
ฮือฮาสนั่นในโลกโซเชียลกับประเด็น...แม่เมาะเปลี่ยนไป !!! ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนภาคเหนือให้มีพลังใช้อย่างเพียงพอ ปัจจัยนี้จะมีผลกับมลพิษจริงหรือเปล่า ก็เลยไปดูข้อมูลมาเพื่อสร้างความเข้าใจกับกลุ่มพี่น้องว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร
อธิบายการตรวจวัดสารพิษทางอากาศจาก "กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง" ถ้าอัตราสูงเกินกำหนดจะเป็นดังนี้ คือประเภทฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เกิน 120 ไมโครกรัม และประเภทฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครกรัม เกิน 50 ไมโครกรัม และปัจจัยอื่นจากสภาพอากาศและก๊าซโอโซน ซึ่งถ้าสูงเกินระดับนี้จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทางเดินหายใจ อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
แม่เมาะ มีประเภทฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16.21 พูดง่าย ๆ ว่าต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมาก ปัจจัยหนึ่งมาจากการที่ฝนตกสม่ำเสมอในเมืองไทย และการใช้ใช้ชีวิตของประชาชนในภาคเหนือ แต่ถ้าเทียบกับ กทม. บอกเลย กทม. อันตรายกว่าเยอะ ประเภทฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าเฉลี่ยทั่วกรุงเทพฯ อยู่ที่ 28-212 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประเภทฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครกรัม อยู่ที่ 13-86 มคก./ลบ.ม. ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐานอย่างมาก นี่สินะสาเหตุที่ทำให้เด็ก กทม. ส่วนมากที่เกิดมาเป็นโรคยอดฮิตอย่างโรคหอบหืด
ข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ aqmthai.com

สาเหตุใกล้ตัวที่ทำให้เกิดมลพิษมาจากสภาพอากาศที่แย่ลงทุกวัน เกิดจากสภาพการจราจรที่มีรถปิดปล่อยควันกันมาก การเผาไหม้ในที่โล่ง หรือการที่ฝนแล้งไม่ตกลงมาชะล้างช่วยทำให้มลพิษทางอากาศนั่นเอง
ดูแบบนี้ก็รู้กันแล้วว่าที่พวกต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชอบอ้างกรณีแม่เมาะ มันไม่จริง เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนไปหมดแล้ว เพราะโรงไฟฟ้าสมัยนี้เป็นระบบปิดไม่ปล่อยควันสู่ภายนอก มีกระบวนการขจัดทั้งปรอทและฝุ่นละออง

ถ้าเกิดวันนี้ไม่รีบทำโรงไฟฟ้าแล้วไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่คิดกันบ้างเหรอประเทศจะเป็นยังไง อย่ามาอ้างเลยว่าทำให้เกิดมลพิษ อธิบายกันชัด ๆ ไปแล้ว กทม. ยังสกปรกมลพิษเยอะกว่า ที่วันนี้กลัว กลัวการพัฒนาหรือกลัวการเสียผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มกันแน่