ชวนไปเที่ยวเกาะตะรุเตา เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล มีชายหาดสวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด บรรยากาศเงียบสงบ และมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย
เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล หนึ่งใน Destination ของผู้รักการเดินทางและท้องทะเล เพราะมีทิวทัศน์ที่งดงาม ผืนน้ำใสสีมรกต ทรัพยากรใต้ท้องทะเลก็ยังคงอุดมสมบูรณ์ วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปโลดแล่นท่องเที่ยวเกาะตะรุเตากัน
ความเป็นมา
เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ภูมิทัศน์ที่งดงามทำให้ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ในฐานะพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญสูงที่เป็นตัวแทนระบบนิเวศของภูมิภาค
นอกจากสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เกาะตะรุเตายังมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ โดยในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ และเป็นสถานที่กักกันนักโทษ เกาะตะรุเตาซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่ง เต็มไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการหลบหนี ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่จัดตั้งนิคมดังกล่าว มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการ บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนนักโทษ และโรงฝึกอาชีพขึ้นที่อ่าวตะโละวาวและอ่าวตะโละอุดัง
ในปี พ.ศ. 2481 นักโทษชุดแรกจำนวน 500 คน ได้เดินทางมายังตะรุเตา และทยอยเข้ามาอีกเรื่อย ๆ จนมีเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3,000 คน และในช่วงปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมือง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ มากักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง จากนั้นในปี พ.ศ. 2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค นักโทษเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ผู้คุมและนักโทษจำนวนหนึ่งจึงได้ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่ผ่านไปมาในน่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา จนทำให้เรือสินค้าไม่กล้าล่องเรือผ่านมาในบริเวณนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองมลายูอยู่ในขณะนั้น ได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยในการส่งกองกำลังเข้าปราบปรามโจรสลัดตะรุเตาจนสำเร็จ กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา และหลังจากนั้นเกาะตะรุเตาก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลา 26 ปี จนกระทั่งได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น พร้อมกลับมาเลืองชื่อลือนามเรื่องความงดงามอีกครั้งหนึ่ง
สถานที่ท่องเที่ยวเกาะตะรุเตา
อ่าวพันเตมะละกา ตั้งบริเวณที่ทำการอุทยาน และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีชายหาดยาวขาวสะอาดและยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม จากอ่าวสามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบูได้อีกด้วย
อ่าวจาก ตั้งอยู่ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา เป็นอ่าวเล็ก ๆ บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะต่อการพักผ่อน
อ่าวเมาะและ ห่างจากที่ทำการอุทยาน 4 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม เงียบสงบ มีบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว
อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยาน 8 กิโลเมตร เป็นอ่าวรูปโค้งที่มีหาดทรายสลับกับหาดหิน และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีจุดกางเต็นท์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม มีน้ำตกขนาดเล็ก คือ น้ำตกลูดู และ น้ำตกโละโป๊ะ เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อ่าวตะโละวาว ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเกาะ เป็นจุดที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ ตต.1 (ตะโละวาว) พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษกักกันและนักโทษอุกฉกรรจ์ ปัจจุบันทางอุทยานได้จำลองอาคารสถานที่ที่เคยอยู่ในนิคมฝึกอาชีพ เช่น บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนของนักโทษ โรงฝึกอาชีพ และสุสาน 700 ศพ ไว้ในบริเวณดังกล่าว
อ่าวตะโละอุดัง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ห่างจากเกาะลังกาวี 8 กิโลเมตร จุดเด่นคือมีหินซีกขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าอ่าว มีสะพานสำหรับเรือจอด และเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ ตต.2 (ตะโละอุดัง) ในอดีตเคยเป็นที่กักกันนักโทษการเมือง กลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ
ถ้ำจระเข้ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 300 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลักษณะแตกต่างกันไป การเดินทางไปถ้ำจระเข้ต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคลองพันเตมะละกา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางจำนวนมากตลอดสองฝั่งคลองโดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 20 นาที และใช้เวลาชมถ้ำประมาณ 1 ชั่วโมง ติดต่อเข้าชมได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยาน
จุดชมวิวผาโต๊ะบู หน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 เมตร เส้นทางเดินขึ้นไปตามแนวป่าดิบแล้ง ใช้เวลาเดินขึ้นจุดชมวิวประมาณ 20 นาที อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยาน เป็นจุดชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาด
ทั้งนี้ บริเวณใกล้ ๆ เกาะตะรุเตายังมีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น มัลดีฟส์เมืองไทยอย่างเกาะหลีเป๊ะ, ประติมากรรมธรรมชาติที่เกาะไข่, หาดหินบนเกาะหินงาม หรือเกาะอาดัง-เกาะราวี ที่มีหาดทรายสีขาวนุ่มเนียนละเอียดละออ เป็นต้น
ที่พักเกาะตะรุเตา
ในเขตอุทยานมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อจองที่พักได้ที่ nps.dnp.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล Tarutao National Park ทั้งนี้ การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติในแบบ New Normal จะต้องจองล่วงหน้าผ่าน App QueQ เท่านั้น
การเดินทางไปเกาะตะรุเตา
ท่าเรือปากบารา ตั้งอยู่ที่ปากคลองละงู ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู เป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้เกาะตะรุเตามากที่สุด และใกล้ท่าเรือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เส้นทางท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือพันเตมะละกา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) มีตารางการเดินเรือ ดังนี้
- ท่าเรือปากบาราเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือปากบารา เวลา 11.30 น. และ 13.00 น.
- เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือปากบารา เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 10.00 น. และ 12.00 น.
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ความเป็นมา
เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ภูมิทัศน์ที่งดงามทำให้ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ในฐานะพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญสูงที่เป็นตัวแทนระบบนิเวศของภูมิภาค
นอกจากสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เกาะตะรุเตายังมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ โดยในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ และเป็นสถานที่กักกันนักโทษ เกาะตะรุเตาซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่ง เต็มไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการหลบหนี ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่จัดตั้งนิคมดังกล่าว มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการ บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนนักโทษ และโรงฝึกอาชีพขึ้นที่อ่าวตะโละวาวและอ่าวตะโละอุดัง
ในปี พ.ศ. 2481 นักโทษชุดแรกจำนวน 500 คน ได้เดินทางมายังตะรุเตา และทยอยเข้ามาอีกเรื่อย ๆ จนมีเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3,000 คน และในช่วงปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมือง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ มากักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง จากนั้นในปี พ.ศ. 2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค นักโทษเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ผู้คุมและนักโทษจำนวนหนึ่งจึงได้ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่ผ่านไปมาในน่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา จนทำให้เรือสินค้าไม่กล้าล่องเรือผ่านมาในบริเวณนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองมลายูอยู่ในขณะนั้น ได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยในการส่งกองกำลังเข้าปราบปรามโจรสลัดตะรุเตาจนสำเร็จ กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา และหลังจากนั้นเกาะตะรุเตาก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลา 26 ปี จนกระทั่งได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น พร้อมกลับมาเลืองชื่อลือนามเรื่องความงดงามอีกครั้งหนึ่ง
สถานที่ท่องเที่ยวเกาะตะรุเตา
อ่าวพันเตมะละกา ตั้งบริเวณที่ทำการอุทยาน และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีชายหาดยาวขาวสะอาดและยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม จากอ่าวสามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบูได้อีกด้วย
อ่าวจาก ตั้งอยู่ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา เป็นอ่าวเล็ก ๆ บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะต่อการพักผ่อน
อ่าวเมาะและ ห่างจากที่ทำการอุทยาน 4 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม เงียบสงบ มีบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว
อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยาน 8 กิโลเมตร เป็นอ่าวรูปโค้งที่มีหาดทรายสลับกับหาดหิน และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีจุดกางเต็นท์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม มีน้ำตกขนาดเล็ก คือ น้ำตกลูดู และ น้ำตกโละโป๊ะ เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อ่าวตะโละวาว ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเกาะ เป็นจุดที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ ตต.1 (ตะโละวาว) พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษกักกันและนักโทษอุกฉกรรจ์ ปัจจุบันทางอุทยานได้จำลองอาคารสถานที่ที่เคยอยู่ในนิคมฝึกอาชีพ เช่น บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนของนักโทษ โรงฝึกอาชีพ และสุสาน 700 ศพ ไว้ในบริเวณดังกล่าว
อ่าวตะโละอุดัง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ห่างจากเกาะลังกาวี 8 กิโลเมตร จุดเด่นคือมีหินซีกขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าอ่าว มีสะพานสำหรับเรือจอด และเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานที่ ตต.2 (ตะโละอุดัง) ในอดีตเคยเป็นที่กักกันนักโทษการเมือง กลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ
ถ้ำจระเข้ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 300 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลักษณะแตกต่างกันไป การเดินทางไปถ้ำจระเข้ต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคลองพันเตมะละกา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางจำนวนมากตลอดสองฝั่งคลองโดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 20 นาที และใช้เวลาชมถ้ำประมาณ 1 ชั่วโมง ติดต่อเข้าชมได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยาน
จุดชมวิวผาโต๊ะบู หน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 เมตร เส้นทางเดินขึ้นไปตามแนวป่าดิบแล้ง ใช้เวลาเดินขึ้นจุดชมวิวประมาณ 20 นาที อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยาน เป็นจุดชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาด
ทั้งนี้ บริเวณใกล้ ๆ เกาะตะรุเตายังมีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น มัลดีฟส์เมืองไทยอย่างเกาะหลีเป๊ะ, ประติมากรรมธรรมชาติที่เกาะไข่, หาดหินบนเกาะหินงาม หรือเกาะอาดัง-เกาะราวี ที่มีหาดทรายสีขาวนุ่มเนียนละเอียดละออ เป็นต้น
ที่พักเกาะตะรุเตา
ในเขตอุทยานมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อจองที่พักได้ที่ nps.dnp.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล Tarutao National Park ทั้งนี้ การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติในแบบ New Normal จะต้องจองล่วงหน้าผ่าน App QueQ เท่านั้น
ท่าเรือปากบารา ตั้งอยู่ที่ปากคลองละงู ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู เป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้เกาะตะรุเตามากที่สุด และใกล้ท่าเรือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เส้นทางท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือพันเตมะละกา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) มีตารางการเดินเรือ ดังนี้
- ท่าเรือปากบาราเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือปากบารา เวลา 11.30 น. และ 13.00 น.
- เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือปากบารา เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 10.00 น. และ 12.00 น.
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา