เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ Phitchaphat, คุณ Phitchaphat และ คู่หูเดินทาง
เหมือนเวลาจะหมุนช้าลง เมื่อมาเยือน เชียงคาน
คงไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่ผิดนัก เพราะ เชียงคาน อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดเลย ยังคงอารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง ที่ผสมผสานกับความทันสมัยของโลกปัจจุบันได้อย่างลงตัว ความเงียบสงบของเมือง ความน่ารักของผู้คน ที่ยังดำรงวิถีชีวิตแบบราบเรียบ และกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแนบแน่นดีเยี่ยม รวมไปถึงทัศนียภาพพริมฝั่งโขงที่สวยงาม คงเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้นักเดินทางมักแวะเวียนไปต้องมนต์เสน่ห์ ณ เชียงคาน
แต่่จริง ๆ แล้ว เชียงคาน ยังมีอะไรดี ๆ เด็ด ๆ รอให้คนที่ชื่นชอบวิถีชีวิตท้องถิ่น รักความงามของอดีตกาล ไปสัมผัสถึงความเป็น เชียงคาน ให้เห็นด้วยตา ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็พร้อมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ เชียงคาน ให้มากขึ้นอีก ถ้าใครพร้อมแล้วก็ตามเราเข้าไปเที่ยว เชียงคาน เลย...
ใน พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับ พระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ เมื่อรบชนะจึงได้อันเชิญ พระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี และทำการรวมอาณาจักรล้านช้างเข้ามาเป็นประเทศราชของไทย พร้อมกับกวาดต้อนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหือง
จากนั้นสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทย แต่ในที่สุด เจ้าอนุวงศ์ ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบ เจ้าอนุวงศ์ ได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระอนุพินาศ (กิ่งต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก พระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงคาน
ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ และได้เข้าปล้นสดมภ์เมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ครั้นต่อมาเห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่ บ้านท่านาจันทร์ (ใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน) แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่ เมืองใหม่เชียงคาน หรือ อำเภอเชียงคาน ในปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้
แหล่งท่องเที่ยวของเชียงคาน
วัดศรีคุณเมือง
วัดศรีคุณเมือง ตั้งอยู่ที่ซอย 7 ถนนชายโขง ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ วัดนี้เป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างดังจะเห็นได้จากโบสถ์ ซึ่งหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนา ศิลปวัตุที่สำคัญมีหลายชิ้น เช่น พระพุทธรูปไม้จำหลัก มีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว ลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้าง สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 นอกจากนี้ ในวัดยังมีธรรมาสน์ไม้แกะสลักลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม
วัดท่าแขก
วัดท่าแขก เป็นวัดเก่าแก่โบราณ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากอำเภอเชียงคาน 2 กิโลเมตร ก่อนถึงหมู่บ้านน้อย และแก่งคุดคู้ ปัจจุบันเป็น วัดธรรมยุติ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูป 3 องค์ สกัดจากหินแกรนิตทั้งก้อน หน้าตักกว้าง 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก
พระใหญ่ภูคกงิ้ว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระพุทธนวมินทรมงคลลีลา ทวินคราภิรักษ์ ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาบริเวณปากลำน้ำเหืองจรดกับแม่น้ำโขง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์ สูง 19 เมตรตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ เมื่อ พ.ศ.2542 และในมหามงคลแห่งราชพิธิราชาภิเษก ครบ 50 ปี พ.ศ. 2543 สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 บริเวณโดยรอบสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขง และประเทศลาวได้ การเดินทาง จากตัวเมืองเลยทางหลวงหมายเลข 201 (เลย-เชียงคาน) ไป 47 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกตรงไปจนถึงบ้านท่าดีหมี่ แล้วเลี้ยวขวาที่โรงเรียนบ้านท่าดีหมี่ ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
พระพุทธบาทภูควายเงิน
พระพุทธบาทภูควายเงิน ตั้งอยู่ที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม ตามเส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านผาแบ่นมีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กิโลเมตร จะถึงทางขึ้นเขาเป็นทางลูกรังระยะทาง 1 กิโลเมตร เป็นรอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ประชาชนเคารพนับถือมาก จะมีงานเทศกาลประจำปีในวันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 ของทุกปี
พระใหญ่ภูคกงิ้ว
แก่งคุดคู้
จุดชมวิวภูทอก
ปัจจุบันแม้ว่าบ้านเรือนอาคารต่าง ๆ ภายใน เชียงคาน จะแปรเปลี่ยนดัดแปลงมาทำโรงแรม เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ แกลอรี่ ร้านขายของที่ระลึก ร้านขายโปสต์การ์ด ฯลฯ แต่ความเป็น เชียงคาน ก็ยังคงอยู่เฉกเช่นวันวาน วัฒธรรมการตักบาตรข้าวเหนียวยามเช้าแบบเมืองหลวงพระบาง ที่ เชียงคาน ก็มีให้เห็นเหมือนเคย ในช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 06.30 น. จะมีผู้คนมารอใส่บาตรข้าวเหนียวยามเช้าเป็นประจำทุกวัน
ในส่วนของที่พัก ในเมือง เชียงคาน มีให้เลือกมากมาย หลายแบบหลายสไตล์ราคาคละเคล้ากันไป เริ่มตั้งแต่ประมาณ 300 บาทต่อคืน ไปจนถึงประมาณ 3,000บาท ใครที่ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
สมแล้วกับคำขวัญที่ว่า...เชียงคาน เมืองคนงาม ข้าวหลามยาว มะพร้าวแก้ว เพริศแพร้วเกาะแกง แหล่งวัฒนธรรม น้อมนำศูนย์ศิลปาชีพ
การเดินทางไป เชียงคาน
เดินทางด้วยรถยนต์
เส้นทางที่ 2 : จากสระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวเมืองเลยได้เช่นเดียวกัน
เดินทางด้วยไฟ
เดินทางด้วยโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-เลย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามที่สถานีขนส่ง หมอชิต 2 โทรศัพท์ 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
และ เชียงคาน.com