เที่ยวสกลนคร และแวะชมของดีของจังหวัดอย่าง ครามสกล หมากเม่า และข้าวฮาง อันเกิดจากภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของชาวบ้าน ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
สกลนคร หนึ่งในจังหวัดภาคอีสานที่อุดมด้วยแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง วัดวาอาราม ของอร่อย ๆ หลากหลายให้ได้ลิ้มลอง รวมถึงยังรุ่มรวยทั้งภูมิปัญญาของชาวบ้าน ทำให้ที่นี่มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นที่หลากหลาย เหมือนอย่างที่เว็บไซต์ artoftraveler.com ได้พาเราไปสำรวจของดีและของเด็ดมาให้เราได้ดูกัน ทั้ง "ครามสกล" "หมากเม่า" และ "ข้าวฮาง" เหล่านี้ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร อีกทั้งยังเป็นวิสาหกิจชุมชนที่นักท่องเที่ยวอย่างเราควรช่วยกันสนับสนุนและน่าอุดหนุนเป็นอย่างยิ่ง ลองไปดูกันว่าแต่ละอย่างน่าสนใจอย่างไรบ้าง
สกลนคร หนึ่งในจังหวัดภาคอีสานที่อุดมด้วยแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง วัดวาอาราม ของอร่อย ๆ หลากหลายให้ได้ลิ้มลอง รวมถึงยังรุ่มรวยทั้งภูมิปัญญาของชาวบ้าน ทำให้ที่นี่มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นที่หลากหลาย เหมือนอย่างที่เว็บไซต์ artoftraveler.com ได้พาเราไปสำรวจของดีและของเด็ดมาให้เราได้ดูกัน ทั้ง "ครามสกล" "หมากเม่า" และ "ข้าวฮาง" เหล่านี้ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร อีกทั้งยังเป็นวิสาหกิจชุมชนที่นักท่องเที่ยวอย่างเราควรช่วยกันสนับสนุนและน่าอุดหนุนเป็นอย่างยิ่ง ลองไปดูกันว่าแต่ละอย่างน่าสนใจอย่างไรบ้าง
++++++++++++++++++++++++
ครามสกล หมากเม่า ข้าวฮาง
ครามสกล
"มีโอกาสไปเห็นการทอผ้าและย้อมครามของชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผ้าผืน ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เลยมองว่าศักยภาพของผ้าครามสกลมันเยอะมาก ไปแตะนิดเดียวสามารถขยายไปได้เลย เพราะมันคือวิถีชุมชนอยู่แล้ว"
แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตผ้าย้อมครามโดยตรง แต่ สกุณา สาระนันท์ ผู้ริเริ่มแบรนด์สินค้าที่นำผ้าย้อมครามของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร มาดีไซน์ตัดเย็บให้ดูสวยงามเข้าสมัย สวมใส่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเสื้อ หมวก กระเป๋า ฯลฯ ยังคิดค้นชุดย้อมครามสำเร็จรูป พร้อมแพ็กเกจน่ารัก ๆ หิ้วกลับไปทำเองได้ที่บ้านในชื่อ "ครามสกล (Kramsakon)"
ครามเป็นไม้พุ่ม เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับพืชตระกูลถั่ว มีเรื่องเล่าว่าตายายคู่หนึ่งบ้วนน้ำหมากไปโดนเข้าโดยไม่ตั้งใจ แล้วเห็นว่าใบไม้เปลี่ยนเป็นสีคราม คือจุดเริ่มต้นของการนำพืชชนิดนี้มาย้อมผ้า หากแต่ยังมีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนละเอียดลออ จนอดทึ่งในภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่คิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมา
แต่ยังไม่จบง่าย ๆ ต้องผ่านขั้นตอน "การก่อหม้อ" ที่ชาวบ้านเรียกว่า "หม้อนิล" สำหรับย้อมผ้า โดยผสมเนื้อครามเปียกกับน้ำด่างหรือน้ำขี้เถ้าลงในหม้อดิน เติมมะขามเปียก น้ำอ้อย น้ำตาลทราย ขั้นตอนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าอัศจรรย์ แต่อธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
"เราดูดีไซน์ที่ลูกค้าต้องการ ถ้าอยากได้เนื้อผ้าพลิ้ว ๆ จะต้องใช้เส้นใยอะไร จริง ๆ ชาวบ้านรู้เยอะกว่าเรามาก เราให้มาสอนเรื่องการก่อหม้อ การทอ บางอย่างชาวบ้านทำดีแล้ว แค่เข้าไปปรับนิดหน่อย เหมือนแลกเปลี่ยนความรู้กัน ตอนนี้มีกลุ่มเครือข่ายสามสิบกว่ากลุ่ม จะดูว่าแต่ละกลุ่มมีความถนัดและโดดเด่นเรื่องอะไร อย่างผ้าเข็นมือ เราจะเอาจากอูนดง โคกพลู หนองสะไน เชิงดอย จุดเด่นของเค้าคือ มีฝ้ายในท้องที่ มีครามที่สีสวย ถ้ามัดหมี่จะไปหาแถบลุ่มน้ำสงคราม เส้นใยจะพลิ้ว ลวดลายสวยงาม เพราะถนัดใช้เรยอนหรือฝ้ายประดิษฐ์"
เป้าหมายของครามสกลคือตลาดนอกพื้นที่ พัฒนาผ้าย้อมครามของชาวบ้านมาผลิตสินค้าแฟชั่นที่คนทุกวัยนำไปใช้ได้ จึงใช้ทำเลนอกเมือง กว้างขวางร่มรื่น ลมโกรกเย็นสบาย เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านระหว่างเดินทาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เรียนรู้ ทดลอง ช้อปปิ้ง ที่เยี่ยมยอด
ครามสกล เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 08 0582 6655 Line id : ppsakuna Facebook : ครามสกล- Kramsakon
หมากเม่า
"หมากเม่าเป็นไม้ป่า ออกมาจากป่า โดยนิสัยชอบอยู่ที่ดอน ดินร่วน ไม่ชอบดินชื้นแฉะ เม่าพันธุ์ท้องถิ่นจะเรียกว่า เม่าหลวง ในจังหวัดสกลนคร พบมากในเขตอำเภอภูพาน"
คณพ วรรณวงศ์ ข้าราชการครูบำนาญ เจ้าของสวนและธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหมากเม่าในแบรนด์ "วรรณวงศ์" หนึ่งในกูรูผู้แตกฉานเรื่องหมากเม่าบอกเล่าให้ฟังว่า หมากเม่าหรือมะเม่าเป็นพืชป่าที่พบในธรรมชาติทั่วทุกภาค ผลสุกกินสดหรือนำมาปรุงอาหาร ภาคอีสานพบมากในเขต อ.ภูพาน จ.สกลนคร ชาวบ้านมักเก็บมาวางขายอยู่ตามริมทางในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
คณพซึ่งได้ชักชวน ขาน แก้วอุ่นเรือน และ ทองเว เพียรภายลุน สองเพื่อนเกลอ ออกค้นหาหมากเม่าสายพันธุ์พื้นเมืองตามธรรมชาติในเขตอำเภอภูพาน โดยเริ่มจากหมากเม่าอายุเกินร้อยปี ต้นที่เคยเก็บกินตอนออกไปเลี้ยงควายสมัยเป็นเด็กน้อย
สามเกลอตระเวนหาหมากเม่าที่เกิดเองตามธรรมชาติ จนได้ฉายาว่า "สามเซียนหมากเม่าแห่งเทือกเขาภูพาน" พบว่าของป่าที่เห็นและกินทิ้งกินขว้างมาตั้งแต่วัยเด็ก กลับมีความหลากหลายของสายพันธุ์ มีความต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งลักษณะลำต้น ผล ใบ รวมถึงรสชาติที่โดดเด่นไปคนละทาง
มีงานวิจัยยืนยันว่าผลหมากเม่ามีคุณประโยชน์มากมาย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระแอนโทไซยานิน วิตามินหลายชนิด เช่น B1 B2 ฯลฯ กรดอะมิโน 18 ชนิด สารฟลาโวนอยด์ (สีม่วงแดง) ช่วยยับยั้งและต้านเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดความตื่นตัวเป็นที่สนใจในวงกว้าง จนเกิดเป็นชมรมหมากเม่าสกลนคร แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาสายพันธุ์เพื่อส่งเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างที่สวนวรรณวงศ์ของคณพ มีเครือข่ายนำกิ่งพันธุ์ไปปลูก เก็บผลผลิตส่งมาแปรรูป ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
การแปรรูปหมากเม่าของสวนวรรณวงศ์ นิยมทำเป็นน้ำหมากเม่าที่คั้นจากผลสุกดำแบบเพียว ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ และแบบผสมผลสุกดำกับแดง แต่งรสด้วยน้ำตาล รวมถึงไวน์หมากเม่าซึ่งได้รับความนิยมจากคอไวน์ไม่น้อย เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ขออนุญาตและผ่านการตรวจสอบมาตรฐานอย่างถูกต้อง ปัจจุบันตลาดรองรับผลิตภัณฑ์จากหมากเม่าจนมีความเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
"อันนี้ข้าวเหนียวฮาง นึ่งร้อน ๆ เลยจ้า" สุพรรณี ร่มเกษ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาบ่อ ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร เปิดกระติบข้าวเหนียว เผยให้เห็นเมล็ดข้าวอวบอิ่ม สีน้ำตาลทอง ควันฉุยกลิ่นหอมโชยขึ้นจมูก เนื้อนุ่มรสชาติอร่อยกว่าข้าวเหนียวทั่วไปที่เคยกิน เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวภูไทแต่โบราณ ในการรักษาคุณค่าทางอาหาร ส่งต่อถึงลูกหลานได้อย่างน่าประหลาดใจ
ครอบครัวสุพรรณียึดแนวทางเกษตรอินทรีย์มาหลายปี หลังฤดูเก็บเกี่ยวจะพักนาโดยทิ้งไว้เฉย ๆ จนถึงเดือนพฤษภาคมที่ฝนแรกมาเยือน จึงลงมือไถกลบ ตากดินไว้สักระยะแล้วทำซ้ำจนครบ 3 รอบ ตอซังข้าวคือปุ๋ยชั้นดี ไม่ต้องพึ่งพาเคมีใด ๆ ผ่านขั้นตอนนี้ไปจึงจะเริ่มลงมือปักดำทำนา
ผลจากการเลือกวิถีเกษตรอินทรีย์มานาน ธรรมชาติเกิดความสมดุล ธาตุอาหารสมบูรณ์สม่ำเสมอทั่วถึง ต้นข้าวจึงแข็งแรงเติบโตอย่างเป็นระเบียบ ที่สำคัญตามร่องคันนา ยังมี ปลาดุก ปลาช่อน สัตว์น้ำนานาชนิด เดินทางเข้ามาในระบบห่วงโซ่อาหารเหมือนอดีต
การนึ่งข้าวด้วยฟืน วิธีควบคุมไฟไม่ให้อ่อนหรือแก่เกินไป ต้องอาศัยทักษะความชำนาญที่สั่งสมมามากพอควร เตาฮางที่บ้านสุพรรณีถูกปรับปรุงและดีไซน์ใหม่โดยยึดรูปแบบจากต้นฉบับดั้งเดิม ด้วยฝีมือสถาปนิกประจำบ้านคือสามีของเธอเอง ทำให้สามารถนึ่งข้าวได้สิบหวดในคราวเดียว
"สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้กินเอง แล้วให้ลูกหลานเอาไปฝากเจ้านาย พอเค้าได้กินก็ชอบใจถามว่าข้าวอะไรหอมจัง เลยทดลองขายในเขตจังหวัดสกลนครก่อน ครั้งแรกที่ไปออกงานในกรุงเทพฯ เจ็ดวันขายข้าวฮางได้แค่ห้ากิโล จำได้ไม่มีวันลืม"
"ลูกค้าบางคนเริ่มจากสองขวด เพิ่มเป็นสิบ ยี่สิบกิโล คนที่เค้ากินก็บอกต่อไปเรื่อย ๆ เราทำตลาดแบบนี้อยู่สิบปี ส่งตั้งแต่อุดรฯ ถึงระยอง กำไรไม่มากแต่ได้ใจลูกค้า ยอดการสั่งเพิ่มขึ้น ตอนนี้ในกรุงเทพฯ มีวางขายที่ตลาดบองมาเช่ เราทำเป็นรูปกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตเองขายเอง รับซื้อข้าวเปลือกเพื่อมาทำข้าวฮาง ให้ราคามากกว่าท้องตลาด อย่างข้าวหอมมะลิเค้าให้ตันละเจ็ดพัน แต่เรารับซื้อเก้าพัน ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาอย่างเราก็ดีขึ้น"
ทั้งนี้ติดตามเรื่องราวการท่องเที่ยวสถานที่อื่น ๆ เพิ่มได้ที่ เฟซบุ๊ก ART of Traveler อ๊ะ ๆ อย่าลืมกด Like เป็นกำลังใจให้ด้วยนะ
artoftraveler.com