ชม 12 ห้องจัดแสดงใหม่ จัดแสดงประวัติศาสตร์ ศิลปะช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันทรงคุณค่า ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
สำหรับใครก็ตามที่ช่วงนี้ไม่ค่อยอยากขับรถออกต่างจังหวัดไปเที่ยวไกล ๆ จริง ๆ แล้วในกรุงเทพฯ ก็มีที่เที่ยวที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย อย่างการเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เที่ยวซึ่งในระยะหลัง ๆ ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย และตอนนี้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ได้เปิด 12 ห้องจัดแสดงใหม่ เผยภาพประวัติศาสตร์ ศิลปะช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรูปลักษณ์ใหม่ที่สวยงาม ทันสมัย และยังคงคุณค่าความสำคัญของมรดกศิลปะชิ้นเอกของชาติ
กรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งห้องจัดแสดงนิทรรศการใหม่ทั้ง 12 ห้อง ออกแบบภายใต้แนวคิดหลักในการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของแท้ ของจริง พระที่นั่งองค์ต่าง ๆ จัดวางวัตถุพร้อมออกแบบไฟจัดแสดงให้ผู้ชมเห็นความงาม 360 องศา มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการสื่อสารเนื้อหาจากตัววัตถุแก่ผู้ชมอย่างพอเหมาะ โดยไม่รบกวนการจัดแสดงความงามของวัตถุ ได้แก่ ทัชสกรีน วีดิทัศน์ และแอปพลิเคชัน QR-Code AR-Code
ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรใหม่ 12 ห้อง ประกอบด้วย
1. พระที่นั่งบูรพาภิมุขจัดแสดงเครื่องศัสตราวุธโบราณ ศิลปะงานช่างหลวงประเภทเครื่องศัสตราวุธ ประกอบด้วยอาวุธโบราณประเภทต่าง ๆ ที่เคยใช้ในการสงครามตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ ตำราพิชัยสงครามสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จัดแสดงพร้อมหุ่นจำลองการจัดกระบวนทัพแบบครุฑ ตามตำราพิชัยสงครามดังกล่าว
2. พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นบน) จัดแสดงเครื่องที่ประทับวังหน้า จัดวางเครื่องเรือนโบราณผลงานศิลปะงานช่างหลวงหลายสาขา ที่รวบรวมไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่ต้น จำลองรูปแบบและบรรยากาศพระวิมานที่ประทับในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
7. พระที่นั่งอุตราภิมุข จัดแสดงอิสริยพัสตราภูษาภัณฑ์ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในนิทรรศการ ได้แก่ ฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น
กรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งห้องจัดแสดงนิทรรศการใหม่ทั้ง 12 ห้อง ออกแบบภายใต้แนวคิดหลักในการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของแท้ ของจริง พระที่นั่งองค์ต่าง ๆ จัดวางวัตถุพร้อมออกแบบไฟจัดแสดงให้ผู้ชมเห็นความงาม 360 องศา มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการสื่อสารเนื้อหาจากตัววัตถุแก่ผู้ชมอย่างพอเหมาะ โดยไม่รบกวนการจัดแสดงความงามของวัตถุ ได้แก่ ทัชสกรีน วีดิทัศน์ และแอปพลิเคชัน QR-Code AR-Code
ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรใหม่ 12 ห้อง ประกอบด้วย
อาคารหมู่พระวิมาน
จัดแสดงนิทรรศการศิลปะไทยประเพณี ดังนี้
1. พระที่นั่งบูรพาภิมุขจัดแสดงเครื่องศัสตราวุธโบราณ ศิลปะงานช่างหลวงประเภทเครื่องศัสตราวุธ ประกอบด้วยอาวุธโบราณประเภทต่าง ๆ ที่เคยใช้ในการสงครามตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ ตำราพิชัยสงครามสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จัดแสดงพร้อมหุ่นจำลองการจัดกระบวนทัพแบบครุฑ ตามตำราพิชัยสงครามดังกล่าว
2. พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นบน) จัดแสดงเครื่องที่ประทับวังหน้า จัดวางเครื่องเรือนโบราณผลงานศิลปะงานช่างหลวงหลายสาขา ที่รวบรวมไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่ต้น จำลองรูปแบบและบรรยากาศพระวิมานที่ประทับในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
3. พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นล่าง) จัดแสดงเครื่องถ้วยในราชสำนัก ภาชนะเครื่องถ้วยในสำรับสำหรับราชสำนักสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
4. พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข จัดแสดงเครื่องโลหะศิลป์ ภาชนะเครื่องใช้ประเภทเครื่องโลหะศิลป์ไทย มักสร้างด้วยความประณีต เพื่อถวายพระมหากษัตริย์ ใช้เป็นเครื่องประกอบอิสริยยศพระบรมวงศานุวงศ์ เครื่องยศขุนนาง และเครื่องใช้พระสงฆ์ โดยรับแรงบันดาลใจและเทคนิคงานช่างจากนานาชาติเข้ามาผสมผสานภายใต้รูปแบบศิลปะช่างไทย ได้แก่ งานถมเงิน งานถมทอง งานถมปัด งานกะไหล่ งานดุนทอง-เงิน และเครื่องบังกะลอ
5. พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข จัดแสดงเครื่องสัปคับ คือที่นั่งบนหลังช้าง พาหนะในอดีตของไทย สัปคับนี้นอกจากมีองค์ประกอบวัสดุแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และสถานภาพผู้ใช้งานแล้ว ยังเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ จึงประกอบขึ้นด้วยงานช่างประณีตศิลป์หลากหลายสาขา
6. มุขเด็จ จัดแสดงเครื่องไม้แกะสลัก ศิลปะไม้แกะสลักชิ้นสำคัญ ได้แก่ บานประตูพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ผลงานฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
5. พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข จัดแสดงเครื่องสัปคับ คือที่นั่งบนหลังช้าง พาหนะในอดีตของไทย สัปคับนี้นอกจากมีองค์ประกอบวัสดุแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และสถานภาพผู้ใช้งานแล้ว ยังเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ จึงประกอบขึ้นด้วยงานช่างประณีตศิลป์หลากหลายสาขา
6. มุขเด็จ จัดแสดงเครื่องไม้แกะสลัก ศิลปะไม้แกะสลักชิ้นสำคัญ ได้แก่ บานประตูพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ผลงานฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
7. พระที่นั่งอุตราภิมุข จัดแสดงอิสริยพัสตราภูษาภัณฑ์ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในนิทรรศการ ได้แก่ ฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น
8. พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นบน) จัดแสดงเครื่องใช้ในพุทธศาสนา
ภาพจาก finearts.go.th
9. พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) จัดแสดงศิลปะเครื่องมุก เครื่องใช้ เครื่องเรือนประดับมุกที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้เป็นเครื่องใช้ในพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เครื่องมุกในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
10. พระที่นั่งทักษิณาภิมุข จัดแสดงเครื่องมหรสพและการละเล่น
อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์โบราณคดีในประเทศไทยหลังพุทธศตวรรษที่ 18 ได้แก่
อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์โบราณคดีในประเทศไทยหลังพุทธศตวรรษที่ 18 ได้แก่
11. ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะแห่งกรุงศรีอยุธยา จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเอก สื่อสารเนื้อหาประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี ทั้งความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ความเจริญทางเศรษฐกิจในฐานะเมืองท่าการค้าของภูมิภาคเอเชีย ความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ก่อเกิดฝีมือช่างภายใต้ความศรัทธา สะท้อนผ่านพุทธศิลปกรรมอยุธยา อันเป็นเอกลักษณ์ เป็นรากฐานของศิลปกรรมรัตนโกสินทร์ในยุคต่อมา ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นศิลปะประจำชาติไทยในปัจจุบัน
12. ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสื่อสารประวัติศาสตร์เหตุการณ์การเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งของอาณาจักรคนไทยในนามกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างบ้านเมืองใหม่บนรากฐานวิทยาการความรู้ ลักษณะสังคม ศิลปกรรมจากครั้งบ้านเมืองยังดี ณ กรุงเก่า หรือกรุงศรีอยุธยา ก่อร่างสังคมไทยใหม่ท่ามกลางสงครามรอบด้าน การค้าขายนานาชาติ สัมพันธไมตรีทางการค้ากับจีน อินเดีย และชาวยุโรป เป็นต้น
12. ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสื่อสารประวัติศาสตร์เหตุการณ์การเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งของอาณาจักรคนไทยในนามกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างบ้านเมืองใหม่บนรากฐานวิทยาการความรู้ ลักษณะสังคม ศิลปกรรมจากครั้งบ้านเมืองยังดี ณ กรุงเก่า หรือกรุงศรีอยุธยา ก่อร่างสังคมไทยใหม่ท่ามกลางสงครามรอบด้าน การค้าขายนานาชาติ สัมพันธไมตรีทางการค้ากับจีน อินเดีย และชาวยุโรป เป็นต้น
ภาพจาก ben bryant / Shutterstock.com
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ร่วมกันระหว่างครอบครัว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญเข้าชมและร่วมกิจกรรม "ครอบครัวสุขสันต์ เที่ยวพิพิธภัณฑ์วันอาทิตย์" เรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติร่วมกันในครอบครัว โดยผู้เข้าชมชาวไทยที่มาเป็นครอบครัวในวันอาทิตย์เข้าชม ฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรม NMB Sunday Kits ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562
สำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท ยกเว้นค่าเข้าชมสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี นักเรียน นักศึกษาไทย ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02 224 1402 หรือเฟซบุ๊ก National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เว็บไซต์ www.finearts.go.th/museumbangkok/
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เฟซบุ๊ก National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, finearts.go.th
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เฟซบุ๊ก National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, finearts.go.th