เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ cescassawin สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม และ เฟซบุ๊ก หมอๆ ตะลุยโลก
เราเชื่อว่าสำหรับนักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพแล้ว การได้มีโอกาสไปแชะภาพปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่าง "แสงเหนือ" หรือ "แสงออโรร่า" (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นแสงสีเขียวที่พาดผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืน ท่ามกลางท้องฟ้าที่ใสดุจคริสตัลคงจะเป็นเป้าหมายสักครั้ง แต่การจะได้เห็นภาพแบบนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เพราะต้องพึ่งพิงปัจจัยรอบด้าน เพราะฉะนั้น จึงต้องศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน ด้วยการตามบันทึกการเดินทางของ คุณ cescassawin สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ที่หยิบเอาขั้นตอนการเดินทางไปล่าแสงเหนือ ณ ไอซ์แลนด์ แบบละเอียดยิบมาบอกเล่าให้เราทราบกัน
"5 นาที กับอีก 22 วินาที" วิน กับ โจ้ เอา 17 วันเต็ม บรรจุใส่ไว้ให้ชมอย่างประณีต ถ้าภาพหนึ่งภาพแทนคำได้ล้านคำพูด งั้นคลิปหนึ่งคลิปคงแทนคำได้ไม่รู้จบ
หมอ ๆ ตะลุยโลก ขอนำเสนอ "Be Inspired By Iceland" แล้วคุณจะรู้เลยว่า "โลกใบนี้ สวยงามขนาดไหน"
คำเตือนก่อนรับชม
1. มือไม้สั่น ขาแข้งสั่น ถือเป็นเรื่องปกติ
2. อยู่ดี ๆ น้ำตามันก็ไหลออกมา ถือเป็นเรื่องปกติ
3. รีบไปจองตั๋วบินไปไอซ์แลนด์มันเดี๋ยวนี้ ถือเป็นเรื่องปกติ
4. รีบไปหาเพื่อนร่วมทริป บอกว่าทริปนี้โคตรเจ๋งสุดยอด ไปด้วยกันเหอะ ถือเป็นเรื่องปกติ
ถือว่า เราได้เตือนคุณแล้วนะครับ...
#หมอ ๆ ตะลุยโลก
http://www.facebook.com/worldwantswandering
1. แรงบันดาลใจครั้งนี้
แรงบันดาลใจในทริปครั้งนี้ คือ รูปภาพ "แสงสีเขียว" ที่พาดผ่านบนท้องฟ้า จากเว็บไซต์วอลเปเปอร์ต่างประเทศครับ มันทำให้ผมทั้งอึ้งและตะลึงว่า "เฮ้ย มันมีอะไรแบบนี้อยู่บนโลกด้วยเหรอ" ภาพแต่งขึ้นมาป่าว จนเข้าไปหาข้อมูลเองในโลกไซเบอร์นั่นแหละ แล้วถึงบางอ้อว่ามัน คือ ออโรร่า ถ้าเกิดแถบขั้วโลกเหนือ ก็จะเรียกแสงเหนือ ถ้าเกิดแถบขั้วโลกใต้ มันก็คือ แสงใต้ ซึ่งออโรร่าเกิดจากปรากฏการณ์ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก "แม่เจ้าโว้ย ! ความรู้ใหม่นอกตำรา ที่โรงเรียนอนุบาลไม่เคยสอน" ผมไม่รอช้าที่จะเก็บเจ้าสิ่งที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์เข้า Bucket lists สถานที่ที่ต้องพิชิตให้ได้ก่อนตาย ณ ตอนนั้นมือไม้สั่น มันจะมีความรู้สึกยังไงนะ ถ้าเราได้ไปยืนมองท้องฟ้าที่มีแสงสีเขียวทั่วไปหมด แค่คิดก็ฟินแล้ว อ๊ากกกกก อยากวาร์ปไปขั้วโลกเหนือมันซะเดี๋ยวนี้…
2. เรื่องราวคร่าว ๆ ในการหาทีม
ถ้าใครได้เคยติดตามเรื่องราวของหมอ ๆ ตะลุยโลก ผ่านรีวิวทริปในฝัน 41 วัน ครึ่งซีกโลก จากจีนไปสวิตเซอร์แลนด์มาก่อน จะพบว่าตอนนั้นยังไม่มีการพูดถึงแสงเหนือใด ๆ ทั้งสิ้น เข้าใจไม่ผิดครับ คือ ตอนนั้นช่วงปี 2012 พวกเราก็ยังไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีไอเจ้าแสงเหนืออะไรพรรค์นี้อยู่บนโลกด้วย มาเริ่มทำความรู้จักมันตอนราว ๆ ต้นปี 2013 ครับ และเริ่มรู้จักมากขึ้น ๆ จากพี่ ๆ คนไทยที่ไปมาแล้ว กลับมารีวิวผ่านห้องบลูฯ นี่หละครับ รวมไปถึงในเฟซบุ๊กที่เหมือนกับเป็นช่วง Aurora Fever ไปแล้ว ยิ่งทำให้โคตรอยากไปมากขึ้นไปอีก ในหัวตอนนั้นคิดไว้อย่างเดียวว่า "ต้องแพงมากแน่ ๆ เริ่มต้นก็ต้องหลักแสนแล้ว จะไหวป่าววะ ไอ้เราก็เพิ่งเริ่มทำงาน เสียดายตังค์ครับ พูดเลย" แต่พอเห็นรูปแสงเหนือหรือออโรร่าสวย ๆ ตาม New Feeds มากขึ้น ๆ มันทนไม่ไหวนะครับ มันต้องโดนแล้วงานนี้ ผมจึงโทรศัพท์ยิงตรงไปหาคน ๆ หนึ่ง เพื่อเอามาหารค่าน้ำมันทันที คนนั้นเป็นใครไม่ได้นอกจาก "โจ้" นั่นเอง
วิน : โจ้ อยากไปดูแสงเหนือมั้ย
โจ้ : แสงเหนือนี่มันคล้าย ๆ ดาวเหนือป่าว ดูบนหลังคาบ้านก็ได้
วิน : หลังคาบ้านแกดิมองเห็นแสงเหนือ ออโรร่าอ่า แสงเขียว ๆ พาดผ่านท้องฟ้าแถบโซนประเทศขั้วโลกอ่า
โจ้ : อย่าไปเลยประเทศแถบนั้น ไปลุยอินเดีย ปากีฯ เถอะ ถูกกว่า วิวเทพกว่า โหดกว่า ลูกทุ่งกว่า ไปแถบสแกนฯ นี่ราคาเป็นเป็นแสนนะ ไม่เอา แพงเกิน
วิน : ไม่แพง ๆ เอาอาหารกระป๋องไปดิ ไปแค่ 12 วันเอง เช่ารถบ้านขับ นอนในรถนั่นแหละ แล้วก็นอนสนามบินเอา ยังไงก็ไม่เกินแสนรับรอง แล้วถ้าได้สมาชิกเพิ่มมาอีกสัก 3 คน รวมเป็น 5 คนในทีม ประหยัดงบสุด ๆ แน่นอน
โจ้ : แล้วอีก 3 คน จะเป็นใคร ใครมันจะบ้าไปกับเราอีกวะ
วิน : เอ้า ก็ต้องเป็นคนที่เค้าไม่เคยไปเห็นแสงเหนือมาก่อน ที่สำคัญต้องเสี้ยนอยากเห็นมากกกกกกกกกกกกกกกกก ๆ ด้วย
โจ้ : ใครล่ะ
วิน : ไม่รู้วะ 555+
เวลาผ่านไปอยู่ราว ๆ สัก 3 เดือน ด้วยการเสาะหาผู้ร่วมชะตากรรมทั้งทางโทรศัพท์ ทาง Line ทาง Facebook ผู้มีจริตเดียวกันกับเรา "หมอ ๆ ตะลุยโลก" ก็ได้มาสิ้นสุดลงปลงใจที่ เอม พญ.แฟนโจ้นั่นแหละ ไกลตัวมากกกก, ปลา ทพญ. สาวผู้เสี้ยนอยากเห็นแสงเหนือมากกกกก พี่แก Like ไม่รู้กี่ร้อย Fanpage ที่เกี่ยวกับออโรร่า และสุดท้าย พี่เอ นพ.ผู้เป็นรุ่นพี่ของพวกเราจากคณะแพทย์เดียวกัน เนื่องด้วยแลเห็นศักยภาพว่า เฮียแกสามารถขับรถให้เราได้ และเฮียยังมีปัจจัยหนามากพอในกรณีที่เราเกิดถังแตก เงินหมดกลางทางที่ขั้วโลกเหนือ เรายังกลับบ้านได้ ไม่ต้องไปล้างห้องน้ำที่นั่น T T ที่กล่าวไปทั้งหมด ถ้าเฮียได้มาอ่าน คงปลื้มแน่ ๆ ฮา ๆ แต่ที่สำคัญ คือ จริตในการเที่ยวของพี่เอเหมือนกับเราครับ คือ ง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่เรื่องเยอะ แต่เที่ยวมาเยอะแล้วด้วย ผมใช้เวลาไม่นานในการหว่านล้อมเฮียให้ตกหลุมพรางการเดินทางในครั้งนี้ ด้วยประโยคขายฝัน พี่เอ ก็เซย์ "เยส กรูไป" เป็นอันจบเรียบร้อย ทริปนี้ได้เหยื่อมา 4 คน งบไม่เกินแสนต่อคนแน่นอน แต่จะไปจบลงกี่หมื่นเดี๋ยวว่ากันอีกที
3. ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ แยกเป็นที่ไอซ์แลนด์เท่านั้น กับรวมหมดสามประเทศ (Iceland, Norway, Finland)
3.1 แสงเหนือราคาเท่าไหร่ ?
ทุกคนคงคิดว่า "จะออกไปแตะแสงเหนือ แต่เหมือนเงินที่มีเหลือจะไม่เข้าใจ..." กันอยู่หรือเปล่า เราก็คิดกันเช่นนั้น จน จน จน จน จน หลังสรุปค่าใช้จ่ายออกมาต่อคน ราคาเป็นดังนี้
73,670 บาทต่อคน สำหรับ 17 วัน 3 ประเทศ ดังนี้ Iceland, Norway, และ Finland ค่านี้รวมทุกอย่าง ตั้งแต่
a. ค่าทำวีซ่า (จะกล่าวถึงรายละเอียดการทำอีกครั้ง) อันนี้ 3,670 บาท รวมค่าจัดส่งพาสปอร์ตไปถึงที่บ้าน
b. ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ 2 สายการบิน คือ Bkk-Osl และ Osl-Kef และ Kef-Osl และ Osl-Bkk (สายการบิน Finnair และ Norwegian Airline แบบไม่โปรโมชั่น)
c. ค่าที่พัก Hostel ที่เมืองเรคยาวิค 1 คืน ที่เมือง Oslo 2 คืน (นอนโรงแรมทั้งทริป 3 คืน)
d. ค่าเช่ารถ Camper van 1 คัน สำหรับ 5 คน 12 วัน (ตลอดทริป)
e. ค่าน้ำมัน (ขับกันไปวนรอบเกาะ 1 รอบครึ่ง รวมระยะทาง 3,056 กิโลเมตร)
f. ค่าอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ บางมื้อ เช่น Subway ที่ Iceland หรือ Burger Kings ที่นอร์เวย์ กินกันทั้งทริปครั้งละมื้อ ใน 2 ที่นี้ และค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร เช่น ข้าวสาร เนื้อไก่ ไส้กรอก แฮม ฯลฯ ที่ซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ต
g. ค่าอาหารแห้งและสำเร็จรูปจากไทยไป
h. ค่า Local Guide ให้พาเข้า Ice Cave หรือถ้ำน้ำแข็ง คนละ 3,500 บาท
ยกเว้น : ไม่นับค่าของฝาก ค่าอุปกรณ์กล้อง ค่าอุปกรณ์กันหนาว ของจิปาถะอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนครับ
3.2 แสงเหนือมีส่วนลดไหม ?
มีครับ ขอวกกลับไปที่เหตุการณ์ขายฝันกับโจ้ ผู้มาเติมเต็มให้ทริปของผมมีครบ 5 คน (ประโยชน์มีแค่นั้นแหละ อ๋อแล้วก็มาถ่ายรูปแล้วก็ขับรถให้ผมอีกด้วย ฮา ๆ) เนื่องจากผมมองเห็นว่าการไปให้งบน้อยที่สุด เราไม่ควรไปนาน แต่ก็ไม่ควรสั้นจนเกินไป เพราะโคตรเสียดายค่าวีซ่า 3,000 กว่าบาทที่ทำมา ผมมองว่าล่าแสงเหนือมันไม่ควรน้อยกว่า 1 สัปดาห์ และไม่ควรลากยาวเกิน 2 สัปดาห์ จึงคิดว่า 12 วัน น่าจะเวิร์คสุด ลางานง่าย สบาย ๆ แต่...โจ้ดันบอกว่า เดี๋ยวลา 2 สัปดาห์ติด ใช้วันหยุดชดเชยต่อด้วย ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว เก็บสามประเทศ 17 วันไปเลย
ผมเตือนครั้งที่ 1 "ออสโล แพงมากนะ" โจ้ยืนยัน "แล้วไปแป๊บเดียวปะ วัน สองวัน"
ผมเตือนครั้งที่ 2 "ออสโล แพงมากนะ" โจ้นั่งยัน "ก็ไหน ๆ จะไป จะมามัวเสียดายตังทำไมวะ"
ผมเตือนครั้งที่ 3 "ออสโล แพงมากนะ" โจ้นอนยัน "12 วัน มันน้อยไป 17 วัน แล้วกัน"
สาธุครับ จนทุกวันนี้ โจ้บอกว่า "ออสโล แพงมาก ๆ ไม่เอาอีกแล้"…"สม"
ถ้าเราตัดค่าใช้จ่าย ในออสโล 2 วัน 2 คืน และเฮลซิงกิ 1 วัน 1 คืนไป ค่าใช้จ่ายจะลดฮวบไปเยอะราว ๆ 5,000 บาท เนื่องจากเราต้องซื้ออาหารที่นู้น ซึ่งแพงมาก ๆ มื้อหนึ่งเอาอิ่มก็ 400 บาทแล้วครับ เรากินอาหารกระป๋องที่ยังเหลืออยู่ราว 3 มื้อ อีก 6 มื้อ ต้องหาซื้อกินเอา ก็คิดราคาคร่าว ๆ 2,000-2,500 บาทแล้วครับ น้ำเปล่า นม น้ำอัดลมขวดเล็ก ๆ ก็ 150 บาทขึ้นครับ ค่านั่งรถไฟจากสนามบินเข้าเมืองไป-กลับ ก็คนละ 1,000 บาท สำหรับออสโล และ 500 บาท สำหรับเฮลซิงกิ ฉะนั้น แสงเหนือฉบับ Iceland 12 วัน 11 คืน จึงเหลือราว ๆ 68,670 บาท
3.3 แสงเหนือถูกที่สุด ราคาเท่าไหร่ในความคิดของ "หมอ ๆ ตะลุยโลก"
1. ส่วนลดตั๋วเครื่องบินราคาโปรโมชั่นจาก BKK-OSL จะ Save เงินได้เพิ่ม 5,000-20,000 บาท (ผมบินฟินแอร์ คนละ 33,000 บาท ก่อนหน้านั้นมี Aeroflot 25,000 บาท และมีโปรฯ จาก Emirate 11,000 บาท)
2. ปริมาณอาหารที่เอาไปเอง มื้อหนึ่งใน Iceland จะอยู่ราว ๆ 250 บาท สำหรับร้านอาหาร Fast food เรากินไป 2 มื้อ จะ Save ได้ 500 บาท
3. ตัดสินใจไม่เข้าถ้ำน้ำแข็งที่ตกคนละ 3,500 บาท
4. นอนแต่ในสนามบิน เราเผลอไปจองนอนที่พักในออสโลคืนหนึ่ง จะเซฟได้ 1,200 บาท
เมื่อนำราคามาคิดต่อ ดังนี้ 68,670 บาท-(5,000 บาท ถึง 20,000 บาท)-500 บาท-3,500 บาท-1,200 บาท = 43,470 บาท ถึง 58,470 บาทต่อคน ราคาลดที่ออกมาทำให้ผมประหลาดใจมาก มันต่ำกว่าที่คิดไว้มากเลย ฉะนั้น Please make your plan now ! เพราะขอบฟ้าที่มีแสงเหนือ เราออกไปแตะได้ครับ ☺
4. การเตรียมตัว
4.1 ไปกี่วันดี ?
ถ้าตอบแบบกวนตีนเลย ก็คือ มีเวลากี่วันก็ไปเหอะครับ ดีกว่าไม่ได้ไป แต่ถ้าตอบแบบจริงจังซีเรียส หน้าเครียดเลย แบบอย่ามาถามต่ออีกนะ คือ 12-14 วันครับ ในที่นี้หมายถึงเวลาสำหรับภารกิจแสงเหนือนะครับ ไม่เอาเวลาช้อปปิ้งในเมืองหรือเที่ยวประเทศอื่น
เพราะอะไรทำไมต้องวันเท่านี้ ?
จากสถิติที่ผมลองถาม ๆ พี่ ๆ คนไทยที่เคยไป อัตราส่วนการเห็นแสงเหนือ คือ 4 คืน จะเห็น 1 คืน (4 :1) อัตรา คือ ตั้งใจไปล่าแสงเหนือจริง ๆ ขับรถวนตามเกาะที่ฟ้าจะเปิดตามพยากรณ์ และ ช่วงเวลาลมสุริยะจะพัดมายังโลก ฉะนั้น ถ้ามาแค่ 3-4 วัน เอาขำ ๆ เห็นคืนเดียว ผมก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนใครมีเวลามีเงินจะอยู่เป็นเดือนสองเดือน อันนั้นมันไม่มีปัญหาครับ โอกาสที่จะเห็นย่อมมากกว่าแน่ ๆ
สำหรับทริปนี้ไปอยู่ที่ไอซ์แลนด์ 11 คืน เห็นระเบิด 5 ชั่วโมงเต็ม 3 คืน กับเห็นติ่งแสงเหนืออยู่ 1 คืน (ขอไม่นับแล้วกันนะครับ) อัตราส่วน 11:3 หรือ 3.67:1 ถามผมนะ ผมว่าไมได้เห็นน้อยจัง แต่คนอื่น ๆ ที่เคยไปบอกว่า "เห็นเยอะแล้ว"
4.2 การเขียนแผนเดินทางเพื่อยื่นวีซ่า
คงจะตลกสิ้นดีถ้าเราไปยื่นขอวีซ่าเชงเก้นแล้วบอกว่า "อ๋อ แผนไอ คือ ไม่มีแผน ไอจะเดินทางในไอซ์แลนด์ไปที่ไหนก็ได้ที่ฟ้าเปิด เพราะไอจะไปแตะแสงเหนือที่ขอบฟ้า ไอจะนอนบนรถตรงไหนก็ได้ในไอซ์แลนด์ ที่พักไอซ์แลนด์แพงไปครับ คืนละ 3,000 บาท ใครจะไปนอน" ผมว่าโอกาสแป๊กได้วีซ่าสูงมาก ๆ เลยครับ เราจึงต้องเขียนแผนเที่ยวให้ดูดีนิดนึง และนี่คือแผนที่เราตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อยื่นขอวีซ่าโดยเฉพาะครับ โดยมีเมืองที่จะไปชัดเจน ที่พักชัดเจน บวกใบจองที่พักเรียบร้อยตาม requirement ของศูนย์ยื่นวีซ่าทุกประการ ดังนี้
หมายเหตุ : การจองที่พักเพื่อยื่นวีซ่าให้จองผ่าน www.booking.com เพราะสามารถยกเลิกในภายหลังได้รับวีซ่าแล้ว โดยอ่านรายละเอียดการยกเลิกแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมให้ดี ๆ ว่ายกเลิกแบบฟรีค่าธรรมเนียมได้ถึงวันไหน ไม่ใช่จองไปแล้ว ได้วีซ่าแล้ว ลืมยกเลิก ไปยกเลิกที่พักก่อนเข้าพักจริง 1 วัน นี่เสียเต็ม ๆ นะครับ แล้วจะหาว่าไม่เตือน
สิ่งที่พึงระวัง booking.com มีบริการการจอง 2 แบบ
1. แบบยังไม่ต้องเสียเงินตัดบัตรเครดิตทันที
2. แบบที่ต้องตัดบัตรทันที
แบบหลังจะได้ราคาถูกกว่า แต่ยกเลิกไม่ได้ทุกกรณี ฉะนั้น ก่อนจองช่วยดูดีๆ ด้วยครับ ไม่ใช่โทรไปโวยวายเค้า แต่ความจริงจองผิดไปเอง
ตัวอย่างการเขียนแผนการเดินทางเพื่อยื่นวีซ่า แต่แผนนี้ไม่เคยได้ใช้อีกเลยหลังวีซ่าผ่านแล้ว
Iceland Trip (22nd March to 7th April 2014)
Day | Detail |
Day1 : Saturday 22nd March | Flying from Bangkok to Oslo by Finnair (AY0090 & AY0659) Departure time : 9.05 , Arrival time : 17.15 Stay at Anker Apartment Københavngata 10, Grünerløkka, Oslo, 0566, Norway +4722993000 |
Day2 : Sunday 23rd March | Flying from Oslo to Reykjavik by Norwegian airline (DY1170) Departure time :10.00, Arrival time : 11.50 Stay at Reykjavik City Hostel Sundlaugavegur 34 105 Reykjavik, Iceland +354 553 8110 |
Day4 : Tuesday 25th March | Kirkjufell-Breiðavík-Kirkjufell Visit Breiðavík Stay at The Old Post Office Guesthouse Grundargata 50, 350 Grundarfjordur,Iceland +354 4308043 |
Day5 : Wednesday 26th March | Kirkjufell-Laugarvatn-Reykjavik, Bruarfoss Waterfall, Gulfoss Waterfall, Þingvellir National Park Stay at Reykjavik City Hostel Sundlaugavegur 34 105 Reykjavik, Iceland +354 553 8110 |
Day6 : Thursday 27th March | Reykjavik-Vik, Seljalandsfoss Waterfall, Skógafoss Waterfall Dyrhólaey, coastal beach Stay at Hotel Edda Vík Klettsvegi 1-5, 870 Vík, Iceland +3544444000 |
Day7 : Friday 28th March | Vik-Jökulsárlón, Svartifoss Waterfall, Black sand beach Stay at Hotel Hali country Hali 2, Suðursveit 781 Sveitarfélagið Hornafjörður, Iceland +354 478 1073 |
Day8 : Saturday 29th March | Jökulsárlón-Litlanesfoss-Djúpivogur-Höfn, Jökulsárlón Iceberg Beach, Litlanesfoss Waterfall, Djúpivogur, Eastern Fjord Stay at Guesthouse Dyngja Hafnarbraut 1 Höfn, 780, Iceland +3548460161 |
Day9 : Sunday 30th March | Höfn-Jökulsárlón Stay at Hotel Hali country Hali 2, Suðursveit 781 Sveitarfélagið Hornafjörður, Iceland +354 478 1073 |
Day10 : Monday 31st March | Jökulsárlón-Vik Stay at Hotel Edda Vík Klettsvegi 1-5, 870 Vík, Iceland +3544444000 |
Day11 : Tuesday 1st April | Vik-Reykjavik Seljalandsfoss Waterfall, Skógafoss Waterfall Stay at Reykjavik City Hostel Sundlaugavegur 34 105 Reykjavik, Iceland +354 553 8110 |
Day12 : Wednesday 2nd April | Reykajavik-Blue Lagoon, City tour, Shopping in downtown Stay at (ที่พักจริง) KEX Hostel Skúlagata 28, Reykjavik,Iceland +354 561 60 60 10 Bed mixed dorm deposit for 2 person 10%=198 THB pay at arrival 5,940 ISK |
Day13 : Thursday 3rd April | Flying from Reykjavik to Oslo by Norwegian airline (DY1171) Departure time :12.10, Arrival time : 16.50 Sleep in Anker Apartment Københavngata 10, Grünerløkka, Oslo, 0566, Norway +4722993000 |
Day14 : Friday 4th April | Sightseeing in Oslo Stay at (ที่พักจริง) Anker Hostel (ไม่คืนเงิน ไปจ่ายจริงที่โรงแรมตอนเช็กอิน-บัตรยังไม่ถูกตัดเงิน Storgata 55, Grünerløkka, Oslo, 0182, Norway +4722997200 |
Day15 : Saturday 5th April | Flying from Oslo to Helsinki by Finnair (AY0658) for transit Departure time : 20.25 Arrival time : 22.45 Sleep in CheapSleep Hostel Helsinki Sturenkatu 27, Keskinen Suurpiiri, 00510, Helsinki +358 (0) 45 845 6188 |
Day16 : Sunday 6th April | Sightseeing in Helsinki Flying from Helsinki to Bangkok by Finnair (AY0089) Departure time : 17.10 |
Day17 : Monday 7th April | Flying from Helsinki to Bangkok by Finnair (AY0089) Arrival time : 07.15 |
4.3 สายการบิน (ที่มีไปไอซ์แลนด์และที่ได้จอง เหตุผลและข้อดีข้อเสียสายการบินสองแห่ง)
จากไทยไปไอซ์แลนด์ไม่มีบินตรง เราจึงต้องบินอีกไฟลท์เสมอ หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าอยู่นานสองนาน เมืองที่บินแล้วไปต่อเครื่องได้เพื่อบินไปถึงเมืองเรคยาวิก เมืองหลวงของไอซ์แลนด์แล้วราคาถูกที่สุด จากไทยแลนด์ คือ "Oslo-Norway" สนนราคาบินจากไทยไปไอซ์แลนด์ ไป-กลับ ราคาอยู่ที่ตั้งแต่ 16,000 บาท ถึง 38,000 บาท (ราคาโปรฯ สุด ๆ ไปจนถึงราคาปกติที่พวกเราไปกัน) สายการบินไป Oslo จาก Bkk มีเพียบ ทั้งบินตรงและบินอ้อม แต่ที่แนะนำ คือ
1. Aeroflot จองก่อนล่วงหน้า 6 เดือน ไม่ควรเกิน 30,000 บาท ผมเคยเคาะมาได้ที่ 25,000 บาท ยังเสียใจอยู่ทุกวันนี้ที่ไม่ซื้อตอนนั้น ไปซื้อใกล้ ๆ 30,000 บาทอัพทั้งนั้น สายการบินนี้จะไปลงที่มอสโกเพื่อเปลี่ยนเครื่อง ใครอยากไปเที่ยวรัสเซียก็ให้เวลา Transit นานเป็นวัน แล้วออกจากสนามบินไปเที่ยวได้ ไม่ต้องใช้วีซ่า ราคาควรอยู่ที่ 25,000-28,000 บาท http://aeroflot.com/cms/en
2. Emirates สายการบินนี้การันตีเรื่องคุณภาพอยู่แล้วใคร ๆ ก็รู้ ราคาไม่ควรเกิน 30,000 บาท เคยเคาะมาได้ 28,000 บาท จองก่อนล่วงหน้า 6 เดือนเช่นกัน จองใกล้ก็ทะยานเกิน 30,000 บาท บินไปเปลี่ยนเครื่องที่ดูไบ เคยออกโปรฯ ช็อกโลก ก่อนผมเดินทาง 3 เดือน คือ (ผมตัดสินใจจองตั๋วเดือนธันวาคม โปรฯ ออกมา มกราคม) ด้วยราคาบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ออสโล ที่ 11,000 บาท รวมทุกอย่าง แม่เจ้า...จะบ้า http://www.emirates.com/th/english/index.aspx
3. Finnair สายการบินที่พวกเราได้ใช้บริการในทริปนี้ ที่เลือกเพราะถูกสุดแล้ว ณ ตอนจองสนนราคาที่ 33,000 บาท (อยากร้องไห้ T T) โดยไปเปลี่ยนเครื่องที่เฮลซิงกิ จากการนั่งมีจอส่วนตัว หนังดัง ๆ เพียบ คนขึ้นส่วนใหญ่ก็คนสแกนฯ เนี่ยแหละครับ อาหารก็ใช้ได้ ถ้าใครยังตัดสินใจจองล่วงหน้านาน ๆ มั้ย...ได้ สายการบินนี้ก็นับว่าราคาโอเคแล้วแหละ http://www.finnair.com/INT/GB/home-page
4. Norwegian Air สายการบิน Low cost ของนอร์เวย์ จะคล้าย ๆ Air asia เลย คือ ต้องจ่ายเพิ่มถ้าจะซื้อสัมภาระ (ซึ่งมันบังคับอยู่แล้ว ใครจะไม่เอาสัมภาระไป ไม่ใช่ไปกระบี่นะครับ แหม) อาหารบนเครื่องก็ถ้าพี่บินกัน 10 ชั่วโมง พี่ก็ต้องซื้อป่าว แต่ถ้าใครโหดจะพกขนมปังไปกินบนนั้นก็ตามอัธยาศัยได้เลยครับ ข้อดีคือ บินตรงเลย แถมเล่น Wi-Fi ฟรีบนเครื่องได้ด้วย อันนี้ประทับใจ และราคาตั๋วก็ไม่แพง แต่ข้อเสีย คือ เวลาบินที่ถูกจริง ๆ มีไม่ทุกวันครับ บางวันดูแล้วแพงกว่าบินจากสายการบินที่แนะนำไปอีก ต้องเช็กในเว็บเค้าโดยตรงเลย ราคาที่เคาะได้ถูกที่สุดรวมทุกอย่าง คือ 23,000 บาท http://www.norwegian.com/en/
5. SAS และ Thai Airways ทั้งสองสายการบินนี้บินตรงทั้งคู่ นี่ คือ ข้อดี สนนราคาที่ไม่ใช่ช่วงโปรฯ คือ 38,000 บาท และ 42,000 บาทตามลำดับ (แพง) แต่ถ้าใครจะแลกไมล์การบินไทยหรือไว้สะสม ก็เป็นตัวเลือกที่ดีครับ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ราว ๆ เดือนมกราคมการบินไทยก็มีตั๋วโปรฯ ออกมา เหลือ 32,000 บาทครับ สำหรับการบินตรงราคานี้ถือว่าน่าสนใจ (ถ้ามีโปรฯ นะ) http://www.flysas.com/en/th/ และ http://www.thaiairways.com/en_TH/index.page
และนี่ก็เป็นส่วนแรกของการเดินทาง มาต่อส่วนที่สอง จากออสโลไปเรคยาวิค (OSL-KEF) มี 3 สายการบินหลัก ๆ ใช้เวลาบินราว ๆ 3 ชั่วโมง
1. Norwegian Air ถูกที่สุด แต่ถูกสุดบางวัน บางวันก็แพงที่สุด ต้องเลือกดูดี ๆ ถ้าถูกสุดราคารวมหมดจะอยู่ราว ๆ 4,800 บาท แต่ถ้าแพงนี่หมื่นอัพครับ http://www.norwegian.com/en/ ทริปนี้ผมไปด้วยสายการบินนี้ ไม่ซื้ออะไรเพิ่มเลย ที่นั่งก็ไปลุ้นเอา แพงนะครับเลือกที่นั่งเนี่ย
2. celandair ราคาเริ่มที่ 7,400 บาท สำหรับไป-กลับ ถ้าตารางใครวันไม่ลงล็อก สายการบินนอร์วีเจียนอย่างแพง หมื่นอัพก็เลือกสายการบินนี้ครับ http://www.icelandair.com
3. SAS แพงสุด บินตอนเช้า 10 โมง ราคาเริ่มที่ 10,000 บาท สำหรับไป-กลับ http://www.flysas.com/en/th/
จองเครื่องบินอย่างไร : หลัก ๆ ผมจะลองเช็กราคาจากเว็บไซต์ Skyscanner.com เพื่อดูราคาเปรียบเทียบแต่ละสายการบินนั้น ๆ ว่าราคาเท่าไหร่ เพราะราคาจากเว็บนี้ไม่มีบวกค่าธรรมเนียมอะไรแล้ว คือ ราคาสุทธิจริง ๆ แล้วก็กลับมาจองในเว็บสายการบินโดยตรง คือ Finnair กับ Norwegian Air
เทคนิคในการจองตั๋วเครื่องบิน : เรื่องที่นั่ง บางสายการบินเลือกที่นั่งได้ฟรีเลย เช่น การบินไทย แต่สายการบินฟินแอร์ ถ้าคุณเลือกที่นั่งคุณต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งคิดเป็นหลายร้อยบาท ไป ๆ มา ๆ บิน 4 ครั้ง เพราะต้องต่อเครื่อง 1 จุด ไป-กลับกลายเป็นหลักพันบาท อันนี้ไม่ใช่แหละ
ข้อแนะนำ คือ ไม่ต้องไปทำการจองเลือกที่นั่งตรงนั้นนะครับ แต่ให้ไปเช็กอินแล้วเลือกที่นั่งได้ฟรี ๆ ก่อนวันบินจริง ๆ 1-2 วัน ทางสายการบินจะส่งเมลมาให้คุณเช็กอิน เราก็เช็กอินเลือกที่นั่งเอามันตอนนั้นแหละ จะนั่งคู่กัน จะติดริมทางเดิน จะติดหน้าต่างก็เลือกได้หมด แต่จะไปเลือกแบบที่นั่ง 11A อะไรแบบนี้ไม่ได้นะครับ ส่วนสายการบินอื่นไม่เคยนั่งครับ บอกไม่ได้ แต่ Norwegian Air ที่สนามบินออสโล มีเครื่องเช็กอินอัตโนมัติเหมือนแอร์เอเชียบ้านเราครับ เราก็เอาโค้ดไปสแกนหรือพิมพ์เลขที่การจองเอา แล้วเราก็ไปเลือกที่นั่งหน้างานตอนนั้นว่าอยากนั่งตรงไหน ถ้าอยากดูวิวสวย ๆ ขาไปจากออสโลให้นั่งฝั่งขวา ขากลับให้นั่งฝั่งซ้าย เราก็ได้ตรงตามที่บอกนะ แต่เมฆครึ้มมองอะไรไม่เห็นสักนิด T T ส่วนขากลับเลือกที่นั่งจากสนามบิน Keflavik ไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์เช็กอินไม่ให้ครับ แต่สุดท้ายผมก็ได้นั่งฝั่งซ้ายนะ
4.4 การเช่ารถและการทำใบขับขี่สากล
ไม่พูดถึงไม่ได้สำหรับพระเอกของเราในการเดินทางครั้งนี้ครับ เจ้าสิ่งนี้เป็นตัวที่ทำให้การเดินทางทั้งหมดของเราราบจนลื่น รวมทั้งเป็นหมัดเด็ดในการคุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ให้บานปลาย เจ้าสิ่งนี้ คือ Kuku นั่นเองครับ บอกไปงงยิ่งกว่าเดิม อะไรคือกูกู้ ไม่ได้จะให้ไปกู้อะไรที่ไหนหรอกครับ มัน คือ ยานพาหนะของเราเอง แต่เจ้าของเขาเรียกแบบนี้ มัน คือ รถ Camper van ชนิดหนึ่งครับ เดี๋ยวมาว่ากันต่อ เพราะว่าคนไทยเกือบทั้งประเทศรวมทั้งตัวผมด้วยไม่รู้ว่ามันคืออะไร จนได้ไปสัมผัสมันมาจริง ๆ ถึงได้รู้ว่าของเขาแรงจริงครับ
มีคำศัพท์ 2 คำที่อยากให้เข้าใจก่อนจะอ่านอะไรด้านล่างนะครับ เพราะว่าเวลา search คำเหล่านี้ใน Google เป็นต้องขึ้นมาพร้อม ๆ กันให้เราเวียนหัว ว่าตกลงมัน คือ อะไรกันแน่ ระหว่างคำว่า Camper van กับ Motor home ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่ามันไม่เหมือนกัน อันหนึ่งเหมือนกับเต็นท์เคลื่อนที่ อีกอันหมายถึงบ้านที่วิ่งได้
Motor home คือ บ้านเคลื่อนที่ดี ๆ นี่เอง รถคันจะใหญ่มากกก มักเห็นในหนังฝรั่งประจำ มีทั้งห้องนอน ห้องน้ำ แยกสัดส่วนชัดเจน อันนี้ค่าเช่าแพงหูฉี่ครับ
ส่วน Kuku ที่เรากำลังบ่นอยู่มัน คือ Camper van หน้าตาจะเป็นแบบนี้ครับ
ชนิดของรถ Camper Van
รถของ Kuku มีหลายชนิดให้เลือกตามจำนวนสมาชิกที่ไปนะครับ ไปหลายคนก็เอาคันใหญ่ ไปแค่สองคนก็เอาคันเล็ก ๆ ก็พอ ถ้าคิดจะประหยัดไปห้าคนเอาคันเล็ก รับรองได้นอนทับกันทุกคืนแน่ครับ เพราะมันเล็กจริง ๆ 555+ อย่างผมไป 5 คนก็เลือก Category C ครับ จุได้ 5 คนบาย ๆ ถ้าไป 2 คนก็เลือกแบบ A หรือ D ก็ได้ครับ แต่ 2 คนนี่ต่างกันตรงที่แบบ D เป็นแบบ 4WD เท่านั้นเองครับ
สำหรับราคาค่างวดคิดเป็นหน่วย Euro ทั้งหมดนะครับ ตัวอักษรทางฝั่งซ้าย คือ ชนิด Category ที่เราเลือกมาจากภาพด้านบนเมื่อกี้ จะสังเกตเห็นได้ว่าราคาจะผันแปรไปตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ฤดูร้อนช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงสิงหาคมของทุกปีจะเป็นช่วงไฮซีซั่นของที่นู่น ค่าเช่าจึงแพงที่สุดครับ แต่ถ้าใครบ้าไปหน้าหนาวที่คนเขาไม่เที่ยวกันก็ถูกหน่อย หรือถ้าเช่าหลายวันหน่อยก็จะได้ราคาที่ถูกลงไปอีกครับ ของผมเป็น Category C แถมเลือกไปช่วง Crazy season ตามเขาว่าเลยได้ไปที่เรทวันละ 119 ยูโรต่อวัน
แผนผังภายในรถ
จะเห็นได้ว่าแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนคนขับกับส่วนด้านหลังครับ ด้านหน้าก็มีเบาะคนขับกับเบาะคนนั่งอีกคน ส่วนด้านหลังมีอ่างน้ำกับเตาแก๊สอยู่ และส่วนที่เป็นเบาะไว้นอนและที่นั่งพับเป็นเตียงได้อยู่ด้านล่างครับ
นอกจากรถที่มีให้เช่าแล้ว ทาง Kuku ยังมีอุปกรณ์เพิ่มความสนุกสุดเหวี่ยงให้เช่าอีกด้วย จ่ายทีเดียวใช้ได้ตลอดทริปครับ ที่แนะนำก็จะมี Power inverter ที่ใช้สำหรับแปลงไฟในรถให้ใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าของพวกเรา เช่น มือถือ กล้อง คอมพิวเตอร์อะไรแบบนี้ครับ จะซื้อจากเมืองไทยไปก็ได้ครับ แต่เกิดเอาไปใช้ไม่ได้ก็ต้องเช่าอยู่ดี อันนี้แล้วแต่ ใครที่เคยดู Walter Mitty แล้วเกิดอยากควบสเกตบอร์ดลู่ลมล่ะก็ โอกาสของท่านมาถึงแล้วครับ ขนาดจักรยาน ลูกรักบี้ เบ็ดตกปลา มันก็ยังมีให้เช่าเลย เอากับมันสิครับ เอาล่ะโม้น้ำจิ้มไปพอกลมกล่อม มาดูวิธีการจองกันดีกว่า
วิธีการจองรถ
เราก็แค่เลือกชนิดของรถ และเมนูรายละเอียดการจองจะอยู่ทางด้านขวามือนะครับ
1.) เราสามารถเลือกจุดรับรถ-จุดส่งรถได้ โดยถ้าให้เขามาส่งที่สนามบินต้องเสียเพิ่ม 50 ยูโร เช่นเดียวกัน ถ้าจะส่งรถที่สนามบินก็ต้องเสียเพิ่มอีก 50 ยูโร เช่นเดียวกันครับ แต่ถ้าจะไปรับรถในเมืองเลยก็ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ (สนามบินที่เราไปลงจะอยู่ห่างจากเมืองหลวงเรคยาวิคประมาณ 40 กิโลเมตร ดังนั้น 50 ยูโร ไม่แพงหรอก เพราะค่ารถ Shuttle bus ไปสนามบินต่อคนขาเดียวจากตัวเมืองก็ปาเข้าไป 7xx บาท แล้วครับ ส่วนขากลับก็แล้วแต่ สำหรับพวกเราเลือกคืนรถในเมือง เพราะต้องนอนพักในเมืองเรคยาวิค 1 คืน)
2.) เราเลือกวันที่จะรับรถ-ส่งรถได้ โดยต้องลงวันที่แบบเป๊ะ ๆ และเวลาที่จะรับรถแบบเป๊ะ ๆ นะครับ เขาจะคิดเป็น 24 ชั่วโมงต่อ 1 วัน เพราะฉะนั้น ถ้ามาเอารถตอน 12.00 น. ก็ต้องมาคืนรถตอน 12.00 น. เช่นกัน ไม่งั้นถือว่าบวกเพิ่มอีก 1 วันนะครับ
3.) อายุของคนขับ จำเป็นเพราะว่ากฎหมายของที่อนุญาตให้คนที่อายุมากกว่า 20 ปีเท่านั้น ถึงจะขับรถได้ครับ
หน้าจอถัดไปก็จะเป็นการเลือกอุปกรณ์เพิ่มเติมต่าง ๆ แต่ที่วงไว้ให้ดู 2 อันหลัก คือ
1.) Power inverter ตัวแปลงไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์ให้กลายเป็นไฟสำหรับใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าของเราได้ครับ
2.) SCDW Insurance โดยปกติค่าเช่ารถที่เราจ่ายไปจะรวมค่าประกันของรถที่เจ้าของเดิมถืออยู่แล้วนะครับ แต่ว่าถ้าเกิดเราไปทำอุบัติเหตุในวงเงินที่ไม่เกิน 2,000 ยูโรเนี่ย ก็ไม่มีอะไร ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม แต่ถ้าเกิน 2,000 ยูโร นี่งานเข้าเลยครับ ต้องจ่ายส่วนต่างนั้นเอง แต่ถ้าเราซื้อประกันในส่วนนี้เพิ่ม คือ วันละ 10 ยูโร เจ้าของรถเขาจะรับประกันให้เต็มวงเงินค่าซ่อมครับ สรุปคือซื้อไว้เถอะครับ อุบัติเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ
3.) อีกหนึ่งอันที่เห็นแล้วงงว่ามันคืออะไร Cleaning fee 50 euro ??? มันคือค่าทำความสะอาดรถหลังจากที่เราเอารถมาคืน วิธีวัดความสะอาด ก็คือ ก่อนไปเป็นยังไงกลับมาก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเราทำกันเองในวันส่งรถ เราก็ไม่ต้องเลือกส่วนนี้ครับ
ส่วนด้านล่างสุดก็จะแสดงให้เห็นยอดเงินรวมที่เราต้องเสียทั้งหมด
คำเตือน : จากประสบการณ์การใช้งานจริงและการสอบถามคนที่เคยใช้บริการเจ้านี้ ขอสรุปข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
1. เป็นเจ้าเดียวที่มีเกียร์ออโต้สำหรับ campervan นอกนั้นเกียร์กระปุกทั้งหมด
2. ในรถคันใหญ่สามารถจุคนได้ 5 คน ขณะที่เจ้าอื่นให้ 4 คน เทียบกันแล้วก็ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากรถหนึ่งคันหาร 4 เป็นหาร 5 คนแทน แถมค่าเช่าต่อวันก็ราคาถูกกว่าเจ้าอื่น ๆ เล็กน้อย
ข้อเสีย
1. ระบบการจัดการดูลูกทุ่ง ๆ ครับ ไม่ค่อยมืออาชีพอย่างบริษัทเช่ารถทั่วไป
2. รถไม่ค่อยดี มีปัญหาจุกจิกให้แก้ทุกวันครับ เช่น กระจกไฟฟ้าด้านข้างคนขับเสีย มันเลื่อนลงมาเองอัตโนมัติแล้วกดปิดเองไม่ได้ ต้องมาหาร้านซ่อม เสียเวลาเที่ยว เหมือนกับรถไม่ได้ถูกเช็กสภาพให้สมบูรณ์มาก่อนที่จะให้ลูกค้าเช่า หรือแม้แต่ขนาดของล้อเมื่อเทียบกับขนาดของรถ เราลงความเห็นกันว่ายังไงล้อมันก็เล็กเกินไป ทำให้การขับทรงตัวได้ยากลำบาก โดยเฉพาะถนนที่ลื่นเวลามีหิมะตก เป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ใช้รถ
และด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงอยากให้อ่านบทความของ พี่พี พิริยะ ผู้มีประสบการณ์กับรถ 2 บริษัทมาแล้ว เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจได้ที่ http://www.piriyaphoto.com/camper-van-in-iceland/
การทำใบขับขี่สากล
จำเป็นต้องมีนะครับ วิธีการทำก็ไม่มีอะไรยาก ไปที่กรมการขนส่งทางบก จ่ายเงินก็ได้มาเลยครับ
ข้อมูลจาก http://www.dlt.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=3658:2012-12-06-07-52-23&catid=131:2011-09-08-02-09-23&Itemid=88 นะครับ
4.5 การจองที่พัก (booking.com/hostelworld.com)
ทริปนี้ทั้งทริปจองผ่าน booking.com และ hostelworld.com ครับ
http://www.booking.com
จองแล้วยกเลิกได้ ไม่เสียค่าธรรมเนียม มีประโยชน์ในการยื่นวีซ่าแล้ววีซ่าดันไม่ผ่าน ขอยกเลิกไม่เสียเงิน มีกลุ่ม hostel ไม่มากให้เลือก
http://www.hostelworld.com
จองกลุ่ม hostel ได้ มีตัวเลือกมากมาย แต่ต้องจ่ายเงิน 10% ของราคาห้องไปก่อน
ป.ล. การจองทั้งสองที่ต้องใช้บัตรเครดิตในการจองนะครับ ส่วนใครจะจองที่พักอื่น ๆ เช่น agoda, hostelbooker ฯลฯ ก็ทำได้เช่นกันครับ
4.6 การทำวีซ่า
ขอกล่าวจากประสบการณ์ตรงแล้วกันนะครับ คือ
1. การขอวีซ่า ไปขอได้เลยไม่ต้องโทรนัดอะไรทั้งสิ้นครับ
2. ต้องไปขอด้วยตัวเองครับ ฝากใครไปขอให้ไม่ได้
3. ระยะเวลาการได้วีซ่าแตกต่างกันไป ของผมขอแล้วได้ภายใน 3 วัน ให้ส่งเอกสารไปที่บ้านเลย ไม่มีการเรียกไปสัมภาษณ์หรือขอเอกสารอะไรเพิ่มเติม ถ้าเอาชัวร์ก็ควรไปขอก่อนวันเดินทางจริง 1 เดือนครับ
โดยขอได้ที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าเดนมาร์ก ชั้น 12 อาคารอัลมาลิงค์ ซอยชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เวลาให้บริการยื่นใบคำร้องขอวีซ่า : 08.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. (จันทร์-ศุกร์) ยกเว้นวันหยุด
เวลารับหนังสือเดินทาง : 13.00-16.00 น. (จันทร์-ศุกร์) ยกเว้นวันหยุด
ค่าธรรมเนียมวีซ่าท่องเที่ยว 2,700 บาท (ปรับราคาขึ้นมา 100 บาท จากเดิม 2,600 บาท)
ค่าบริการ 810 บาท อัตรานี้จะถูกเรียกเก็บต่อการยื่นคำร้องแต่ละครั้ง นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมในการสมัครวีซ่า
ค่าส่งไปรษณีย์ 200 บาท
ค่า SMS 60 บาท
รวม 3,770 บาท (ปรับขึ้นมา 100 บาท จากเดิม 3,670 บาท)
หมายเหตุ
ค่าธรรมเนียมวีซ่าบังคับใช้กับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ ปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ค่าธรรมเนียมไม่สามารถเรียกคืนเงินได้
ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า มีบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่าน ด้วยราคาที่เพิ่มมาเล็กน้อยเท่านั้น
บริการถ่ายเอกสาร
บริการถ่ายรูป
บริการจัดส่งเอกสาร
บริการอำนวยความสะดวกส่งเอสเอ็มเอสเพื่อตรวจสอบสถานการยื่นคำร้อง
บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับพริ้นท์เอกสาร
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าธรรมเนียมวีซ่า, ค่าบริการวีเอฟเอสและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ) จะต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น ในสกุลเงินไทยบาท
รายละเอียดการยื่นขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยวในไอซ์แลนด์
http://vfsglobal-denmark.com/thailand/thai/iceland_tourist.html
รายละเอียดเอกสารเป็น Checklist ที่ต้องใช้การขอวีซ่า
http://vfsglobal-denmark.com/thailand/thai/pdf/checklist_tourist__21.08.13.pdf
4.7 การเลือกกระเป๋าเดินทาง
กระเป๋าที่ควรเอาไปในกรณีที่ใช้รถ Camper Van ในการขับเที่ยว จะเป็นกระเป๋าลากล้อหรือกระเป๋าเป้ก็ได้ครับ แต่จากประสบการณ์โดยตรงน่าจะมีทั้งกระเป๋าล้อและกระเป๋าเป้ เพราะกระเป๋าล้อจะจุอาหารแห้ง อาหารกระป๋องไปได้เยอะกว่า ขณะที่กระเป๋าเป้จะมีพื้นที่น้อยในการวางในรถครับ ถ้าเอากระเป๋าล้อไปหมด พื้นที่จะแคบมาก ถ้าเอากระเป๋าเป้ไปหมดอาหารแห้งจะพกไปได้น้อยลง ต้องไปซื้อวัตถุดิบเพิ่มที่นั่น ซึ่งก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น 5 คน เราตกลงกันว่าเอากระเป๋าล้อ 2 ใบ กระเป๋าเป้ 3 ใบ ข้อดีอีกข้อที่นึกออก คือ เราแชร์น้ำหนักกันได้ ถ้าคนใดคนหนึ่งจุน้ำหนักเกินไป
เรื่องน้ำหนักของกระเป๋า เป็นสิ่งที่พึงระวังครับ ต้องตรวจสอบให้ดีว่าสายการบินแต่ละที่ให้เท่าไหร่
ยกตัวอย่าง
เราบิน Finnair ให้ 23 kg โหลดขึ้น 7 kg แบกขึ้นได้ แชร์น้ำหนักได้ ขณะที่ Norwegian Air ให้ 20 kg โหลดขึ้น 10 kg แบกขึ้นได้ แต่ห้ามแชร์น้ำหนักกัน ของใครของมัน ทำให้เราต้องเทของมาจัดกันใหม่ที่สนามบินออสโลครับ ซึ่งก็ผ่านได้อย่างเรียบร้อย ไม่ต้องเสียตังค์เพิ่มหรือทิ้งของอะไรลงถังขยะ
4.8 การเตรียมเสบียง
มาในส่วนของอาหาร อันนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการลดค่าใช้จ่าย เพราะเรากินกันตกมื้อละ 40-50 บาท เมื่อนำอาหารมากินกันเองจากไทย จากที่ต้องจ่ายเมื่อต้องกินฮอทดอกทีคนละ 150 บาท หรือร้านอาหารที่ราคาเริ่มที่หลัก 500-3,500 บาทต่อคนต่อมื้อครับ ฟังไม่ผิดหรอกครับ ราคาเท่านี้จริง ๆ และเนื่องจากอาหารสำหรับผมเป็นสิ่งที่กินกันตายครับ ที่ต้องกินก็เพื่อกันตาย กินอะไรก็ได้ครับ ให้มันมีแรงพาร่างกายของเราไปทำตามฝันได้ เอามาเถอะครับ มาม่าซอง, ข้าวมือถือ, อาหารซองโรซ่า, อาหารกระป๋องซีเล็คทูน่า, ข้าวสาร, สปาเกตตี, หมูหยอง, หมูแผ่น, หมูทุบ, ข้าวสวยกระป๋องพร้อมกิน ฯลฯ ลองไปเลือกดูครับ ที่ Makro, Lotus, Tops, Gourmet ฯลฯ
คำแนะนำ
1. ให้จัดกระเป๋าใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยแล้วดูว่าน้ำหนักเหลืออีกเท่าไหร่ แล้วจัดอาหารไปให้เกือบเต็มโควต้าน้ำหนักของสายการบินนั้น ๆ ถ้าน้ำหนักเหลือน้อยให้เอากางเกงในกับชุดชั้นในออกครับ 555+ จริง ๆ เสื้อผ้าไม่ต้องเอาไปเยอะหรอกครับ เอาไปอย่างละชุดก็พอ จะมีสำรองก็พวกลองจอนหรือกางเกงในแบบ 3-4 วันเปลี่ยนชุดหนึ่งก็ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอาหารสดแบบหมูหยอง ไส้กรอกอะไรแบบนี้ ไม่ต้องเอาไปนะครับ เค้าไม่ให้เข้าประเทศ แล้วน้ำหนักสำหรับการเอาอาหารแห้งทุกชนิดรวมกันประเทศไอซ์แลนด์จำกัดอยู่ที่ 3 กิโลกรัมครับ แต่พวกผมก็เอาไปเยอะกว่านั้นพอสมควรครับ เสียวมากตอนเดินออกจากช่อง Arrivals ถ้าตรวจจริง เปิดกระเป๋าออกมาชั่งน้ำหนักยังไงก็เกิน
3. การเลือกซื้อ พยายามซื้ออาหารที่ภาชนะกระป๋องหรือซองใส่มันไม่ใหญ่โตนัก เอาไปแพ็กใส่กระเป๋าได้เยอะ ๆ น้ำหนักของมันควรจะน้อย ๆ แต่กินได้มาก ๆ
4. พกขวดน้ำพลาสติกเปล่า ๆ จากเมืองไทยไปเลยครับ พอไปถึงที่นั่นก็เอามากรอกน้ำจาก “ส้วม” นั่นแหละกินเอา ไปเจอราคาน้ำเปล่าขวดเล็กขายกันในสนามบินขวดละ 150-200 บาท นี่ช็อกแทบหงายหลัง น้ำอะไรแพงขนาดนี้
5. หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารแห้งที่มันมีอยู่ที่นู้นอยู่แล้วครับ เช่น สปาเกตตี พาสต้า ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก อาจซื้อได้ครับ แต่ไม่ต้องไปจัดเต็มมาก ที่นั่นซูเปอร์มีขายครับ แพงกว่ากันนิดหน่อย
4.9 เสื้อผ้า เครื่องป้องกันความหนาวที่ต้องเตรียม
ชื่อประเทศก็บอกอยู่แล้วครับว่าไอซ์แลนด์ ดินแดนน้ำแข็ง มันหนาวอยู่แล้วครับไม่ต้องลุ้น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยระหว่างวันจะอยู่ราว ๆ -5 ถึง 10 องศา ยังไม่นับบางที่ที่มีลมนะครับ ลมที่นั่นแรงมาก ผมตั้งขาตั้งกล้องภายในไม่ถึงวินาที ล้มแล้วครับ ตัวแทบปลิวเลย ฉะนั้น เตรียมตัวให้พร้อม
1. ลองจอน (เสื้อและกางเกง) 1 ชั้น
2. สเวตเตอร์ 1 ชั้น
3. แจ็คเก็ตแบบกันลม 1 ชั้น เน้นครับ ขอเป็นกันลมเลยครับ ใครคิดว่ากลัวหนาวทนไม่ไหวก็จัด Coat ไปอีกตัว เป็นหมีเลยคราวนี้ 555 ในทริปนี้มีแค่ Gullfoss ที่เดียวครับ ที่ผมต้องใส่ 4 ชั้น คือ ลองจอน สเวตเตอร์ แจ็คเก็ต Thermoball Hoodie with Hood ของ North face กับเสื้อกันลมอีกตัว เพราะลมมันทะลุเข้าไปถึงเนื้อในจริง ๆ นอกนั้นก็ 3 ชั้นตลอดครับ
4. กางเกงกันหนาวกันลม 1 ชั้น ถามว่ายีนส์ดีมั้ย จากประสบการณ์มันก็ดีนะครับ แต่มันหนักครับ ไม่ชอบแบกและไม่ชอบใส่ เลยขอเป็นกางเกงที่มีน้ำหนักเบา กระชับ ไม่ซับน้ำแทนจะดีกว่า
5. หมวกที่ปิดถึงหูได้ 1 อัน
6. ปลอกคอที่คลุมปิดมาถึงจมูกได้ยิ่งดี
7. ถุงมือกันลม 1 คู่
8. ถุงเท้าหนากันหนาว จะเอาไป 1 คู่ก็ได้ ถ้าไม่เกรงใจเพื่อนในทีมครับ
9. รองเท้าหิมะ 1 คู่
ป.ล. สำหรับในทริปนี้ ราได้รับสปอนเซอร์เป็นผลิตภัณฑ์แจ็คเก็ตกันลม ถุงมือกันหนาว และหมวกไหมพรม จาก The North Face Thailand เพื่อภารกิจตามล่าแสงเหนือครับ นอกนั้นออกเงินกันเองทั้งหมดนะครับ
มาดูว่าผลิตภัณฑ์ 2 ชิ้นนี้ มีอะไรพิเศษบ้าง
1. Thermoball Hoodie with Hood
จะเห็นได้ว่าแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนคนขับกับส่วนด้านหลังครับ ด้านหน้าก็มีเบาะคนขับกับเบาะคนนั่งอีกคน ส่วนด้านหลังมีอ่างน้ำกับเตาแก๊สอยู่ และส่วนที่เป็นเบาะไว้นอนและที่นั่งพับเป็นเตียงได้อยู่ด้านล่างครับ
นอกจากรถที่มีให้เช่าแล้ว ทาง Kuku ยังมีอุปกรณ์เพิ่มความสนุกสุดเหวี่ยงให้เช่าอีกด้วย จ่ายทีเดียวใช้ได้ตลอดทริปครับ ที่แนะนำก็จะมี Power inverter ที่ใช้สำหรับแปลงไฟในรถให้ใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าของพวกเรา เช่น มือถือ กล้อง คอมพิวเตอร์อะไรแบบนี้ครับ จะซื้อจากเมืองไทยไปก็ได้ครับ แต่เกิดเอาไปใช้ไม่ได้ก็ต้องเช่าอยู่ดี อันนี้แล้วแต่ ใครที่เคยดู Walter Mitty แล้วเกิดอยากควบสเกตบอร์ดลู่ลมล่ะก็ โอกาสของท่านมาถึงแล้วครับ ขนาดจักรยาน ลูกรักบี้ เบ็ดตกปลา มันก็ยังมีให้เช่าเลย เอากับมันสิครับ เอาล่ะโม้น้ำจิ้มไปพอกลมกล่อม มาดูวิธีการจองกันดีกว่า
วิธีการจองรถ
เราก็แค่เลือกชนิดของรถ และเมนูรายละเอียดการจองจะอยู่ทางด้านขวามือนะครับ
1.) เราสามารถเลือกจุดรับรถ-จุดส่งรถได้ โดยถ้าให้เขามาส่งที่สนามบินต้องเสียเพิ่ม 50 ยูโร เช่นเดียวกัน ถ้าจะส่งรถที่สนามบินก็ต้องเสียเพิ่มอีก 50 ยูโร เช่นเดียวกันครับ แต่ถ้าจะไปรับรถในเมืองเลยก็ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ (สนามบินที่เราไปลงจะอยู่ห่างจากเมืองหลวงเรคยาวิคประมาณ 40 กิโลเมตร ดังนั้น 50 ยูโร ไม่แพงหรอก เพราะค่ารถ Shuttle bus ไปสนามบินต่อคนขาเดียวจากตัวเมืองก็ปาเข้าไป 7xx บาท แล้วครับ ส่วนขากลับก็แล้วแต่ สำหรับพวกเราเลือกคืนรถในเมือง เพราะต้องนอนพักในเมืองเรคยาวิค 1 คืน)
2.) เราเลือกวันที่จะรับรถ-ส่งรถได้ โดยต้องลงวันที่แบบเป๊ะ ๆ และเวลาที่จะรับรถแบบเป๊ะ ๆ นะครับ เขาจะคิดเป็น 24 ชั่วโมงต่อ 1 วัน เพราะฉะนั้น ถ้ามาเอารถตอน 12.00 น. ก็ต้องมาคืนรถตอน 12.00 น. เช่นกัน ไม่งั้นถือว่าบวกเพิ่มอีก 1 วันนะครับ
3.) อายุของคนขับ จำเป็นเพราะว่ากฎหมายของที่อนุญาตให้คนที่อายุมากกว่า 20 ปีเท่านั้น ถึงจะขับรถได้ครับ
หน้าจอถัดไปก็จะเป็นการเลือกอุปกรณ์เพิ่มเติมต่าง ๆ แต่ที่วงไว้ให้ดู 2 อันหลัก คือ
1.) Power inverter ตัวแปลงไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์ให้กลายเป็นไฟสำหรับใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าของเราได้ครับ
2.) SCDW Insurance โดยปกติค่าเช่ารถที่เราจ่ายไปจะรวมค่าประกันของรถที่เจ้าของเดิมถืออยู่แล้วนะครับ แต่ว่าถ้าเกิดเราไปทำอุบัติเหตุในวงเงินที่ไม่เกิน 2,000 ยูโรเนี่ย ก็ไม่มีอะไร ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม แต่ถ้าเกิน 2,000 ยูโร นี่งานเข้าเลยครับ ต้องจ่ายส่วนต่างนั้นเอง แต่ถ้าเราซื้อประกันในส่วนนี้เพิ่ม คือ วันละ 10 ยูโร เจ้าของรถเขาจะรับประกันให้เต็มวงเงินค่าซ่อมครับ สรุปคือซื้อไว้เถอะครับ อุบัติเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ
3.) อีกหนึ่งอันที่เห็นแล้วงงว่ามันคืออะไร Cleaning fee 50 euro ??? มันคือค่าทำความสะอาดรถหลังจากที่เราเอารถมาคืน วิธีวัดความสะอาด ก็คือ ก่อนไปเป็นยังไงกลับมาก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเราทำกันเองในวันส่งรถ เราก็ไม่ต้องเลือกส่วนนี้ครับ
ส่วนด้านล่างสุดก็จะแสดงให้เห็นยอดเงินรวมที่เราต้องเสียทั้งหมด
คำเตือน : จากประสบการณ์การใช้งานจริงและการสอบถามคนที่เคยใช้บริการเจ้านี้ ขอสรุปข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
1. เป็นเจ้าเดียวที่มีเกียร์ออโต้สำหรับ campervan นอกนั้นเกียร์กระปุกทั้งหมด
2. ในรถคันใหญ่สามารถจุคนได้ 5 คน ขณะที่เจ้าอื่นให้ 4 คน เทียบกันแล้วก็ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากรถหนึ่งคันหาร 4 เป็นหาร 5 คนแทน แถมค่าเช่าต่อวันก็ราคาถูกกว่าเจ้าอื่น ๆ เล็กน้อย
ข้อเสีย
1. ระบบการจัดการดูลูกทุ่ง ๆ ครับ ไม่ค่อยมืออาชีพอย่างบริษัทเช่ารถทั่วไป
2. รถไม่ค่อยดี มีปัญหาจุกจิกให้แก้ทุกวันครับ เช่น กระจกไฟฟ้าด้านข้างคนขับเสีย มันเลื่อนลงมาเองอัตโนมัติแล้วกดปิดเองไม่ได้ ต้องมาหาร้านซ่อม เสียเวลาเที่ยว เหมือนกับรถไม่ได้ถูกเช็กสภาพให้สมบูรณ์มาก่อนที่จะให้ลูกค้าเช่า หรือแม้แต่ขนาดของล้อเมื่อเทียบกับขนาดของรถ เราลงความเห็นกันว่ายังไงล้อมันก็เล็กเกินไป ทำให้การขับทรงตัวได้ยากลำบาก โดยเฉพาะถนนที่ลื่นเวลามีหิมะตก เป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ใช้รถ
และด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงอยากให้อ่านบทความของ พี่พี พิริยะ ผู้มีประสบการณ์กับรถ 2 บริษัทมาแล้ว เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจได้ที่ http://www.piriyaphoto.com/camper-van-in-iceland/
การทำใบขับขี่สากล
จำเป็นต้องมีนะครับ วิธีการทำก็ไม่มีอะไรยาก ไปที่กรมการขนส่งทางบก จ่ายเงินก็ได้มาเลยครับ
ข้อมูลจาก http://www.dlt.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=3658:2012-12-06-07-52-23&catid=131:2011-09-08-02-09-23&Itemid=88 นะครับ
4.5 การจองที่พัก (booking.com/hostelworld.com)
ทริปนี้ทั้งทริปจองผ่าน booking.com และ hostelworld.com ครับ
http://www.booking.com
จองแล้วยกเลิกได้ ไม่เสียค่าธรรมเนียม มีประโยชน์ในการยื่นวีซ่าแล้ววีซ่าดันไม่ผ่าน ขอยกเลิกไม่เสียเงิน มีกลุ่ม hostel ไม่มากให้เลือก
http://www.hostelworld.com
จองกลุ่ม hostel ได้ มีตัวเลือกมากมาย แต่ต้องจ่ายเงิน 10% ของราคาห้องไปก่อน
ป.ล. การจองทั้งสองที่ต้องใช้บัตรเครดิตในการจองนะครับ ส่วนใครจะจองที่พักอื่น ๆ เช่น agoda, hostelbooker ฯลฯ ก็ทำได้เช่นกันครับ
4.6 การทำวีซ่า
ขอกล่าวจากประสบการณ์ตรงแล้วกันนะครับ คือ
1. การขอวีซ่า ไปขอได้เลยไม่ต้องโทรนัดอะไรทั้งสิ้นครับ
2. ต้องไปขอด้วยตัวเองครับ ฝากใครไปขอให้ไม่ได้
3. ระยะเวลาการได้วีซ่าแตกต่างกันไป ของผมขอแล้วได้ภายใน 3 วัน ให้ส่งเอกสารไปที่บ้านเลย ไม่มีการเรียกไปสัมภาษณ์หรือขอเอกสารอะไรเพิ่มเติม ถ้าเอาชัวร์ก็ควรไปขอก่อนวันเดินทางจริง 1 เดือนครับ
โดยขอได้ที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าเดนมาร์ก ชั้น 12 อาคารอัลมาลิงค์ ซอยชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เวลาให้บริการยื่นใบคำร้องขอวีซ่า : 08.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. (จันทร์-ศุกร์) ยกเว้นวันหยุด
เวลารับหนังสือเดินทาง : 13.00-16.00 น. (จันทร์-ศุกร์) ยกเว้นวันหยุด
ค่าธรรมเนียมวีซ่าท่องเที่ยว 2,700 บาท (ปรับราคาขึ้นมา 100 บาท จากเดิม 2,600 บาท)
ค่าบริการ 810 บาท อัตรานี้จะถูกเรียกเก็บต่อการยื่นคำร้องแต่ละครั้ง นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมในการสมัครวีซ่า
ค่าส่งไปรษณีย์ 200 บาท
ค่า SMS 60 บาท
รวม 3,770 บาท (ปรับขึ้นมา 100 บาท จากเดิม 3,670 บาท)
หมายเหตุ
ค่าธรรมเนียมวีซ่าบังคับใช้กับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ ปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ค่าธรรมเนียมไม่สามารถเรียกคืนเงินได้
ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า มีบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่าน ด้วยราคาที่เพิ่มมาเล็กน้อยเท่านั้น
บริการถ่ายเอกสาร
บริการถ่ายรูป
บริการจัดส่งเอกสาร
บริการอำนวยความสะดวกส่งเอสเอ็มเอสเพื่อตรวจสอบสถานการยื่นคำร้อง
บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับพริ้นท์เอกสาร
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าธรรมเนียมวีซ่า, ค่าบริการวีเอฟเอสและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ) จะต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น ในสกุลเงินไทยบาท
รายละเอียดการยื่นขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยวในไอซ์แลนด์
http://vfsglobal-denmark.com/thailand/thai/iceland_tourist.html
รายละเอียดเอกสารเป็น Checklist ที่ต้องใช้การขอวีซ่า
http://vfsglobal-denmark.com/thailand/thai/pdf/checklist_tourist__21.08.13.pdf
4.7 การเลือกกระเป๋าเดินทาง
กระเป๋าที่ควรเอาไปในกรณีที่ใช้รถ Camper Van ในการขับเที่ยว จะเป็นกระเป๋าลากล้อหรือกระเป๋าเป้ก็ได้ครับ แต่จากประสบการณ์โดยตรงน่าจะมีทั้งกระเป๋าล้อและกระเป๋าเป้ เพราะกระเป๋าล้อจะจุอาหารแห้ง อาหารกระป๋องไปได้เยอะกว่า ขณะที่กระเป๋าเป้จะมีพื้นที่น้อยในการวางในรถครับ ถ้าเอากระเป๋าล้อไปหมด พื้นที่จะแคบมาก ถ้าเอากระเป๋าเป้ไปหมดอาหารแห้งจะพกไปได้น้อยลง ต้องไปซื้อวัตถุดิบเพิ่มที่นั่น ซึ่งก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น 5 คน เราตกลงกันว่าเอากระเป๋าล้อ 2 ใบ กระเป๋าเป้ 3 ใบ ข้อดีอีกข้อที่นึกออก คือ เราแชร์น้ำหนักกันได้ ถ้าคนใดคนหนึ่งจุน้ำหนักเกินไป
เรื่องน้ำหนักของกระเป๋า เป็นสิ่งที่พึงระวังครับ ต้องตรวจสอบให้ดีว่าสายการบินแต่ละที่ให้เท่าไหร่
ยกตัวอย่าง
เราบิน Finnair ให้ 23 kg โหลดขึ้น 7 kg แบกขึ้นได้ แชร์น้ำหนักได้ ขณะที่ Norwegian Air ให้ 20 kg โหลดขึ้น 10 kg แบกขึ้นได้ แต่ห้ามแชร์น้ำหนักกัน ของใครของมัน ทำให้เราต้องเทของมาจัดกันใหม่ที่สนามบินออสโลครับ ซึ่งก็ผ่านได้อย่างเรียบร้อย ไม่ต้องเสียตังค์เพิ่มหรือทิ้งของอะไรลงถังขยะ
4.8 การเตรียมเสบียง
มาในส่วนของอาหาร อันนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการลดค่าใช้จ่าย เพราะเรากินกันตกมื้อละ 40-50 บาท เมื่อนำอาหารมากินกันเองจากไทย จากที่ต้องจ่ายเมื่อต้องกินฮอทดอกทีคนละ 150 บาท หรือร้านอาหารที่ราคาเริ่มที่หลัก 500-3,500 บาทต่อคนต่อมื้อครับ ฟังไม่ผิดหรอกครับ ราคาเท่านี้จริง ๆ และเนื่องจากอาหารสำหรับผมเป็นสิ่งที่กินกันตายครับ ที่ต้องกินก็เพื่อกันตาย กินอะไรก็ได้ครับ ให้มันมีแรงพาร่างกายของเราไปทำตามฝันได้ เอามาเถอะครับ มาม่าซอง, ข้าวมือถือ, อาหารซองโรซ่า, อาหารกระป๋องซีเล็คทูน่า, ข้าวสาร, สปาเกตตี, หมูหยอง, หมูแผ่น, หมูทุบ, ข้าวสวยกระป๋องพร้อมกิน ฯลฯ ลองไปเลือกดูครับ ที่ Makro, Lotus, Tops, Gourmet ฯลฯ
คำแนะนำ
1. ให้จัดกระเป๋าใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยแล้วดูว่าน้ำหนักเหลืออีกเท่าไหร่ แล้วจัดอาหารไปให้เกือบเต็มโควต้าน้ำหนักของสายการบินนั้น ๆ ถ้าน้ำหนักเหลือน้อยให้เอากางเกงในกับชุดชั้นในออกครับ 555+ จริง ๆ เสื้อผ้าไม่ต้องเอาไปเยอะหรอกครับ เอาไปอย่างละชุดก็พอ จะมีสำรองก็พวกลองจอนหรือกางเกงในแบบ 3-4 วันเปลี่ยนชุดหนึ่งก็ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอาหารสดแบบหมูหยอง ไส้กรอกอะไรแบบนี้ ไม่ต้องเอาไปนะครับ เค้าไม่ให้เข้าประเทศ แล้วน้ำหนักสำหรับการเอาอาหารแห้งทุกชนิดรวมกันประเทศไอซ์แลนด์จำกัดอยู่ที่ 3 กิโลกรัมครับ แต่พวกผมก็เอาไปเยอะกว่านั้นพอสมควรครับ เสียวมากตอนเดินออกจากช่อง Arrivals ถ้าตรวจจริง เปิดกระเป๋าออกมาชั่งน้ำหนักยังไงก็เกิน
3. การเลือกซื้อ พยายามซื้ออาหารที่ภาชนะกระป๋องหรือซองใส่มันไม่ใหญ่โตนัก เอาไปแพ็กใส่กระเป๋าได้เยอะ ๆ น้ำหนักของมันควรจะน้อย ๆ แต่กินได้มาก ๆ
4. พกขวดน้ำพลาสติกเปล่า ๆ จากเมืองไทยไปเลยครับ พอไปถึงที่นั่นก็เอามากรอกน้ำจาก “ส้วม” นั่นแหละกินเอา ไปเจอราคาน้ำเปล่าขวดเล็กขายกันในสนามบินขวดละ 150-200 บาท นี่ช็อกแทบหงายหลัง น้ำอะไรแพงขนาดนี้
5. หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารแห้งที่มันมีอยู่ที่นู้นอยู่แล้วครับ เช่น สปาเกตตี พาสต้า ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก อาจซื้อได้ครับ แต่ไม่ต้องไปจัดเต็มมาก ที่นั่นซูเปอร์มีขายครับ แพงกว่ากันนิดหน่อย
4.9 เสื้อผ้า เครื่องป้องกันความหนาวที่ต้องเตรียม
ชื่อประเทศก็บอกอยู่แล้วครับว่าไอซ์แลนด์ ดินแดนน้ำแข็ง มันหนาวอยู่แล้วครับไม่ต้องลุ้น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยระหว่างวันจะอยู่ราว ๆ -5 ถึง 10 องศา ยังไม่นับบางที่ที่มีลมนะครับ ลมที่นั่นแรงมาก ผมตั้งขาตั้งกล้องภายในไม่ถึงวินาที ล้มแล้วครับ ตัวแทบปลิวเลย ฉะนั้น เตรียมตัวให้พร้อม
1. ลองจอน (เสื้อและกางเกง) 1 ชั้น
2. สเวตเตอร์ 1 ชั้น
3. แจ็คเก็ตแบบกันลม 1 ชั้น เน้นครับ ขอเป็นกันลมเลยครับ ใครคิดว่ากลัวหนาวทนไม่ไหวก็จัด Coat ไปอีกตัว เป็นหมีเลยคราวนี้ 555 ในทริปนี้มีแค่ Gullfoss ที่เดียวครับ ที่ผมต้องใส่ 4 ชั้น คือ ลองจอน สเวตเตอร์ แจ็คเก็ต Thermoball Hoodie with Hood ของ North face กับเสื้อกันลมอีกตัว เพราะลมมันทะลุเข้าไปถึงเนื้อในจริง ๆ นอกนั้นก็ 3 ชั้นตลอดครับ
4. กางเกงกันหนาวกันลม 1 ชั้น ถามว่ายีนส์ดีมั้ย จากประสบการณ์มันก็ดีนะครับ แต่มันหนักครับ ไม่ชอบแบกและไม่ชอบใส่ เลยขอเป็นกางเกงที่มีน้ำหนักเบา กระชับ ไม่ซับน้ำแทนจะดีกว่า
5. หมวกที่ปิดถึงหูได้ 1 อัน
6. ปลอกคอที่คลุมปิดมาถึงจมูกได้ยิ่งดี
7. ถุงมือกันลม 1 คู่
8. ถุงเท้าหนากันหนาว จะเอาไป 1 คู่ก็ได้ ถ้าไม่เกรงใจเพื่อนในทีมครับ
9. รองเท้าหิมะ 1 คู่
ป.ล. สำหรับในทริปนี้ ราได้รับสปอนเซอร์เป็นผลิตภัณฑ์แจ็คเก็ตกันลม ถุงมือกันหนาว และหมวกไหมพรม จาก The North Face Thailand เพื่อภารกิจตามล่าแสงเหนือครับ นอกนั้นออกเงินกันเองทั้งหมดนะครับ
มาดูว่าผลิตภัณฑ์ 2 ชิ้นนี้ มีอะไรพิเศษบ้าง
1. Thermoball Hoodie with Hood
เสื้อตัวนี้ถูกออกแบบมาใช้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นและเปียกชื้น ทาง North Face ใส่เทคโนโลยีใหม่เข้าไปในเสื้อตัวนี้ที่ชื่อว่า PrimaLoft Thermoball เสื้อตัวนี้จะกันความร้อนออกหรือจับความร้อนได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกฝน ปกติแล้วเสื้อหนาวที่ถูกฝนก็จะทำให้เสื้อเสียความสามารถในการป้องกันความหนาว แต่เสื้อตัวนี้ไม่ นอกจากนี้ ด้วยความที่มันเบาไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม (400 กรัม) ทำให้ลดภาระที่ต้องแบกเวลาต้องแพ็กกระเป๋าเดินทางไปได้เยอะ (ปกติน้ำหนักเสื้อแจ็คเก็ตจะเกิน 1 กิโลกรัม) คุณสมบัติอีกอย่าง คือ การจัดเก็บ ที่เราสามารถทำเสื้อเป็นตัวให้กลายเป็นก้อนได้ (ติดตามดูว่าทำได้ยังไงผ่านวิดีโอคลิปนะครับ)
จากประสบการณ์ที่ใช้ล่าแสงเหนือใน Iceland อุณหภูมิราว ๆ -10 ถึง 10 องศาเซลเซียส ถือว่าสบาย ๆ ครับ แม้จะต้องเดินท่ามกลางฝนตกปรอย ๆ ที่เมืองเรคยาวิค ก็ไม่รู้สึกว่าหนาวมากจนทนไม่ไหว หรือแม้จะต้องยืนถ่ายรูปแสงเหนือตั้งแต่ 4 ทุ่ม ยันไปถึงตี 4 ก็ยังไม่รู้สึกหนาวทรมานจนรับไม่ได้นะครับ แต่ถ้าให้หนาวขนาดติดลบ 30 องศาเซลเซียส จะใส่ตัวนี้เอาอยู่มั้ย อันนี้คิดว่าไม่น่าได้นะครับ
แจ็คเก็ตตัวนี้เหมาะกับคนที่ต้องการความรู้สึกสบายเวลาสวมใส่ ขนาดเบา ใส่แล้วดูตัวไม่พอง เก็บง่าย ใช้ในอุณหภูมิช่วงที่ไม่หนาวมากจนเกินไป และสภาพอากาศที่มีความชื้นจากฝนได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความหนาวมักเกิดจากลม การป้องกันโดยใช้หมวก ถุงมือ ปลอกคอ ถุงเท้า รองเท้าที่เหมาะสมในการกันลมกันหนาว ก็จะช่วยให้เรารู้สึกไม่หนาวทรมาน เมื่อต้องไปในแถบเขตอากาศหนาว ๆ ครับ
สนนราคา : 220 USD
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thenorthface.com/catalog/sc-gear/men-39-s-thermoball-hoodie.html
วิดีโอรีวิวแจ็คเก็ต
2. MEN\'S ETIP PAMIR WINDSTOPPER® GLOVE
รายละเอียดเบื้องต้น
ถุงมือที่กันหนาวได้ กันลมได้ แล้วยังถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่สามารถใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ควบคุม สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้ ทั้งการกดเลือกหรือซูมเข้าซูมออกที่ต้องใช้การบังคับด้วย 2 นิ้ว นอกจากนี้ ถุงมือช่วงบริเวณฝ่ามือยังถูกออกแบบให้เพิ่มความสามารถในการยึดจับได้ดีอีกด้วย
ถุงมือตัวนี้ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเราเลยก็ว่าได้ เพราะปกติถุงมือที่เราใช้กัน ถ้าจะต้องกดมือถือก็ต้องถอดถุงมือก่อน ทำให้ดูเสียเวลา ซึ่งบางคนคงเคยมีประสบการณ์ถอดไปถอดมา เอ้า...ถุงมือหาย หาไม่เจอ ต้องซื้อใหม่ เพราะต้องมาใช้มือถือหรือคนที่ต้องการถ่ายภาพกลางคืน โดยเฉพาะแสงเหนือที่ต้องมีการตรวจเช็กสภาพอากาศ สภาพถนนจากบนมือถือ ก็จะทำให้สะดวกสบายต่อชีวิตเพิ่มขึ้นเยอะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าให้เปรียบเทียบกับถุงมือสกีหนา ๆ ถุงมือตัวนี้อาจกันหนาวได้ไม่ดีเท่าครับถุงมือสกี แต่ถุงมือสกีก็ไม่สามารถตอบสนองการหยิบจับ โดยเฉพาะการถ่ายภาพ การใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ครับ จึงต้องพิจารณาเป็นเคส ๆ ไปว่าเราต้องการเอาถุงมือกันหนาวไปใช้กับกิจกรรมลักษณะไหน
สนนราคา : 65 USD
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thenorthface.com/catalog/sc-gear/men-39-s-etip-pamir-windstopper-glove.html
วิดีโอรีวิวถุงมือ
4.10 กล้องและอุปกรณ์
สำหรับในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลครับว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์แบบไหน จะเป็นกล้องมือถือ กล้องคอมแพ็ค กล้อง DSLR ฯลฯ ยังไงก็ได้ครับ เพียงแต่เตรียม Memory card, Batteries, ที่ชาร์จแบตให้พร้อม อันนี้หลัก ๆ เลยที่คนเตรียมไปไม่พอ แบตฯ อย่างน้อย ๆ ก็ต้อง 2-3 ก้อนแล้วครับ เผื่อ ๆ กันไว้ ดีกว่าขาดแล้วจะเสียดายโอกาสนะครับ ส่วนอุปกรณ์สำหรับคนถ่ายภาพก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพไฟล์ ความจริงจังของตัวบุคคล เช่น ขาตั้งกล้อง ฟิลเตอร์เลนส์ รีโมท หรือสายลั่นชัตเตอร์ ฯลฯ ก็อย่าลืมเตรียมกันไปครับ เดี๋ยวจะขอกล่าวละเอียดเรื่องอุปกรณ์ที่ทางพวกเราใช้กันอีกครั้งครับ
4.11 ยา
การไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ถ้ามียาที่เอามาจากบ้านเราเอง น่าจะเพิ่มความอุ่นใจมากกว่าไปด้นสดซื้อยาเหล่านี้ในบ้านเค้า เพราะอาจคุยกันไม่รู้เรื่อง หรือบางอย่างเราอาจต้องไปพบแพทย์ที่นั่นก่อน เค้าถึงจะอนุญาตให้เราซื้อยาได้เพราะมีใบสั่งยามาแล้ว เอาแบบพริ้นท์ไปให้ร้านขายยาจัดมาแบบนี้เลยครับ บอกเขาขอไปอย่างละสองแผง
Paracetamol ยาสามัญประจำตัว แก้ปวดทุกอย่างในร่างกาย
Cetirizine ถ้าคุณไม่อยากขี้มูกไหลเป็นทางยามล่าแสงเหนือล่ะก็ ยาตัวนี้พอจะช่วยคุณได้ แต่กินแล้วง่วง อาจล่าแสงเหนือไม่ได้แทน ถ้ายาแก้แพ้แบบไม่ง่วงก็ Telfast ครับ
Dimenhydrinate ถ้าคุณเป็นคนเมารถง่ายล่ะก็ ยาตัวนี้ต้องติดตัวไว้เสมอ
Norfloxacin ใช้เวลายามที่คุณเผลอไปทานอาหารไม่สะอาดแล้วท้องเสียลางทาง ยาฆ่าเชื้อนี้ได้ผลชะงัก แต่ไอซ์แลนด์สะอาดมาก ไม่น่าเจอเรื่องนี้
Diclofenac cream ครีมแก้ปวดเมื่อยใช้ชโลมตอนก่อนนอนหลังเหนื่อยมาทั้งวัน
แผ่น Thermoplast อันนี้ขอแนะนำเวลาอยู่ในเขตหนาวมาก ๆ จริง ๆ แล้วแผ่นนี้ไว้แปะแก้ปวด เนื่องจากพอแปะติดกับร่างกายแล้วแผ่นจะปล่อยความร้อนออกมา แต่เราเอามาประยุกต์แปะไว้บนหน้าอกแก้กันหนาวได้ครับ
Domperidone ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
Plaster แปะแผล เผื่อเดินซุ่มซ่ามได้รับบาดเจ็บ
4.12 คอมพิวเตอร์ ปลั๊ก และอื่น ๆ
โน้ตบุ๊ก พกไว้สำหรับการโอนไฟล์ภาพจากกล้องลงเครื่องครับ ถ้าไปกันหลายคนก็ตกลงกันก็ได้ว่าใครจะเอาไป แล้วหยิบ External Harddisk ไปขอแจมกับเค้า
ปลั๊ก เนื่องด้วยทุกวันนี้อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งมือถือ ไอแพด โน้ตบุ๊ก กล้อง ต้องใช้ไฟ เราจึงควรเอาปลั๊กพ่วงไป เต้าเสียบที่ไอซ์แลนด์จะเป็นหัวกลมสองขา ก็ไปซื้อตัวแปลงจากเมืองไทยเตรียมไว้ก่อนแหละ
4.13 App สำคัญที่ควรมีติดตัว
Apps สำคัญที่ไว้ใช้สำหรับการล่าแสงเหนือหรือท่องเที่ยวในไอซ์แลนด์ (iPhone)
1. Compass (free) : แอพฯ เข็มทิศที่จะคอยบอกเราว่าพระอาทิตย์จะขึ้นจะตกที่ไหน ทำให้เรารู้ทิศว่าจะไปยังไงต่อได้
2. SkyKey (free): แอพฯ ที่บอกตำแหน่งว่าทางช้างเผือกอยู่ทางทิศไหนของฟากฟ้ารูปร่างเป็นเช่นไร ณ ขณะนี้ และทำนายการขึ้นของทางช้างเผือก
3. Moon (free): แอพฯ ที่บอกข้างขึ้น ข้างแรม บอกการขึ้นลงของดวงจันทร์ในแต่ละวันล่วงหน้าได้ เหมาะสำหรับวางแผนว่าถ้าอยากได้คืนเดือนมืดจะไปช่วงวันไหนของเดือนดี
4. Aurora Forecast (free) : แอพฯ ที่เอาการพยากรณ์แสงเหนือ-แสงใต้ พารามิเตอร์ที่สำคัญมาไว้ในแอพฯ เดียวกัน ดูการเกิดแสงเหนือ- แสงใต้ได้เป็นภาพรวมทั้งโลก ข้อเสีย คือ ทำนายได้หยาบ ๆ ยึดมาเป็นสรณะไม่ได้
5. Aurora (free): แอพฯ ที่พยากรณ์แสงเหนือแสงใต้เช่นกัน มีสเกลละเอียดแบ่งเป็นช่วง ๆ ของวันทีละ 3 ชั่วโมง เช่น 6 pm, 9 pm เป็นต้น ละเอียดกว่า Aurora Forecast แลดูน่าเชื่อถือกว่าเล็กน้อย
6. MapsWithMe Pro : Google maps ดีจริง และสมบูรณ์แบบอย่างที่ไม่มีโปรแกรมแผนที่ไหนเทียบได้ แต่ถ้าพื้นที่นั้นเราใช้ internet ไม่ได้ จุดเด่นทั้งหมดที่ว่ามาจะอันตรธานหายไปตรงหน้าทันที ถึงแม้จะสามารถ save offline map เก็บไว้ได้ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มาก สำหรับคนที่มีเครื่อง GPS อยู่กับตัว เช่น Garmin Asus ไรแบบนี้ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับคนที่ไม่มีจะทำอย่างไร มีแต่ smartphone หรือ Tablet อยู่ในมือเครื่องเดียวจะทำอย่างไรดี
ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่เราต้องไปเที่ยวทั้งเกาะ ซึ่งบางบริเวณสัก 5% ของพื้นที่ทั้งหมด สัญญาณโทรศัพท์จะหายไป ซึ่งหมายความว่าตอนนั้นเรามีโอกาสหลงทางได้ ดังนั้น เราต้องมีโปรแกรมที่สามารถโหลด Offline map ทั้งประเทศมาเก็บไว้แล้วใช้ระบบ GPS ในมือถือให้ทำหน้าที่ต่อไปครับ โปรแกรมที่ผมจะมาแนะนำ คือ Map With Me ครับ มีทั้งแบบให้ลองใช้ฟรี (Lite) และเสียเงินซื้อโปรแกรมตัวเต็ม (Pro) ครับ สำหรับราคา 189 บาทที่จ่ายไป ผมได้ลองใช้โปรแกรมนี้ตลอด 12 วัน พบว่าคุ้มค่าและเป็นการลงทุนที่ไม่เสียดายเลย
ข้อดี
1. สามารถโหลดแผนที่ Offline ได้เกือบทุกประเทศในโลกใบนี้
2. รายละเอียดครบถ้วนทุกอย่าง ชื่อถนน ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมีครบถ้วนทุกอย่าง
3. สามารถปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวไว้ล่วงหน้าได้ได้ครบถ้วน
4. สถานที่บางแห่งอย่าง Brúarfoss ที่หาทางไปยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร แถมอีกทั้งหาไม่เจอในโปรแกรมอื่น เช่น Google map อีก แต่ในโปรแกรมนี้มีรายละเอียดครบถ้วนซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรักโปรแกรมนี้มากครับ
5. และทุก ๆ สิ่งที่ว่าสามารถใช้งานในแบบ Offline หมดได้ครับ
ข้อเสีย
1. ระยะทางระหว่างสถานที่มักจะผิดเป็นประจำ เช่น ในแผนที่บอกว่าอีก 50 กิโลเมตรถึง แต่จริง ๆ มันคือ 75 กิโลเมตร ทำให้ช่วงแรก ๆ ที่ใช้โปรแกรม ผมกะระยะทางและเวลาผิดไปพักหนึ่งถึงจะรู้ว่าเกิดจากปัญหานี้
2. แผนที่รายละเอียดเน้นเกี่ยวกับถนนหนทางจริง แต่พวกสภาพภูมิประเทศโปรแกรมนี้แสดงผลไม่มีรายละเอียดแสดงมากเท่าที่ควร
5.วันเดินทาง
5.1 การโหลดสัมภาระสำหรับสองสายการบินที่ไม่เหมือนกัน การเตรียมขวดเปล่าจากไทยไป
นี่เป็นสิ่งที่ควรนึกถึงเมื่อเรานั่งเครื่องบินต่างสายการบินกัน เค้าจะมีน้ำหนักสูงสุดไม่เท่ากัน บางที่ดูถึงความยาวและความกว้างของกระเป๋าด้วย ฉะนั้น เช็กให้ดี ๆ ครับ ใช้ได้กับสายการบินทุกที่บนโลกเลยเทคนิคนี้ ต่อมาเรื่องการเตรียมขวดน้ำเปล่า เนื่องจากน้ำในยุโรปแพงมากเพราะเป็นน้ำแร่ น้ำประปาบ้านเค้าดื่มได้ สะอาด ให้เราเตรียมขวดเปล่า ๆ ใส่ไว้ในกระเป๋าเลยครับ ขวดเล็กเอาใส่กระเป๋าเล็กที่ติดตัวขึ้นเครื่องไปก็ได้ครับ สนามบินที่ผมไปเค้าให้เอาขึ้นได้ ตอนผ่าน Immigration แต่อันนี้ไม่รับรองผล 100% ขึ้นอยู่กับนโยบายสนามบินแต่ละแห่ง และเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจนะครับ
5.2 การเช็กอินและเลือกที่นั่ง (นั่งขวาขาไป นั่งซ้ายขากลับ) ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อที่นั่งก่อน
ถ้าเราบินจากไทยไปยุโรป ฝั่งขวาจะเป็นแผ่นดิน ฝั่งซ้ายจะเป็นทะเลครับ ถ้าเลือกได้ก็นั่งฝั่งขวาครับ มีอะไรสวย ๆ ให้ดูมากกว่า แต่ของผมฝั่งไหนก็เหมือนกันนะ ขาวจั๊วะเลย พูดไปก็อยากร้อง T-T
6. การนอนสนามบิน 2 แห่ง (นอนตรงไหน มีเน็ตฟรีมั้ย มีปลั๊กมั้ย เทคนิคและการเข้าเมืองอย่างถูกที่สุด)
ลองเปลี่ยนทัศนคติใหม่ การนอนสนามบินไม่ใช่สิ่งน่าอาย มีนักเดินทางทำกันมากมาย เพื่อประหยัดงบประมาณการเปิดห้องพักโรงแรม หรือค่านั่งรถบัสหรือรถไฟเข้าเมืองที่ไกลจากสนามบิน เรามาลองดูกันครับว่าสนามบิน 2 แห่งนั้น มีอะไรให้กับนักเดินทางบ้าง อย่าลืมเอาถุงนอนพกติดตัวไปด้วย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับการนอนในสนามบิน
6.1 ออสโล : Oslo Gardermoen Airport
นอนตรงไหน : หลังเดินออกมาจาก Arrivals ให้เลี้ยวซ้าย จะมองเห็นที่นั่งพิงยาวอยู่ เลือกนอนได้เลยครับ แต่ถ้าคิดว่านอนไม่ไหว หลังเสาใหญ่ ๆ ก็ปูถุงนอน ๆ ไปเลย แต่เวลาปูนอนก็น่าจะเลยเที่ยงคืนไปแล้วครับ เพราะคนไม่ค่อยมีไฟลท์ลงกันมาแล้ว หรือจะเป็นฝั่งแถวทางไปขึ้นรถไฟเข้าเมือง ที่จะมีเครื่องบินเล็กอยู่ มีบริเวณใต้บันไดเลื่อนครับ ที่เอาตัวเข้าไปนอนได้ นอกจากนี้ ยามดึกมาก ๆ ร้านอาหารหรือคาเฟ่จะปิดให้บริการ เราก็ไปนอนได้ครับ แต่ไม่ใช่นอนยัน 9 โมงเช้านะครับ เพราะคาเฟ่และร้านอาหารเค้าต้องเตรียมตัวเปิดร้านนะ
มีเน็ตฟรีมั้ย : ไม่มี ต้องจ่ายเงินเล่นครับ แต่ในกรณีที่เปิด roaming จะเล่นได้ฟรี 2 ชั่วโมงครับ สังเกตได้จากมือถือ จะมีชื่อผู้ให้บริการทางโทรศัพท์ อันนั้น คือ ลองต่อเล่น Wi-Fi ได้ แต่ถ้าขึ้น No service มาไม่ต้องลองครับ เล่นไม่ได้ T T
มีปลั๊กมั้ย : ไม่มีครับ ต้องใช้ Power Bank ชาร์จมือถือครับ
คำแนะนำ : พก eye cover หรือ ear plug ไอที่ปิดตา ปิดหู เพราะที่สนามบินจะมีทั้งเสียงและแสงรบกวน และอย่าให้ของมีค่าห่างจากตัวเราเป็นอันขาด เพราะของหายคงไม่มีใครรับผิดชอบแน่ ๆ นี่แหละ คือ ความท้าทายการนอนสนามบินครับ นอกจากนี้ เรื่องอาหารการกินในสนามบินอาหารแพงมากครับ แพงแค่ไหนก็เริ่มที่คนละ 350 บาท สำหรับแซนวิช ฮอทดอกครับ ถ้าใครไม่มีปัญหาก็ซื้อทานได้เลย ถ้าใครอยากประหยัดงบก็เอาข้าวกระป๋องกับอาหารซองโรซ่า (ฉีกกินได้เลย) จากไทยเนี่ยแหละไปกินกัน
การเข้าเมืองอย่างถูกที่สุด : นั่งรถไฟ NSB คนละ 90 NOK ต่อคนสำหรับขาเดียว (ราว ๆ 500 บาท) อย่าขึ้นรถไฟโดยไม่มีตั๋ว จะมีพนักงานตรวจตั๋วเสมอ อย่าสับสนกับ Flytoget รถไฟความเร็วสูง ราคาคนละเรื่องกันครับ ดูตารางเดินรถไฟที่หน้าจอ ให้ดูที่คำ NSB มันจะมาไม่ถี่เท่า Flytoget บางทีต้องรอเกือบชั่วโมงก็มี ใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองไปจอดที่ Oslo Sentralstasjon (สถานีรถไฟหลักใจกลางเมือง) ราว ๆ 30 นาที
เว็บไซต์รถไฟ NSB >>> https://www.nsb.no/en/our-destinations/airport-by-train
6.2 เฮลซิงกิ : Helsinki-Vantaa airport
นอนตรงไหน : ได้ทั้งบริเวณก่อนออกจากประตู Arrivals และบริเวณหลังเดินออกจาก Arrivals ไปแล้ว ในส่วนเชื่อมต่อระหว่าง Terminal 1 และ 2 จริง ๆ ก็นอนได้หมดแหละครับ ถ้าจะนอนจริง ๆ
มีเน็ตฟรีมั้ย : มีครับ เล่นได้ฟรี ตลอดเวลา
มีปลั๊กมั้ย : มีครับ หัวกลมสองขา กระจัดกระจายทั่วสนามบิน
คำแนะนำ : เนื่องจากได้เดินสำรวจแล้วพบว่าที่นอนที่เวิร์คสุด คือ ที่นอนที่ยังไม่ออกจากประตู Arrivals ครับ จะมีทำเลเก้าอี้แบบไม่มีที่เท้าแขนให้เราเหยียดตัวนอนยาวได้ โดยมุมที่ควรนอน คือ มุมแถวเก้าอี้ที่มีฉากกำบังติดกับร้านอาหารชั้นลอย ใครจะเดินผ่านไปมาก็ไม่มีผลกระทบกับเราเท่าไหร่ แถมมีห้องน้ำตั้งอยู่ใกล้ ๆ เวลาจะนอนให้ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ถุงเท้าก็สวมไว้ด้วยครับ เพราะอากาศในสนามบินที่นี่ค่อนข้างหนาวเลย พวกผมต้องตื่นขึ้นมาใส่ถุงเท้ากับใส่โค้ทกลางดึกเลยทีเดียว แต่ถ้าหลังออกจากประตู Arrivals ไปแล้ว ก็หามุมที่เป็นเก้าอี้ยาว ๆ ไม่มีที่เท้าแขน จัดไปได้เลยครับ
การเข้าเมืองอย่างถูกที่สุด : นั่งรถ Shuttle bus คนละ 6.3 ยูโร มีรถบริการจากสนามบินตั้งแต่ 5.45 am ถึง 1.10 am ไปจอดที่สถานีรถไฟหลักของเมือง มีรถบริการไปสนามบินตั้งแต่ 5.00 am ถึง 0.00 am ออกจากสถานีรถไฟหลักของเมือง (รถจะออกทุก 20-30 นาที) ใช้เวลาประมาณ 45 นาที
รายละเอียดตารางการเดินรถบัส
http://media.finnair.com/files/pdf/FINNAIR_CITY_BUS_TIMETABLE.pdf
ใครสนใจการใช้ชีวิตยามราตรีที่สนามบินทั่วโลกเข้าไปที่ http://www.sleepinginairports.net/ ส่วนใครอยากเห็นบรรยากาศการนอนสนามบินแบบวิดีโอเราทำไว้ให้แล้วครับ
7. ปูพรมเรื่องแสงเหนือ (อย่างง่าย ๆ) แต่คนไปล่าแสงเหนือจำเป็นต้องรู้
7.1 การเกิด
เนื่องจากผมชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย จึงขออธิบายสั้น ๆ ว่า แสงเหนือเกิดจากดวงอาทิตย์กับโลกมีอะไรลึกซึ้งกันครับ เท่าเนี่ยแหละครับ สั้นมั้ย !?!? พูดแค่นี้เดี๋ยวจะงง คือ โลกเรามีแท่งแม่เหล็กฝังอยู่ภายใน "มีขั้วแม่เหล็กใต้ อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ มีขั้วแม่เหล็กเหนือ อยู่ใกล้ขั้วโลกใต้" ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ไม่ใช่ดาวเคราะห์ มีการปะทุ มีการระเบิดที่พื้นผิวตลอดเวลา พอมันปะทุมันจะปลดปล่อยอนุภาคอิเล็กตรอนออกไปทั่วอวกาศ เรียกว่า ลมสุริยะ หรือ Solar wind
เดี๋ยวจะงงอิเล็กตรอนคืออะไร มันคืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ เป็นส่วนหนึ่งของอะตอม อะตอมเป็นอนุภาคที่ไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีกแล้ว
มาต่อที่การเกิดออโรร่า เมื่อลมสุริยะพุ่งมาที่โลกมันจะวิ่งเข้าหาขั้วแม่เหล็กโลกตามเส้นแรงแม่เหล็ก ผ่านชั้นบรรยากาศ แต่ด้วยลองคิดสภาพความเร็วของลมสุริยะที่ระดับความเร็ว 1,000 กิโลเมตรต่อวินาที อนุภาคลมสุริยะชนเข้ากับอนุภาคก๊าซชั้นบรรยากาศโลก จะเกิดความไม่เสถียรของอนุภาคทันที ลองนึกเล่น ๆ เรายืนอยู่เฉย ๆ มีคนอ้วนคนหนึ่งวิ่ง 4x100 มาชนเราอย่างเร็ว ถามว่าเรายังยืนอยู่นิ่ง ๆ ได้มั้ย นั่นแหละครับ หลักการเดียวกัน เมื่ออนุภาคชนกันมันเลยต้องมีการคายพลังงานออกมา เราจึงเห็นมันในรูปของสี เช่น สีเขียว ซึ่งเป็นการคายพลังงานของออกซิเจน เป็นต้น
ส่วนเรื่องของสีขออธิบายดังนี้ครับ สีขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊ส สีที่เห็นส่วนใหญ่ คือ สีเขียวหรือขาวอมเขียว ซึ่งเกิดจากอิเล็กตรอนชนกับอะตอมของแก๊สออกซิเจนที่ชั้นความสูงไม่มาก บางครั้งจะเห็นสีแดงที่ปลายด้านล่าง เกิดจากอิเล็กตรอนกระทบกับโมเลกุลของออกซิเจนหรือไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศที่อยู่ระดับต่ำลงมา แต่อิเล็กตรอนที่กระทบกับโมเลกุลของไนโตรเจนที่อยู่สูงสุดชั้นบรรยากาศ จะทำให้เกิดแสงออโรร่าสีน้ำเงินหรือม่วง ส่วนใครอยากเข้าใจถ่องแท้เรื่องของแสงเหนือ ที่นี่เลยครับ >>> http://cherokee.exteen.com/20100205/entry
7.2 สถานที่เห็นแสงเหนือได้
แสงเหนือโดยส่วนใหญ่เห็นได้ที่ไหนบ้าง ?
1. Alaska, US
2. Northern parts of Canada : Yukon, British Columbia, Yellowknife, Alberta, Ontario http://www.canadiangeographic.ca/magazine/jf13/map/
3. The southern half of Greenland : Kangerslussuaq, Tassilaq
4. Iceland
5. Northern Norway : Tromso , Lofoten Islands, Svalbard Islands
6. Northern Sweden : Kiruna, Luleå
7. Northern Finland Utsjoki,Ivalo, Hetan, Lapland
8. Murmansk, Russia
ลองเลือกไปดูตามใจชอบ ตามกำลังทรัพย์ และความชื่นชอบในแต่ละประเทศครับ
7.3 ช่วงเวลาที่เหมาะกับการล่าแสงเหนือ พร้อมตารางแสดงกลางวัน-กลางคืนของไอซ์แลนด์ แยกเป็นเดือน
ปกติแล้วแสงเหนือมันก็มีทั้งปีครับ เพียงแต่ว่าบริเวณแถบขั้วโลกจะมีกลางวัน-กลางคืนที่ไม่เหมือนบ้านเรา บางเดือนไม่มีกลางคืน บางเดือนมีกลางคืนที่ยาวนาน ฉะนั้น การล่าแสงเหนือที่ดีก็ควรมีกลางคืนที่ยาวนาน เพราะกลางวันแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้ยังไงก็ไม่เห็นแสงเหนือ ดังนั้น "ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนเมษายน" จึงเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการล่าแสงเหนือ แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าปลายเดือนกุมภาพันธ์ดีที่สุดครับ เพราะกลางคืนจะนานกว่ากลางวันอยู่ ในขณะที่ช่วงธันวาคมหรือมกราคม กลางคืนมันนานมากเกินไปครับ คือ ยังไม่ทันไรก็มืดแล้ว การไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ก็ต้องพับโครงการไปด้วยเพราะความมืด ขณะที่ปลายมีนาคมถึงต้นเมษายนที่พวกเราไปกัน เป็นช่วงที่กลางวันกับกลางคืนพอ ๆ กันครับ แต่กว่าจะมืดสนิทก็ปาเข้าไป 3-4 ทุ่มเลย T T
ตารางช่วงระยะเวลาพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตกในแต่ละเดือน โดยคร่าว ๆ
หมายเหตุ : ตัวอักษรสีแดงและน้ำเงินที่ผมพิมพ์ไว้ แสดงถึงว่าช่วง 4 เดือนนั้น กลางวันกับกลางคืนยาวนานพอ ๆ กัน คือ ประมาณ 12 ชั่วโมง
วันหยุดยาวบ้านเราครั้งต่อไปอย่างเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยวันสงกรานต์ ไปล่าแสงเหนือดีมั้ย ?
ช่วงปีใหม่ 24 ธันวาคม-3 มกราคม (11 วัน)
ช่วงสงกรานต์ 10-20 เมษายน (11 วัน)
คำตอบ คือ ได้ครับ แต่ช่วงปีใหม่พระอาทิตย์ขึ้น 11.15 am ตก 3.30 pm กลางวันยาวนานเพียง 4 ชั่วโมง 15 นาที ช่วงสงกรานต์พระอาทิตย์ขึ้น 6.00 am ตก 8.40 pm กลางวันยาวนานถึง 14 ชั่วโมง 40 นาที
บทวิเคราะห์ : ถ้าจะไปล่าแสงเหนือช่วงปีใหม่น่าจะได้แค่ล่าแสงเหนือครับ วิวอะไรตอนกลางวันคงไม่ทันได้ดูครับ เหมาะสำหรับคนที่อยากมาอารมณ์ countdown และมาล่าแสงเหนือเป็นหลัก ช่วงสงกรานต์กว่าฟ้าจะมืดสนิทก็เที่ยงคืนไปแล้วครับ (ขนาดปลายมีนาคม ต้นเมษายนที่ผมไป 4 ทุ่มยังไม่มืดสนิทเลยครับ T T) เวลาเห็นแสงเหนือจริง ๆ ก็จะได้ราว ๆ 3-4 ชั่วโมงครับ เหมาะสำหรับคนที่อยากมาเที่ยวชมวิวตอนกลางวัน ถ่ายรูปกันมันส์ครับ สว่างนานมาก ๆ แสงเหนือไว้เป็นโบนัสมากกว่า สรุปง่าย ๆ ถ้าจะมาล่าแสงเหนือเป็นหลักปีใหม่ดีกว่าถ้าจะมาเอาวิวกลางวันเป็นหลัก ส่วนสงกรานต์ดีกว่าแต่ถ้าจะเอาทั้งวิวทั้งแสงเหนือ และเดือนมีนาคมกับตุลาคมดีกว่า (เพราะกลางวันกลางคืนยาวนานพอ ๆ กัน คือ 12 ชั่วโมง)
7.4 เทคนิคการล่าแสงเหนือให้ประสบความสำเร็จที่สุด
1. ที่พัก : อย่ามีที่นอนที่แน่นอน ให้ Walk-in เข้าไปหลังได้ดูพยากรณ์อากาศและพยากรณ์อวกาศแล้วว่ามีโอกาสได้เห็นมากกว่าไม่ได้เห็น เพราะเราไม่มีวันรู้เลยว่าที่พักที่เรานอนจะฟ้าเปิดวันนั้นมั้ย ถ้าฟ้าเปิดจะมีลมสุริยะพัดผ่านมายังโลกรึเปล่า ส่วนถ้าเช่ารถ camper van คือ มีที่นอนอยู่ในรถแล้วก็ไม่มีปัญหา ยืดหยุ่นสูงมาก อยากขับไปจอดนอนไหนก็ได้ แต่ถ้าดูพยากรณ์แล้วฟ้ามันเน่าสนิททั้งประเทศ อย่างนี้อยากไปนอนไหนก็แล้วแต่ชอบเลยครับ
2. เช็กพยากรณ์อากาศ : พยากรณ์อากาศในเว็บไซต์ของ Iceland เชื่อถือได้ในระยะเวลาสั้น ไม่เกิน 1 วัน ถ้าเป็นกรณี 3 วันล่วงหน้า ดูเอาขำ ๆ อย่ายึดเป็นจริงจัง เพราะอากาศแปรปรวนมาก ถ้าเปิดดูพยากรณ์แล้วบอกว่าคืนนี้ฟ้าปิด มีเมฆมาก ข้อมูลนี้ค่อนข้างน่าเชื่อถือ ให้รีบย้ายที่มั่นโดยด่วน ไปในที่ที่ฟ้าเปิดให้ทันในช่วงกลางคืน (จะกล่าวถึงเรื่องนี้อีกทีสำหรับพยากรณ์อากาศ) เช็กพยากรณ์แสงเหนือจาก Kp index “Kp index พารามิเตอร์น่ารู้ เมื่อต้องออกตามล่าหาแสงเหนือ”
มันคืออะไร ???
Kp index เป็นตัววัดการสั่นสะเทือนของสนามแม่เหล็กโลก โดยวัดจากลักษณะการสั่นสะเทือนของสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งดีดกลับในด้านกลางคืนของโลกหลังโดนพายุสุริยะที่วิ่งมาจากการระเบิดของ พื้นผิวดวงอาทิตย์ พอโดนจะยืดยาวออกและดีดกลับ จังหวะที่ดีดกลับจะเกิดแรงสะเทือน ตีออกมาเป็นสเกลที่มีตั้งแต่ 0-9 (0 คือ ไม่มี, 9 คือ สั่นสะเทือนสูงสุด)
มันใช้งานจริงยังไง ???
ถ้า 0-1 คือ หมดลุ้น เตรียมนอนเอาแรงได้ โอกาสไม่เห็นสูงมาก
ถ้า 1-2 คือ พอลุ้น 50-50 โอกาสเห็นได้เท่ากับโอกาสไม่ได้เห็น
ถ้า >2 คือ เตรียมไม่ได้นอนได้เลยคืนนั้น ระเบิดออโรร่าเต็มท้องฟ้าแน่ ๆ
มันทำนายล่วงหน้าได้นานมากมั้ย จะได้จองตั๋วเครื่องบินรอไว้ ???
ทำนายได้ล่วงหน้าแค่ 2 วัน ฉะนั้น ไปลุ้นเอาหน้างานโลดดดดด
มันเชื่อถือได้มากแค่ไหน ???
ถ้าไกล ๆ เช่น 2 วันล่วงหน้าดูไว้ขำ ๆ คลาดเคลื่อนได้มาก
ถ้าใกล้ ๆ เช่น 3 ชั่วโมงล่วงหน้า ค่อนข้างน่าเชื่อถือเลยหละ
เราจะดูค่า Kp-index จากที่ไหนได้ ???
www.spaceweatherlive.com/en/auroral-activity/kp
www.aurora-service.eu/aurora-forecast/
คำเตือน : ทั้งนี้ พยากรณ์อากาศ...สำคัญกว่า...พยากรณ์แสงเหนือ ถ้าฟ้าอย่างเน่า Kp 9 ก็มองอะไรไม่เห็นหรอก ขณะที่บางที Kp 0-1 อาจมีแสงเหนือเล็ม ๆ ที่ปลายขอบฟ้าก็เป็นได้ ถ้าเป็นค่ำคืนที่ฟ้าใสแจ๋ว หมู่ดาวน้อยใหญ่เผยตัวกันบนท้องฟ้า แถมยังมีทางช้างเผือกแสดงโชว์ให้ดูอีกด้วย
ป.ล. ในส่วนของเว็บพยากรณ์แสงเหนือ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าจำเป็นน้อยมาก ๆ ครับ เพราะว่าผมลองศึกษาวิธีการดูการพยากรณ์พอสังเขปแล้ว เอามาเทียบกับสถานการณ์จริง ๆ แล้ว เชื่อถือได้น้อยมาก คือ ฟ้าเปิดทั้งคืนเว็บพยากรณ์แสงเหนือบอกว่า Kp-2 ผมยังไม่เห็นอะไรเลยครับทั้งคืน แถมคืนสุดท้ายก่อนกลับ ทางเว็บแจ้งเลยว่า Kp–4 ถึง 5 พอเอาเข้าจริงมันก็ไม่มีครับ
แต่สำหรับใครที่สนใจอยากรู้เรื่องค่าพารามิเตอร์ของแสงเหนือ มีบทความที่เขียนไว้ดีมากเลยครับ จากพี่พิริยะ ในบทความเรื่อง "แสงเหนือเดาล่วงหน้าได้ไหม" http://www.piriyaphoto.com/auroraprediction/ มันอาจจะยากสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มอ่านครับ ค่อย ๆ นะครับ ใจเย็น ๆ ตอนผมเริ่มอ่านก็งง ๆ ครับ หลัง ๆ ก็ค่อย ๆ เข้าใจมากขึ้นครับ
3. นอนเก็บแรง : รีบนอนในวันที่ฟ้าเน่าสนิทหรือไม่มีลมสุริยะพัดผ่านมาแน่ ๆ ถึงฟ้าเปิดมากทั้งคืน แต่ถ้าไม่มีลมสุริยะพัดผ่านมาเลย เราก็จะเห็นแต่ดาว ดาว และดาว ฉะนั้น เราควรนอนเอาแรงให้เต็มที่ เพราะถ้าคืนไหนฟ้าเปิดและระเบิดคืนนั้นไม่ได้นอนแน่ ๆ แล้วถ้าไม่ได้นอนหลาย ๆ คืน มันเหนื่อย มันล้ามากนะครับ พวกผมเจอแสงเหนือ 2 คืนติด คืนที่ 3 แทบไม่อยากไปล่าแล้วครับ คือ ตามันจะปิดแล้วครับ เพราะตอนกลางวันก็ขับรถไปเที่ยวกันตลอดด้วย โชคดีที่คืนที่ 3 มีแสงเหนือแบบเล็กน้อยและเมฆมาก เราจึงขอหลับกันเป็นตายยาวตั้งแต่ห้าทุ่มยันแปดโมงเช้า
4. อยู่ในที่มืด : หนีให้ห่างจากตัวเมืองให้ไกลที่สุดอย่างน้อย 50 กิโลเมตร เพื่อไม่ให้มีแสงจากเมืองรบกวนการชมแสงเหนือ กรณีนี้อาจเข้าใจผิดกันว่าอยู่ในเมืองจะไม่มีวันเห็นแสงเหนือเหรอ ขอตอบว่ามีโอกาสเห็นครับ ถ้าฟ้ามันระเบิดจริง แต่ถ้าเรายกกล้องถ่าย แสงจากไฟเมืองจะทำให้ฟ้าและเมฆติดสีส้ม แลดูอุบาทว์ทุเรศยิ่งนัก สำหรับคนไม่ซีเรียสเรื่องการถ่ายภาพเก็บความประทับใจกลับบ้าน หรือกลับมาขายทอดตลาดแบบเรา อยู่ในเมืองได้ครับ แต่สำหรับช่างภาพที่จริงจังกับไฟล์ภาพ โปรดถอยห่างจากเมืองครับ ไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่
5. สำรวจพื้นที่ : เราควรไปเห็นสถานที่ที่เราอยากไปถ่ายแสงเหนือในตอนกลางวัน ก่อนจะกลับไปถ่ายจริง ๆ ในเวลากลางคืนครับ เพราะเวลากลางคืนมันจะมืดมาก ทางเดินในไอซ์แลนด์เดินค่อนข้างลำบากครับ ไม่มีไฟข้างทางด้วย มีแต่ไฟฉายที่เราเตรียมไป แต่ถ้าเคยไปมาแล้วจะเดินไปตั้งป้อมถ่ายภาพได้เร็วมาก แต่ในกรณีที่มันไม่ทันจริง ๆ แล้วฟ้าดันเกิดเขียวทั้งฟ้า แบบนี้ก็หามุมจอดรถที่ไหล่ทางที่ดูปลอดภัย แล้วหามุมไหล่ทางถ่ายรูปเอามันตรงนั้นแหละครับ ถนนในไอซ์แลนด์รถสัญจรไปมาน้อยมาก แต่ก็มีมาตลอดทั้งคืนครับ
6. เติมน้ำมันให้เต็ม : ไม่ต้องกั๊กครับ ทางระหว่างปั๊มหนึ่งไปอีกปั๊มหนึ่งไม่ถี่ยิบเท่าในไทยครับ เพราะเราต้องขับรถทั้งกลางวันกลางคืน อย่าให้เรื่องน้ำมันมาเป็นอุปสรรคในการล่าแสงเหนือเลยครับ
7.5 เทคนิคการถ่ายแสงเหนือ
ขั้นเตรียมตัว
1. เสื้อผ้ากันหนาวนี่ขอจัดเต็มนะครับ อย่าไปงกกับอุปกรณ์กันหนาวครับ จำเป็นจริง ๆ ถ้าเป็นไปได้ปิดทุกอย่าง ให้เหลือแต่ตาก็จะดีครับ พอลมมาปะทะหน้าทีทรมานสุด ๆ ล่าแสงเหนือมีแต่หนาวมากกับหนาวโคตร ๆ ครับ รองเท้า ถุงมือ อะไรนี่เอาสำหรับลุยหิมะ+กันลมเลยนะครับ เพราะส่วนที่หนาวที่สุด คือ ปลายมือปลายเท้าครับ ที่จะเริ่มชาก่อนจนไร้ความรู้สึก
2. ไฟฉาย ถ้าให้ดีควรมีไฟฉาย Headlight ครับ เพราะเราจะได้มีสองมือที่ว่างในการถ่ายภาพได้สะดวก ถ้าไม่มีจริง ๆ ก็คงต้องใช้ปากคาบไฟฉายแทน อย่าลืมนะครับตอนนั้นอุณหภูมิมันติดลบ หนาวสุด ๆ มือมันทำงานได้ไม่ถนัดเหมือนสาดน้ำสงกรานต์เดือนเมษายนครับ
3. อุปกรณ์กล้อง
ขาตั้ง ขอแบบที่แข็งแรงพอ ไม่ใช่กางไป ขาหัก ที่จบเลยนะครับ มันไม่ได้หาซื้อง่ายเหมือนมาบุญครองบ้านเราครับ
สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทลั่นชัตเตอร์ เพราะต้องใช้สปีดชัตเตอร์ที่ยาวนานหลายวินาที จึงต้องมีเพื่อไม่ให้ภาพสั่นครับ
กล้องถ่ายภาพ ในทริปนี้ มีกล้อง 3 ประเภท คือ Mirrorless (Sony รุ่น NEX-5R)-ปลา, DSLR ชนิด กล้องตัวคูณ (Nikon D7000)-วิน และ DSLR ชนิด ฟูลเฟรม (Nikon D610) –โจ้
เลนส์กล้อง สำหรับการถ่ายแสงเหนือเราต้องถ่ายท้องฟ้ายามกลางคืน เก็บมุมกว้าง และต้องการเลนส์ที่มีความไวแสงที่มาก เลนส์ที่แนะนำว่าควรต้องมีในการล่าแสงเหนือ คือ Wide Lens ควรเป็น F 2.8 หรือต่ำกว่า จะเป็น F 1.4 ก็ได้ยิ่งดี ถามว่ามีเลนส์ F 4.0 เอาไปใช้ได้มั้ย ตอบว่าได้ครับ แต่ต้องเพิ่ม ISO เพื่อถ่ายในระยะเวลา 5-12 วินาที ทำให้ภาพเกิด Noise ถ้าไม่ซีเรียสเรื่องคุณภาพมากก็เอาไปได้ครับ ถามต่อ...ก็ใช้ ISO น้อย ๆ ลาก speed shutter นาน ๆ สิ ตอบว่าได้ครับ แต่ดาวมันจะเคลื่อนที่ครับ ปกติเค้าจะใช้สูตร 400/ช่วงเลนส์ สำหรับกล้องตัวคูณเพื่อป้องกันไม่ให้ถ่ายภาพกลางคืนบนท้องฟ้าแล้วดาวเคลื่อนเป็นเส้น แทนจะเป็นจุด เช่น 400/11 mm คือ 36 วินาที หรือ สูตร 600/ช่วงเลนส์ สำหรับกล้องฟูลเฟรมครับ
แบตกล้อง สำหรับกล้อง DSLR ควรมีอย่างน้อยที่สุด 2 ก้อนขึ้นไป ลองคิดดูแสงเหนือกำลังระเบิด เลนส์มุมกว้างกล้องเพิ่งซื้อมาอย่างดี กล้องอย่างแพง แต่แบตดันหมดนี่เซ็งเลยนะครับ
เมมโมรี่การ์ด เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึง เนื่องจากภาวะอาการ "ถ่ายมันส์" ที่ไอซ์แลนด์มีวิวขั้นเทพให้กดชัตเตอร์รัว ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน การพกหน่วยความจำที่ดีและเร็วที่เพียงพอก็เป็นเรื่องจำเป็น ข้อแนะนำ คือ ควรพกเมมโมรี่การ์ด Class 10 ขึ้นไป ถ้าต้องการถ่ายภาพทำ Time-Lapse เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็วและทันใจ ขนาดความจุจะขึ้นกับชนิดกล้อง กล้องตัวคูณย่อมใช้หน่วยความจำที่น้อยกว่ากล้องฟูลเฟรม แบบนี้ต้องใช้ประสบการณ์ดูว่าปกติไปเที่ยวถ่ายรูปทริป ๆ หนึ่ง ใช้เมมโมรี่การ์ดมากแค่ไหน แล้วก็มาเปรียบเทียบเอา แต่ผมจัดไป 64 GB คือ SD card 32 GB 2 แผ่นครับ
โน้ตบุ๊ก เนื่องจากการไปทริปที่ระยะเวลายาวนานเกิน 1 สัปดาห์ การจะพกเมมไปแล้วคิดว่าถ่ายพอนั้น อาจจะไม่แน่เสมอไป จึงควรพกโน้ตบุ๊คและ External Harddisk เพื่อโอนไฟล์รูปที่เราถ่ายเก็บไว้ครับ ส่วนโน้ตบุ๊คอะไร ก็มีอะไรก็เอาไปแบบนั้น เอาให้เก็บให้พอเป็นใช้ได้
เรามาดูรายละเอียดพอสังเขปของกล้องแต่ละตัวกันนะครับ เผื่อสำหรับคนสนใจ ใครโอเคแล้ว ผ่านได้เลยครับ
การถ่าย Landscape และแสงเหนือที่ไอซ์แลนด์ด้วยกล้อง Mirrorless
อุปกรณ์หลักที่ใช้ถ่ายภาพครั้งนี้ ได้แก่
กล้อง Sony รุ่น NEX-5R (http://www.sony.co.th/product/nex-5rl)
เป็นกล้อง Mirrorless ที่มีเซนเซอร์แบบ Exmor™ APS HD CMOS ความละเอียด 16.1 ล้านพิกเซล
ISO Sensitivity AUTO (ISO100-25600)
ความไวชัตเตอร์ 1/4000 to 30 sec, Bulb
ข้อดี คือ น้ำหนักเบา สามารถพกใส่กระเป๋าใบเล็กได้สบาย อีกทั้งเลนส์ของกล้อง Mirrorless ก็มีขนาดเล็ก และเบา ทำให้เราสามารถแบกกล้อง พร้อมกับเลนส์ครบทุกช่วงลุยขึ้นเขา ลงห้วยได้อย่างคล่องตัว
เลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์มุมกว้างกลุ่ม E-Mount ได้แก่ E 16mm F2.8 (SEL16F28) และ E 10-18mm F4 OSS (SEL1018) สำหรับถ่ายภาพแสงเหนือ และ Landscape ส่วนเลนส์อื่น ๆได้แก่ เลนส์ซูมมาตรฐาน เลนส์ซูมไกล
อุปกรณ์เสริม ได้แก่
ขาตั้งกล้อง ซึ่งต้องใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคง รองรับน้ำหนักตัวกล้องและเลนส์ได้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยไม่ให้อุปกรณ์สั่นไหว โดยการเลือกใช้ขาตั้งกล้อง mirrorless นั้น อาจใช้ขาตั้งกล้องที่มีน้ำหนักเบากว่ากล้อง DSLR ได้ เนื่องจากส่วนของทั้ง Body และ Lens ของ Mirrorless นั้น มีขนาดเบากว่ามากเมื่อเทียบกับกล้อง DSLR ทั่วไป
รีโมทคอนโทรล สำหรับกดสั่งชัตเตอร์จะช่วยลดการสั่นไหวจากการที่เราต้องสัมผัสกล้องในการกดชัตเตอร์ ลดความสั่นเบลอของภาพ
แบตเตอรี่สำรอง โดยส่วนตัวแล้วมีความรู้สึกว่าแบตเตอรี่หมดค่อนข้างเร็วกว่ากล้อง DSLR เมื่อเทียบจากการใช้งานที่เท่า ๆ กัน ยิ่งถ้าต้องถ่ายกลางคืนที่ต้องใช้การเปิดหน้ากล้องนาน ๆ ยิ่งหมดเร็วทีเดียว นอกจากนี้ การถ่ายแสงเหนือท่ามกลางอากาศหนาวๆก็จะทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วขึ้นอีก ดังนั้น พกแบตเตอรี่สำรองไว้หลายก้อนหน่อยจะอุ่นใจกว่าค่ะ
Electronic Viewfinder เป็นช่องมองภาพแบบ Tru-Finder (เมื่อมองผ่านช่อง EVF นี้จะเห็นภาพที่เสมือนจอภาพที่แสดงบนจอ LCD กล้อง) เนื่องจากกล้อง Sony NEX-5R นี้ไม่มีช่องมองภาพติดมากับตัวกล้อง (แต่จอ LCD สามารถพับขึ้นได้ถึง 180 องศา ถือว่าได้อย่างเสียอย่าง เพราะบางคนก็ชอบที่จะปรับจอขึ้นมาถ่ายรูปตัวเองได้สบาย ๆ เลย) อุปกรณ์นี้จะมีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพกลางแดดจ้า ที่จะทำให้เรามองเห็นจอ LCD ไม่ชัด โดยต่อ EVFนี้เข้ากับช่องด้านบนซึ่งเป็นช่องเดียวกับ Flash ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างแพง (8,990 บาท) ถ้าไม่ต้องการเสียเงินเพิ่มมากนัก อาจแก้ปัญหาเมื่อต้องไปถ่ายในที่แจ้ง คือ พับหน้าจอขึ้นเล็กน้อยเพื่อเลี่ยงแสงสะท้อนบนจอ LCD ก็จะช่วยได้ระดับหนึ่ง
ประสบการณ์ในการถ่ายแสงเหนือด้วยกล้อง Mirrorless
อุปสรรคในการถ่ายแสงเหนือด้วยกล้อง Mirrorless ครั้งนี้ คือ การโฟกัสภาพ เพราะแสงออโรร่าเมื่อดูด้วยตาเปล่า หรือมองผ่านกล้องนั้นมีความสว่างน้อยมาก จึงควรใช้การโฟกัสแบบ Manual และตั้งโฟกัสไปที่ Infinity ซึ่งเลนส์ของกล้อง DSLR หลาย ๆ ตัวก็จะมีปุ่มให้ปรับไปโฟกัส Infinity ได้เลย ไม่ต้องหมุนหาจุดโฟกัสเอาเอง แต่จากการที่ใช้เลนส์ Sony E-Mount ของกล้อง Mirrorless ทั้ง E 16mm F2.8 (SEL16F28) และ E 10-18mm F4 OSS (SEL1018) ซึ่งเลนส์ทั้งสองตัวนี้ไม่มีปุ่มให้ปรับไปโฟกัส Infinity ดังนั้น จึงต้องพยายามหมุนเลนส์ แต่ยากพอสมควรในการหมุนปรับ เพราะถ้าหมุนเลยไปนิดเดียวภาพก็จะหลุดระยะชัดได้ ทางแก้ คือ พยายามหาแหล่งกำเนิดแสงไกล ๆ เช่น ดวงไฟ แสงรถผ่าน แสงไฟบ้าน มาช่วยให้เราหมุนหาโฟกัสได้ง่ายขึ้น หรืออาจจะใช้ไฟฉายส่องไปจุดไกล ๆ ช่วย แต่กรณีนี้จะสร้างปัญหาให้กับช่างภาพคนอื่น ๆ ในละแวกนั้นที่มาล่าแสงเหนือด้วยกัน เพราะแสงของเราจะไปรบกวนการถ่ายภาพของเขาค่ะ
อาจจะมีทางเลือกใหม่ ๆ ได้แก่ หา Adapter แปลงให้สามารถนำเลนส์ของ Nikon หรือ Canon ที่สามารถปรับไปที่ระยะ Infinity ได้ มาใส่กับกล้อง Mirrorless แต่ขนาดเลนส์อาจจะไม่สมดุลและมีขนาดหนักขึ้นค่ะ สุดท้ายนี้รูปที่ออกมาอาจไม่งามดั่งใจมโนไว้...แต่ประสบการณ์และความผิดพลาดต่าง ๆ คือ การเรียนรู้เพื่อที่จะออกล่าแสงเหนืออีกครั้ง ☺
ตัวอย่างไฟล์ภาพ
ปลา
สำหรับกล้องตัวคูณและเลนส์ที่ใช้ในทริป
Nikon d7000 body with Lens kit 18-105 mm F3.5 VR ราคา 29,000 บาท
Nikon AF-S DX VR 55-200mm f/4-5.6G IF-ED ราคา 4,500 บาท
Tokina AF 11-16mm f/2.8 ราคา 16,000 บาท
ประสบการณ์ในการถ่ายภาพแสงเหนือสำหรับ Nikon D7000
ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยแน่ใจครับว่าประสิทธิภาพกล้องตัวคูณจะเปิด ISO ขนาด 3200 แล้วจะ Noise บานมั้ย เพราะไม่เคยถ่ายมาก่อนครับ ปกติถ่ายแต่ ISO 100-400 พอมาถ่ายจริงก็พบว่าใช้ได้เหนือความคาดหมายเลย แน่นอนครับว่ามี Noise เกิดขึ้น ถ้าสำหรับลงภาพใน FB หรือ Pantip อาจจะโอเคครับ แต่สำหรับคุณภาพที่สำหรับไปขายภาพในเว็บไซต์นี่จะได้หรือไม่ ผมยังไม่ได้ลองครับ เลยบอกไม่ได้ แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่าคนที่ยังไม่มีกล้อง Full Frame แล้วไม่ได้จริงจังถึงคุณภาพไฟล์ภาพที่อยากได้มุมกว้างมากกว่ากล้องตัวคูณ และ Noise ที่น้อยกว่า จากคุณสมบัติของกล้อง Full Frame กล้องตัวคูณในทุกรุ่น ไม่ใช่แค่ D7000 กับเลนส์ Wide F 2.8 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าพอใจครับ
ตัวอย่างไฟล์ภาพ
วิน
สำหรับกล้องฟูลเฟรมและเลนส์ที่ใช้ในทริป
Nikon d610 body ราคา 50,500 บาท
Nikon 16-35 F4 VR ราคา 37,000 บาท
Nikon 70-200 F4 VR ราคา 38,000 บาท
Tamron 24-70 F2.8 VR ราคา 27,000 บาท
Samyang 14mm F2.8 ราคา 13,000 บาท
ประสบการณ์ในการถ่ายภาพแสงเหนือ สำหรับ Nikon D610
เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์จากกล้องตัวคูณ เป็นกล้องฟูลเฟรมด้วยราคาหลักแสนบาท แน่นอนว่าคุณภาพที่ได้มันย่อมสูงกว่าและดีกว่า กล้องตัวคูณอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมุมมองที่กว้างขึ้นจากเลนส์ Wide หรือ การลด Noise ของภาพก็ทำได้ดีมากกว่าภาพจากกล้องตัวคูณ หากใครมีงบประมาณถึง ย่อมแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้รุ่นใหญ่เลยดีกว่า แต่ถ้าใครไม่งบไม่ถึงก็มองว่ายังไม่จำเป็นถึงขึ้นต้องซื้อกล้อง Full Frame และเลนส์ใหม่ทั้งหมด เพื่อมาถ่ายแสงเหนือ เพราะกล้องตัวคูณก็สามารถถ่ายแสงเหนือได้ดีเช่นกัน ขอให้เลือกเลนส์ที่ดีในการถ่ายก็พอ
ตัวอย่างไฟล์ภาพ
โจ้
ลองมาดูกันว่าในสถานการณ์จริง ๆ แล้ว เราเตรียมตัวไปเผชิญลมหนาวด้านนอก เพื่อล่าแสงเหนือกันยังไง มีคลิปให้ชมครับ
1. สังเกตสีของท้องฟ้าว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ แสงเหนือจะเป็นแถบสีเทา ๆ ถ้าคนไม่เคยเห็นจะไม่แน่ใจให้ยกกล้องขึ้นมาถ่าย โดยยังไม่ต้องตั้งขาตั้ง โดยอาจเซตค่ากล้อง ดังนี้ ISO 6400, Speed 3-5 sec, F2.8 ถ้าใช่รูปหลังกล้องจะมีแสงสีเขียวชัดเจน ถ้าไม่ใช่รูปหลังกล้องจะเป็นสีเทาทึม ๆ เช่นเดิม
2. พาตัวเองไปอยู่ในที่ปลอดภัย ไร้แสงรบกวนจากรถที่วิ่งมาตามถนน ตั้งขาตั้งกล้องให้มั่นคง รู้ว่ามือไม้สั่น ตื่นเต้น ทำอะไรไม่ถูก พยายามเลือกฉากหน้าเป็นภูเขา ธารน้ำแข็ง บ้านคน หรือโบสถ์เท่าที่เป็นไปได้
3. ให้ Set ค่ากล้องเป็น Mode Manual ดังนี้
ISO 800-3200 แสงเหนือสว่างมาก ก็ ISO 800 แสงเหนือสว่างน้อยก็ ISO 3200
F 2.8 หรือต่ำกว่า เพื่อเก็บภาพกลางคืนที่ให้ความสว่างที่มากกว่า ในสปีดชัตเตอร์ที่ยาวนานเท่ากัน
Shutter Speed 5-30 sec. ถ้าแสงเหนือสว่างมากก็แค่ 5 sec ถ้าแสงเหนือสว่างน้อยก็ 30 sec แต่ระยะเวลาที่แนะนำ คือ 5-15 sec เพราะแสงเหนือมันเปลี่ยนรูปร่างอยู่ตลอดเวลาครับ ถ้าอยากถ่ายให้มันดูเหมือนมีรูปร่างต้องเปิดชัตเตอร์ไม่นานมากครับ
เปลี่ยน Mode Auto focus เป็น Manual focus พร้อมโฟกัสไปที่ระยะอนันต์ ระวังฉากหน้าที่เลือกมา เพราะการเลือกฉากหน้าที่ใกล้มาก ๆ เมื่อโฟกัสภาพไปที่ระยะอนันต์ จะทำให้ฉากหน้าเบลอได้
ถอดฟิลเตอร์ทุกชนิดที่ติดอยู่กับตัวเลนส์ให้หมดครับ
ปรับโหมดจากกดชัตเตอร์ด้วยมือ เป็นกดชัตเตอร์ด้วยการควบคุมจากสายลั่นหรือรีโมทไร้สาย
เปิดโหมด High ISO Noise Reduction ให้เป็น ON
เปิดโหมด Long Exposure Noise Reduction ให้เป็น ON ข้อแนะนำสำหรับโหมดนี้ ถ้าคนที่ต้องการถ่ายภาพ Time lapse จำเป็นต้อง OFF ครับ
ถ่ายภาพในโหมดไฟล์ RAW เพื่อนำมาปรับแต่ง White Balance ได้ในภายหลัง
ปิดไฟฉาย ไฟรถ ไฟทุกชนิดที่ทำให้เกิดมลภาวะทางแสงที่จะรบกวนการถ่ายภาพแสงเหนือ
เพลิดเพลินกับแสงเหนือ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ให้เหมือนกับว่าคืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายที่จะได้เห็นแสงเหนือแล้วในชีวิต
อ๊ะ ๆ ขั้นตอนการเดินทางไปตามล่าแสงเหนือ ณ ไอซ์แลนด์ ยังไม่จบนะคะ ยังมีเรื่องราวดี ๆ รออยู่อีกมากมาย โปรดติดตามตอนต่อไปได้ที่ เปิดขั้นตอนการตามหาแสงเหนือ ณ ไอซ์แลนด์ ตอนจบ