อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อยู่ในท้องที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย บริเวณช่องแคบมะละกา ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ประกอบด้วยเกาะสำคัญ คือ เกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และเกาะบริวารต่าง ๆ รวม 22 เกาะ แต่ละเกาะมีหาดทรายขาวสะอาด มีถ้ำที่สวยงาม บางเกาะเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล และภายใต้ท้องทะเลมีปะการังที่สวยงามมากมาย
ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี 2525 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เห็นว่าสภาพธรรมชาติที่เป็นเกาะแก่ง หาดทรายชายทะเล ในบริเวณชองแคบมะละกา เขตจังหวัดสตูล ยังมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์อยู่มาก น่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณหมู่เกาะเภตรา ปรากฏว่ามีสภาพเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตรา และเกาะเขาใหญ่ สภาพป่าสมบูรณ์ ทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการัง หาดทรายขาวสะอาด มีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา ทั้งเป็นที่วางไข่และอยู่อาศัยของเต่าทะเลหลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
กองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตำบลตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลแหลมสน และตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
นิทานพื้นบ้าน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเตรา มีตำนานเกาะเภตรา ซึ่งตัวเกาะเภตราตั้งอยู่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มองจากที่ไกล ๆ คล้ายกับเรือสำเภากำลังอับปาง ดังมีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาถึงการเกิดเป็นหมู่เกาะเภตราว่า มีครอบครัว ๆ หนึ่ง มีตาพุดกับยายทองและลูกชายอีกหนึ่งคน นับถือศาสนาพุทธ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระม่วง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่มาวันหนึ่งมีเรือสำเภาของพ่อค้าชาวไทรบุรีได้นำสินค้าเข้ามาค้าขายที่ ท่าเรือกันตัง ฝ่ายลูกชายของตายายก็ได้มาชมสินค้าในเรือเหมือนกับคนอื่น ๆ เมื่อพ่อค้าเห็นเข้าก็เกิดความรักความเอ็นดู จึงเอ่ยปากชวนไปอยู่ที่เมืองไทรบุรีด้วย และได้ช่วยพ่อค้าทำงานอย่างขยันขันแข็ง
อยู่มาวันหนึ่งเจ้าพระยาเมืองไทรบุรีได้มาเห็นเด็กชายเกิดความรักความเอ็นดู จึงขอเด็กชายจากพ่อค้าไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม โดยให้เข้านับถือศาสนาอิสลาม เจ้าพระยาได้เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทำให้เด็กชายหลงระเริงลืมตนว่าเป็นใคร ครั้นมีอายุสมควรแก่การมีเหย้ามีเรือน เจ้าพระยาก็ให้แต่งงานกับลูกสาวของตน หลังจากแต่งงานฝ่ายหญิงก็คิดที่จะไปเยี่ยมพ่อแม่ของสามี และคอยรบเร้าจนสามีต้องยอม จึงได้ตกแต่งเรือสำเภาขนาดใหญ่ และให้คนเดินทางล่วงหน้าไปก่อน เพื่อแจ้งข่าวให้กับตายาย
ตายายเมื่อรู้ข่าวว่าลูกชายลูกสะใภ้จะมาเยือนก็ดีใจยิ่งนัก จึงได้จัดเตรียมข้าวของมากมายไว้คอยต้อนรับโดยเฉพาะหมูย่าง เพราะคิดว่าลูกชายยังคงอยากกินเหมือนสมัยที่เคยอยู่กับตน ครั้นถึงวันกำหนดสองสามีภรรยาก็แล่นเรือมาถึงปากน้ำกันตัง ลูกชายเมื่อเห็นสภาพของพ่อแม่ก็เกิดความอับอาย ไม่ยอมรับว่าเป็นพ่อแม่ของตน สองตายายเกิดความเสียใจเป็นอันมาก จึงเอาหมูย่างไปวางที่กัวเรือแล้วอธิษฐานว่า ถ้าหากเป็นลูกชายของตนจริงขอให้มีอันเป็นไป ออกจากท่าเรือไม่ได้ พอสิ้นคำสาปแช่งก็เกิดพายุอย่างหนัก และได้พัดเรือของลูกชายลูกสะใภ้อับปางลง สมบัติพัสฐาน ข้าวของต่าง ๆ ก็ล่องลอยกลายเป็นเกาะต่าง ๆ ในน่านน้ำแห่งนี้ เช่น หมูย่างกลายเป็นเกาะสุกร เรือสำเภากลายเป็นเกาะเภตรา นอกนั้นมีเกาะไข่ เกาะกล้วย เกาะเขาหินตา เกาะเขาหินยาย เกาะไก่ เป็นต้น
สำหรับสภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ส่วนใหญ่เป็นเกาะเขาหินปูนที่มีความลาดชันสูง มีที่ราบเพียงเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นหุบเขาและชายหาด ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 22 เกาะ กลางท้องทะเลอันดามัน ที่เรียงรายกระจัดกระจายตั้งแต่เขตอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เรื่อยไปจนจรดอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะน้อยใหญ่ โดยมีเกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้คือ เกาะเหลาเหลียงเหนือ เกาะเหลาเหลียงใต้ เกาะเบ็ง เกาะตากใบ เกาะกล้วย เกาะตุงกู เกาะละมะ เกาะบุโหลนขี้นก เกาะบุโหลนใหญ่ เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะเขาใหญ่ และเกาะลิดี มีพื้นที่รวมประมาณ 494.38 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่บางส่วนกันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ เช่น หมู่บ้านบ่อเจ็ดลุก และบางส่วนทางราชการโดยกองทัพเรือขออนุญาตใช้พื้นที่
นอกจากนี้ ในบริเวณเกาะต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีแนวปะการังใต้น้ำที่สวยงาม และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ธรรมชาติใต้ทะเล ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ปักเป้าทะเล ปลากระทงแดง ปลาไหลทะเล ปลากระบอก ปลากะพง ปลาจะละเม็ดดำ ปลาอินทรี ปลาโอ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลาสาก ปลาสิงโต ปลาโนรี ปลาผีเสื้อ ม้าน้ำ กุ้ง ปู หอย ปลิงทะเล และดาวทะเล เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่...
เกาะเขาใหญ่
เกาะเขาใหญ่เป็นปฏิมากรรมของธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งเข้าไปในทะเล เมื่อน้ำลดสามารถพายเรือลอดเข้าไปได้ บนเกาะมีอ่าว ชื่อ อ่าวก้ามปู ภายในอ่าวมีน้ำตกไหลมาเป็นลำธารเล็ก ๆ เป็นอ่าวที่สงบปราศจากคลื่นลมตลอดปีเวลาน้ำลดระดับต่ำสุด แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลจะปรากฎให้เห็นตลอดแนวชายฝั่ง นอกจากนี้ บริเวณอ่าวก้ามปูจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่อีกด้วย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
เกาะบุโหลน
อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำใส สามารถมองเห็นปะการังใต้น้ำเมื่อยามน้ำลดเต็มที่จะมองเห็นปะการังเขากวาง จำนวนมาก เกาะบุโหลนได้ชื่อว่าเป็นมุกใหม่แห่งอันดามัน บริเวณใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปะการังหลากสีสันและหมู่ปลานานาพันธุ์ เหมาะสมต่อการดำน้ำและยังมีหาดทรายที่ขาวสะอาด
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
เกาะเภตรา
อยู่ทางทิศใต้ของแหลมตะเสะ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ในเขตจังหวัดสตูล มีหาดทรายหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออก ตามหน้าหาดมีปะการังที่สวยงาม เหมาะสำหรับกิจกรรมดำน้ำดูปะการัง มีชายหาดที่กว้างและมีมุมพักผ่อนมากมาย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
เกาะลิดี
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบารา 7 กิโลเมตร มีหน้าผาและถ้ำ เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น เกาะลิดีมีเนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร มีหาดทรายขาวและมีเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในตัวเกาะ ความลึก 3-5 เมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล เป็นมุมสงบที่น่าพักผ่อนของเกาะลิดี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภต.2 (เกาะลิดี)
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
เกาะเหลาเหลียง
อยู่ในท้องที่อำเภอปะเหลียน ห่างจากแหลมตะเสะ จังหวัดตรัง ประมาณ 18 กิโลเมตร สามารถลงเรือได้จากอำเภอปะเหลียนหรือที่อำเภอกันตังก็ได้ทั้งสองทาง ใช้เวลาเดินทางโดยเรือประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที หาดทรายของเกาะหันหน้าสู่ด้านตะวันออก ตามหน้าหาดจะมีปะการังน้ำตื้นบางส่วนโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอวดความงามยามเมื่อน้ำลง ด้วยเหตุที่เกาะเหล่านี้อยู่ใกล้ปากอ่าว จึงได้รับอิทธิพลของตะกอนจากปากน้ำกันตังและปะเหลียน ทำให้น้ำทะเลไม่ใสนัก ไม่เหมาะสำหรับการดำน้ำ คงมีแต่เพียงการเดินเล่นชายหาด ถ่ายรูป ชมปะการังน้ำตื้น
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
หาดราไวย์
เป็นชายหาดซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหมู่ที่ 2 และ 4 ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ห่างจากที่ทำการอำเภอทุ่งหว้า 26 กิโลเมตร ไปตามถนนสายละงู-ทุ่งหว้า แยกตรงบ้านวังตง ตามชายหาดเป็นแนวต้นสน เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งแค้มป์พักแรม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อยู่บนฝั่ง) บริเวณนี้จัดเป็นส่วนบริการของอุทยานแห่งชาติ อยู่ห่างจากอำเภอละงู ประมาณ 7 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของอ่าวนุ่น ในที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วย ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก และศาลาอเนกประสงค์เพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีสะพานเลียบเชิงเขาเพื่อไปชมธรรมชาติ และเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 400 เมตร เพื่อชมสภาพธรรมชาติและข้ามไปชมความงามของฝั่งตรงข้ามในบริเวณหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.1 (เขาโต๊ะหงาย)
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ประกอบด้วย
• ทางเดินป่า จำนวน 2 เส้นได้แก่ ทางเดินป่าอ่าวลำพู-จุดชมวิวแหลมหว้าหิน ระยะทาง 400 เมตร และทางเดินป่าอ่าวลำพู–อ่าวมะพร้าว ระยะทาง 600 เมตร
• ทางเดินศึกษาธรรมชาติ จำนวน 2 เส้น ได้แก่ เส้นทางจุดชมวิวผากล้วยไม้ อยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ–จุดชมวิวแหลมหินคน ระยะทาง 570 เมตรและเส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดชมวิวเขาโต้ะหงาย อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ–หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เขาโต๊ะหงาย ระยะทาง 200 เมตร
• เส้นทางดำน้ำตื้น จำนวน 3 เส้น ได้แก่ เส้นทางดำน้ำบุโหลนไม้ไผ่ อยู่ที่เกาะบุโหลนไม้ไผ่ ระยะทาง 22 กิโลเมตร เส้นทางดำน้ำหินขาว อยู่ที่เกาะลูกหิน ระยะทาง 26 กิโลเมตร และเส้นทางดำน้ำเกาะเภตรา ที่เกาะเภตรา ระยะทาง 29 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก
เกาะลิดี (ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.2)
ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ : มีท่าเรือไว้บริการนักท่องเที่ยว
ที่พักแรม/บ้านพัก : มีบ้านพักไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
ลานกางเต็นท์ : มีสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
อ่าวนุ่น (ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ)
ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ : มีท่าเรือไว้บริการนักท่องเที่ยว
ที่พักแรม/บ้านพัก : มีบ้านพักไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
บริการอาหาร : มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้ มีการจัดนิทรรศการ พร้อมอุปกรณ์โสต อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
ลานกางเต็นท์
สถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง ซึ่งสถานที่กางเต็นท์ที่อุทยานแห่งชาติจัดไว้ให้บริการ มีดังนี้…
1. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณอ่าวนุ่น
2. เกาะบุโหลนไม้ไผ่
3. เกาะเขาใหญ่
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา 298 หมู่ที่ 4 บ้านตะโละใส ตำบปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล 91110 โทรศัพท์ 0 7478 3074, 0 7478 3504 โทรสาร 0 7478 3074 อีเมล mu_ko_phetra@hotmail.com
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง จากพัทลุงไปอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ให้ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 ถึงจังหวัดสตูล
จากจังหวัดสตูลใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 (สตูล-ตรัง) ถึงอำเภอละงูเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4052 (ละงู-ปากบารา) ประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือปากบารา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ก่อนถึงท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตรโดยห่างจากตัวอำเภอละงู จังหวัดสตูล 7 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดสตูล แต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ–หาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางจากตัวอำเภอหาดใหญ่ ไปท่าเรือปากบารา
รถไฟ
สามารถเดินทางไปกับขบวนรถกรุงเทพฯ–ยะลา หรือกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ได้ โดยลงที่สถานีหาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถแท็กซี่ รถจอดที่ใต้สะพานลอย หน้าที่ทำการไปรษณีย์ สาขารัถการ หรือรถตู้โดยสารประจำทางจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร รถจอดที่บ้านพักรถไฟ มีบริการทุกวัน และรถจะออกทุก ๆ 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.-16.00 น.หรือรถโดยสารธรรมดา หาดใหญ่-ปากบารา-สตูล รถจอดที่หอนาฬิกาหาดใหญ่ มีบริการทุกวัน วันละ 3 เที่ยว เริ่มตั้งแต่ 07.00 น. และ 15.00 น.
รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสตูล เดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารประจำทางเส้นตรัง-สตูล ถึงอำเภอละงูขึ้นรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง จากพัทลุงไปอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ให้ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 ถึงจังหวัดสตูล
จากจังหวัดสตูลใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 (สตูล-ตรัง) ถึงอำเภอละงูเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4052 (ละงู-ปากบารา) ประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือปากบารา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ก่อนถึงท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตรโดยห่างจากตัวอำเภอละงู จังหวัดสตูล 7 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดสตูล แต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ–หาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางจากตัวอำเภอหาดใหญ่ ไปท่าเรือปากบารา
รถไฟ
สามารถเดินทางไปกับขบวนรถกรุงเทพฯ–ยะลา หรือกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ได้ โดยลงที่สถานีหาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถแท็กซี่ รถจอดที่ใต้สะพานลอย หน้าที่ทำการไปรษณีย์ สาขารัถการ หรือรถตู้โดยสารประจำทางจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร รถจอดที่บ้านพักรถไฟ มีบริการทุกวัน และรถจะออกทุก ๆ 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.-16.00 น.หรือรถโดยสารธรรมดา หาดใหญ่-ปากบารา-สตูล รถจอดที่หอนาฬิกาหาดใหญ่ มีบริการทุกวัน วันละ 3 เที่ยว เริ่มตั้งแต่ 07.00 น. และ 15.00 น.
รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสตูล เดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารประจำทางเส้นตรัง-สตูล ถึงอำเภอละงูขึ้นรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก