งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
หนึ่งเดียวในโลก ประจำปี 2568
งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก หนึ่งเดียวในโลก ประจำปี 2568 จัดเมื่อไหร่
![ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก หนึ่งเดียวในโลก ปี 2568](https://s359.kapook.com//pagebuilder/797f3615-fcde-4bd1-ad44-047615c86474.jpg)
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร
งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก 2568 มีกิจกรรมอะไรบ้าง
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568
-
พิธีเปิดงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ชมพิธีบวงสรวงและรำถวายประกอบเพลงมาลัยข้าวตอก
วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2568
-
ชมขบวนมาลัยข้าวตอกได้ตลอดทั้งวัน ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้านกาชาดอำเภอ ชม ชิม ช้อป สินค้าโอทอป และตลาดถนนคนเดิน
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568
-
ร่วมชมและร่วมขบวนแห่มาลัยข้าวตอก หนึ่งเดียวในโลก เคลื่อนขบวนไปถวายเป็นพุทธบูชาที่วัดหอก่อง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
![กำหนดการงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก 2568](https://s359.kapook.com//pagebuilder/33d9e7af-cc2b-462b-9048-566515e6a85a.jpg)
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร
![กำหนดการงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก 2568](https://s359.kapook.com//pagebuilder/25124850-3bb5-4bba-8c22-0b5264f0d4e0.jpg)
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร
![กำหนดการงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก 2568](https://s359.kapook.com//pagebuilder/d0d7cbc0-0eaa-442f-b7e5-9de89510bcd7.jpg)
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร
ความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
ความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยพระสุตตันตปิฎก บทปรินิพพานสูตร กล่าวคือ ดอกมณฑารพ ซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เวลาที่ดอกมณฑารพจะบานหรือร่วงหล่น ต้องมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เท่านั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จาตุรงคสันนิบาต และทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ดอกมณฑารพจึงร่วงหล่นลงมายังโลกมนุษย์
ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ดอกมณฑารพนี้ก็ร่วงหล่นลงมาทั้งก้านและกิ่ง เปรียบเหมือนความเสียอกเสียใจพิไรรำพันต่อการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงเหล่าพระภิกษุ ผู้ได้ชื่อว่าอรหันตขีณาสพทั้งหลายด้วย หมู่เหล่าข้าราชบริพาร ประชาชนทั้งหลาย ได้พากันมาถวายสักการะพระบรมศพ อีกทั้งยังได้พากันเก็บดอกมณฑารพที่ร่วงหล่นลงมาเพื่อนำไปสักการบูชา และรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปดอกมณฑารพที่เก็บมาสักการบูชาก็เริ่มเหี่ยวแห้งและหมดไป
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ รวมทั้งเหตุการณ์ในวันสำคัญต่าง ๆ ชาวพุทธจึงได้พากันนำเอาข้าวตอกมาสักการบูชา เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้ ซึ่งการจัดข้าวตอกดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชามีจุดเริ่มต้นเมื่อไหร่นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าแรก ๆ จะใส่พานไว้โปรยเวลาพระสงฆ์เทศนา ต่อมาจึงมีการนำมาประดิษฐ์ตกแต่งที่เห็นว่าสวยงามสืบทอดกันเรื่อยมา จากการตกแต่งมาลัยเพื่อความสวยงามก็พัฒนามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นการประกวดแข่งขันประชันกัน เมื่อมาลัยร้อยได้สวยงามก็เริ่มมีการแห่แหนให้เป็นการเป็นงานขึ้นมา จนกลายเป็นงานที่ใหญ่ขึ้น มีการฟ้อนรำประกอบขบวน กลายเป็นประเพณีแห่มาลัยในปัจจุบัน และจัดให้มีขึ้นในวันมาฆบูชาของทุกปี
![ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ปี พ.ศ. 2561](https://s359.kapook.com//pagebuilder/05e88b4c-82fd-4f0c-8d0d-360811ec2643.jpg)
ภาพจาก : THITIKORN MANEEPRAO / Shutterstock.com
ปี พ.ศ. 2561
ประวัติงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
![งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ยโสธร](https://s359.kapook.com//pagebuilder/3f2e5ee9-1a44-4c75-8f4e-309d4b411073.jpg)
ภาพจาก : THITIKORN MANEEPRAO / Shutterstock.com
![มาลัยข้าวตอกในงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ยโสธร](https://s359.kapook.com//pagebuilder/900ba925-4456-49f6-8586-dce1739862a7.jpg)
ใครที่สนใจอยากไปสัมผัสเสน่ห์วิถีอีสานและเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีทรงคุณค่าแห่งอีสานที่ไม่ควรพลาด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร โทรศัพท์ 0 4571 1093
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
บทความ เที่ยวยโสธร อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
+++ ที่เที่ยวยโสธรหลากหลายแบบ สนุกครบจบในจังหวัดเดียว
+++ เที่ยวถิ่นบั้งไฟ นมัสการพระธาตุอานนท์
+++ เที่ยวเมืองรอง ภาคอีสาน 18 จังหวัดนี้มีที่เที่ยวเจ๋ง ๆ เพียบ