
ชวนเที่ยวและเรียนรู้กระบวนการทอผ้าไทยกับ ๓ แหล่งกำเนิดผ้าทออันล้ำค่าของเมืองไทย ที่จะมีการพัฒนาต่อยอดสู่ยุคประเทศไทย ๔.๐ อย่างยั่งยืน ผ่านทางผลงานวิจัยทางวัฒนธรรม ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สนับสนุนให้จัดทำขึ้นเพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารายได้หลัก ๆ ของประเทศไทยส่วนหนึ่งก็มาจากการท่องเที่ยว นั่นก็เป็นเพราะว่าเมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวสวย ๆ ให้ได้เที่ยวชมมากมาย อีกทั้งค่าครองชีพไม่ได้สูงมากนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีนักท่องเที่ยวน้อยคนนักที่จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมที่แท้จริงของคนไทย หรือแม้แต่ชาวไทยเอง ที่หลายคนก็ยังเข้าไม่ถึงแก่นที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ยิ่งในยุคประเทศไทย ๔.๐ ยุคที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พร้อมทั้งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งต้องสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้รู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับรากฐานของวัฒนธรรม
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารายได้หลัก ๆ ของประเทศไทยส่วนหนึ่งก็มาจากการท่องเที่ยว นั่นก็เป็นเพราะว่าเมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวสวย ๆ ให้ได้เที่ยวชมมากมาย อีกทั้งค่าครองชีพไม่ได้สูงมากนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีนักท่องเที่ยวน้อยคนนักที่จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมที่แท้จริงของคนไทย หรือแม้แต่ชาวไทยเอง ที่หลายคนก็ยังเข้าไม่ถึงแก่นที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ยิ่งในยุคประเทศไทย ๔.๐ ยุคที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พร้อมทั้งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งต้องสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้รู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับรากฐานของวัฒนธรรม
๑. เที่ยวให้ถึงแม่แจ่ม ผ่านลวดลายสวย ๆ ของผ้าทอจกชื่อดัง จังหวัดเชียงใหม่
![ท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวชุมชน]()
ไหมโทเร วัตถุดิบทำลายจก
![ท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวชุมชน]()
วิธีการจกลาย

ไหมโทเร วัตถุดิบทำลายจก

วิธีการจกลาย
ต้องบอกว่าผ้าทอกับคนแม่แจ่มมีความผูกพันกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหญิงสาวชาวแม่แจ่มก็มักที่จะแต่งตัวสวยงามด้วยผ้าซิ่นตีนจกไปร่วมงานบุญต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ถ้าเราได้ไปเที่ยวชมหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอแม่แจ่ม ก็จะเห็นว่าบริเวณใต้ถุนเรือนจะมีกลุ่มผู้หญิงและแม่อุ๊ย นั่งถักทอผ้ากันอย่างสนุกสนาน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีไม่เยอะเท่ากับอดีต แต่ก็มีการเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมกันด้วย

ลายขันเสี้ยนสำ (ลายจก)

ลายกุดขอเบ็ด (ลายจก)

ลายเชียงแสนหงส์ปล่อย (ลายจก)
และจากการที่ผ้าทอจกแม่แจ่มนี้ เป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่า สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าอื่น ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้มากยิ่งขึ้น ดั่งเช่นงานวิจัยเรื่อง การศึกษาลวดลายจกแม่แจ่มเพื่อประยุกต์ใช้ในการถักนิตติ้ง ของนางสาวจินตนา พันจินดา โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของการประยุกต์ลวดลายจกแม่แจ่ม นำไปใช้สร้างสรรค์สินค้าพื้นเมืองประเภทอื่น ๆ โดยการวิจัยดังกล่าวจะนำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นตัวช่วยด้วย ซึ่งก็จะเป็นการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าซิ่นตีนจกได้อย่างมั่นคงในยุคประเทศไทย ๔.๐โดยผลการวิจัยพบว่ามี ๓ แนวทางสำหรับการพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าทอจกแม่แจ่ม ประกอบด้วย
๑. ผ้าทอจกแม่แจ่มเป็นศิลปะการสร้างลวดลายบนผ้าที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง ผู้ทอสามารถสร้างจินตนาการและแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนเองลงบนผืนผ้าได้ และพบว่าผ้าจกแม่แจ่มแบ่งตามลักษณะได้ ๔ ลาย คือลวดลายอุดมคติ ลวดลายคนและสัตว์ ลวดลายพรรณพฤกษา และลวดลายเปรียบเทียบสิ่งของใกล้ตัว ซึ่งซิ่นตีนจกแม่แจ่มจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนเอวซิ่น ส่วนตัวซิ่น และส่วนที่เป็นตีนจกหรือตีนซิ่น
โดยส่วนตีนซิ่นที่อยู่ล่างสุดของซิ่นจะมีลวดลายจกแม่แจ่มถึง ๑๖ ลาย ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่น ลายโคมหัวหมอน ลายโคมรูปนก ลายนกนอน ลายขันเอวอูลายละกอนขันเชียงแสน ลายขันเอวอูห้องนก ลายนาคกุม ลายเชียงแสนหงส์ปล่อย เป็นต้น พบว่าเทคนิคการทอที่สำคัญคือการจกเป็นเทคนิคการทำลวดลายบนผืนผ้าให้เส้นด้ายพุ่ง ด้วยวิธีการสอดด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วง ๆ และการทอในลักษณะคว่ำลายทำให้ลวดลายผ้าจกแม่แจ่มมีความสวยงามประณีตเป็นแบบเฉพาะ โดยเอกลักษณ์ของผ้าทอตีนจกแม่แจ่มจะมีสีโทนเหลือง สีแดง และสีส้ม สามารถผสมสีอื่นได้เล็กน้อย
๒. ต่อยอดการออกแบบลวดลายจกเพื่อประยุกต์ใช้ในการถักนิตติ้ง โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาออกแบบลายจำนวน ๓ ลาย ได้แก่ ลายกุดขอเบ็ด ลายเชียงแสนหงส์ปล่อย และลายขันเสี้ยนสำ นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอที่มีลวดลายปักของลายจกแม่แจ่ม โดยเน้นการให้สีโทนพาสเทลเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสวมใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย
๓. ผลการทดสอบแนวคิดผลิตภัณฑ์กับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายใน ๓ พื้นที่ คือตลาดไนท์บาร์ซ่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และถนนคนเดินท่าแพ พบว่ากลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอถักนิตติ้งอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะผ้าพันคอถักนิตติ้งที่ประยุกต์มาจากลายขันเสี้ยนสำ ผู้บริโภคให้ความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และยังได้ข้อเสนอแนะว่าควรใช้วัสดุในการถักที่หลายหลาย เช่น ไหมพรม เหยื่อไผ่ ด้ายฝ้าย เป็นต้น เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความนุ่ม เมื่อนำมาผลิตเป็นผ้าพันคอ จะทำให้ผู้สวมใสไม่เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง และสามารถสร้างเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้มากว่าไหมพรมอะคริลิก ดังภาพตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าถักนิตติ้งที่ประยุกต์จากลายจกแม่แจ่ม

ผ้าพันคอถักนิตติ้งที่ประยุกต์จากลายเชียงแสนหงส์ปล่อย

ผ้าพันคอถักนิตติ้งที่ประยุกต์จากลายขันเสี้ยนสำ

ผ้าพันคอถักนิตติ้งที่ประยุกต์จากลายกุดขอเบ็ด

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ลายจกแม่แจ่ม

ต้นแบบลายเชียงแสนหงส์ปล่อย

ต้นแบบลายขันเสี้ยนสำ

ต้นแบบลายกุดขอเบ็ด

ช่างทอผ้าของกลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านไร่

การทอจกหน้าหมอน
(งานวิจัยของนางสาวจินตนา พันจินดา สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
๒. ชุมชนทอผ้าไหมหมักโคลนในภาคอีสาน

ไหมหมักโคลน

การฟอกไหม

การย้อมไหม
สำหรับการทอผ้าไหมหมักโคลนนั้น เป็นกระบวนการทอผ้าแบบโบราณ ใช้ดินโคลนมาหมักเส้นไหม เพื่อให้เส้นใยไหมมีความนุ่มและเหนียว สีของการย้อมธรรมชาติจะสว่าง คงทน สวยงาม ยิ่งมีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ก็จะยิ่งเพิ่มความงดงามให้กับผ้าไหมขึ้นไปอีกเท่าตัว

ยกเส้นไหมขึ้นพัก

ดินสีแดงสำหรับทำโคลน

ไหมดิบพันธุ์นางน้อย
ผลการวิจัยพบว่าเส้นใยที่ใช้ในการทอผ้าปัจจุบัน จะนิยมใช้เส้นฝ้ายโรงงานและเส้นฝ้ายสำเร็จรูป ส่งผลให้ภูมิปัญญาด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการปลูกฝ้ายอาจสูญหาย จึงได้มีการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ในการผลิตและออกแบบผ้าไหมหมักโคลนดินแดงบริเวณเนินที่ราบสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าค่าความเข้มของสีเส้นไหมหมักโคลน ๑๐ ครั้ง จะมีค่ามากที่สุด ค่าความสว่างของเส้นไหมหมักโคลนย้อมร้อนมีค่ามากที่สุด ด้านความคงทนของสีต่อแสง แบบย้อมเย็นและแบบย้อมร้อน มีค่าความคงทนของสีต่อแสงเท่ากัน ด้านความคงทนของสีต่อการซักล้าง แบบย้อมเย็น ๑ ครั้ง มีค่าความคงทนของสีต่อการซักล้างสูงสุด ด้านความคงทนของสีต่อการขัดถู ย้อมร้อนมีค่าสูงสุด ด้านการคืนตัวจากรอยยับ แบบย้อมเย็นมีความสามารถในการคืนตัวต่อรอยยับได้ดีกว่าการย้อมร้อน และจากการวิเคราะห์สิ่งทอไม่พบค่าตะกั่วในผ้าไหม ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่าจากการระดมแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาศัยทุนทางวัฒนธรรม โดยชุมชนที่สามารถผลิตได้จริง ด้านผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมคือ ผ้าคลุ่มไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าสไบ

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่าง ๆ 01 ไหมหมักโคลน

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่าง ๆ 02 ไหมหมักโคลน

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่าง ๆ 03 ไหมหมักโคลน
อยากได้ของฝากสวย ๆ ดี มีคุณภาพ เป็นงานฝีมือที่หาซื้อได้ยาก ยังมีแหล่งซื้อของฝากพื้นเมือง ราคาย่อมเยาอยู่ในชุมชน ได้ทั้งความรู้และการพักผ่อน พร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลินขนาดนี้ วันหยุดครั้งต่อไปก็อย่าพลาดที่จะลองไปแวะเที่ยวชมกัน
(ผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงคุณ จันทจร สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
๓. ชุมชนบ้านไผ่หูช้าง "เลอค่าผ้าทอลายทวารวดี" จังหวัดนครปฐม

ผลิตภัณฑ์ผ้าลายก้านขดบัวตูม

ผลิตภัณฑ์ผ้า (ลายกระจังก้านขด)

ผลิตภัณฑ์ผ้า (ลายข้าวหลามตัด)

พระธรรมจักร (ที่มาลายก้านพืชขด)

พนักพุทธบัลลังก์ประดับลวดลาย (ที่มาลายข้าวมหลามตัด)

ฐานรองพระธรรมจักร (ที่มาของลายกระจังก้านขด)

แบบลายข้าวหลามตัด

แบบลายกระจังก้านขด

แบบลายก้านขดบัวตูม

การพัฒนาลายสำหรับการทอ (ลายข้าวหลามตัด)

การพัฒนาลายสำหรับการทอลายกระจังก้านขด

การพัฒนาลายสำหรับการทอลายก้านขดบัวตูม
ชุมชนบ้านไผ่หูช้าง จึงเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ที่เราอยากจะแนะนำให้ได้ลองไปเที่ยวชมกันค่ะ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างแล้ว ก็ยังจะได้ชมการสาธิตการทอผ้าลวดลายสมัยโบราณที่หาชมได้ยากอีกด้วย ใครที่ชอบเที่ยวและชอบของโบราณด้วย พลาดไม่ได้เลยทีเดียว สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก หมู่บ้านท่องเที่ยวไทดำ ไผ่หูช้าง
(ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ สุทธิศักดิ์ สนับสนุนโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
ได้เห็นถึงการพัฒนาผ้าทอฝีมือคนไทยแล้วก็ถึงกับร้องว้าวๆๆๆ เลยทีเดียว คนไทยมีความเก่งไม่แพ้กับชาติใดเลย จากภูมิปัญญาของชาวบ้านเล็ก ๆ สามารถเปลี่ยนเส้นด้ายในท้องถิ่นให้เป็นเม็ดเงิน สร้างมูลค่าให้กับสินค้า พร้อมทั้งสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนและครอบครัวอย่างยั่งยืน พร้อมที่จะเติบโตก้าวหน้าเข้าสู่ยุคประเทศไทย ๔.๐ ได้เข้มแข็งและยั่งยืน ใครที่อยากเห็นกระบวนการทอผ้าอันงดงามเหล่านี้กันสักครั้ง ก็หาเวลาแวะไปเที่ยวชมกันนะคะ :)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
qakm.lib.ubu.ac.th, thaitambon.com, เฟซบุ๊ก หมู่บ้านท่องเที่ยวไทดำ ไผ่หูช้าง