5 แหล่งมรดกโลกของไทย ชวนไปเรียนรู้แหล่งมรดกโลกที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโลกมาแล้ว ถือเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าของชาติที่ไม่ควรพลาดไปเยือนสักครั้งในชีวิตเลยทีเดียว
มรดกโลกทางวัฒนธรรม
1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 โดยมีโบราณสถานที่สำคัญอยู่ 3 แห่ง ก็คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งทั้ง 3 แห่งนี้แสดงให้เห็นถึงร่องรอยอารยธรรมโบราณที่เป็นเสน่ห์อันงดงามและทรงคุณ ค่าของอาณาจักรสุโขทัยไทยในอดีต เรามาเริ่มต้นกันเลย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นโบราณสถานที่มีศิลปะในยุคสุโขทัย ภายในยังคงเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง ซึ่งวัดที่ใหญ่และสำคัญที่สุด ก็คือ “วัดมหาธาตุ” ซึ่งมีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่เป็นศิลปะงดงาม แบบสุโขทัยแท้ รวมไปถึงวัดตระพังเงิน วัดสระศรี วัดศรีสวาย ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเก่าชั้นใน ส่วนนอกกำแพงเมืองด้านเหนือก็มีอีกหลายจุดที่นับว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น วัดศรีชุม วัดพระพายหลวง และแหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) รวมไปถึงบริเวณนอกกำแพงเมืองด้านตะวันตก ด้านใต้ และด้านตะวันออกก็ยังมีจุดเที่ยวอีกมากมายที่พลาดไม่ได้
ทั้งนี้ภายในบริเวณอุทยานมีอาณาเขตที่กว้างขวางมากแนะนำให้ขับรถเที่ยวชม บรรยากาศจะได้ไม่เหนื่อย หรือเพื่อน ๆ คนไหนสนใจนั่งรถรางพร้อมวิทยากรบรรยายก็สามารถทำได้ หรือจะเป็นออกแรงปั่นจักรยานเพื่อเสพบรรยากาศข้างทางด้วยตนเองก็ไม่ว่ากัน
อัตราค่าเข้าชม : ชาว ไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย
อัตราค่าบริการรถราง : นัก ท่องเที่ยวชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท รถจักรยานเช่า คันละ 20 บาท
เวลาเปิดทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.) หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ ระยะทาง 440 กิโลเมตร เดินทางด้วยรถยนต์ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 (ถนนสิงหวัฒน์) ถนนหลวงตัดผ่านกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่าจะเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่าง ๆ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทรศัพท์ 0-5569-7310
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย แหล่งมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งในเขตกำแพงเมืองเก่า ตั้งอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย บริเวณที่เรียกว่า "แก่งหลวง" ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 50 กิโลเมตร เดิมชื่อว่า "เมืองเชลียง" แล้วภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "ศรีสัชนาลัย" ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ซึ่งภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานและโบราณวัตถุทั้งหมดมากมาย 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง ซึ่งมีวัดที่สำคัญที่สุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดชม ก็คือ "วัดช้างล้อม" ที่มีเจดีย์ประธานทรงลังกา และที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบจำนวน 39 เชือก ถือเป็นสถาปัตยกรรมโบราณที่สวยงดงามมาก ๆ นอกจากนี้ยังมีจุดท่องเที่ยวที่สำคัญอีกหลายจุด เช่น วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดเขาพนมเพลิง วัดเขาสุวรรณคีรี วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้วอุทยานน้อย วัดนางพญา รวมไปถึงวัดชมชื่นอีกด้วย
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ เสียค่าธรรมเนียมอีกราคา 10-50 บาท
อัตราค่าบริการรถราง : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท ทั้งนี้หากเพื่อน ๆ ต้องการมีวิทยากรคอยบรรยายแนะนำก็ติดต่อโดยตรงกับทางอุทยานได้เลย
เวลาเปิดทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
การเดินทาง : จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 เส้นสุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ไปจนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 17-19 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นระยะทาง 68 กิโลเมตร หรือนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ หรือสามารถใช้เส้นทางจากอำเภอสวรรคโลกไปตามทางหลวงหมายเลข 1201 ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร หรือจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 โทรศัพท์ 0-5567-9211
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากจังหวัดสุโขทัยไม่มากเท่าไรนัก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมลักษณะเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้แต่ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพ ชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีตได้อย่างงดงาม โดยสถานที่ที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ก็มีให้เที่ยวชมมากมาย เช่น “วัดพระแก้ว” เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มโบราณสถานในอุทยานและสำคัญมากในอดีต วัดพระธาตุ เป็นวัดหลวงโบราณประจำเมืองกำแพงเพชร วังโบราณหรือสระมน ศาลพระอิศวร วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ ตลอดจนวัดช้างรอบ ฯลฯ และอีกมากมายให้เลือกเที่ยวชม
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท และถ้าเพื่อน ๆ คนไหนนำรถเข้าชมในบริเวณอุทยานฯ จะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ 50 บาท
เวลาเปิดทำการ : ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
การเดินทาง : อุทยานฯ ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนสายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย แล้วเลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 360 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-5571-1921 หรือ เฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยถือเป็นราชธานีเก่าแก่อันยิ่งใหญ่ที่สืบเนืองยาวนานมากว่า 417 ปี และมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยมีศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ งดงาม และทรงคุณค่า ทั้งวัดวาอารามหรือแม้แต่ความสง่างามของปราสาทราชวัง ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต ตลอดจนผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ถึงอารยธรรมและความเจริญรุ่งเรือง โดยราชธานีแห่งนี้ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกของ องค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2534
จุดท่องเที่ยวหลัก ๆ ที่น่าไปเยี่ยมชมก็เห็นจะเป็นพระราชวังโบราณ หรือพระราชวังหลวงที่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) วัดราชบูรณะ รวมไปถึงวิหารพระมงคลบพิตร ซึ่งมีพระมงคลบพิตรที่เป็นพระพุทธรูปบุทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง ในประเทศไทย นอกจากนี้ภายในเขตอุทยานฯ ยังคงมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งให้เพื่อน ๆ ได้ขับรถเที่ยวชมยังไงก็ตามหากมีเวลาว่างก็ลองมาขับรถกินลม ชมเมืองเก่าไม่ไกลกรุงนี้ได้นะคะ
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
เวลาเปิดทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือจะเลือกใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทางปทุมธานีสามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนาเข้าทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือจะใช้ทางหลวงหมายเลข 306 เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 196 หมู่ 4 ตำบลประตูชัย อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ 035-242284, 035-242286, 035-242525, 035-322685 หรือ เฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2535 เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์แห่งแรกที่มีความสำคัญในแถบเอเชีย อาคเนย์และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยเป็นแหล่งที่พบว่ามีการทำสำริด เหล็ก และเครื่องประดับโลหะบ้านเชียงรุ่นแรกที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ระดับท้องถิ่น พบภาชนะทั้งลายขูดขีดขัดมัน ลายเขียนสีแดงอันเลื่องลือจำนวนมาก และหลักฐานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เก่าแก่แห่งหนึ่งทำ
โดยแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงหรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงแห่งนี้มีจุด ให้เที่ยวชม 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทยที่วัดโพธิ์ศรีในกรมศิลปากร ยังคงรักษาร่องรอยการขุดค้นโบราณวัตถุไว้ในสภาพเดิม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกฝังพร้อมกับข้าวของอื่น ๆ ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งในพิธีศพตามอารยธรรมโบราณ และส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้าเป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและ วัฒนธรรมบ้านเชียงก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อยู่คู่วัฒนธรรมบ้านเชียง รวมทั้งโบราณวัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาอีกด้วย
อัตราค่าเข้าชม : 20 บาท
เวลาเปิดทำการ : วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 08.30-16.30 น.
การเดินทาง : อยู่ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หมู่ที่ 13 ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โทรศัพท์ 0-4220-8340 หรือ เฟซบุ๊ก บ้านเชียง ban chiang
++ ++ ++ ++ ++
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งแห่งนี้ นับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก ซึ่งประกอบไปด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยมีอาณาเขตทอดยาวอยู่บนแนวเทือกเขาถนนธงชัยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของเทือก เขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและต้นธารของแควใหญ่และแควน้อย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำแม่กลอง นับได้ว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่านานาชนิด ความหลากหลายของพืชพันธุ์ ตลอดจนสัตว์ป่าน้อยใหญ่ที่หายากอาศัยกันอยู่อย่างชุกชุม อย่างไรก็ตามทุ่งใหญ่นเรศวรไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวนะจ๊ะ ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนต้องการเข้าไปเยี่ยมชมหรือทัศนศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติต้องขอ อนุญาตเข้าพื้นที่จากกรมป่าไม้เสียก่อน
ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีการจัดพื้นที่เพื่อรองรับการศึกษาธรรมชาติและนันทนาการสำหรับนักเรียนนัก ศึกษา เยาวชน และผู้สนใจทั่วไป โดยมีสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับการเยี่ยมชมและศึกษาธรรมชาติ ได้แก่ อนุสรณ์สถานสืบ นาคะเสถียร, อนุสาวรีย์สืบ นาคะเสถียร, บ้านพักสืบ นาคะเสถียร, ทางเดินศึกษาธรรมชาติเขาหินแดง ทางเดินศึกษาธรรมชาติจุดชมวิวเขาภักดี, ทางเดินศึกษาธรรมชาติบ้านของเสือ, หน่วยพิทักษ์ป่าไซเบอร์ อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ทั้งนี้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งไม่มีบ้านพักให้แก่บุคคลทั่วไป ยกเว้นการเข้ามาศึกษาธรรมชาติเป็นหมู่คณะ ซึ่งหากมีความประสงค์ขอใช้บ้านพักสามารถขออนุญาตได้จากอธิบดีกรมอุทยานแห่ง ชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเท่านั้นจ้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานบริการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โทรศัพท์ 085-725-8433 หรือ www.huaikhakhaeng.net และ เฟซบุ๊ก Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctua
การเดินทาง : เดินทางโดยรถยนต์จากบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ระยะทาง 70 กิโลเมตร โดยในหน้าแล้งไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (หน้าแล้งพฤศจิกายน-เมษายน)
2. ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
นับเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 2 ของไทยที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2548 ต่อจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบไปด้วยพื้นที่คุ้มครอง (Protected Areas) หรือพื้นที่อนุรักษ์สภาพธรรมชาติจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ซึ่งเดิมทีเป็นป่าดงดิบที่ทึบหนา มีสัตว์มากมายทั้ง เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่าดั่งเช่นในปัจจุบัน ผู้คนจึงตั้งชื่อให้ผืนป่าแห่งนี้ว่า "ป่าดงพญาไฟ" โดยผืนป่าแห่งนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงตั้งแต่ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า อีกทั้งยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำและเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ๆ ทั้งแม่น้ำนครนายก, แม่น้ำปราจีนบุรี, ลำตะคอง, ห้วยมวกเหล็ก, และแม่น้ำมูล (ไหลลงสู่แม่น้ำโขง) ตลอดจนเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่ามากมายนานาชนิด
นอกจากนี้ยังพบว่าสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่มีแนวโน้ม สูญพันธุ์ไปจากโลกอีกด้วย ได้แก่ ลิงกังหรือลิงก้นแดง ชะนีมงกุฎ เม่นใหญ่ หมาไน หมีควาย เสือลายเมฆ กระทิง เลียงผา นกลุมพูแดง ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง และนกฟินฟุต ทุกวันนี้การท่องเที่ยวในเขาใหญ่ถือว่าเป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ โดยในแต่ละปีจะมีนักเดินทางมาเยือนที่นี่ไม่ต่ำกว่า 700,000-1,000,000 คน เนื่องจากเป็นที่เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ อากาศเย็นสบายตลอดปี หรือถ้าโชคดีบางครั้งก็อาจได้เห็นช้างป่า กวางป่า หรือนกเงือกได้ไม่ยาก ไม่ควรรอช้าธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามไว้แล้ว เราควรออกไปสัมผัส
การเดินทาง : สำหรับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เส้นทางที่ 1 ถนนพหลโยธินผ่าน รังสิต-สระบุรี เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งตรงทางแยกก่อนถึงอำเภอปากช่อง บริเวณ กม.ที่ 58 เข้าสู่ถนนธนะรัตน์ ผ่านด่านเขาใหญ่มุ่งตรงสู่ที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งเป็นทางขึ้นเขารวมทั้งสิ้นประมาณ 190 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ถนนพหลโยธินเลี้ยวขวาบริเวณรังสิตเข้าทางหลวงหมายเลข 305 เข้านครนายกแล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 33 ถึงสี่แยกเนินหอม (วงเวียนนเรศวร) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนปราจีนเขาใหญ่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 08-6092-6529, 08-6092-6531, 0-3735-6033, 0-4424-9305 หรือ เฟซบุ๊ก Khao Yai National Park-THAILAND-อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (Official), อุทยานแห่งชาติทับลาน ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี โทรศัพท์ 0-3748-6771, 0-3721-9408 หรือ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติทับลาน, อุทยานแห่งชาติปางสีดา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โทรศัพท์ 0-3736-3034, 08-1862-1511 หรือ เฟซบุ๊ก Pangsida อุทยานแห่งชาติปางสีดา, อุทยานแห่งชาติตาพระยา อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0-3724-7932, 08-1178-8119 หรือ เฟชบุ๊ก อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0-4424-2060 ต่อ 103 หรือ เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์
ถือ ว่าได้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกของไทยไปไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะเพื่อน ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ความนิยมท่องเที่ยวตามแหล่งมรดกโลกสำหรับชาวไทยอาจจะ ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก นักท่องเที่ยวชาวไทยดูบางตากว่าชาวต่างชาติเสียอีก กระปุกดอทคอมเลยขอเป็นส่วนหนึ่งที่อยากจะประชาสัมพันธ์ให้ชาวไทยออกมาเที่ยว ออกมาภาคภูมิใจกับสมบัติอันล้ำค่าของชาติเรากันให้เยอะ ๆ เพื่อให้โลกรู้ว่าเมืองไทยของเรามีดีอย่างไร อย่าลืมมาเที่ยวกันเยอะ ๆ นะจ๊ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
, thaiwhic.go.th, sukhothai.go.th, kamphaengphet, tiewpakklang, ayutthaya.go.th, udonthani, huaikhakhaeng, เฟซบุ๊ก Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, เฟซบุ๊ก Khao Yai National Park-THAILAND-อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (Official), เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติทับลาน, เฟซบุ๊ก Pangsida อุทยานแห่งชาติปางสีดา, เฟชบุ๊ก อุทยานแห่งชาติตาพระยา,
เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์, เฟซบุ๊ก บ้านเชียง ban chiang และ
เฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร