตี จะมีพิธีที่เรียกว่า ทุบมะพร้าว โดยสานุศิษย์จะปามะพร้าวลงบนพื้น โดยเชื่อว่ามะพร้าวเปรียบเสมือนผลไม้แห่งพระเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ และสะอาด ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าการทุบมะพร้าวเบื้องหน้าพระพักตร์ของเทวรูปที่นับถือ เป็นการแสดงถึงการทำลายหรือละทิ้งอัตตาของตนเอง พร้อมทั้งน้อมกายถวายตนแด่พระผู้เป็นเจ้านั่นเอง
บทสวดเพื่อบูชาพระแม่อุมาเทวี
โดยปกติแล้วจะมีการสวดบูชาพระพิฆเนศก่อนสวดบูชาพระแม่อุมาเทวีเสมอ
บทสวดบูชาพระพิฆเนศ
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
โอม โรคา นะเศษา นะปะหัมสิตุษฎา
รุษตาตุกามาน สะกะลา นะภีษะตาน
ตะวามา ศะริตานาม นะวิปัน นะรานาม
ตะวามา ศะริตายา ศะระยะตาม ประยันติ
หลังจากสวดคาถาบูชาพระแม่อุมาเทวีเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยอธิษฐานจิตในสิ่งที่ต้องการ นอกจากนี้หากผู้ขอพรต้องการให้พรนั้นประสบความสำเร็จโดยเร็ว อาจทำการบูชาองค์พระแม่อุมาเทวีด้วยการรับประทานอาหารมังสวิรัติตลอดทั้งช่วงเทศกาลนวราตรี 9 วัน 9 คืน ก็จะยิ่งทำให้สมปรารถนาได้ง่ายขึ้น
สำหรับ พิธีนวราตรี (Navaratri) และงานแห่ประเพณีเนื่องในวันวิชัยทัสมิ เป็นงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ มีการจัดงานในทุก ๆ ปีในช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคม พิธีกรรมหลักของงานคือ แห่รูปปั้นพระแม่ทุรคาไปตามถนนต่าง ๆ ของเมือง ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองความสุข ความสามัคคี และสันติภาพ
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
+++ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดแขกสีลม และพิธีนวราตรี 2566
+++ เทศกาลคเณศจตุรถี คืออะไร เปิดความเป็นมา พร้อมวิธีบูชาพระพิฆเนศให้ชีวิตรุ่งเรือง
+++ ไหว้พระแม่ลักษมี เทพีแห่งความร่ำรวยและความรัก ขอพรอย่างไรให้ได้ผลดี
+++ เอาใจสายมู กับ 20 สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
+++ ไหว้พระแม่ลักษมี ขอพรเฮง ๆ ปัง ๆ เรื่องเงินทองและความรัก ที่วัดไผ่เงิน ถ.จันทน์ กรุงเทพฯ
+++ วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า วัดฮินดูที่คนโสดสายมูควรไปขอพรเรื่องหัวใจ