เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของคนไทยภาคกลาง ทั้งเพลงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน เครื่องดนตรีพื้นบ้าน การแต่งกาย รวมไปถึงอาหารพื้นบ้านจานเด็ด
ภาพจาก Santibhavank P / Shutterstock.com
ภาคกลางถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศไทย ที่ครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้ กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ จึงมีวัฒนธรรมภาคกลางที่น่าสนในมากมาย
ส่วนจังหวัดในภาคกลางนั้น ราชบัณฑิตยสถานได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นทางการ โดยให้ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด ดังนี้ ...
กรุงเทพมหานคร
กำแพงเพชร
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นครสวรรค์
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
อ่างทอง
อุทัยธานี
นอกจากภาคกลางจะเป็นจุดศูนย์กลางทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว ภาคกลางยังเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมของแต่ละภาคอีกด้วย เนื่องจากบางจังหวัดในภาคกลางคาบเกี่ยวระหว่างภาคต่าง ๆ มากมาย ซึ่งในวันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาคกลางมาฝากกันค่ะ ไปดูกันซิว่า ประเพณีและวัฒนธรรมของภาคกลาง จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไรบ้าง...
เพลงพื้นบ้าน
เป็นที่รู้กันดีว่าเพลงพื้นบ้านของแต่ละภาคนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงดังกล่าว และขับร้องสืบทอดต่อกันมากปากต่อปาก โดยส่วนมากเพลงพื้นบ้านจะเป็นเพลงที่มีคำร้องง่าย ๆ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ ส่วนในภาคกลาง เพลงพื้นบ้านก็จะแต่งมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยแยกเป็นประเภท ได้ดังนี้
- เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่ เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
- เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียว เพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
- เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อย เพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้าง เพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อ เพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
- เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกัน ได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
ถ้าเอ่ยถึงเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ชาวภาคกลางก็มีดนตรีครบทุกประเภท ทั้ง ดีด สี ตี เป่า เรียกได้ว่า ครบเครื่องเลยทีเดียว เนื่องจากชาวภาคกลางก็ให้ความสำคัญกับเพลงพื้นบ้าน และมักจะร้องเพลงในหมู่คณะเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน สำหรับเรื่องดนตรีพื้นที่บ้านที่ชาวภาคกลางนิยมเล่นนั้น ได้แก่
ซอสามสาย :
เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ในวงดนตรีไทย
มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.1350) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง
ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี
อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึงบรรเลงประสมเป็นวงมโหรี
ซอด้วง : เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง
ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม
คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสายอยู่ตอนบน
ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสายเอ็น มี 2 สาย ขนาดต่างกัน
คันชักอยู่ระหว่างสาย ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม
ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
ซออู้ : เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วย ไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอประมาณ 60 เซนติเมตร คันชักประมาณ 50 เซนติมตร ซออู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับซอด้วงในวงเครื่องสาย
จะเข้ : เป็นเครื่องสายที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยาว 140 เซนติเมตร ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย 3 สาย สายที่ 1-2 ทำด้วยไหมฟั่น สายที่ 3 ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียง สูง - ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ทำจากงาสัตว์
ขลุ่ย : ของไทยเป็นขลุ่ยในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแสลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิวตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้มีเสียงต่ำที่สุด ระดับเสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังมี เสียงสูงกว่านี้ คือ ขลุ่ยกรวด หรือขลุ่ยหลีบกรวดอีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวงมโหรี
ปี่ :
เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง
เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ 4 ลิ้น) เช่นเดียวกับ โอโบ (Oboe) มีหลายชนิดคือ
ปี่นอก ปี่ใน ปี่กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ในตระกูลปี่ใน
ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง 6 รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง 22 เสียง
และสามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจนอีกด้วย
ระนาดเอก :
เป็นระนาดเสียงแหลมสูง
ประกอบด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน 21-22
ลูก ร้อยเข้าด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง 2 ไว้บนกล่องเสียงที่
เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอก
ทำหน้าที่นำวงดนตรีด้วย เทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิสดาร มักบรรเลง 2 แบบ
คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวมเรียก
ปี่พาทย์ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจากซ้ายไปขวา
และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม
ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของลูกระนาด
ระนาดทุ้ม : ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ 18 ลูก มีรูปร่างคล้ายระนาดเอก แต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็กน้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่ : เป็นหลักของวงปี่พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง 16 ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
- ลูกฆ้อง เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะคล้ายถ้วยกลม ๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียงต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ
- เรือนฆ้อง ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วเศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็นโครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับเรือนฆ้องผูกด้วยเชือก
ฆ้องวงเล็ก : มีขนาดเล็กกว่า แต่เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี 18 ลูก
โทนรำมะนา : รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือกหนัง ตัวกลองยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอก ปากบานแบบลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ 12 เซนติเมตร ใช้ตีคู่กับรำมะนา ส่วนรำมะนานั้น เป็นกลองทำหนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
กลองแขก : กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีใช้ในวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วยมือทั้ง 2 หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ (เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงต่ำ)
กลองสองหน้า : เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอก ขึงด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านภาคกลาง เป็นสิ่งที่ความบันเทิงเริงใจแก่ผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยกเอาเรื่องใกล้ตัว เรื่องเก่าแก่สมัยประวัติศาสตร์ หรือเรื่องเล่าตั้งแต่ชนชั้นจนถึงระดับคนยากคนจน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทวดาฟ้าดินมาให้ลูกหลานได้ฟังหลายต่อหลายเรื่อง โดยท้ายเรื่องของนิทานนั้น ๆ มักจะสอดแทรกคติสอนใจ และข้อคิดดี ๆ ให้ได้ฟังพร้อมคิดตามอยู่เสมอ ๆ
สำหรับนิทานพื้นบ้านทางภาคกลาง ที่เป็นที่นิยมเล่าสืบต่อกันมามีหลายเรื่องเลยทีเดียวที่สนุกสนาน และนำมาทำเป็นการ์ตูน หรือละครให้ได้ชมกันอย่างมากมาย อาทิ ไกรทอง, สองพี่น้อง, บางแม่หม้าย, ตาม่องล่าย, เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก, เรื่องกล่องข้าวน้อย, ขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
การละเล่นพื้นบ้าน
การละเล่นพื้นบ้านของชาวภาคกลางนั้น
มีทั้งการละเล่นแบบที่ใช้อุปกรณ์เป็นตัวเชื่อมการเล่น
หรือการละเล่นเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นการละเล่นแบบเดี่ยว
แต่ส่วนมากมักจะมีการร้องเพลงประกอบการละเล่นต่าง ๆ อาทิ หมากเก็บ, ว่าว,
ตี่จับ, รำตง, การเล่นโม่ง, สะบ้าล้อ, เพลงเรือบก, คำทาย (โจ๊กปริศนา),
เพลงปรบไก่, กลองยาว, หลุมเมือง, เพลงเรืออยุธยา, การแข่งขันวัวลาน,
เพลงปรบไก่, การทอยสะบ้า, นางลิงลม, การเข้าผีนางด้ง ฯลฯ
การแต่งกาย
ในปัจจุบันการแต่งกายของแต่ละภาคได้รับความกลมกลืนกันไปหมด
เนื่องมาจากถูกครอบคลุมสิ่งที่เรียกว่าแฟชั่น
จึงทำให้การแต่งกายมีความคล้ายคลึงกันไปหมด
จนแยกแยะไม่ค่อยออกว่าบุคคลไหนอาศัยอยู่ในภาคใด
แต่หากย้อนกลับถึงการแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนผู้หญิง
จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
แต่หากเป็นชุดไทย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ผู้ชายจะนิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้าง ๆ ตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง ส่วนผู้หญิงจะนิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม
อาหารประจำภาค
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง
หนองบึงมากมาย จึงเป็นแหล่งอาหารทั้งพืชผักและสัตว์น้ำนานาชนิด
พื้นที่บางส่วนติดชายฝั่งทะเลทำให้วัตถุดิบ
ในการประกอบอาหารหลากหลายอุดมสมบูรณ์
ส่วนอาหารภาคกลางนั้นก็จะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องการปรุง รสชาติ
และการตกแต่งให้หน้าตาอาหารน่ารับประทาน นอกจากนี้ อาหารภาคกลางบางชนิด
ยังได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของราชสำนักอีกด้วย
สำหรับอาหารของภาคกลางนั้น มักจะมีน้ำพริกและผักจิ้ม โดยจะรับประทานกับข้าวสวยเป็นหลัก และส่วนมากจะน้ำพริกต่าง ๆ นั้น จะได้รับการผสมผสานระหว่างภาคต่าง ๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง น้ำพริกปลาทู ต้มยำ ผัดเผ็ด ข้าวผัด แกงส้ม ผัดไทย เป็นต้น
และจากข้อมูลที่เราได้นำเสนอข้างต้น เป็นเพียงขนบธรรมเนียมและประเพณีแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของภาคกลางเท่านั้น หากใครอยากทำความรู้จักกับภาคกลางให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็อย่าลืมมาท่องเที่ยวชมโบราณสถาน หรือสัมผัสวัฒนธรรมประเพณีตามแบบฉบับภาคกลางกันนะคะ "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นหรือจะสู้มือคลำ" แต่จะว่าไป แค่มือคลำอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องลองมาสัมผัสจากสถานที่จริง ๆ กันดูนะคะ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : m-culture.go.th
ภาพจาก Santibhavank P / Shutterstock.com
ภาคกลางถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศไทย ที่ครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้ กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ จึงมีวัฒนธรรมภาคกลางที่น่าสนในมากมาย
ส่วนจังหวัดในภาคกลางนั้น ราชบัณฑิตยสถานได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นทางการ โดยให้ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด ดังนี้ ...
กรุงเทพมหานคร
กำแพงเพชร
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นครสวรรค์
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
อ่างทอง
อุทัยธานี
นอกจากภาคกลางจะเป็นจุดศูนย์กลางทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว ภาคกลางยังเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมของแต่ละภาคอีกด้วย เนื่องจากบางจังหวัดในภาคกลางคาบเกี่ยวระหว่างภาคต่าง ๆ มากมาย ซึ่งในวันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาคกลางมาฝากกันค่ะ ไปดูกันซิว่า ประเพณีและวัฒนธรรมของภาคกลาง จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไรบ้าง...
เพลงพื้นบ้าน
เป็นที่รู้กันดีว่าเพลงพื้นบ้านของแต่ละภาคนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงดังกล่าว และขับร้องสืบทอดต่อกันมากปากต่อปาก โดยส่วนมากเพลงพื้นบ้านจะเป็นเพลงที่มีคำร้องง่าย ๆ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ ส่วนในภาคกลาง เพลงพื้นบ้านก็จะแต่งมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยแยกเป็นประเภท ได้ดังนี้
- เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่ เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
- เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียว เพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
- เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อย เพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้าง เพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อ เพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
- เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกัน ได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
ถ้าเอ่ยถึงเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ชาวภาคกลางก็มีดนตรีครบทุกประเภท ทั้ง ดีด สี ตี เป่า เรียกได้ว่า ครบเครื่องเลยทีเดียว เนื่องจากชาวภาคกลางก็ให้ความสำคัญกับเพลงพื้นบ้าน และมักจะร้องเพลงในหมู่คณะเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน สำหรับเรื่องดนตรีพื้นที่บ้านที่ชาวภาคกลางนิยมเล่นนั้น ได้แก่
ซออู้ : เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วย ไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอประมาณ 60 เซนติเมตร คันชักประมาณ 50 เซนติมตร ซออู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับซอด้วงในวงเครื่องสาย
จะเข้ : เป็นเครื่องสายที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยาว 140 เซนติเมตร ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย 3 สาย สายที่ 1-2 ทำด้วยไหมฟั่น สายที่ 3 ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียง สูง - ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ทำจากงาสัตว์
ขลุ่ย : ของไทยเป็นขลุ่ยในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแสลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิวตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้มีเสียงต่ำที่สุด ระดับเสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังมี เสียงสูงกว่านี้ คือ ขลุ่ยกรวด หรือขลุ่ยหลีบกรวดอีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวงมโหรี
ระนาดทุ้ม : ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ 18 ลูก มีรูปร่างคล้ายระนาดเอก แต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็กน้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่ : เป็นหลักของวงปี่พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง 16 ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
- ลูกฆ้อง เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะคล้ายถ้วยกลม ๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียงต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ
- เรือนฆ้อง ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วเศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็นโครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับเรือนฆ้องผูกด้วยเชือก
ฆ้องวงเล็ก : มีขนาดเล็กกว่า แต่เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี 18 ลูก
โทนรำมะนา : รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือกหนัง ตัวกลองยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอก ปากบานแบบลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ 12 เซนติเมตร ใช้ตีคู่กับรำมะนา ส่วนรำมะนานั้น เป็นกลองทำหนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
กลองแขก : กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีใช้ในวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วยมือทั้ง 2 หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ (เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงต่ำ)
กลองสองหน้า : เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอก ขึงด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านภาคกลาง เป็นสิ่งที่ความบันเทิงเริงใจแก่ผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยกเอาเรื่องใกล้ตัว เรื่องเก่าแก่สมัยประวัติศาสตร์ หรือเรื่องเล่าตั้งแต่ชนชั้นจนถึงระดับคนยากคนจน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทวดาฟ้าดินมาให้ลูกหลานได้ฟังหลายต่อหลายเรื่อง โดยท้ายเรื่องของนิทานนั้น ๆ มักจะสอดแทรกคติสอนใจ และข้อคิดดี ๆ ให้ได้ฟังพร้อมคิดตามอยู่เสมอ ๆ
สำหรับนิทานพื้นบ้านทางภาคกลาง ที่เป็นที่นิยมเล่าสืบต่อกันมามีหลายเรื่องเลยทีเดียวที่สนุกสนาน และนำมาทำเป็นการ์ตูน หรือละครให้ได้ชมกันอย่างมากมาย อาทิ ไกรทอง, สองพี่น้อง, บางแม่หม้าย, ตาม่องล่าย, เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก, เรื่องกล่องข้าวน้อย, ขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
การละเล่นพื้นบ้าน
การแต่งกาย
แต่หากเป็นชุดไทย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ผู้ชายจะนิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้าง ๆ ตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง ส่วนผู้หญิงจะนิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม
อาหารประจำภาค
สำหรับอาหารของภาคกลางนั้น มักจะมีน้ำพริกและผักจิ้ม โดยจะรับประทานกับข้าวสวยเป็นหลัก และส่วนมากจะน้ำพริกต่าง ๆ นั้น จะได้รับการผสมผสานระหว่างภาคต่าง ๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง น้ำพริกปลาทู ต้มยำ ผัดเผ็ด ข้าวผัด แกงส้ม ผัดไทย เป็นต้น
และจากข้อมูลที่เราได้นำเสนอข้างต้น เป็นเพียงขนบธรรมเนียมและประเพณีแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของภาคกลางเท่านั้น หากใครอยากทำความรู้จักกับภาคกลางให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็อย่าลืมมาท่องเที่ยวชมโบราณสถาน หรือสัมผัสวัฒนธรรมประเพณีตามแบบฉบับภาคกลางกันนะคะ "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นหรือจะสู้มือคลำ" แต่จะว่าไป แค่มือคลำอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องลองมาสัมผัสจากสถานที่จริง ๆ กันดูนะคะ ^^
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : m-culture.go.th