สถานีเกษตรหลวงปางดะ เชียงใหม่ ผลผลิตการเกษตรจากน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ร.9



         สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่ ท่องโลกของการเกษตร เยี่ยมชมแปลงพืชผลทางการเกษตรที่น่าสนใจ ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานไว้ให้พวกเราทุกคน
 
         สำหรับใครก็ตามที่เดินทางไปเที่ยวสะเมิง แล้วไม่ได้ไปเที่ยวชมสถานีเกษตรหลวงปางดะ เชียงใหม่ ก็ดูเหมือนว่าจะยังมาไม่ถึง ด้วยเพราะที่นี่นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว อันเต็มไปด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่ซ่อนอยู่มากมาย ทุกตารางพื้นที่ครอบคลุมทั้งแปลงปลูกสาธิต โรงเพาะเลี้ยงต้นกล้าต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นแหล่งเรียนรู้งานวิชาการ และส่งต่อมายังเกษตรกรและนักท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมและรับความรู้ได้จากที่นี่

สถานีเกษตรหลวงปางดะ

         สายฝนโปรยปราย ปล่อยละอองบางเบา ตลอดช่วงระยะเวลาที่รถลัดเลาะทางอันคดโค้ง เพื่อเดินทางมายังจุดหมายปลายทางที่ "สถานีเกษตรหลวงปางดะ" ตั้งอยู่ในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อช่วยให้ชาวเขามีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องต่อเกษตรกรควบคู่ไปกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อเกษตรกรและทรัพยากรในพื้นที่
 
สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

          โดยรอบบริเวณพื้นที่กว่า 1,232 ไร่ หากลองสังเกตดูดี ๆ เราจะเห็นเลยว่าที่นี่เต็มไปด้วยโครงการปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆ มากมาย ซึ่งแน่นอนเลยว่า…จุดท่องเที่ยวของที่นี่จะเป็นการเที่ยวชมแปลงสาธิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกพืชไร่ ผลไม้ หรือพืชสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะได้ถ่ายรูปสวย ๆ กับแปลงวิจัยแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำให้ความรู้อยู่ด้วยความเต็มใจ
 
สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่
เหล่าบรรดาแปลงวิจัยพืชผักต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของสถานีเกษตรหลวงปางดะ

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

         เฮมพ์กับโครงการหลวง

         แปลงสาธิตที่แรกที่วิทยากรพาเราไปทำความรู้จัก คือ แปลงงานวิจัยการเพาะปลูกเฮมพ์  หลายคนสงสัยว่า "เฮมพ์" คืออะไร ? แล้วมาเกี่ยวข้องกับโครงการหลวงได้อย่างไร ?
 
สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

         เฮมพ์ (Hemp) หรือ กัญชง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียกลาง ส่วนใหญ่แล้วเรามักเอาส่วนของเส้นใยมาใช้ประโยชน์ เช่น เส้นใยมาทำเป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า และกระดาษ เป็นต้น แรกเริ่มเดิมทีเฮมพ์ในไทย ปลูกโดยชาวเขาเผ่าม้ง แต่เพราะตามกฎหมายของไทย เฮมพ์ถูกจัดให้เป็นพืชเสพติดเช่นเดียวกับกัญชา
 
สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

         ดังนั้นการปลูกเฮมพ์ของชาวเขาช่วงนั้นจึงเป็นการลักลอบปลูก ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัยผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ และได้มีพระราชเสาวนีย์ให้มีการศึกษาการเพาะปลูกเฮมพ์อย่างจริงจังในประเทศไทยและสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงของประเทศไทย (โดยเฉพาะการปลูกให้ได้ THC หรือค่าสารเสพติด ต่ำกว่า 0.3%) โดยโครงการหลวงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เฮมพ์กลายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงนั่นเอง

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่
เส้นใยของเฮมพ์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น เส้นใยมาทำเป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า และกระดาษ เป็นต้น

         "มะเดื่อฝรั่ง" หรือ "ฟิก" ผลไม้พระราชทาน

         ผลไม้จากต่างประเทศอีกหนึ่งชนิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเสวย และเป็นผลไม้พระราชทานให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น โดยเริ่มโครงการจากที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "พระเจ้าอยู่หัวจะโปรดเก็บลูกมะเดื่อฝรั่งหรือลูกฟิกที่สุกแล้วมาเสวย พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งว่าทานแล้วมันดีต่อสุขภาพ"
 
สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่
 
         "มะเดื่อฝรั่ง" หรือ "ฟิก" ในวันนี้ กลายเป็นหนึ่งในพืชที่มูลนิธิโครงการหลวงให้ความสนใจ โดยได้มาทำการเพาะปลูกและวิจัย เพื่อขยายพันธุ์ส่งต่อให้ชาวบ้านนำไปเพาะปลูก สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นจำนวนไม่น้อย (โครงการหลวงจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 150 บาท)
  สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่
ต้นกล้าของมะเดื่อฝรั่งที่เกษตรกรกำลังเพาะชำ

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

         กลายเป็นว่าวันนี้คนไทยเริ่มรู้จักกับพืชชนิดนี้มากขึ้น จึงมีผลสำคัญทำให้ตลาดของมะเดื่อฝรั่งเติบโตตามไปด้วยเช่นกัน รวมถึงความอร่อยและแปลกใหม่ โดยเฉพาะสรรพคุณทางยา ช่วยในระบบขับถ่าย และช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยสามารถทานได้ทั้งแบบผลสดและอบแห้ง ส่วนใบก็ยังสามารถนำไปชงชาดื่มได้อีกด้วยค่ะ
 
         นอกจากแปลงวิจัยพืชผลต่าง ๆ ที่สำคัญแล้ว ภายในสถานีเกษตรหลวงปางดะ ยังมีอาคารสโมสร ซึ่งเป็นร้านอาหาร บ้านพักรับรอง และสถานที่กางเต็นท์ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ โทรศัพท์ 053 378 046)
 
สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่
เมนูสลัดพร้อมผักต่าง ๆ จากสถานีเกษตรหลวงปางดะที่ทั้งสดและกรอบ

สถานีเกษตรปลวงปางดะ เชียงใหม่
เมนูปีกไก่ทอด นุ่มกรอบกำลังพอดี

         การเดินทางมายังสถานีเกษตรหลวงปางดะ

         จากตัวเมืองเชียงใหม่ ระยะทางรวม 50 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 ผ่าน อำเภอแม่ริม เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม-สะเมิง  ถึงสามแยกสะเมิง  แล้วเลี้ยวขวา ไปอีก 1 กิโลเมตร สถานีปางดะจะตั้งอยู่ด้านขวาสังเกตป้ายด้านหน้าสถานี
 
         การได้มาเที่ยวและเห็นการทำงานวิจัยของเจ้าหน้าที่โครงการหลวงในการค้นคว้าพันธุ์ผักและผลไม้ รวมถึงได้เห็นการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ของชาวเขาที่สามารถสร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น เหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เราได้เห็นถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงทำเพื่อประชาชนคนไทย ได้อยู่ดีกินดีบนผืนแผ่นดินไทยผืนนี้
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์ thairoyalprojecttour.com, เฟซบุ๊ก สถานีเกษตรหลวงปางดะ


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สถานีเกษตรหลวงปางดะ เชียงใหม่ ผลผลิตการเกษตรจากน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ร.9 อัปเดตล่าสุด 16 ตุลาคม 2560 เวลา 15:52:34 18,510 อ่าน
TOP