1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ได้ที่ เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง
- เบอร์โทรศัพท์ : 02-224-1370
- เฟซบุ๊ก : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : เลขที่ 80/1 ริมคลองบางกอกน้อย ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
- เบอร์โทรศัพท์ : 02-424-0004
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
3. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่จัดแสดงนิทรรศการโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่มีลักษณะเด่น สามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเมืองลพบุรีตั้งแต่อดีตต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ด้วยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรีที่มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว) และเข้ามาสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือศิลปะทวารวดี ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ จนถึงวิถี ผู้คน ตัวตน คนลพบุรี สามารถศึกษาข้อมูลในอดีตโดยผ่านการลำดับเรื่องของโบราณวัตถุที่จัดแสดง ซึ่งสะท้อนพัฒนาการในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ เทคโนโลยีการดำรงชีวิต การติดต่อเชื่อมโยงทางด้านการค้าและวัฒนธรรมกับดินแดนอื่น ๆ รวมทั้งความงามทางศิลปะของประติมากรรม สถาปัตยกรรม ที่ส่งผ่านตามยุคสมัยได้อย่างลงตัว
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : ถนนสรศักดิ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-3641-1458
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum
4. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
แหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี นำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนนับตั้งแต่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรีในอดีต หลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ลพบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เหตุการณ์ยุทธหัตถีกลุ่มชนต่าง ๆ ที่อาศัยในจังหวัดสุพรรณบุรี ประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีต วรรณกรรมสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี เพลงพื้นบ้านหรือเพลงลูกทุ่ง จนถึงสุพรรณบุรีในวันนี้
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : ศูนย์ราชการกรมศิลปากร ถนนสุพรรณบุรี - ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-3553-5330
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี Suphanburi National Museum
5. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
กรมศิลปากร จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพื่อเก็บรวบรวม สงวนรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการโบราณคดี ประวัติศาสตร์และศิลปกรรมท้องถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร ภายในมีอาคารจัดแสดงรวมทั้งหมด 4 หลัง อาคารแต่ละหลังมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกัน
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-5571-1570
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum
6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ตั้งแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่รวบรวมได้จากบริเวณภาคเหนือตอนบน อันประกอบด้วยพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และลำปาง และสาเหตุที่พิจารณาจังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานที่ตั้ง เนื่องจากมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย เคยเป็นที่ตั้งของราชธานีหรือเมืองหลวง ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาหรือไทยฝ่ายเหนือมาก่อน อีกทั้งยังคงสถานะเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือสืบต่อมาจนทุกวันนี้ โดยภายในมีการจัดแสดงทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และตัวอย่างศิลปกรรมสมัยต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาวิชาการครอบคลุมหลายสาขาประกอบด้วย ภูมิศาสตร์ และธรณีวิทยา โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปกรรมของชาวล้านนา ด้วยเทคนิคและสื่อการจัดแสดงหลากหลาย
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : เลขที่ 451 หมู่ที่ 2 ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่ - ลำปางตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-5322-1308
- เฟซบุ๊ก : Chiang Mai National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
7. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของไทย ก่อตั้งหลังการเสด็จประพาสเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2515 โดยการเสด็จประพาสดังกล่าวได้กระตุ้นการปลุกจิตสำนึกอนุรักษ์ รวมถึงให้ความสำคัญและความตระหนักถึงแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่กำลังประสบปัญหาการลักลอบค้าโบราณวัตถุในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 กรมศิลปากร ได้ดำเนินการเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งแห่งแรกของประเทศไทย
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 13 ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-4227-8350
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum
8. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เกิดขึ้นมาจากประชาชนและข้าราชการ ได้นำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มาบริจาคและจัดแสดงไว้ที่ศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นย้ายไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่อาคารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์
ต่อมาเมื่อได้รับมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากประชาชนและจากการดำเนินการทางโบราณคดี ทำให้สถานที่จัดแสดงชั่วคราวคับแคบ ไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2535 กรมศิลปากร มีนโยบายที่จะปรับปรุงและจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จึงเป็นพิพิธภัณฑสถานอันดับต้น ๆ ที่ได้รับการพิจารณาจัดตั้งขึ้นภายใต้นโยบายดังกล่าว โดยออกแบบขึ้นใหม่รูปทรงทันสมัย ประยุกต์มาจากปราสาท ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะขอมโบราณ มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารเชื่อมต่อถึงกัน 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นโถงทางเข้าและทางเดิน ส่วนที่ 2 เป็นส่วนบริการการศึกษาและสำนักงาน ส่วนที่ 3 เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร ส่วนที่ 4 เป็นคลังพิพิธภัณฑ์
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : เลขที่ 214 หมู่ 13 ถนนสุรินทร์ - ช่องจอม ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-4415-3054
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากร
9. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
สงขลา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้มาตั้งแต่โบราณ มีเมืองเก่าหลายเมือง มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา เป็นศูนย์กลางการค้า เป็นเมืองชุมทางภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม มีความเจริญเติบโตด้านธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว ที่ยังคงรักษาความเก่าแก่ของโบราณสถานอันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไว้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : เลขที่ 13 ถนนวิเชียรชม ตําบลบ่อยาง อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-7431-1728
- เฟซบุ๊ก : Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
10. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
แหล่งเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากการที่หน่วยศิลปากรที่ 8 กรมศิลปากร สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลโบราณสถานในเขตภาคใต้ตอนบนในปี พ.ศ. 2507 ดำเนินการขุดแต่งบูรณะเจดีย์ยักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2509- 2510 ได้โบราณวัตถุเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีสถานที่เก็บรักษา นอกจากนั้นยังมีโบราณวัตถุที่ได้จากกการสำรวจขุดค้นในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา กระบี่ และภูเก็ต รวม 7 จังหวัด รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่าง ๆ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ไว้ในที่แห่งเดียวกัน จึงจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2513 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ภาพจาก virtualmuseum.finearts.go.th
ชมภาพเสมือนจริงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้ที่
เว็บไซต์ www.virtualmuseum.finearts.go.th
- สถานที่ตั้ง : ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-7534-1075
- เฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช : Nakhon Si Thammarat National Museum
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
virtualmuseum.finearts.go.th และ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม