x close

วิธีกรอกใบ ตม. 2019 ประเทศยอดนิยม แปลไทยแล้ว กรอกง่าย

          เที่ยวต่างประเทศด้วยตัวเอง กับวีธีกรอกใบ ตม. เข้าประเทศต่าง ๆ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนาม จีน ลาว กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ แปลไทยทุกข้อ กรอกเองได้เลย

          สำหรับใครที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ จะรู้จักกับ "ใบขาเข้า" (Arrival Card/Disembarkation Card) กันเป็นอย่างดี เพราะจะต้องกรอกก่อนผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศต่าง ๆ แต่สำหรับใครที่เพิ่งเคยไปเที่ยวต่างประเทศครั้งแรก อาจจะยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร ต้องกรอกอย่างไร เพราะส่วนใหญ่จะเป็นภาษาท้องถิ่นและภาษาอังกฤษ แต่อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับใบขาเข้า และแนะนำวิธีการกรอกเอกสารเข้าเมืองของแต่ละประเทศกัน

ใบขาเข้า คืออะไร

          ใบขาเข้า บางประเทศจะใช้คำว่า Arrival Card แต่บางประเทศก็จะใช้คำว่า Disembarkation Card ส่วนคนไทยก็นิยมเรียกกันว่า ใบ ตม. ซึ่งก็คือเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว เพื่อใช้ประกอบในขั้นตอนของด่านตรวจคนเข้าเมืองของแต่ละประเทศ ข้อมูลในใบขาเข้า อาทิ ชื่อ-นามสกุลของผู้เดินทาง, หมายเลขพาสปอร์ต, หมายเลขเที่ยวบิน, ที่อยู่ของที่พัก/โรงแรมที่เราจะพักในเมืองนั้น ๆ และจุดประสงค์ในการเดินทางเข้าประเทศ เป็นต้น
 

          ทั้งนี้ใบขาเข้าของแต่ละประเทศก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาาท้องถิ่น แล้วมีภาษาอังกฤษกำกับไว้ นักท่องเที่ยวมือใหม่อาจจะไม่ทราบว่าแต่ละช่องคืออะไร งั้นเราจะพาไปดูใบขาเข้าของแต่ละประเทศที่เป็นประเทศยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไทยกันเลย เริ่มด้วย...

ประเทศญี่ปุ่น
          เส้นทางท่องเที่ยวต่างประเทศในฝันของใครหลายคน เที่ยวได้แทบจะทุกเมืองและทุกฤดูกาล ไม่ต้องใช้วีซ่า มีแหล่งท่องเที่ยวสวย ๆ เพียบ อาหารก็อร่อย ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยไปเยือนญี่ปุ่นหลายแสนคนต่อปี แต่สำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ ก็อาจไม่คุ้นเคยกับใบขาเข้ามากนัก แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะกรอกง่าย ไม่ยากอย่างที่คิด โดยหลายสายการบินจะให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเดินแจกแบบฟอร์ม Disembarkation Card ก่อนที่เครื่องจะ Take-off ราว ๆ 20-30 นาที หรือถ้าไม่มีการเดินแจก เราก็สามารถเรียกพนักงานต้อนรับเพื่อขอแบบฟอร์มนี้ได้ แต่ถ้าแบบฟอร์มหมด ก็สามารถที่จะไปเอาได้บริเวณจุด Immigration จะมีโต๊ะวางไว้ให้ พร้อมกับพื้นที่ในการกรอกรายละเอียด

          ส่วนรายละเอียดในใบขาเข้า ดังนี้
วิธีกรอกใบ ต.ม

ภาพจาก immi-moj.go.jp

          1. ชื่อ (Name)
          1.1 นามสกุล (Family Name)
          1.2 ชื่อจริง (Given Names)
 

          2. วันเกิด (Date of Birth)
          2.1 วันที่ (Day)
          2.2 เดือน (Month)
          2.3 ปี (ปี)
 

          3. ที่อยู่ในไทย (Home Address)
          3.1 ชื่อประเทศ (Country name)
          3.2 จังหวัด (City Name)
 

          4. จุดประสงค์ในการเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น (Purpose of visit)
          4.1 ท่องเที่ยว (Tourism)
          4.2 ธุรกิจ (Business)
          4.3 เยี่ยมญาติ (Visiting relatives)
          4.4 อื่น ๆ (Others)
 

          5. หมายเลขเที่ยวบินที่เดินทางมา (Last flight No./Vessel)
 

          6. ระยะเวลาพำนักในญี่ปุ่น (Intended lenght of stay in Japan)
 

          7. ที่อยู่ในญี่ปุ่น (Intended address in Japan) และเบอร์โทรศัพท์ (Tel)
ส่วนใหญ่จะกรอกที่อยู่ของที่พักในคืนแรกของทริป
 

          8. เคยมีประวัติถูกเนรเทศ หรือถูกปฏิเสธเข้าญี่ปุ่นหรือไม่ (Any history of receiving a deportation order or refusal of entry into Japan)
 

          9. เคยมีประวัติอาชญากรรมในญี่ปุ่น หรือประเทศอื่น ๆ หรือไม่ (Any history of being convicted of a crime)
 

          10. พกปืน อาวุธมีด หรือดินปืนมาด้วยหรือไม่ (Prosession of controlled substances, guns, bladed weapons, or gunpowder)

         ตรงนี้ถ้าไม่ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง No แต่ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องตอบคำถามในหน้าหลังด้วย

          11. ลายเซ็น (Signture) เซ็นให้ตรงกับในพาสปอร์ต

ประเทศสิงคโปร์
          ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ระบบของด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสิงคโปร์จึงเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถที่จะกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Disembarkation Card ได้ล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ ใน eservices.ica.gov.sg แต่ก็ยังมีแบบกรอกรายละเอียดลงบนแผ่นกระดาษ สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปที่ไม่ได้กรอกออนไลน์มาก่อน โดยใน Disembarkation Card จะมีรายละเอียด ดังนี้
วิธีกรอกใบ ต.ม

ภาพจาก ica.gov.sg

          1. ชื่อ-นามสกุลที่ปรากฏในพาสปอร์ต (Full Name as it appears in passpport/travel document)
กรอกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ตามช่อง ส่วนใหญ่บรรทัดแรกจะเป็นนามสกุล บรรทัดต่อมาเป็นชื่อจริง
 

          2. เพศ (Sex)
          2.1 ผู้ชาย (Male)
          2.2 ผู้หญิง (Female)
 

          3. เลขที่พาสปอร์ต (Passport Number)
 

          4. ที่อยู่ในไทย (Place of Residence)
          4.1 อำเภอ (City)
          4.2 จังหวัด (State)
          4.3 ประเทศ (Country)
 

          5. ประเทศเกิด (Country of Birth)
 

          * หมายเลขประจำตัวประชาชน สำหรับชาวมาเลเซียเท่านั้น (Identity Card Number)
 

          6. วันเกิด (Date of Birth) เรียงตามวันที่/เดือน/ปี
 

          7. ระยะเวลาพำนักในสิงคโปร์ (Length of Stay)
 

          8. สัญชาติ (Natonality)
 

          9. ประเทศสุดท้ายก่อนที่จะเดินทางมายังสิงคโปร์ (Last City/Port of Embarkation Before Singapore)
 

          10. ประเทศที่จะเดินทางต่อไปจากสิงคโปร์ (Next City/Port Disembarkation After Singapore)
 

          11. หมายเลขเที่ยวบินที่เดินทางมา (Flight No./Vessel Name/Vehicle No.)
 

          12. ชื่อโรงแรมหรือที่พักในสิงคโปร์ (Address in Singapore)
 

          13. รหัสไปรษณีย์ของที่พัก (Postal Code)
 

          14. เบอร์โทรศัพท์ของโรงแรม (Contact Number)
 

          15. ได้เดินทางไปแอฟริกา หรืออเมริกาใต้ในช่วง 6 วันที่ผ่านมาหรือไม่ (Have you been to Africa or South America during the last 6 days ?)
 

          16. เคยใช้พาสปอร์ตคนละชื่อกับเล่มปัจจุบันเดินทางเข้าสิงคโปร์หรือไม่ (Have you ever used a passport under different name to enter Singapore ?)


          ถ้าเคย ให้กรอกชื่อเดิมมาด้วย (If "yes", state name(s) different from current passport)
 

          17. เคยถูกห้ามเข้าสิงคโปร์หรือไม่ (Have you ever been prohibited from entering Singapore ?)
 

          18. ลายเซ็น
 

          19. ชื่อนามสกุลเต็มตามพาสปอร์ต (Full Name as it appears in passport/travel document) เขียนตัวพิมพ์ใหญ่
 

          20. สัญชาติ
 

          ** สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น

ประเทศเกาหลีใต้
          อีกหนึ่งประเทศน่าเที่ยวที่มีเสน่ห์ล้นเหลือ ทั้งผู้คน อาหาร และสถานที่ท่องเที่ยว แถมยังมีแหล่งช้อปปิ้งราคาเบา ๆ เอาใจขาช้อปอีกต่างหาก แต่ก่อนจะไปตะลุยท่องเที่ยวในเกาหลีใต้ได้ ก็ต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินกันก่อน และด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เข้าไปเที่ยวประเทศเกาหลีใต้มากขึ้นทุกปี ทำให้หน่วยงานด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาหลี ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ โดยจัดทำใบขาเข้าประเทศที่มีภาษาไทยรองรับด้วย ซึ่งก็ทำให้กรอกง่าย ไม่สับสน ในส่วนของที่อยู่ของโรงแรมให้ใส่รายละเอียดให้ครบถ้วน ควรเตรียมหาข้อมูลของที่พักไปด้วย

ฮ่องกง

          ที่เที่ยวต่างประเทศยอดนิยมของคนไทยที่สามารถไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย พร้อมด้วยกิจกรรมเอนเตอร์เทนเมนต์ระดับโลกหลากหลายรูปแบบ จะช้อปปิ้ง ไหว้พระ ปีนเขา เที่ยวชายหาด ก็มีครบถ้วน แต่สำหรับบางท่านที่เพิ่งจะไปฮ่องกงครั้งแรก ก็อาจจะยังงงกับใบขาเข้า (Arrival Card) ของฮ่องกงอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้น่าสับสนจนปวดตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วิธีกรอกใบ ต.ม

          1. นามสกุล : ตัวพิมพ์ใหญ่ (Family Name : in Capital)
 

          2. ชื่อ : ตัวพิมพ์ใหญ่ (Given name : in Capital)
 

          3. เพศ (Sex)
 

          4. เลขที่หนังสือเดินทาง/พาสปอร์ต (Tavel Document No.)
 

          5. สถานที่และวันที่ออกหนังสือเดินทาง/พาสปอร์ต (Place and date of issue)
 

          6. สัญชาติ (Nationality)
 

          7. วัน/เดือน/ปีเกิด (Date of Birth)
 

          8. สถานที่เกิด (Place of Birth)
 

          9. ที่พักในฮ่องกง/ที่อยู่โรงแรม (Address in Hong Kong)
 

          10. ที่อยู่ในเมืองไทย (Home address)
 

          11. หมายเลขเที่ยวบิน หรือชื่อเรือ (Flight No./Ship's name)
 

          12. ออกเดินทางมาจากที่ไหน (From)
 

          13. ลายเซ็นผู้เดินทาง (Signature of traveller)

ประเทศเวียดนาม
          เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่น่าเที่ยวไม่แพ้ที่ไหนในเอเชีย ซึ่งจากไทยก็มีหลายสายการบินให้บริการเส้นทางบินตรงไปลงเมืองยอดนิยมของเวียดนาม ทั้งเมืองโฮจิมินห์ เมืองฮานอย และเมืองดานัง นอกจากคนไทยจะไม่ต้องใช้วีซ่าแล้ว ยังไม่ต้องยุ่งยากกับการกรอกใบขาเข้าประเทศเวียดนามด้วย เพราะทุกอย่างจะเป็นระบบออนไลน์

          ทันทีที่เราได้รับการยืนยันจากสายการบินว่าเดินทางมาถึงประเทศเวียดนามแล้ว ทางสายการบินจะส่งต่อข้อมูลไปยังฝ่าย Immigration นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินเข้าไปยังจุดตรวจด่านคนเข้าเมืองได้เลยโดยไม่ต้องกรอกใบขาเข้าใด ๆ
ไต้หวัน
          หลังจากที่ไต้หวันประกาศยกเลิกการตรวจลงตราวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยมาต่อเนื่องหลายปี ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวไปเยือนไต้หวันไม่ขาดสาย เพราะนอกจากค่าครองชีพจะไม่สูงมากแล้ว ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ มากมาย อาหารอร่อย สินค้าราคาไม่แพง ช้อปปิ้งเพลิน แต่ก่อนจะออกจากสนามบินก็ยังต้องผ่านกระบวนการของด่านตรวจคนเข้าเมือง ไต้หวันจะมีทางเลือกให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2 ทางสำหรับการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับใบขาเข้า

          โดยทางเลือกแรกคือ กรอกข้อมูลล่วงหน้าทางออนไลน์ได้ที่ immigration.gov.tw และทางเลือกที่ 2 คือ การกรอกในแผ่นกระดาษ บางสายการบินจะแจกให้กับผู้โดยสารตั้งแต่อยู่บนเครื่องบิน แต่ถ้าไม่มีให้ก็สามารถมากรอกได้บริเวณ Immigration ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
วิธีกรอกใบ ต.ม

          1. นามสกุล (Family Name)
 

          2. ชื่อ (Given Name)
 

          3. หมายเลขหนังสือเดินทาง (Passport No.)
 

          4. วัน/เดือน/ปีเกิด (Date of Birth)
 

          5. สัญชาติ (Nationality)
 

          6. เพศ (Sex)

          6.1 ผู้ชาย (Male)

          6.2 ผู้หญิง (Female)
 

          7. หมายเลขเที่ยวบิน (Flight/Vassel No.)
 

          8. อาชีพ (Occupation)
 

          9. ประเภทของวีซ่า (Visa Type)
          9.1 ทูต (Diplomatic)
          9.2 อัธยาศัยไมตรี (Courtesy)
          9.3 ผู้ที่พำนักในฮ่องกงถาวร (Resident)
          9.4 นักท่องเที่ยว (Visitor)
          9.5 ได้รับการยกเว้นวีซ่า (Visa-extempt) *** นักท่องเที่ยวไทยให้ติ๊กข้อนี้
          9.6 แวะพักต่อเครื่อง (Landing)
          9.7 อื่น ๆ (Others)
 

          10. เลขที่วีซ่า (Entry Permit/Visa No.) ***นักท่องเที่ยวไทยไม่ต้องกรอก
 

          11. ที่อยู่ในเมืองไทย (Home Address)
 

          12. ที่อยู่ในไต้หวัน/ชื่อโรงแรมในไต้หวัน (Residental address or Hotel Name in Taiwan)
 

          13. จุดประสงค์ในการเข้าไต้หวัน (Propose of Visit)
          13.1 ธุรกิจ (Business)
          13.2 ศึกษา (Study)
          13.3 ท่องเที่ยว (Sightseeing) ***นักท่องเที่ยวไทยที่ตั้งใจไปเพื่อเที่ยวไต้หวันให้ติ๊กข้อนี้
          13.4 เข้าร่วมงานมหกรรมต่าง ๆ (Exhibition)
          13.5 เยี่ยมญาติ (Visit Relative)
          13.6 ดูแลรักษาทางการแพทย์ (Medical Care)
          13.7 การประชุมต่าง ๆ (Conference)
          13.8 ลูกจ้างทำงานในไต้หวัน (Employment)
          13.9 ร่วมพิธีกรรมทางศาสนา (Religion)
          13.10 อื่น ๆ (Others)
 

          14. ลายเซ็น (Signature)

ประเทศเมียนมา
          เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ไปเที่ยวได้ง่าย ๆ เข้าได้ทั้งทางด่านชายแดน และทางอากาศยาน โดยถ้าเข้าไปเที่ยวทางชายแดน จะใช้เพียงบัตรผ่านแดนชั่วคราว พำนักอยู่ได้ 7/14 วัน แต่จะอยู่ได้เพียงเมืองนั้น ๆ ที่อยู่ติดชายแดนเท่านั้น ถ้าจะไปไกลกว่าเมืองชายแดนที่เราเข้าไปก็จะต้องดำเนินการขอวีซ่า

          ส่วนถ้าเข้าทางท่าอากาศยานจะไม่ต้องใช้วีซ่า พำนักอยู่ได้ 14 วัน และยังสามารถไปเยือนเมืองอื่น ๆ ได้ด้วย และถ้าหากใครเดินทางมาทางอากาศยาน ก็ไม่ต้องกรอกใบขาเข้า เพราะทางการพม่าได้ยกเลิกไปแล้ว ข้อมูลของเราทางสายการบินจะส่งให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยอัตโนมัติ เมื่อเรายื่นพาสปอร์ตให้เจ้าหน้าที่ก็จะมีข้อมูลของเราทันที
ประเทศลาว
          เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่นักท่องเที่ยวไทยให้ความสนใจไปท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพราะยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่เยอะมาก อีกทั้งยังงดงามด้วยประเพณีวัฒนธรรม มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย ชาวบ้านใช้ชีวิตเรียบง่าย เหมาะแก่การไปพักผ่อนแบบสโลว์ไลฟ์ การเข้าไปเที่ยวประเทศลาว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยไม่ว่าจะไปเที่ยวลาวผ่านทางชายแดน หรือทางท่าอากาศยาน ก็ไม่ต้องขอวีซ่า แต่จะต้องใช้พาสปอร์ตในการดำเนินการด่านตรวจคนเข้าเมือง ในส่วนของการเขียนใบขาเข้าก็ไม่ยาก มีรายละเอียด ดังนี้
วิธีกรอกใบ ต.ม

ภาพจาก Miew S / Shutterstock.com

          1. นามสกุล (Family Name)
 

          2. ชื่อ (Name)
 

          3. ผู้ชาย (Male)
 

          4. ผู้หญิง (Female)
 

          5. วัน/เดือน/ปี (Date of birth)
 

          6. สถานที่เกิด (Place of birth)
 

          7. สัญชาติ (Nationality)
 

          8. อาชีพ (Occupation)
 

          9. เลขที่พาสปอร์ต (Passport No.)
 

          10. วัดหมดอายุพาสปอร์ต (Expiry date)
 

          11. วันที่ออกพาสปอร์ต (Date of issue)
 

          12. สถานที่ออกพาสปอร์ต (Place of issue)
 

          13. เลขที่วีซ่า (Visa No.) ***ไม่ต้องกรอก
 

          14. วันที่ออกวีซ่า (Date of issue) ***ไม่ต้องกรอก
 

          15. สถานที่ออกวีซ่า (Place of issue) ***ไม่ต้องกรอก
 

          16. จุดประสงค์ในการเข้าประเทศ (Purposr of entry)
          16.1 ทูต (Diplomatic)
          16.2 ราชการ (Official)
          16.3 เยี่ยมเยียน (Visit)
          16.4 ธุรกิจ (Business)
          16.5 ท่องเที่ยว (Tourism) ***ถ้าเข้าไปเพื่อท่องเที่ยวให้ติ๊กข้อนี้
          16.6 แวะพักต่อเครื่อง (Transit)
 

          17. เดินทางมาโดย (Traveling by)
          17.1 หมายเลขเที่ยวบิน (Flight No.)
          17.2 หมายเลขทะเบียนรถ (Car No.)
          17.3 หมายเลขรถบัส (Bus No.)
 

          18. เดินทางมาจาก (Traveling from)
 

          19. เดินทางมากับทัวร์ใช่หรือไม่ (Traveling in package tour)
 

          20. ที่อยู่ที่พัก/โรงแรมในประเทศลาว (Intented address in Lao PDR.)
 

          21. เบอร์โทรศัพท์ (Tel.) *** ถ้ามีเบอร์โทรศัพท์ของโรงแรมก็ให้กรอก
 

          22. สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น (For official use only)
 

          23. วันที่ (Date)
 

          24. ลายเซ็น (Signature)

ประเทศอินโดนีเซีย
          ประเทศที่มีเกาะเล็กเกาะน้อยมากกว่า 17,000 เกาะ เรียงรายอยู่ในแนวราบตั้งแต่ทางฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ จึงทำให้ประเทศแห่งนี้น่าหลงใหลไปด้วยท้องทะเลที่สวยงามมากมาย พร้อมทั้งยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลายให้ได้สัมผัส ค่าครองชีพไม่แพงมากนัก มีหลายเมืองน่าท่องเที่ยว เช่น บาหลี, จาการ์ตา, ซูราบายา และยอกยาการ์ตา

          นักท่องเที่ยวไทยสามารถไปเที่ยวได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า พำนักอยู่ได้นานถึง 30 วัน แต่ก่อนจะออกจากสนามบินทุกแห่ง ในส่วนของด่านตรวจคนเข้าเมืองก็ยังต้องกรอกใบขาเข้า โดยจะต้องกรอกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด มีรายละเอียด ดังนี้

ภาพจาก agus noprianto / Shutterstock.com

          1. ชื่อ-นามสกุลเต็ม ที่ใช้ในพาสปอร์ต (Full Name : as appears in Passport)
 

          2. เพศ (Sex)
          2.1 ผู้ชาย (Male)
          2.2 ผู้หญิง (Female)
 

          3. สัญชาติ (Nationality)
 

          4. สถานที่เกิด หรือประเทศบ้านเกิด (Place of birth)
 

          5. วัน/เดือน/ปีเกิด (Date of birth)
 

          6. หมายเลขพาสปอร์ต (Passport Number)
 

          7. สถานที่ออกพาสปอร์ต (Place of issue)
 

          8. วันหมดอายุของพาสปอร์ต (Date of expiry)
 

          9. ประเทศที่อาศัยถาวรในปัจจุบัน (Country of residence)
 

          10. ประเทศสุดท้ายที่พำนักอยู่ก่อนที่จะเดินทางมาที่อินโดนีเซีย (Last place / port of embarkation)
 

          11. หมายเลขเที่ยวบิน / ชื่อเรือ / หมายเลขทะเบียนยานพาหนะ (Flight No. / Vassel name / Vehicle reg. no.)
 

          12. อาชีพ (Occupation)
          12.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ (Professional / Technical)
          12.2 การจัดการ / ธุรการ (Managment / Administration)
          12.3 ฝ่ายขาย / ธุรการ (Sales / Clerical)  
          12.4 นักเรียน (Student)
          12.5 แม่บ้าน (Housewife)
          12.6 อื่น ๆ (Others)
 

          13. จุดประสงค์ในการเข้าอินโดนีเซีย
          13.1 ธุรกิจ (Business)
          13.2 ศึกษา (Education)
          13.3 ราชการ (Official mission)
          13.4 พักผ่อน (Leisure)
          13.5 เข้าร่วมประชุม (Convention)
          13.6 พักผ่อนช่วงวันหยุด / เยี่ยมเพื่อน / เยี่ยมญาติ (Holiday / Visiting friends / relatives)
          13.7 อื่น ๆ (Others)
 

          14. ที่พัก (Accomodation)
          14.1 โรงแรม (Hotel)
          14.2 อพาร์ตเมนต์ (Apartment)
          14.3 บ้านเพื่อนหรือญาติ (Residence of friends / relatives)
          14.4 อื่น ๆ (Others)
 

          15. พำนักอยู่ในอินโดนีเซียกี่วัน (Intended length of stay)
 

          16. ที่พักในอินโดนีเซีย (Address in Indonesia)
 

          17. ลายเซ็น (Passenger Signature)

ประเทศมาเลเซีย
          ประเทศเพื่อนบ้านที่มีเขตติดต่อกับประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายเช่นกัน ทั้งวัดวาอาราม ท้องทะเล เมืองเก่า เมืองศิวิไลซ์ ฟาร์ม ไร่ชา กาสิโน ที่สำคัญมีภูเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Mount Kinabalu ตั้งอยู่ด้วย การเดินทางไปเที่ยวมาเลเซียสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ทั้งทางบก ทางเรือ ทางรถไฟ และทางอากาศยาน

          นักท่องเที่ยวสามารถพำนักอยู่ได้ 30 วัน ในส่วนของการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียทางอากาศยาน ปัจจุบันนักท่องเที่ยวไม่ต้องกรอกใบขาเข้าแล้ว กระบวนการ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองจะใช้เพียงแค่พาสปอร์ตเท่านั้น
ประเทศกัมพูชา
วิธีกรอกใบ ต.ม

ภาพจาก cne.wtf

          ประเทศที่มีประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมทั้งยังมีสถานที่่ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้เที่ยวชมมากมาย และจากการที่เป็นประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเข้าไปเที่ยวได้ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศยาน โดยไม่ต้องขอวีซ่า พำนักได้ 14 วัน แต่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก็ยังมีระบบให้กรอกแบบฟอร์มใบขาเข้าอยู่ รายละเอียด ดังนี้
 

          1. นามสกุล (Surname)

 

          2. ชื่อ (Given Name)
 

          3. เพศ (Gender)
 

          4. วัน/เดือน/ปีเกิด (Date of birth)
 

          5. สัญชาติ (Nationality)
 

          6. เลขที่พาสปอร์ต (Passport No.)
 

          7. หมายเลขเที่ยวบิน / หมายเลขทะเบียนรถ / หมายเลขเรือ / หมายเลขขบวนรถไฟ (Flight/car/Ship/Train No.)
 

          8. มาจากประเทศ (From)
 

          9. ประเทศปลายทาง (Final City)
 

          10. จุดประสงค์ในการเข้าประเทศกัมพูชา (Purpose of Travel)
 

          11. ระยะเวลาที่จะพำนักในกัมพูชา (Length of stay)
 

          12. ประเทศวีซ่า (Visa Type)
          12.1 ท่องเที่ยว (Tourist Visa)
          12.2 พิเศษ สำหรับชาวกัมพูชาเท่านั้น (Special Visa)
          12.3 ปกติ (Ordinary Visa)
          12.4 อื่น ๆ (Others)
 

          13. หมายเลขวีซ่า (Visa No.)
 

          14. เบอร์โทรศัพท์ / อีเมล (Telephone No./E-mail)
 

          15. ที่อยู่/โรงแรมในกัมพูชา (Address in Cambodia)
 

          16. ลายเซ็น (Signature)

ประเทศจีน
          ประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก จึงมีสิ่งที่น่าสนใจครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นภูเขา น้ำตก ท้องทะเล เมืองเก่า เมืองสุดทันสมัย ที่เที่ยวทางวัฒนธรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับนักท่องเที่ยวไทย ยังคงต้องขอวีซ่าเพื่อการเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศจีน และไม่ว่าจะไปเที่ยวที่เมืองไหน ก็ยังต้องกรอกใบขาเข้าประเทศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ภาพจาก cedp.org.uk

          1. นามสกุล (Family Name)

          2. ชื่อ (Given Name)

          3. สัญชาติ (Nationality)

          4. เลขที่พาสปอร์ต (Passport No.)

          5. ที่พัก/โรงแรมในประเทศจีน (Intended Address in China)

          6. เพศชาย (Male) เพศหญิง (Female)

          7. วัน/เดือน/ปีเกิด (Date of birth)

          8. หมายเลขวีซ่า (Visa No.)

          9. สถานที่ออกวีซ่า (Place of Visa Issuance)

          10. หมายเลขเที่ยวบิน / ชื่อเรือ / หมายเลขเที่ยวรถไฟ (Flight No./Ship's name/Train No.)

          11. จุดประสงค์ในการเข้าประเทศจีน (Purpose of visit)
          11.1 ประชุม / ธุรกิจ (Conference/Business)
          11.2 เยี่ยมเยียน (Visit)
          11.3 ท่องเที่ยวพักผ่อน (Sightseeing/in leisure)
          11.4 เยี่ยมเยือน หรือญาติ (Visiting Friends or relatives)
          11.5 ลูกจ้าง (Employment)
          11.6 เรียน (Study)
          11.7 กลับบ้าน (Return home)
          11.8 ตั้งถิ่นฐาน (Settle down)
          11.9 อื่น ๆ (others)
 

          12. ลายเซ็น (Signature)
 

          เห็นแบบนี้แล้วก็โล่งใจขึ้นมาอีกหน่อยใช่ไหมคะ เพราะมีรายละเอียดครบถ้วน เป็นไกด์ไลน์การท่องเที่ยวแต่ละประเทศข้างต้นได้สบาย ๆ เดินทางเที่ยวต่างประเทศด้วยตัวเองง่ายกว่าที่คิดจริง ๆ ลองสักครั้งแล้วจะติดใจ :)


หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2562
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก เที่ยวเกาหลี Korea Fan Club, ica.gov.sg, immi-moj.go.jp, imigrasi.go.id, immigration.gov.tw, cedp.org.uk

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วิธีกรอกใบ ตม. 2019 ประเทศยอดนิยม แปลไทยแล้ว กรอกง่าย อัปเดตล่าสุด 2 เมษายน 2567 เวลา 15:05:42 163,934 อ่าน
TOP