ไปเที่ยวแม่ฮ่องสอน เมืองในสายหมอก

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

ปางอุ๋ง

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ททท., คุณ สามแซ่, คุณ jeakja, คุณ ปลาหมึกน้อยกับนายโอเลี้ยง และ คุณวีณา ศิริถิ่นพยัคฆ์                  

          "หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดีประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง"

          ถ้าเอ่ยถึงเมืองในสายหมอก เหล่าบรรดานักเดินทางหลาย ๆ คนคงจะยิ้มพริ้ม พร้อม ๆ กับคิดถึงบรรยากาศของทะลหมอกสุดลูกหูลูกตา ทิวเขาที่ทอดตัวยาวสลับซับซ้อน สายลมเย็น ๆ ที่พัดผ่านผิวกาย เพราะนี่คือเอกลักษณ์ของ "แม่ฮ่องสอน" จังหวัดชายแดนเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่กลางหุบเขา อีกทั้งยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไปตามวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมไว้ไม่เสื่อมคลาย

ปาย

          โดยเฉพาะ "ปาย" อำเภอเล็ก ๆ ที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ปีนขุนเขา แหวกสายหมอก เข้าไปชมความงามของ "แม่ฮ่องสอน" เพราะจริง ๆ แล้ว นอกจาก "ปาย" ... "แม่ฮ่องสอน" ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายรอให้ไปสัมผัสความงดงามของธรรมชาติ เอ้า! ใครเตรียมตัวพร้อมแล้วก็ตามไปเที่ยวกันเลยค่ะ...

          แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า โดยได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์จน มีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็น "สวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย"

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน


ประวัติความเป็นมา


          เมื่อปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลช้างช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่  ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน" หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมาได้เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"

          ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนวนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และ ชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่าง ๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมา ชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก

          ทั้งนี้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด อีกทั้ง ยังเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขาหลายเผ่ามาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง

ปาย

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน

พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2

          ตั้งอยู่ใกล้กับวัดม่วยต่อ ตามทางหลวงหมายเลข 108 ในพิพิธภัณฑ์จัดการแสดงเรื่องราวทางประวิติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ใช้เส้นทางปาย-ขุนยวม เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ของกองทัพญี่ปุ่นที่สร้างขึ้นเป็นเส้นทางลำเลียงอาวุธ และเสบียงอาหารเพื่อที่จะไปยังพม่า และจัดแสดงเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ ยุทธโธปกรณ์ และยานยนต์ของทหารญี่ปุ่นที่ทิ้งไว้ พร้อมทั้งมีภาพเก่าหายากเกี่ยวกับกองทัพญี่ปุ่น และเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ชม  เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ต่างชาติ 50 บาท  โทร.  0 5369 1117

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน


โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
   
          อยู่ที่ บ้านรวมไทย ตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 44 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางน้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง บ้านแม้วนาป่าแปก และเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร นักท่องเที่ยว สามารถเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวเขาหลากเผ่า ชิมกาแฟสดจากสวน ชมธรรมชาติและทัศนียภาพของป่าสนสองใบสนสามใบล้อมรอบอ่างเก็บน้ำอันกว้างใหญ่ ซึ่งโอบล้อมด้วยขุนเขาที่เขียวชอุ่ม

          "อุ๋ง" หมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกะทะใบใหญ่ มีน้ำขังเฉอะแฉะ เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ทำไร่ฝิ่นของชาวเขา ปัจจุบันปลูกพรรณพืชดอกไม้เมืองหนาวหลากสีสันโดยรอบและสมุนไพรที่เป็น ประโยชน์ในด้านอาหารและแพทย์แผนไทย ซึ่งมีความกลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงและอากาศเย็น พร้อมบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์ประจำถิ่นซึ่งกำลังจะสูญพันธ์อย่างเขียดแลว  เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบธรรมชาติและความสงบเงียบ

          การเข้าชม ปางอุ๋ง เปิดให้เข้าพื้นที่ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-20.00 น.ทุกวัน เท่านั้น และมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเที่ยวที่ปางอุ๋ง และระเบียบการเข้าเยี่ยมชมดังนี้ …

          1. นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าพัก หรือนำเต็นท์มาเอง หรือเที่ยวชมปางอุ๋ง จะต้องติดต่อขอรับบัตรอนุญาต ภายในเวลา 17.00 น. ได้ที่ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน ก่อนเข้าชมโครงการ

          2. กรณีต้องการจองเกสท์เฮ้าส์ หรือเต็นท์ของโครงการ จะต้องไปชำระเงินที่ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน ก่อนพร้อมรับบัตรอนุญาตเพื่อใช้เป็นบัตรผ่านทาง กรณีบ้านพักและเกสท์เฮ้าส์ริมทะเลสาบเต็ม ทางศูนย์ฯ จะจัดให้ท่านเข้าพักเกสท์เฮ้าส์ของชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านรวมไทย

          3. กรณีจองเกสท์เฮ้าส์ไว้ และนักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าพักตามวันที่จองได้ ทางศูนย์ฯ จะไม่คืนเงินให้ แต่จะให้เลื่อนวันเข้าพักได้ภายใน 3 เดือน (กรณีมีห้องว่าง)

          4. จุดตรวจรับบัตรอนุญาต จะมี 2 จุด คือ

          - จุดแรก คือ บริเวณทางเข้าหมู่บ้านนาป่าแปก (ห่างจากโครงการฯ ประมาณ 10 กิโลเมตร)
          - จุดที่สอง คือ ทางเข้าหมู่บ้านรวมไทย

          สอบถามเพิ่มเติมการรับบัตรอนุญาตที่ ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน โทร. 053 611 244, 053 611 649 สอบถามข้อมูลปางอุ๋งเพิ่มเติมที่ ศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 053 611 244

          การเดินทาง จากเมืองแม่ฮ่องสอนใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอน-ปางมะผ้า ไปประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเส้นทางเดียวกับไป ภูโคลน ผ่านน้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง เดินทางขึ้นไปเรื่อย ๆ สังเกตทางแยกซ้ายมือจะมีป้ายเล็ก ๆ เขียนว่าไป "บ้านรวมไทย" ให้เลี้ยวซ้ายไป ผ่านหมู่บ้านห้วยมะเขือส้มแล้วถึง บ้านรวมไทย หรือ ปางอุ๋ง เส้นทางนี้คดโค้งขึ้นเขาชันและถนนแคบ บางครั้งมีหมอกเป็นอุปสรรค จึงควรเดินทางในช่วงกลางวัน หากเดินทางโดยรถประจำทางขึ้นรถที่หน้าตลาดเมืองแม่ฮ่องสอน มีคิวรถไปปางอุ๋ง เวลา 09.00 น. และ 15.00 น. และออกจากปางอุ๋ง เวลา 05.30 น. และ 11.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ราคาประมาณ 60 บาท

แม่ฮ่องสอน

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - ผาเสื่อ

          มีพื้นที่ประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอปางมะผ้า ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สถานที่น่าสนใจของอุทยาน ได้แก่ ถ้ำปลาหรือวนอุทยานถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-ปาย) กิโลเมตรที่ 191-192 เส้นทางลาดยาง สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลามีลักษณะเป็นโพรงปากถ้ำและมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร

          ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาตัวโต ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่าปลามุงหรือปลาคัง  เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ ในวงศ์เดียวกับปลาคาร์พ และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป ปัจจุบันวนอุทยานถ้ำปลาได้ปรับปรุง เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีร้านอาหาร สถานที่กางเต็นท์ บ้านพักจำนวน 5 หลัง ราคาประมาณ 800 บาท สำรองที่พักได้ที่ โทร. 0 5361 9036, 0 5369 2055 หรือ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th วนอุทยานถ้ำปลาเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 06.00-19.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม

          น้ำตกผาเสื่อ ตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ อยูห่างจากตัวเมือง 26 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 แม่ฮ่องสอน-ปาย ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 191 เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางไปพระตำหนักปางตอง ก่อนถึงพระตำหนักปางตองเล็กน้อย น้ำตกจะอยู่ฝั่งขวามือ มีที่จอดรถ และเดินไปน้ำตกระยะทางประมาณ 50 เมตร น้ำตกแห่งนี้ไหลลงมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่า เป็นน้ำตกขนาดกลางสูงประมาณ 10 เมตร กว้าง 15 เมตร ช่วงฤดูฝนสายน้ำจะตกลงมาเต็มหน้าผาหินกว้างลักษณะคล้ายเสื่อปูลาด มีน้ำตลอดปีช่วงที่เหมาะสมจะไปท่องเที่ยวคือเดือนกรกฎาคม-กันยายน

ปาย



หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน (บ้านสันติชล)


          หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเชื้อสายจีนยูนนาน แต่ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว คล้ายกับหมู่บ้านรักไทย จุดเด่น คือ โขดหินใหญ่ ด้านบนสร้างเป็นมังกรพันเสาหางชี้ฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน บ้านดินซึ่งเปิดเป็นร้านอาหารจีน และมีของที่ระลึกจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว

แม่ฮ่องสอน

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ

          ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม ตามเส้นทางหมายเลข 108 (แม่ฮ่องสอน - ขุนยวม) ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายตามทางหลวงสาย 1263 เข้าสู่ทุ่งบัวตองอีก 26 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางมีพื้นที่ครอบคลุมเป็นเขากว้างประมาณ 1 พันไร่ อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ 5 กองอนุรักษ์ต้นน้ำ ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อม ๆ กันในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา มีความสวยงามมาก   
   
ปาย

แม่น้ำปาย

   
          แม่น้ำปาย เป็นแม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาแดนลาวในเขตอำเภอปายไหลผ่าน 3 อำเภอ ในจังหวัดเดียว คือ อ.ปาย-อ.ปางมะผ้า-อ.เมือง ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน แต่ละช่วงมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม แล้วไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ไปบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) ในเขตรัฐคะยา สหภาพพม่า มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร กว้างประมาณ 30 เมตร และลึกประมาณ 7 เมตร ท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย และในฤดูแล้งน้ำลึกประมาณ 1 เมตร ตลอดลำน้ำปายนี้สามารถล่องแพได้
 
          การล่องแก่งแม่น้ำปาย รวมระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ระดับความยากของแก่งมีตั้งแต่ระดับ 1-4 ช่วงฤดูฝนอาจถึงระดับ 5 ซึ่งมีความยากมากและระดับน้ำรุนแรง นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสธรรมชาติที่สวยงามและความสนุกสนานตลอดสายน้ำ เช่น เล่นน้ำตกซู่ซ่า ผจญภัยในถ้ำ แช่ตัวใบบ่อโคลน กระโดดหน้าผาสูง ช่วงเวลาที่หมาะสมกับการล่องแก่ง คือ เดือน มิถุนายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี มีโปรแกรม ทั้ง 2 วัน 1 คืน และ 1 วัน ราคาประมาณ 1,500 บาท ต่อคน การล่องแก่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น
 
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2982-3 โทรสาร 0 5361 2984

แม่น้ำสาละวิน
   
          แม่น้ำสาละวิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า แม่น้ำคง อยู่ในเขตตำบลสบเมย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 62 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 1194 แม่น้ำสาละวินเป็นพื้นที่อยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติสาละวิน และติดชายแดน พม่า เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องเรือ ซึ่งมีลักษณะเป็นหุบเขาสูงชัน บางช่วงมีหาดทรายขาวสะอาด นักท่องเที่ยวที่สนใจควรเดินทางไปที่ที่ทำการอุทยานฯ ก่อนเพื่อติดต่อสอบถามเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยว และแจ้งขอเข้าใช้พื้นที่ในเขตอุทยานฯ จุดที่นักท่องเที่ยวล่องเรือ คือบ้านแม่สามแลบและบ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งจะมีเรือให้เช่าต้องติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานแห่งชาติสาละวิน

ภูโคลน
   
          เป็นแหล่งค้นพบโคลนจากน้ำพุร้อน นับเป็นหนึ่งในสามแหล่งของโลกที่มีการค้นพบโคลนที่นำมาใช้ในการเสริมสร้าง สุขภาพความงามให้กับผิวพรรณของเรา นอกเหนือจากโคลนใต้ทะเล dead sea และโคลนภูเขาไฟ เนื่องจากมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น แคลเซียม ที่ช่วยปรับความสมดุลย์ของผิว โบรไมด์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แมกนีเซียมช่วยเสริมสร้างและช่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ เป็นต้น

          ภูโคลนเป็นแหล่งน้ำแร่และโคลนธรรมชาติที่มาจากสายน้ำแร่ใต้ดินเป็นโคลน เดือดบริสุทธิ์ที่ขึ้นมากับน้ำแร่ธรรมชาติที่สะอาดและไม่มีกลิ่นกำมะถัน ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อผิวหนังและระบบไหลเวียนของโลหิต ของมนุษย์ และที่นี่มีบริการพอกโคลนซึ่งใช้เวลาไม่นาน หรือใช้บริการอาบน้ำแร่  นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ภูโคลนให้บริการในรูปแบบของแนเชอรัลสปา และมีสระน้ำแร่ธรรมชาติ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5328 2579  หรือ www.pooklon.com

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

สถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด
   
          ตั้งอยู่ที่ตำบลถ้ำลอดห่างจาก ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ประมาณ 77 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงสาย 1095 (ปางมะผ้า-ปาย) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 138-139 มีทางแยกซ้ายจากอำเภอปางมะผ้าเข้าไปตามทางบ้านถ้ำลอดอีกประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำปาย มีสถานที่น่าสนใจ คือ ถ้ำลอด ซึ่งมีลำห้วยชื่อ น้ำลาง ไหลลอดภูเขาไปทะลุออกอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม จากการพบเครื่องมือเครื่องใช้โบราณในถ้ำ สันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว

          ภายในถ้ำมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อีก 3 ห้อง เรียกชื่อต่าง ๆ กันคือ ถ้ำเสาหินหลวง เป็นถ้ำกว้างใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำตุ๊กตา มีหินงอกเป็นปุ่มปมเล็ก ๆ คล้ายตุ๊กตาเรียงรายอยู่มากมาย และด้านหนึ่งของผนังถ้ำยังปรากฏภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่กว้างและยาวที่สุดในถ้ำลอด ถ้ำสุดท้ายอยู่ด้านทางออกคือ ถ้ำผีแมน นอกจากมี หินงอกหินย้อยสวยงามแล้ว ยังเป็นที่พบเศษภาชนะดินเผา เมล็ดพืช เครื่องมือหิน ซีกฟันและกระดูกของมนุษย์ รวมทั้ง โลงผีแมน อีกด้วย โลงผีแมนนี้มีลักษณะเป็นท่อนไม้ที่ถูกขุดตรงส่วนกลางออกเป็นร่องคล้ายเรือ หรือรางไม้ใส่อาหารให้สัตว์เลี้ยง มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ โดยโลงขนาดใหญ่จะถูกวางอยู่บนคานโดยใช้เสา 4-6 ต้น ตั้งกับพื้นถ้ำ และเสาแต่ละคู่จะถูกเจาะเป็นช่องเพื่อสอดใส่คานไว้วางพาดโลงผีแมน
 
          สำหรับการเข้าชมถ้ำนั้น จะเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. แต่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าชมเองได้ เนื่องจากภายในถ้ำมืดมาก จึงต้องใช้บริการผู้นำทางพร้อมตะเกียงเจ้าพายุและนั่งแพไปชมถ้ำต่าง ๆ ค่าผู้นำทางพร้อมตะเกียง 150 บาท ต่อคณะนักท่องเที่ยว 5 คน ค่าแพ 400 บาท/คณะ ใช้เวลาในการชมถ้ำต่าง ๆ ประมาณ 2 ชั่วโมง การเดินชมถ้ำจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นการชม 2 ถ้ำใหญ่ คือ ถ้ำเสาหินหลวง และถ้ำตุ๊กตาและช่วงที่สองจะนำชมถ้ำผีแมน
          
          บริเวณที่ทำการยังมีบ้านพักไว้บริการ และอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ โดยติดต่อโดยตรงที่หน่วยบริการภายในสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำ น้ำลอด โทร.0 5361 7218 หรือศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร.0 5361 2982-3

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

พระตำหนักปางตอง
   
          พระตำหนักปางตอง อยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป๋ สามารถเดินทางไปโดยใช้เส้นทางเดียวกับทางเข้าวนอุทยานผาเสื่อต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ตัวเรือนประทับแรมตั้งอยู่บนยอดเขาสูงที่บ้านปางตอง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงปางตอง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. บริเวณพระตำหนักมีแปลงสาธิตการปลูกดอกไม้ไทย และต่างประเทศ ปลูกผลไม้และการเลี้ยงสัตว์ เช่น แกะ ไก่ฟ้า ในฤดูหนาวจะมีบรรยากาศหมอกยามเช้าที่บริเวณทะเลสาบ(อุ๋ง) ที่สวยงาม

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

หมู่บ้านรักไทย (แม่ออ)

          ตั้งอยู่ตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 44 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับพระตำหนักปางตอง เลยพระตำหนักปางตองไปพอสมควร บ้านรักไทหรือบ้านแม่ออเป็นหมู่บ้านสุดท้ายก่อนถึงชายแดนไทย-พม่า ประชาการในหมู่บ้านส่วนใหญ่อพยพหนีภัยมาจากทางตอนใต้ของจีน ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์ บริเวณหมู่บ้านมีทะเลสาบสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมจีนฮ่อซึ่งยังคงสืบทอด ประเพณีไว้หลายอย่างทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน ลักษณะบ้านบางส่วนเป็นบ้านแบบเก่าทำจากดินเหนียวผสมฟางข้าว และมีร้านอาหารตำรับจีนยูนนาน นอกจากนี้ ยังสามารถซื้อชาหรือชิมชาเลิศรสจากชาพันธุ์ดี ซึ่งมีจำหน่ายในหมู่บ้าน เช่น ชาชิง ชิง ชาอู่หลง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
   
          มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง มีเนื้อที่ 247,875 ไร่ มีจุดเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้ โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า - รักษาพันธุ์ไม้ อยู่ติดที่ทำการอุทยานฯ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประกอบด้วยกรงเพาะเลี้ยงและอนุบาลสัตว์ป่า การรวบรวมพรรณไม้ประจำถิ่นเพื่อการศึกษาน้ำตกแม่สุรินทร์ อยู่ในเขตบ้านแม่สุรินทร์ตำบลแม่ยวมน้อย อำเภอขุนยวม

          น้ำตกแม่สุรินทร์ เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่สวยงามมาก ไหลจากหน้าผาสู่หุบเขาด้านล่างสูงประมาณ 80 เมตร, ยอดดอยปุย อยู่ในเขตบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมืองฯ เป็นยอดเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1725 เมตร ในช่วงต้นหนาวมีดอกไม้ ตามทุ่งหญ้าออกดอกสวยงาม, หนองเขียว มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบบนสันเขาและมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ตามธรรมชาติ มีหญ้าปกคลุมเต็มพื้นที่

          การเดินทาาง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 108 ถึงอำเภอขุนยวม เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1263 ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปน้ำตกแม่สุรินทร์ระยะทาง 25 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังจำลองใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น

แม่ฮ่องสอน

วัดจองคำ

          อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา ในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระประธาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่คล้ายพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) ที่วิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว
   
แม่ฮ่องสอน

วัดจองกลาง
   
          ตั้งอยู่ข้างกับวัดจองคำ ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ และภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตุ๊กตาไม้ แกะสลักเป็นรูปคนและสัตว์  ฝีมือแกะสลักของช่างชาวพม่า ซึ่งนำมาจากพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 นอกจากนี้ ยังมีภาพจิตรกรรมบนแผ่นกระจกเรื่องพระเวสสันดรชาดกและภาพพุทธ ประวัติ ตลอดจนภาพแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นหลายภาพ มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่าและมีบันทึกบอกไว้ว่าเป็นฝีมือของช่างไทยใหญ่ จากมัณฑะเลย์  เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00 -18.00 น.

อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา
   
          ตั้งอยู่ต้นถนนขุนลุมประพาส ประวัติของพระยาสิงหนาทราชา เดิมชื่อ ชานกะเล เป็นชาวไทยใหญ่ ได้รวบรวมผู้คนตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า บ้านขุนยวม ต่อมาได้ยกขึ้นเป็นเมือง จวบจนปี พ.ศ. 2417 จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองแม่ฮ่องสอน และพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ ได้ยกบรรดาศักดิ์ชานกะเล เป็นพระยาสิงหนาทราชาและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชานี้ เมื่อมองตรงขึ้นไปจะเห็นองค์พระธาตุดอยกองมูอยู่บนยอดเขา

วนอุทยานแก้วโกมล (ถ้ำแก้วโกมล)
   
          วนอุทยานแก้วโกมล (ถ้ำแก้วโกมล) วนอุทยานแก้วโกมล เดิมเรียกชื่อ ถ้ำผลึกแคลไซด์แม่ลาน้อย ตั้งอยู่บริเวณเขาดอยถ้ำ หมู่ที่ 14 บ้านห้วยมะไฟ ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย ความแวววาวของผลิกแร่แคลไซต์ สีขาวใสที่เคลือบฉาบผนังภายในถ้ำแก้วโกมล หรือที่เรียกกันว่าถ้ำน้ำแข็ง ถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อวิศวกรสำรวจเหมืองแร่ของสำนักงานทรัพยากรธรณี แม่ฮ่องสอน ขุดเจาะอุโมงค์เข้าไปตามสายแร่ ลักษณะถ้ำมีผนังแวววาว ยิ่งยามต้องแสงไฟผลึกแร่ดูงดงามดั่งเกล็ดน้ำแข็ง ถ้ำเช่นนี้พบได้เพียง 3 แห่งในโลก คือประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีน และประเทศไทย

          ภายในถ้ำประกอบไปด้วย 5 ห้อง ได้แก่ ห้องพระทัยธาร มีที่มาจากการที่น้ำในถ้ำ ละลายหินปูนไหลเหมือนเป็นธารน้ำตก, ห้องวิมานเมฆ ตั้งตามลักษณะของแร่ที่อยู่ตามเพดาน ซึ่งดูคล้ายปุยเมฆ, ห้องเฉกหิมพานต์ เกิดจากจินตนาการของพระองค์ท่านที่มองแล้วเหมือนอยู่ในป่าหิมดานต์ตามวรรณคดี, ห้องม่านผาแก้ว งดงามไปด้วยผลึกแก้วขาวใสที่เกาะอยู่ราวกับม่านเต็มถ้ำ และห้องเพริศแพร้วมณีบุปผา เต็มไปด้วยผลึกแร่ที่ละเอียดเป็นรูปเข็มคล้ายเกล็ดน้ำแข็ง เปราะบาง แตกหักง่าย จัดว่าเป็นผลึกที่สวยงามและเด่นที่สุดของถ้ำ

น้ำตกหมอแปง

          อยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางจากเส้นทางอำเภอปาย-แม่ฮ่องสอน มีทางแยกซ้ายจากถนนใหญ่เข้าไป 6 กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีตถึงบริเวณแก่งเมืองปายรีสอร์ท จากนั้นจะเป็นทางลูกรัง 2 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวนิยมเช่าจักรยานและจักรยานยนต์มาเที่ยวชม หรือใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ น้ำตกหมอแปงเป็นน้ำตกขนาดเล็กไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง สูงประมาณ 5 เมตร บรรยากาศร่มรื่น ในบริเวณใกล้ ๆ มีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่

ปาย

วัดน้ำฮู
   
          อยู่ที่บ้านน้ำฮู หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ ประวัติการสร้างไม่แน่นอนแต่เชื่อกันว่าสร้างโดยพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนปิดเปิดได้และมีน้ำขังอยู่เสมอ นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมือง ต้องขออนุญาตจากเจ้าอาวาสเพื่อเปิดโบสถ์เสียก่อน 


แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

วัดพระธาตุดอยกองมู
   
          ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางลาดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัด เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย พระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมือง แม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจนและสวยงามมาก วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือตักบาตรเทโวด้วย

ถ้ำบ่อผี

          ถ้ำบ่อผี อำเภอปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ที่บ้านลุกข้างหลาม เป็นถ้ำที่มีปล่องลึกขนาดใหญ่ การลงไปต้องอาศัยความชำนาญในการปีนเขา โดยใช้เชือกโรยตัวตามแนวหน้าผาชันกว่า 100 เมตร มีก้นเหวเป็นป่าดงดิบ มีต้นไม้สูงไม่น้อยกว่า 30 เมตร ภายในถ้ำมีอุณหภูมิหนาวเย็นมาก
   
อุทยานแห่งชาติสาละวิน

         อุทยานแห่งชาติสาละวิน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่ามีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวาและป่าสาละวินในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียงและตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย มีพื้นที่ประมาณ 450,950 ไร่จากที่ทำการอุทยานฯสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของลำน้ำสาละวินและฝั่งพม่าได้กว้างไกลและในบริเวณด้านหน้าของที่ทำการอุทยานฯยังมีหาดทรายเหมาะแก่การตั้งเต็นท์พักแรมถัดไปทางด้านทิศเหนือจะเป็นบ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งมีหาดทรายสวยอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า "หาดแท่นแก้ว"

หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ

          หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ ตำบลห้วยห้อม เป็นหมู่บ้านเขตติดต่อระหว่างอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง มีลักษณะวัฒนธรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกายและอุปนิสัยแตกต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่น ๆ และโดยที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม การคมนาคมห่างจากอำเภอ 32 กิโลเมตร และสะดวก จึงเป็นที่แปลกตาแปลกใจแก่นักท่องเที่ยว

วัดพระธาตุแม่เย็น

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น
   
         อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน - ปายเป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็นจะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึงเป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว

น้ำตกแม่เย็น
   
          สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาและมีความอดทนสูง น้ำตกแม่เย็นเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการท่องเที่ยวธรรมชาติ อ.ปาย เพราะต้องเดินทางเท้าเป็นระยะทางค่อนข้างไกล ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 8 กิโลเมตร (3-5 ชั่วโมง) แต่เมื่อได้ไปเห็นความงามของน้ำตกแล้วก็เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับความเหนื่อย
   
ตลาดชายแดนห้วยผึ้ง

          ตลาดชายแดนห้วยผึ้ง อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยผา เป็นจุดผ่อนปรนชายแดน มีพ่อค้าแม่ค้าจากพม่า และไทยนำสินค้ามาขายทุกวัน
       
ตลาดเช้า (กาดเช้า)

          สีสรรของพืชผักผลไม้ สีสรรของชีวิตผู้คนในตลาดเช้า เชิญท่านเยี่ยมชมตลาดของเมือง ตั้งอยู่บนถนนพานิชวัฒนา ใกล้วัดหัวเวียง ตอนเช้าตรู่ท่านจะได้สัมผัสกับชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น มีสินค้าของชาวพื้นเมืองขาย รวมทั้งอาหารแบบไต ของฝากจากเมืองแม่ฮ่องสอนหรือขนมของคนไตก็มีขายในตลาดเช้าแห่งนี้ ตลาดแห่งนี้เดิมชื่อว่า ตลาดสายหยุด เพราะตลาดจะวายเมื่อเวลาสาย หรือประมาณ 09.00 น.   

แม่ฮ่องสอน

วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ

         ตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป๋ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนตามเส้นทางสู่อำเภอปาย (เส้นทาง 1095)และแยกไปตามทางขึ้นสู่พระตำหนักปางตอง รวมระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตรน้ำตกแห่งนี้ไหลลงมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่ามี 6 ชั้นชั้นบนสุดอยู่ในป่าลึกเข้าไปใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง น้ำตกมีชื่อต่างๆ กันเช่น ผายาว ผาลาด ผาเสื่อ ผาตั้ง ผาฮ่อมชั้นที่คนนิยมเที่ยวมากที่สุด คือ ผาเสื่อน้ำจะไหลตกลงมากระทบแผ่นหินกระเด็นเป็นฝอยและสองข้างของน้ำตกมีแผ่นหินลักษณะคล้ายเสื่อปูลาดอยู่เป็นจำนวนมากน้ำตกผาเสื่อนี้อยู่ห่างจากถนนประมาณ 100 เมตรมีน้ำตลอดปีช่วงที่เหมาะสมจะไปท่องเที่ยวคือเดือนกรกฎาคม - กันยายนการเดินทางสะดวกเป็นทางลาดยางตลอด

ทุ่งบัวตอง ดอยแม่เหาะ

          ห่างจากอำเภอแม่สะ เรียงประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 84 เขตตำบลแม่เหาะ เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ริมทางในช่วงนี้มีภูมิประเทศที่งดงามของภูเขาและทุ่งดอกบัวตองที่ตระการตา และเบ่งบานสะพรั่งในเดือนตุลาคม - ธันวาคม
   
โป่งน้ำร้อนท่าปาย

         อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข1095 (ปาย - แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87 -88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปายเป็นทางลาดยางตลอดทั้งสาย มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่และมีน้ำร้อนไหลผ่านทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อนอกนั้นเป็นน้ำผุดหลายจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส รอบ ๆโป่งน้ำร้อนเป็นป่าไม้สัก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ทั้งสิ้น

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

บ้านน้ำเพียงดิน
   
          บ้านน้ำเพียงดิน อยู่ในเขต ตำบลผาบ่อง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือตามลำน้ำปาย ผ่านบ้านห้วยเดื่อไปจนถึงบ้านน้ำเพียงดินโดยเรือหางยาว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือไปตามลำน้ำจะผ่านระลอกน้ำที่ลดระดับลดหลั่นกันไป คล้ายธารน้ำตกนับเป็นทัศนียภาพที่งดงามแปลกตา จุดเด่นบ้านน้ำเพียงดิน คือ วิถีชีวิตของชาวปากด่อง (กะเหรี่ยงคอยาว) การแต่งกายผู้ชายจะสวมกางเกงขายาว เสื้อตัวสั้น และมีผ้าโพกศีรษะ ผู้หญิงสวมเสื้อทรงกระบอกสีขาวยาวถึงสะโพก กระโปรงสีดำยาวถึงเข่า ไว้ผมหน้าม้า มีผ้าแถบโพกศีรษะ และสวมห่วงคอทองเหลืองเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจ และกันการแต่งงานข้ามเผ่า ชาวปาดองมีนิสัยสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส สะอาดเป็นระเบียบ

          การเดินทางจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอน-ขุนยวม ประมาณ 5 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตรงโรงแรมอิมพีเรียลธาราแม่ฮ่องสอน และใช้เส้นทางไปโป่งแดงอีกประมาณ 14 กิโลเมตร ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำปายให้แยกซ้ายไปตามแม่น้ำ จนถึงโรงแรมแม่ฮ่องสอนริเวอร์ไซด์ จะเห็นท่าเรือบ้านห้วยเดีอ บริการเรือโดยสารหางยาวเพื่อไปบ้านน้ำเพียงดิน ใช้เวลาเดินทางประมาณ1 ชั่วโมง ค่าโดยสารเหมาลำประมาณ 500 - 700 บาท นั่งได้ไม่เกิน 8 คน ติดต่อท่าเรือบ้านห้วยเดื่อ โทร 0 5368 4160

          นอกจากนี้ ยังมีหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวอีก 2 แห่ง  ได้แก่ "บ้านในสอย " ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน  33 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1095 ไปทางอำเภอปางมะผ้า ผ่านบ้านปางหมู ข้ามสะพานแม่น้ำปาย บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 199 แยกซ้ายมือไปตามถนน รพช. 1 กิโลเมตร เพื่อพบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปทาง รพช. สายบ้านในสอยอีก 17 กิโลเมตร บ้านกะเหรี่ยงคอยาวจะอยู่เลยบ้านในสอยไปประมาณ 3 กิโลเมตร ทางช่วงนี้เป็นลูกรังควรใช้รถกระบะ ชาวต่างประเทศต้องเสียค่าเข้าหมู่บ้านกะเหรี่ยง 250 บาท/คน

          อีกหมู่บ้านหนึ่ง คือ "บ้านห้วยเสือเฒ่า" อยู่ใกล้กับตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางจากตัวเมืองไปทางอำเภอขุนยวม ผ่านหน้าศาลากลาง ถึงแยกไฟแดงซ้ายมือจะมีป้อมตำรวจเล็ก ๆ ตรงมุมให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านห้วยเสือเฒ่า ถนนเป็นคอนกรีต แต่ในอนาคตจะนำกะเหรี่ยงคอยาวทั้ง3 หมู่บ้านนี้มาร่วมด้วยกัน สอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร 0 5361 2982-3
   
จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-พม่า บ้านแม่สามแลบ
   
          จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย- พม่า บ้านแม่สามแลบ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน ในอดีตบริเวณนี้เป็นจุดการค้าผ่านแดนที่คึกคักแต่ปัจจุบันซบเซาลงไปเนื่อง จากปัญหาชายแดน สินค้าส่วนมากเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของไทยและสินค้าพื้นเมืองจากพม่า บุคคลสัญชาติไทย และสัญชาติพม่าสามารถเดินทางเข้า-ออกเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าได้ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. (เวลาในประเทศไทย) ของทุกวัน
 
          นอกจากนี้ ยังเป็นท่าเรือของชาวบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถเหมาเรือล่องไปตามแม่น้ำสาละวินได้ จุดที่จะล่องเรือคือสบเมย เป็นบริเวณที่แม่น้ำเมยมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน ซึ่งจะล่องตามลำน้ำลงไปทางใต้ใช้เวลาในการเดินทางไป - กลับประมาณ 1 ชั่วโมง ที่บ้านแม่สามแลบมีบ้านพักให้บริการติดต่อได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ


ปาย

โป่งน้ำร้อนเมืองแปง
   
         อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ห่างจากอำเภอปายประมาณ 28 กิโลเมตร จากอำเภอปายใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095(ปาย - แม่มาลัย) ประมาณ 4-5 กิโลเมตร และแยกเข้าเส้นทางหมายเลข 1265ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 85 - 86ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิง ระยะทางอีกประมาณ 23 กิโลเมตรช่วงแรกจะเป็นเส้นทางลาดยาง ประมาณ 10 กิโลเมตร จากนั้นยังคงเป็นทางลูกรังอุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง 95 องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะ ๆ

น้ำพุร้อนเมืองแปง

          อยู่บริเวณบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 29 กิโลเมตร อุณหภูมิร้อนประมาณ 95 องศาเซลเซียส และเดือดพลุ่งขึ้นเป็นระยะ ๆ

แม่ฮ่องสอน
   
แม่ฮ่องสอน

ข้อมูลการเดินทาง
 
          รถยนต์

          แม่ฮ่องสอนในอดีตเป็นเมืองที่เร้นลับ และทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและคดเคี้ยวนับได้มากถึง 1,864 โค้ง
         
          ปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนเหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร

          นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่าง ๆ ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 108 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง

          รถโดยสารประจำทาง

          จากกรุงเทพฯ

          - มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวัน ๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 3587-8

          จากเชียงใหม่

          มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ...

          สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง

          สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา
07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. 0 5361 1318

          นอกจากนี้ ยังมีรถวิ่งระหว่างแม่ฮ่องสอนและแม่สะเรียง ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง ตี 1 รายละเอียดสอบถามสถานีขนส่งแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5368 1347

          เครื่องบิน

          บมจ. การบินไทย มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044-7 สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1297, 0 5361 1194 www.thaiairways.com

          สายการบินนกแอร์ ทำการบินระหว่าง แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 0 5361 2057 ต่อ 106 หรือ Call center โทร. 1318 หรือ www.nokair.com

          สายการบินนกมินิ หรือ เอสจีเอ เดิม  มีบริการเที่ยวบินระหว่าง เขียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน และ เชียงใหม่-ปาย ทุกวัน โทร. 0 2664 6099 หรือ www.nokmini.com หรือ www.sga.co.th

          และนี่คือ...แม่ฮ่องสอน จังหวัดเล็ก ๆ ที่น่าหลงใหล ถ้าใครมีโอกาสก็อย่าลืมแวะเวียนไปท่องเที่ยวได้นะจ๊ะ...




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ไปเที่ยวแม่ฮ่องสอน เมืองในสายหมอก อัปเดตล่าสุด 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 17:25:04 11,553 อ่าน
TOP
x close