สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีวันหยุดยาวหรือเวลาที่จะต้องเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไกล ๆ แบบคนอื่นเขา วันนี้เรากลับมาเอาใจคนกรุงที่ชื่นชอบการเที่ยวชมนิทรรศการกับนิทรรศการดี ๆ ที่หาชมได้ยากสำหรับคนไทยอย่างกับนิทรรศการ "บทเรียนในความมืด" ความรู้สึกที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยตาที่ชวนให้ทุกคนไปร่วมไขคำตอบกับคำถามมากมายที่เกี่ยวข้องกับความมืด ส่วนที่นี่จะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้นตามไปชมกันเลยค่ะ
โดยแนวความคิดของนิทรรศการบทเรียนในความมืดนี้มาจาก คุณแอนเดรียส ไฮเนกี้ นักธุรกิจชาวเยอรมัน ซึ่งทำงานในสถานีวิทยุที่ต้องทำงานกับคนตาบอด และทำให้เธอรับรู้ได้ว่าเป็นเรื่องที่ยาก สำหรับการที่จะอยู่ร่วมหันระหว่างคนตาปกติและคนตาบอด แต่ในระหว่างนั้นเองเธอกลับได้เรียนรู้ว่าคนตาบอดสามารถทำอะไรได้เหมือนคนทั่วไป แต่สังคมกลับแบ่งชนชั้น ทำให้คนตาบอดกลายเป็นบุคคลที่น่าสงสาร หลายคนจึงไม่อยากที่จะสื่อสารกับคนตาบอด ด้วยเหตุผลนี่เองที่จุดประกายให้เธอเข้าสู่ธุรกิจผู้ประกอบการสังคม ด้วยการพัฒนาเครื่องมือ-อุปกรณ์เพื่อช่วยคนตาบอด และนำมาสู่การจัดนิทรรศการบทเรียนในความมืดเพื่อเปิดโอกาสให้เราได้เข้าไปเรียนรู้และเข้าใจคนตาบอดมากขึ้น
สำหรับในเมืองไทยนั้น ดร.ปริยกร ปุสวิโร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เคยเป็นนักศึกษาไทยที่เดินทางไปเรียนที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี และได้มีโอกาสเรียนรู้นิทรรศการบทเรียนในความมืดตั้งแต่ปี 2001 จึงเกิดความสนใจ จนกระทั่งปี 2008 เธอประสานงานกับทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) เพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์มาจัดทำนิทรรศการในเมืองไทยที่งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ซึ่งโดยก่อนหน้านี้ได้พาผู้บริหารเดินทางไปดูนิทรรศการต้นแบบที่ฮัมบูร์ก เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์และบรรยากาศมาแล้ว จากนั้นไม่นานก็ได้ทำการจัดสร้างนิทรรศการชั่วคราวขนาด 200 ตารางเมตร ในงานสัปดาห์วิทย์ฯ ช่วงเดือนสิงหาคม 2008 จนปัจจุบันมีนิทรรศการถาวรอยู่ ณ จามจุรีสแควร์ สามย่านนั้นเอง
อนึ่งสำหรับชาวตะวันตก พิพิธภัณฑ์ถือเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะพิพิธภัณฑ์ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ แต่ยังมีการเรียนรู้ชีวิตในมุมอื่น ๆ ทั้งเรื่องราวคนในโลกมืดและคนในโลกไร้เสียง ซึ่งกว่านิทรรศการนี้จะถูกถอดแบบจากคนต้นคิด จะต้องเดินทางมาดูและอบรมผู้จัดนิทรรศการ รวมถึงไกด์นำทางในหลายประเทศ เพราะที่นี่คือนิทรรศการที่เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคนตาบอด ที่บอกความต้องการของคนในโลกมืดที่ต้องการแค่โอกาสและการอยู่ร่วมกันสังคม ทั้งนี้ลองเข้าไปสัมผัสกับนิทรรศการ "บทเรียนในความมืด" แล้วคุณจะได้สัมผัสความรู้สึกบางอย่าง ที่ไม่อาจสัมผัสด้วยตาแต่เรากลับสัมผัสได้ด้วยสติ และจิตใจกันดูสักครั้งดีกว่าค่ะ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand
เวลาเปิดปิด : ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 11.15-17.15 น. รอบแรกเวลา 11.30 น. และให้บริการในรอบต่อไปทุก 15 นาที และรอบสุดท้ายของวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.15 น., วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 17.45 น. (ผู้เข้าชมรอบละไม่เกิน 8 ท่าน)
ค่าบริการ : ค่าเข้าชมสำหรับบุคคลทั่วไป ราคา 90 บาท เด็ก, นักเรียน และนักศึกษา ป.ตรี ราคา 50 บาท
สมาชิก อพวช. เด็กราคา 40 บาท และสมาชิก อพวช. ผู้ใหญ่ ราคา 80 บาท (เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ต้องมีผู้ปกครองเข้าชมด้วย ถ้าต้องการชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand
ที่ตั้ง : จัดแสดงที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 จามจุรีสแควร์ สามย่านเวลาเปิดปิด : ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 11.15-17.15 น. รอบแรกเวลา 11.30 น. และให้บริการในรอบต่อไปทุก 15 นาที และรอบสุดท้ายของวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.15 น., วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 17.45 น. (ผู้เข้าชมรอบละไม่เกิน 8 ท่าน)
ค่าบริการ : ค่าเข้าชมสำหรับบุคคลทั่วไป ราคา 90 บาท เด็ก, นักเรียน และนักศึกษา ป.ตรี ราคา 50 บาท
สมาชิก อพวช. เด็กราคา 40 บาท และสมาชิก อพวช. ผู้ใหญ่ ราคา 80 บาท (เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ต้องมีผู้ปกครองเข้าชมด้วย ถ้าต้องการชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand
โทรศัพท์ : 0 2160 5356
เว็บไซต์ : เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand
หมายเหตุ : ในขณะที่เข้าชมไม่ควรนำกระเป๋า สิ่งของมีค่าที่ตกหล่นง่ายเข้าไปด้วย แต่ให้นำเงินเพียงเล็กน้อยเข้าไป
อัพเดทข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 เวลา 18.33 น.
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เฟซบุ๊ก Dialogue in the Dark–Thailand