x close

ประเพณี บุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร

ประเพณีบุญบั้งไฟ


ประเพณี บุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร (ททท.)

          ประเพณี บุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร วันที่ 5-9 พฤษภาคม 2553 สถานที่ ณ สวนสาธารณพญาแถน และ เขตเทศบาลเมืองยโสธร

          บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 ซึ่งจะตกในราวเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่านไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ขอให้ฝนตกก้องตามฤดูกาลเหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง

          คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ รวมทั้งความคิดเห็นของคนทั้วไปมักกล่าวถึงความสำคัญของบุญบั้งไฟกับวิถีชีวิตของคนอีสาน ในฐานะพิธีกรรมแห่งความสมบูรณ์ และมีความเกี่ยวเนื่องกับตำนาน นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เช่น เรื่องเท้าผาแดง - นางไอ่ ตำนานรักสามเส้าของเท้าผาแดง นางไอ่และท้าวพังคีพญานาค ที่มีการแข่งขันจุดบั้งไฟเพื่อแย่งชิงนางไอ่ จนกลายเป็นสงครามสู้รบและมีอภินิหารเล่าลือกันมากมาย

          เรื่องพญาคันคากหรือคางคก ยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า พญาแถนรบแพ้พญาคันคากจึงยอมให้ฝนแก่โลกแต่มีข้อแม้ว่าหากพญาคันคากต้องการฝนเมื่อใด ก็ให้บอกพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นไปบนฟ้า หรืออีกตำนานที่เล่าว่าพระพรหมกับพญานาคเป็นเพื่อนรักกัน พระพรหมอยู่บนสวรรค์พญานาคอยู่ใต้บาดาล อยากจะรู้สารทุกข์สุขดิบกันก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงตกลงกันว่าเมื่อใดที่พญานาคอยู่ดีมีสุข ให้พญานาคจุดบั้งไฟไปบอกข่าวและพระพรหมจะส่งฝนตกลงมาบนพื้นโลก เป็นการตอบรับพญานาค

          ดังที่ได้กล่าวมา วัตถุประสงค์หลักของบุญบั้งไฟ ก็คือ "การขอฝน" เชื่อกันว่าหากท้องถิ่นใดละเลยไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ก็อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่คนในชุมชน เว้นเสียแต่ต้องทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรษพบุรุษหรือเทพารักษ์) ของหมู่บ้านเสียก่อน

          ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของพิธีบุญบั้งไฟอีสานในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันคือ การละเล่นที่มักเต็มไปด้วยสื่อสัญลักษณ์ทางเพศและเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศชาย (บักแป้น, ขุนเพ็ด) อวัยวะเพศหญิงจำลอง ตุ๊กตาชาย - หญิง ในท่าร่วมเพศ ตุ๊กตารูปสัตว์ (โดยมากมักจะทำเป็นรูปลิง) ในท่าร่วมเพศ รวมทั้งการแสดงออกของผู้คนในขณะร่วมงานบุญบั้งไฟนั้น เห็นได้ชัดว่ามีความเชื่อในเรื่องฟ้าดินโดยที่ฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ดินเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างฟ้าดินคือ ฝนที่โปรยปรายลงมาสู่ดินก่อให้เกิดความเจริญเติบโตงอกงามของพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่โลกมนุษย์ เพื่อเป็นการเตือนฟ้าดินมิให้ลืมหน้าที่ มนุษย์จึงใช้อุบายคือ การละเล่นเกี่ยวกับเพศมาเป็นส่วนประกอบในงานบุญบั้งไฟ

          ทั้งนี้ รวมไปถึงการใช้คำเซิ้งที่ใช้ในการ "เซิ้งบั้งไฟ" ที่มักมีคำหยาบปะปนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ซึ่งจะพบในงานบุญบั้งไฟทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม การแสดงออกในสัญลักษณ์เชิงเพศที่ปรากฎในงานบุญบั้งไฟดูเหมือนจะถูกจำกัดลง เมื่อเทศกาลงานประเพณีดังกล่าวได้ถูกเปิดตัวสู่การกลายเป็นประเพณีเพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยว

          นอกจากนี้ ความน่าสนใจของเนื้อหาสาระของประเพณีบุญบั้งไฟ ยังอยู่ที่ภาพสะท้อนการผสมผสานระหว่างคติความเชื่อฝ่ายพุทธ กับแนวความคิดในแบบสังคมแบบพุทธกาล (ก่อนรับพุทธศาสนา) เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ แม้ว่าบุญบั้งไฟแต่เดิมอาจจะไม่ใช่ประเพณีในพระพุทธศาสนา แต่ทว่า ชาวไท - ลาว ได้ทำให้งานบุญนี้เลื่อนไหลเข้ามาอยู่ในบริบทของพุทธศาสนาอย่างชัดเจนมาก ขึ้น เช่น การเชิญมาร่วมงานก็ถือว่าเป็นการทำบุญ ตลอดจนมีตำนานที่เล่าถึงต้นกำเนิดของพิธีกรรมนี้ว่า มาจากการที่สาวกองค์หนึ่งพุ่งคบเพลิงไปถวายพระเพลิงพระพุทธองค์ เนื่องจากเข้าไม่ถึงที่ถวายพระเพลิงศพ นอกจากนี้ วัดยังเป็นแหล่งกลางของกิจกรรมในงานบุญ นับตั้งแต่การเตรียมบั้งไฟ ไปจนถึงการเล่นสนุก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาแทรกเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของบุญบั้งไฟหลายอย่างเช่น การบวชและการ "ฮดสงฆ์" หรืออภิเษกสมณศักดิ์ให้แก่พระภิกษุ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาว่าบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่ทำกันทั้วไปในภาคอีสานปัจจุบัน

          ปัจจุบันงานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ บั้งไฟที่มีการประกวดประชัน บั้งไฟทั้งบั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟสวยงาม (บั้งเอ้หรือบั้งไฟประดับที่ไม่สามารถจุดได้จริง) บั้งไฟโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการประกวดกาพย์เซิ้งบั้งไฟ ประกวดธิดาบั้งไฟโก้ นักท่องเที่ยวสามารถชมขบวนแห่เหศักดิ์ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ ตลอดขบวนแห่มีการเซิ้งของแต่ละคุ้มวัดที่ส่งบั้งไฟเข้าประกวด

          ทั้งนี้ งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร ได้รับการส่งเสริมได้รับการส่งเสริมในระดับที่มีการถ่ายทอดสดทางสถานี โทรทัศน์ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมมหรสพรื่นเริง เช่น เวทีคอนเสิร์ต หมอลำ การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และสินค้าทั้วไปบริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร และโรงเรียนเทศบาล 1 และสวนสนุกในลักษณะงานวัด

กำหนดการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร ประจำปี 2553

 
 วัน/เดือน/ปี  เวลา  กิจกรรม
 วันที่ 3 พฤษภาคม 2553 09.00 - 24.00 น.
มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณถนนวารีราชเดช (หน้าวัดมหาธาตุ)

  09.00 - 16.00 น.
ชมกระบวนการจัดทำบั้งไฟสวยงามและบั้งไฟจุดขึ้นสูง

  19.00 น.

ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นักท่องเที่ยว

ชมการฝึกซ้อมรำเซิ้ง การเตรียมขบวนแห่ของคณะบั้งไฟ

  20.30 น.  
พิธีเปิดงาน / การแสดงสมโภชงานประเพณีบุญบั้งไฟ / มหกรรมอาหาร
 
การประกวดวงดนตรีสตริง สลับกับการประกวดแดนเซอร์ เพลงเซิ้ง และการแสดงของศิลปินรับเชิญ


วันที่ 4 - 5 พฤษภาคม 2553

09.00 - 24.00 น. 
 มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณถนนวารีราชเดช (หน้าวัดมหาธาตุ)
   
09.00 - 16.00 น.

 ชมกระบวนการจัดทำบั้งไฟสวยงามและบั้งไฟจุดขึ้นสูง
  13.00 - 16.00 น.
 
ชมการสาธิตการทำบั้งไฟริวเซ (บั้งไฟญี่ปุ่น) โดยช่างริวเซ จากเมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น

  19.00 - 24.00 น.

ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรนายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นักท่องเที่ยว ชมการฝึกซ้อมรำเซิ้งการเตรียมขบวนแห่ของคณะบั้งไฟ ณ มมร., คุ้มวัดอัมพวัน,คุ้มวัดดอนพระเจ้า, คุ้มวัดมหาธาตุ, คุ้มวัดศรีไตรภูมิ,คุ้มวัดทุ่งสว่างชัยภูมิ

มหกรรมอาหาร / การประกวดกาพย์เซิ้งบั้งประเภทประชาชน/เยาวชน การแสดงของนักเรียน สลับกับศิลปินรับเชิญ


วันที่ 6 พฤษภาคม 2553

09.00 - 24.00 น.
มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณถนนวารีราชเดช (หน้าวัดมหาธาตุ)
  09.00 - 16.00 น.
 
ชมกระบวนการจัดทำบั้งไฟสวยงามและบั้งไฟจุดขึ้นสูง

   13.00 - 16.00 น.
 
ชมการสาธิตการทำบั้งไฟริวเซ (บั้งไฟญี่ปุ่น) โดยช่างริวเซ จากเมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น

  19.00 - 24.00 น. 
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรนายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นักท่องเที่ยว ชมการฝึกซ้อมรำเซิ้งการเตรียมขบวนแห่ของคณะบั้งไฟ ณ คุ้มวัดสิงห์ท่า, คุ้มวัดศรีธรรมาราม,คุ้มวัดใต้ศรีมงคล

มหกรรมอาหาร / การแสดงของศิลปินรับเชิญ / การประกวดนางฟ้าจำแลง (มอบรางวัลวันที่ 7 พ.ค. 53 เวลา 19.00 น. ณ กองอำนวยการ)


วันที่ 7 พฤษภาคม 2553

 07.00 - 14.00 น.
การเซิ้งบั้งไฟ และการละเล่นแบบโบราณ (ตามวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม)
  09.00 - 24.00 น.
 
มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP

   
16.00 น.

ประกวดและโชว์บั้งไฟสวยงามตามแนวถนนแจ้งสนิทจากหน้าศาลจังหวัดยโสธรถึงตรงข้ามหน้าธนาคารออมสิน

แดนเซอร์ทุกคนของกองเชียร์ทุกคณะ /ชาวสตรีเหล็กและพี่น้องชาวสีม่วงพร้อมด้วยผู้เข้าประกวดนางฟ้าจำแลงพร้อมกัน  ณ กองอำนวยการ

   19.30 - 22.00 น.
                             

พิธีมอบรางวัลการประกวดธิดาบั้งไฟโก้ การประกวดานางฟ้าจำแลงการประกวดแดนเซอร์เพลงเซิ้ง และการแระกวดกาพย์เซิ้ง ประเภทประชาชนและเยาวชน

พิธีเปิดมหกรรม ROCKET CARNIVAL โดยสตรีเหล็ก พี่น้องชาวสีม่วงทั่วไทยและทั่วโลก

เริ่มการประกวดกองเชียร์

การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ (พร้อมพิธีมอบรางวัล)

มหกรรมอาหาร / การแสดงของศิลปินรับเชิญ


วันที่ 8 พฤษภาคม 2553

09.00 - 24.00 น.
 มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP
  07.00 น.  
รถบั้งไฟสวยงามเตรียมพร้อมตามจุด ที่กำหนดก่อนเริ่มขบวนแห่

   08.00 น.
 
ขบวนแห่ถ้วยรางวัล จากสำนักงานเทศบาลเมืองยโสธรไปยังกองอำนวยการจัดงาน

คณะกรรมการเจ้าหน้าที่เตรียมพิธีเปิด


 
09.00 น.

ประธานในพิธีเปิดงานเดินทางมาถึงกองอำนวยการจัดงาน วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์

ประธานในพิธีเปิดงานขึ้นบนเวทีกองอำนวยการ ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรมอบของที่ระลึกแด่ประธานในพิธี จากนั้นประธานในพิธีไปที่แท่นรับคำกล่าวรายงาน

ประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวรายงานการจัดงานต่อประธานในพิธี

ประธานในพิธีกล่าวเปิดและลั่นฆ้องชัยเปิดงาน จำนวน 3 ครั้ง

วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ เจ้าหน้าจุดพลุเสียงและบั้งไฟตะไล

  09.20 น.

ขบวนแห่มเหศักดิ์ ขบวนศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ ขบวน ROCKET CARNIVAL โดยสตรีเหล็กพี่น้องชาวสีม่วงทั่วไทย และทั่วโลก พร้อมขบวนอื่น ๆ เคลื่อนขบวนผ่านหน้ากองอำนวยการไปถึงวัดศรีไตรภูมิ

  12.00 น.
 
ประธานร่วมรับประทานอาหารกับคณะกรรมการจัดงานและผู้เข้าร่วมงานจากประเทศญี่ปุ่น ลาว และเวียดนาม

   14.00 น.
 
จัดพบปะกลุ่มเจ้าของผลิตภัฑณ์จากข้างของจากญี่ปุ่นพบปะกับผู้ประกอบการค้าข้าวยโสธรต่อด้วยการบริการนวดแผนไทย

   16.00 น.
 
มหกรรมอาหาร

การแสดงของศิลปินรับเชิญ

  18.00 น.
 
เตรียมเข้าสู่บรรยากาศงานพาแลงเปลี่ยนศิลปะ วัฒนธรรมระหว่างไทย ญี่ปุ่น ลาว และเวียดนาม

คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และแขกรับเชิญพร้อมกันที่บริเวณจัดงานพาแลง

  19.00 น.
 
ประธานในพิธีงานพาแลง เดินทางมาถึงบริเวณจัดงานพาแลง

   19.15 น.

ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน

ประธานในพิธีมอบโล่เกียรติคุณให้ผู้สนับสนุนการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2553

นายกเทศมนตรีเมืองชิชิบุ ประเทญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว กล่าาวแสดงความรู้

ร่วมรับประทาน และชมการแสดง

  22.00 น.
 
เสร็จสิ้นกิจกรรมงานพาแลง


วันที่ 9 พฤษภาคม 2553

06.00 น.
 
คณะบั้งไฟประเภทต่างๆรายงานตัวต่อคณะกรรม

   08.00 น.

ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธรจุดั้งไฟเสี่ยงทายบั้งไฟปฐมฤกษ์ และจุดบั้งไฟโบราณ (วงศ์บั้งไฟ) ทุกประเภท

เริ่มแข่งขันบั้งไฟแฟนซี และบั้งไฟขึ้นสูงตามสูจิบัตร

   10.00 น.
 
การจุดบั้งไฟริวเซ ของประเทศญี่ปุ่น

  15.30 น.

เตรียมพิธีมอบรางวัลการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ

การแข่งขันบั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟแฟนซี และการประกวดกองเชียร์

  16.30 น.
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ประธานในพิธีเดินทางมาถึงกองอำนวยการจุดบั้งไฟ

ประธานในพิธีเชิญประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดแข่งขันบั้งไฟประเภทต่าง ๆ

ประธานในพิธี และผู้มีเกียรติถ่ายภาพร่วมกับคณะบั้งไฟ และคณะอื่น ๆ ที่ได้รับรางวัล

เสร็จพิธี และกิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร ประจำปี 2553

   19.00 น.
 
มหกรรมอาหาร การแสดงของศิลปินรับเชิญ




          ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ TAT Call Center 1672 หรือ ททท. สำนักงานอุบลราชธานี โทร. 0 4524 3770, 0 4525 0714

แนะนำการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรมเพียบ

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ประเพณี บุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร อัปเดตล่าสุด 25 เมษายน 2567 เวลา 18:06:10 4,699 อ่าน
TOP