
ภาพจาก shutterstock/mypokcik


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ Neon_Nerv สมาชิกเว็บไซต์เว็บไซต์พันทิปดอทคอม
คนที่กำลังวางแผนออกไปเปิดโลกกว้าง ท่องดินแดนอาทิตย์อุทัยห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะวันนี้เราได้นำเอาข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น จากบันทึกการเดินทางของ คุณ Neon_Nerv สมาชิกเว็บไซต์เว็บไซต์พันทิปดอทคอม ที่มาบอกเล่าและให้คำแนะนำดี ๆ ทั้งเรื่องการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ อีกเพียบ เอาล่ะ...อย่ารอช้าเข้าไปอ่านกันเลยจ้า






ประสบการณ์คนเขียนน้อยมาก เคยจองตั๋วไปญี่ปุ่น 2 รอบ (แต่ละรอบทำการบ้านกันสนุก)
1. Cathey Pacific แต่ไม่ได้นะเออไปขอวีซ่าขณะกำลังรอผล ฟุกุชิม่า โรงไฟฟ้าระเบิดซะงั้น T___T
2. Thai airways บินด้วยตั๋วโปรฯ ของการบินไทย
[เขียนด้วยภาษาพูด อาจมีหลุดคำพิมพ์ผิดหรือไม่เป็นทางการหรือการตัดคำตามสมัยนิยมอยู่บ้างประปราย]
เนื่องด้วยตอนนี้ทางประเทศญี่ปุ่นไปเที่ยวแล้วไม่ต้องขอวีซ่า และเข้าได้นาน 15 วัน จึงทำให้เป็นเป้าหมายการเดินทางอันดับต้นอีกแห่งหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว (แต่วีซ่ามันขอไม่ยากนะครับ ถ้าทำงานมีหลักแหล่งหรือเรียนอยู่ ขอแบบยื่นเอกสารโอกาสผ่านประมาณ 95% เลยล่ะ แต่ช่างมันมันผ่านไปแล้วครับ!!) ถ้าญี่ปุ่นมันบินไม่ไกลมากสงสัยอาจจะมีกระทู้ หรือคนบินไปกินอาหารญี่ปุ่นวันเดียวกลับนะครับ 5555 (เอ๊ะ เหมือนเคยเห็นรีวิวทำแบบนี้แล้วนิน่า !!!)
เอาละครับเริ่มจากการบินไปประเทศญี่ปุ่นก่อน คำถามมักจะมีมากมายสำหรับชาวไทย ไม่ว่าจะเป็น




วันนี้เราเลยตจะมาตอบปัญหาคร่าว ๆ ของคำถามเหล่านี้ครับ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการตัดสินใจครับ
1. ระยะเวลาในการทำการบินไปญี่ปุ่น
จากประสบการณ์ที่เคยไปนะครับ ขาไปประมาณ 5 ชั่วโมง บินขากลับประมาณ 6 ชั่วโมง (BKK >>> NRT) บอกไว้ทำไม...เวลาเจอเครื่องแบบ Transit จะได้คำนวณเวลาถูกว่านานไหม
2. บินไปกับ Low cost หรือ Full service ดี
เอาแบบง่าย ๆ นะครับในตอนนี้ Low cost ที่บินไปญี่ปุ่นน่าจะมีอยู่เจ้าเดียว คือ Thai airasia + Air asia X ด้วยเส้นทางการบิน ดังนี้
กรุงเทพฯ >>>> กัวลาลัมเปอร์ >>>> ญี่ปุ่น (ลองลากเส้นแล้วน้ำตาจะไหล บินลงแล้วบินขึ้นแล้วเฉียงไปตะวันออก T___T\'\') ราคาเฉลี่ยตั๋วโปรโมชั่นจะอยู่ประมาณ 11,XXX บาท (ข้อมูลไม่ยืนยันนะจ๊ะ)
เพิ่มเติม : Cebu pacific เป็น Low cost ของทางฟิลิปปินส์ มีบินไปญี่ปุ่น โดยแวะ Transit ที่มะนิลา ช่วงเวลาโปรโมชั่นถูกมาก (น่าจะประมาณ 7,XXX บาท พอ ๆ กับ Air asia ตอนโปรฯ)
**แก้ไข้ครั้งที่ 1 : ตั๋วโปรโมชั่นถูกสุดของ Air asia ประมาณ 7,XXX บาท
**แก้ไขครั้งที่ 2 : เพิ่ม Cebu Pacific และปรับแก้บางส่วน
แต่อาจจะมีข่าวดีในปลายปีหรือต้นปีหน้า Thai Air asia X เราอาจจะมี Low Cost บินตรงสู่ญี่ปุ่น ซึ่งเส้นทางสายนี้ไม่น่าจะพลาดมั้งครับ (ทั้งนี้ Thai Air asia X กำลังจะเปิดให้บริการบินตรงจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัททัวร์บางที่เปิดให้จองบินตรงไปญี่ปุ่นแล้ว)
ส่วน Full service มีมากมายสายการบินเยอะมาก ๆ เยอะโคตร!!! (เหมือน Thai เราเป็น Hub ของแถบนี้เลยมีเครื่องเยอะ เพราะ JP ก็เป็น Hub อีกจุดเหมือนกัน)
3. ไปแบบ Transit หรือไปแบบ Direct flight เลยดีกว่า
จากความจำที่ช่วงนี้หลง ๆ ลืม ๆ T__T สายการบินที่มี Direct จาก BKK >>> NRT / HND จะมีประมาณดังนี้ครับ






อันนี้สายการบินหลัก ๆ ที่มีการบินตรงนะครับ หากใครมีเพิ่มรบกวนบอกด้วยครับไม่รู้หลุดสายการบินไหนไปบ้าง
ส่วนแบบ Transit จะมีประมาณนี้ (เยอะนะ เอาคร่าว ๆ) วิธีจำง่าย ๆ สายการบินประเทศไหนมันแวะประเทศนั้น






**แก้ไขครั้งที่ 2 : เพิ่ม Cebu Pacific
สำหรับใครเลือกบินแบบไหน ก็คงต้องดูตามสถานภาพการเงินของแต่ละท่าน (จริง ๆ ดูสถานภาพเวลาด้วยก็ดี) ซึ่งเราจะแนะนำในหัวข้อถัดไป
**คำแนะนำสำหรับเครื่องบินแบบ Transit


4. เวลาในการบิน
คงลงได้แต่ Direct flight นะครับ เพราะถ้าแวะนี่ตามอารมณ์และตามราคาตั๋วเลย
สำหรับ Flight สวย ๆ นะครับ จะมีเวลาประมาณนี้

- กลับจากญี่ปุ่นประมาณบ่าย 4 โมงเย็น ถึงไทย 4 ทุ่ม (บวกลบกันสัก 1 ชั่วโมง แต่ไฟลต์ออกจากญี่ปุ่น 4 โมง มีหลายสายการบิน)
Flight สวยน้อยลงมาหน่อย


อย่างของ TG จะมีเวลาการบินในช่วงสวย ๆ อยู่เยอะครับ
ส่วนสายการบินพวก Delta//United จะเป็นแบบบินเช้าถึงบ่ายเป็นส่วนมาก ส่วนเวลากลับ TG Delta United มีรอบเวลาสี่โมงเย็นใกล้ ๆ กันเลยครับ
**ข้อควรระวังเกี่ยวกับเวลา คำนวณวันเวลาดี ๆ นะครับ เพราะบาง Flight ที่ไม่สวยจะบินถึงญี่ปุ่นประมาณ 4 ทุ่ม ซึ่งท่านอาจจะได้เตรียมวิ่งขึ้นรถไฟเที่ยวสุดท้าย หรือจับ Taxi เข้าเมือง (จ่ายเป็นหมื่นเยนนะครับ) >>>> ซึ่งท่านใช้บริการนอนในสนามบินอาจจะดีกว่าครับ
5. ราคาค่าตั๋ว
สำหรับตั๋ว Direct Flight จะมีราคาประมาณนี้ (ประมาณเอานะของจริงอาจจะต่างกันได้ครับ พอให้เห็นภาพรวม)



ส่วนพวก Transit จะประมาณนี้



**คำแนะนำสำหรับการเลือกตั๋วสำหรับมือใหม่บินไม่บ่อย



6. ปลายทางในการไปญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง
ถ้ายึดของการบินไทยหลัก ๆ จะมีดังนี้





**แก้ไขครั้งที่ 1 : สนามบินลงได้เยอะมากครับ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อีกพอสมควร เช่น Nagoya และอื่น ๆ
7. เกร็ดเสริม
JR Pass คืออะไร...คือบัตรรถไฟแบบเหมา ๆ ที่นักท่องเที่ยวสามารถใช้เดินทางด้วยรถไฟของบริษัท JR (รฟท.ของญี่ปุ่น) ได้ตั้งแต่แวะเข้าห้องน้ำในสถานี (เคยทำอ่ะ T__T) เดินข้ามฝั่งสถานีแบบขี้เกียจอ้อม (เคยทำอีกแล้ว) รถไฟในเมืองทั่วไป รถชิงกันเซ็นข้ามเมือง แต่ได้เฉพาะของบริษัท JR (มันมีหลายบริษัทนะครับดูดี ๆ)
สำหรับ JR Pass ใครต้องเที่ยวแบบนาน ๆ ข้ามเมืองมีนั่งชินกันเซ็น ซื้อเลยคุ้ม !!! (แค่ไปกลับ Tokyo Osaka ก็คุ้มแล้ว !!!) ส่วนใครเที่ยวแบบเป็นโซน ๆ ก็ซื้อแค่พาสแบบโซนนั้นก็พอครับ
สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายในญี่ปุ่นแบบง่าย ๆ
1. ตั๋วเครื่องบิน >>>>>> ตีไว้ประมาณ 15,XXX-20,XXX บาท (แล้วแต่คน)
2. ค่าตั๋วรถไฟ JR >>>>> แล้วแต่ว่าซื้อกี่วัน แต่ถ้าซื้อ 7 วัน ประมาณ 7,XXX-8,XXX บาท >>> ไม่ใช้ไม่ต้องมี
3. ค่าที่นอน+ค่ากิน+ค่าเที่ยว >>>> (นอนธรรมดา กินธรรมดาทั่วไปไม่หรูมาก เที่ยวแบบนักท่องเที่ยว) ประมาณ 2,500-3,500 บาท/คน/วัน
4. ค่าของฝาก >>>> ตามแต่จิตศรัทธา โตเกียวบานาน่ากล่องละ 1 พันเยน // Royce กล่องละ 600 เยน // คิทแคทแบบซองพลาสติก ไม่เกิน 300 เยน // คิทแคทกล่องกระดาษ 800 เยน
ข้อมูลน่าจะประมาณนี้นะครับ (เขียนเองลืมเองว่าเขียนอะไรไปแล้วมั่ง) ถ้ามีจุดผิดพลาดหรือใครมีข้อมูลอัพเดทกว่านี้รบกวนบอกด้วยนะครับจะทำการแก้ไขให้นะครับ ขอบคุณครับ
ปล. ที่ญี่ปุ่นปลาแซลมอนแพงกว่าปลาทูน่า (ส่วนเนื้อแดง)
**แก้ไขครั้งที่ 1 : เพิ่มราคาโปรโมชั่นของ Air Asia // เพิ่มจุดหมายปลายทางในญี่ปุ่น
**แก้ไขครั้งที่ 2 : เพิ่มสายการบิน Cebu pacific
ข้อมูลไหนที่มีคนมาเพิ่มเติมให้ผมขออนุญาตแทรกเพิ่มเติมเข้าไปในกระทู้เลยนะครับ เพื่อให้ผู้มาอ่านทีหลังได้ทราบข้อมูลที่เพิ่มเติมไปด้วย ^^ (แต่ใส่ ** ว่าเป็นข้อความแทรกให้แล้วนะครับ ^^)