
คู่มือถ่ายภาพดาว
การถ่ายภาพดาวหรือท้องฟ้ายามค่ำคืนด้วยกล้อง DSLR นั้น สามารถถ่ายได้ไม่ยากเลย เพราะเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยมามากแล้ว ดังนั้นเรื่องราวของการถ่ายภาพยามค่ำคืนจึงสามารถทำได้แทบทุกคน ขอเพียงมีอุปกรณ์ครบถ้วนก็เพียงพอ ที่สำคัญขอให้เป็นคืนเดือนมืดก็จะสามารถเห็นดาวได้อย่างชัดเจน และควรไปหาที่ที่แสงไฟจากบ้านเรือนหรือจากเมืองใหญ่มารบกวนไม่ได้ ซึ่งจะทำให้การถ่ายภาพดาวหรือการชมท้องฟ้าในเวลากลางคืนมีความงดงามและมีความสุขเพิ่มขึ้น
เราจะเริ่มต้นถ่ายภาพดาวกันอย่างไร ในเบื้องต้นขอสรุปไว้เป็นข้อ ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ ดังนี้











เมื่อรู้วิธีถ่ายภาพดาวแล้วเราจะไปเริ่มถ่ายภาพกันที่ไหนดี เพราะในเมืองไทยมีเยอะมาก แต่ละที่ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ในที่นี้ขอนำเสนอไว้เป็นทางเลือก เผื่อใครสนใจอยากค้นคว้าเพิ่มเติมจะได้มีแหล่งถ่ายดาวเพิ่มขึ้น


ตั้งตระหง่านอยู่เหนือขุนเขาในบริเวณกิโลเมตรที่ 41.5 บนเส้นทางสู่ยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับพระมหาธาตุนภเมทนีดล กองทัพอากาศดำเนินการสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ เป็นองค์เจดีย์สีน้ำตาลทรงระฆังคว่ำรูปแปดเหลี่ยมสูง 60 เมตร ส่วนบนสุดเป็นยอดปลีสีทองรองรับกลีบบัวบาน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ใกล้กันคือพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่กองทัพอากาศจัดสร้างต่อมาในปี พ.ศ. 2535 เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ลักษณะองค์เจดีย์สีม่วงอมชมพูทรงระฆังคว่ำรูปสิบสองเหลี่ยม สูง 55 เมตร ที่ยอดปลีสีทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนี้ยังมีสวนดอกไม้ที่จัดภูมิทัศน์อย่างสวยงาม รวมถึงร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และห้องน้ำกว้างขวางสะดวกสบาย
บริเวณรอบองค์เจดีย์ทั้งสองมีลานโล่งหลายจุด จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพดาว ควรเตรียมเสื้อกันหนาว และหมวกไปให้พร้อม ยามเช้าที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอก ทั้งยังสามารถชมทิวทัศน์ของทิวดอยสลับซับซ้อนได้รอบทิศ เราสามารถมองเห็นทุ่งหญ้าของกิ่วแม่ปาน โดยมีดอยหัวเสือเป็นจุดเด่นอยู่เบื้องหลัง และหากอากาศเปิดจะมองเห็นไกลไปถึงอำเภอแม่แจ่มเลยทีเดียว
การติดต่อ : พระมหาธาตุทั้งสองตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ การจะเข้าไปถ่ายภาพดาวซึ่งเป็นช่วงเวลากลางคืนจึงต้องขออนุญาตล่วงหน้า โดยติดต่อขอรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดจำหน่ายบัตรเข้าชม


จุดชมวิวของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน จังหวัดน่าน ลักษณะเป็นลานกว้างบนสันเขาที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบได้ถึง 180 องศา และยังอิ่มเอมกับที่นี่ได้หลายช่วงเวลา ยามเช้าที่นี่คือจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว ทะเลหมอกสีขาวหนานุ่มที่ห่อคลุมทิวดอยจนสุดสายตาคือภาพที่ชวนหลงใหลยิ่งนัก ส่วนช่วงเย็นก็ยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ตกได้อีกด้วย และในยามค่ำคืน ดอยเสมอดาวยังขึ้นชื่อในการเป็นแหล่งดูดาวที่สุดแสนโรแมนติก แม้จะมีความสูงเพียง 740 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง แต่เมื่อยืนอยู่บนนี้ด้วยความที่เป็นลานโล่งกว้าง ในคืนเดือนมืดจึงเห็นดวงดาวระยิบระยับได้อย่างชัดเจนสมดังชื่อ "ดอยเสมอดาว" นักท่องเที่ยวจึงนิยมกางเต็นท์และนอนดูดาวกันในช่วงฤดูหนาว ซึ่งก็เชื่อได้เลยว่าดอยเสมอดาวจะเป็นจุดถ่ายภาพดาวได้อย่างยอดเยี่ยม
การติดต่อ : อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลศรีสะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150 โทรศัพท์ 0 5473 1714, 09 3242 2914


จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก ชมทะเลหมอก และชมพรรณไม้หายากแห่งนี้ อยู่ห่างจากตัวอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ตามทางไปบ้านปะละทะ โดยทางเข้าจุดชมวิวดอยหัวหมดจะอยู่ช่วงกิโลเมตรที่ 9-12 ซึ่งจะมีป้ายบอกไว้ ดอยหัวหมดเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาหินปูนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ที่ทอดตัวเป็นแนวยาวติดต่อกัน ความสูง 900-1,000 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ชื่อของ "ดอยหัวหมด" มีที่มาจากการที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุม ทว่ามีพรรณไม้ขนาดเล็กน่าสนใจหลายชนิด บางชนิดมีความใกล้เคียงกับดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เช่น ขาวปั้น และเทพอัปสร ที่สำคัญยังมีพรรณไม้เฉพาะถิ่นอย่างดอกเทียนปีกผีเสื้อ ที่จะบานดอกสีชมพูหวานเต็มพื้นดินจนละลานตาในช่วงฤดูฝน ศรีสยามหรือนางพญาชาฤๅษี พืชชนิดใหม่ของโลกที่มีรายงานพบเฉพาะในอำเภออุ้มผางเท่านั้น และเอื้องศรีประจิม ซึ่งเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกก็พบเฉพาะที่ดอยหัวหมดเท่านั้น
การถ่ายภาพดาวบนดอยหัวหมดควรเตรียมเสื้อกันหนาวและหมวดไปด้วย เพราะบนนั้นอากาศค่อนข้างหนาวและมีลมพัดตลอดเวลา
การติดต่อ : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 63170 โทรศัพท์ 0 5557 7318, 08 8427 5272 และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก โทรศัพท์ 08 9988 1783


จุดชมทุ่งแสลงหลวงอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สล.8 (หนองแม่นา) อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงประมาณ 60 กิโลเมตร ทุ่งแสลงหลวงได้ชื่อว่าทุ่งหญ้าสะวันนาของเมืองไทย ลักษณะเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่แวดล้อมด้วยป่าสนสองใบและต้นไม้ใหญ่ ตามพื้นดินยังอาจได้เห็นรอยตีนสัตว์ป่าอย่างเก้ง กวาง ช้าง และกระต่าย ในช่วงฤดูฝนทุ่งหญ้าจะเป็นสีเขียวสดชื่นดังผืนพรม แซมสลับด้วยดอกไม้ในทุ่งหญ้าอย่างดอกกระเจียว ดอกเข้าพรรษา ดอกกระดุมเงิน ดอกดุสิตา เอื้องนวลจันทร์ ฯลฯ ขณะที่ฤดูหนาวทุ่งหญ้าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง จุดชมทะเลหมอกของหน่วยฯ หนองแม่นา คือ "ลานดุสิตา" ซึ่งอยู่ระหว่างทางไปทุ่งนางพญา นับเป็นจุดชมวิว ชมดวงอาทิตย์ขึ้น และชมทะเลหมอกได้อย่างน่าประทับใจโดยเมื่อมองไปเบื้องหน้า จะเห็นทุ่งหญ้าสะวันนาได้อย่างชัดเจน โดยมีเขาย่าตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง
ด้วยความเป็นทุ่งหญ้าโล่งกว้างสุดสายตา การถ่ายภาพดาวที่ทุ่งแสลงหลวงจึงสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายภาพจากบริเวณลานกางเต็นท์ หรือห่างออกมาจากด่านหนองแม่นา บริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ยืนโดดเดี่ยวก็จะได้ภาพที่มีความน่าสนใจขึ้น
การติดต่อ : อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 65120 โทรศัพท์ 0 5526 8019 และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สล. 8 (หนองแม่นา) อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67270 โทรศัพท์ 08 7839 6867, 08 7207 7849


ในปี พ.ศ. 2548 ผืนป่าเขาใหญ่และดงพญาเย็นได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าดงดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ บางตอนเป็นทุ่งหญ้าและภูเขาสูง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายประเภท จึงเป็นแหล่งเรียนรู้สัตว์ป่าที่สำคัญ รวมไปถึงกิจกรรมดูนก ดูผีเสื้อ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลและระยะใกล้ มีเส้นทางขี่จักรยาน จุดชมวิว หอดูสัตว์ และโป่งขนาดใหญ่ เมื่อบวกรวมกับความสะดวกสบายในแง่ของการเดินทางที่กิน และที่พัก ผืนป่าเขาใหญ่จึงเป็นบทเริ่มต้นในการศึกษาธรรมชาติของผู้คนมากมาย
โป่งทุ่งกวางเป็นบริเวณที่รู้จักกันดีว่าสามารถพบเห็นสัตว์ป่าอย่างช้าง เก้ง และกวางได้ไม่ยาก เพราะเป็นทุ่งหญ้าริมถนน ซึ่งทางอุทยานได้ทำลานจอดรถ พร้อมป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ เพียงจอดรถและเฝ้าดูสัตว์ป่าอย่างเงียบ ๆ ก็จะได้เห็นสัตว์ป่าในสภาพธรรมชาติแบบสบาย ๆ โป่งทุ่งกวางแห่งนี้ยังเหมาะสำหรับการดูดาวและถ่ายภาพดวงดาวอีกด้วย
การติดต่อ : อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 08 6092 6527, 08 6092 6529


ตั้งอยู่บนยอดดอยมังกร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะโอบล้อมด้วยดอยสูงและยังมองเห็นจุดที่แม่น้ำกกและแม่น้ำฝางไหลมาบรรจบกัน วัดท่าตอนมีพื้นที่ทอดยาวขึ้นไปตามภูเขาแบ่งเป็น 9 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุรัชมังคลาจารย์สมานฉันท์ หรือรู้จักกันดีในชื่อพระเจดีย์แก้ว สร้างขึ้นในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 พระเจดีย์แก้วมี 3 ชั้น ชั้นแรกประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ชั้นที่สองเป็นชั้นแห่งศีล มีการจำลองพระธาตุประจำปีเกิดไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ส่วนชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระอุรังคธาตุ
ด้วยความที่พระเจดีย์แก้วมีขนาดใหญ่และมีรูปทรงสวยงาม ประกอบกับมีทางเดินโดยรอบ นอกจากนี้ก็ยังมีลานโล่งอีกหลายจุด จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพดาว โดยมีภาพของพระเจดีย์แก้วเป็นจุดเด่น
การติดต่อ : วัดท่าตอน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 50280 โทรศัพท์ 0 5305 3609


เดิมเรียกกันว่าวัดพระพุทธบาทปู่ผาแดง เนื่องจากบนยอดดอยมีรอยพระพุทธบาท ซึ่งชาวอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ให้ความศรัทธาด้วยการเดินขึ้นมานมัสการจนกลายเป็นประเพณี เมื่อหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล (พระเทพวิสุทธิญาณ) เจ้าอาวาสวัดอนาลโยทิพยาราม จังหวัดพระเยา ได้เดินทางมาลักการะรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ก็นำมาซึ่งการดำเนินการก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ โดยตรงกับปีแห่งการเสด็จพระราชสมภพครบ 200 ปี ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ ด้านล่างเป็นที่ตั้งของอุโบสถเจดีย์ และยังเป็นลานจอดรถสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องจอดรถไว้ที่นี่ แล้วใช้บริการรถของคนในพื้นที่ที่มีความชำนาญทาง เพื่อเดินทางต่ออีก 3 กิโลเมตร ไปยังจุดเริ่มต้นเดินเท้า จากนั้นจึงเริ่มเดินขึ้นเขาไปตามบันไดเหล็กอีกราว 700 เมตร ใช้เวลา 30 นาที ก็จะขึ้นถึงยอดดอย
ความมหัศจรรย์ของศาสนสถานแห่งนี้ อยู่ที่เจดีย์สีขาวขนาดเล็กกระจายอยู่บนยอดเขาหินปูนราวกับถูกจัดวางไว้อย่างเหมาะเจาะด้วยพลังแห่งศรัทธา ด้านองค์พระธาตุสีทองนั้นตั้งอยู่ ณ จุดสูงสุด นอกจากนี้ยังมีศาลาสวดมนต์และทิวทัศน์สวยงามรอบทิศ เห็นวิวทั้งอำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองปาน มีจุดที่เหมาะสำหรับถ่ายภาพดาวอยู่หมายมุมเลยทีเดียว
การติดต่อ : วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 52240 โทรศัพท์ 08 9952 0557 และองค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โทรศัพท์ 0 5436 9847


สีเหลืองสดใสของดอกบัวตองที่พร้อมใจกันบานสะพรั่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนธันวาคม ทำให้ดอยแม่อูคอมีชื่อเสียงมาเนิ่นนานในฐานะแหล่งชมดอกบัวตองที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทุ่งดอกบัวตองอาณาบริเวณราว 500 กว่าไร่แห่งนี้ จึงไม่เคยร้างไร้ผู้คน ตลอดเดือนพฤศจิกายนอันเป็นช่วงเทศกาลชมดอกบัวตอง ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งจะนำพืชผักและของที่ระลึกมากมายมาขายนักท่องเที่ยว เพิ่มสีสันและชีวิตชีวาให้ดอยแม่อูคอด้วยภาพของเด็กน้อยแก้มแดงในชุดประจำเผ่า แม้ไม่ใช่ช่วงดอกบัวตองบาน แต่ดอยแม่อูคอก็เป็นเส้นทางขับรถท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวอีกหลายแห่งระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งยังมีจุดชมทิวทัศน์อันน่าตื่นตาตื่นใจหลายจุด อากาศสดสะอาดบนดอยสูง บวกรวมกับความเย็นยะเยือกและทิวทัศน์กว้างไกลสุดสายตาดอยอูคอ จึงเหมาะมากสำหรับการถ่ายภาพดวงดาวในคืนหนาวที่ฟ้ากระจ่าง
การติดต่อ : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58140 โทรศัพท์ 0 5361 5987, 08 1992 4852


ยอดภูที่มีความสูง 1,680 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย คำว่า "ภูลมโล" นั้น ชาวบ้านที่บ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย เคยเรียกว่า "ภูลงรู" เพราะภูเขาแห่งนี้มีน้ำไหลลงรู ส่วนชาวบ้านที่บ้านกกสะทอน ฝั่งอำเภอด่านซ้าย บอกว่าหมายถึงภูเขาที่มีลมแรงตลอดเวลา (คำว่า "โล" หมายถึงมากหรือเยอะ)
ในอดีตภูลมโลเคยเป็นพื้นที่สีแดง แต่ทุกวันนี้ภูลมโลคือพื้นที่สีชมพูจากดอกนางพญาเสือโคร่ง ที่ทางอุทยานขอพื้นที่คืนจากชาวไทยภูเขาเผ่าม้งแล้วดำเนินการปลูกต้นนางพญาเสือโคร่ง ไม่กี่ปีให้หลังนางพญาเสือโคร่งก็ผลิดอกบานสะพรั่งพร้อมกันในช่วงเดือนมกราคม เต็มพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ จนภูลมโลถูกกล่าวขานว่าเป็นป่าซากุระกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ระหว่างทางขึ้นยอดภูลมโลมีจุดชมวิวหลายจุด ส่วนยอดภูลมโลต้องเดินเท้าขึ้นไปอีก 1 กิโลเมตร บนนั้นเป็นจุดชมทิวทัศน์ชั้นเยี่ยม ลักษณะเป็นลานโล่ง มีก้อนหินขนาดใหญ่เป็นจุดเด่นให้ขึ้นไปยืนชมวิว ทั้งนี้ทางอุทยานไม่อนุญาตให้กางเต็นท์พักแรมบนยอดภูลมโล
การติดต่อ : อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 65120 โทรศัพท์ 0 5535 6607, 0 5535 6673, ศูนย์บริการท่องเที่ยวชุมชนบ้านร่องกล้า ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 65120 โทรศัพท์ 08 7838 0195 และองค์การบริหารส่วนตำบลกกสะทอน ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัด 42120 โทรศัพท์ 0 5203 9867
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2558