วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้ที่ต้องการมาสักการะ ปฏิบัติธรรม และมีความสำคัญในด้านศาสนาและวัฒนธรรมเท่านั้น วัดแห่งนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมโบราณ วิหารและเจดีย์ที่งดงาม รวมถึงระฆังอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัด นอกจากนี้วัดระฆังแห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักในวงการพระเครื่องในฐานะต้นกำเนิดของ พระสมเด็จวัดระฆัง หนึ่งในพระเครื่องที่ได้รับการยกย่องว่ามีค่าทางจิตใจและพุทธคุณสูงสุด สร้างสรรค์โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 อีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ และความสงบในบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ที่ตั้งและประวัติความเป็นมา
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่งปรากฏมีเสียงไพเราะกังวานมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำเก็บไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสร้างหอระฆังขึ้นพร้อมระฆังอีก 5 ลูก เป็นการทดแทน และได้พระราชทานนามใหม่หลังบูรณะเสร็จเรียบร้อยว่า วัดระฆังโฆสิตาราม
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระประธานยิ้มรับฟ้า
โบราณสถานสำคัญในวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
-
พระอุโบสถ : เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 หลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง 2 ช่อง เหนือประตู-หน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตู-หน้าต่าง ด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่าง ๆ ซึ่งภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อราว พ.ศ. 2465 ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น
- พระปรางค์ : สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี) เป็นพระปรางค์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบแผนที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นพระปรางค์แบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา
- หอพระไตรปิฎก : ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของรัชกาลที่ 1 ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี เป็นรูปเรือน 3 หลังแฝด หอด้านใต้ลักษณะเป็นหอนอน หอกลางเป็นห้องโถง และหอด้านเหนือเข้าใจว่าเป็นห้องรับแขก ของเดิมเป็นหลังคามุงจาก ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะ ๆ เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล ใช้แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่าง ๆ บานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำ บานประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกนกเครือเถา บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกนกดอกไม้ภายนอกติดคันทวยสวยงาม ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ 2 ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ 1 ตู้ หอด้านใต้ 1 ตู้
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
บ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ขอพรเรื่องอะไร
สำหรับการขอพรที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า ใครที่อยากมีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้านการแสดง การร้องเพลง การทำงานศิลปะ หรือการเจรจาค้าขาย ให้มีชื่อเสียงโด่งดังเหมือนระฆัง ต้องมาขอพรที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร โดยจุดธูปเพื่อขอพรกับองค์พระประธานที่หน้าโบสถ์ได้เลย
-
ขอพรเรื่องการศึกษา เชื่อกันว่าหากมาขอพรหลวงพ่อโตเรื่องการเรียน จะช่วยให้เรียนหนังสือเก่ง สอบได้คะแนนดี สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
-
ขอพรเรื่องหน้าที่การงาน เชื่อกันว่าหากมาขอพรหลวงพ่อโตเรื่องหน้าที่การงาน จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
-
ขอพรเรื่องความรัก เชื่อกันว่าหากมาขอพรหลวงพ่อโตเรื่องความรัก จะช่วยให้พบรักแท้ คู่รักรักกันยืนยาว
-
ขอพรเรื่องสุขภาพ เชื่อกันว่าหากมาขอพรหลวงพ่อโตเรื่องสุขภาพ จะช่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพแข็งแรง
-
ขอพรเรื่องความเจริญรุ่งเรือง เชื่อกันว่าหากมาขอพรหลวงพ่อโตเรื่องความเจริญรุ่งเรือง จะช่วยให้ครอบครัว กิจการ ธุรกิจ มั่นคงและเจริญรุ่งเรือง
บทสวดไหว้หลวงพ่อโต
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(กราบ 3 ครั้ง)
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
(กราบ 3 ครั้ง)
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สะมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีโต โลกวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
(กราบ)
สุปฏิปันโน ภะคะวา สาวกสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวา สาวกสังโฆ ญายะปฏิปันโน ภะคะวา สาวกสังโฆ สามีจิปฏิปันโน ภะคะวา สาวกสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวกสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระโณ อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
คำถวายเครื่องสักการะ
คำอธิษฐานขอพร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร การเดินทาง
- โดยรถยนต์ : ตั้ง GPS ไปที่ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร แต่เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในซอยเล็ก ๆ ริมเจ้าพระยา มีที่จอดรถจำกัด การเดินทางโดยวิธีนี้จึงอาจจะไม่ค่อยสะดวกนัก
- โดยเรือด่วนเจ้าพระยา : ลงที่ท่าเรือพรานนก (วังหลัง) จากนั้นเดินต่อมายังวัดประมาณ 500 เมตร หรือจะลงที่ท่าเรือท่าช้าง (เฉพาะเรือธงเขียว ธงส้ม และธงเหลือง) และต่อเรือข้ามฟากมายังวัด
-
โดยรถโดยสารประจำทาง : มีหลายสายที่จอดป้ายวัดระฆัง เช่น สาย 57 (ตลิ่งชัน - วงเวียนใหญ่), 208 (ตลิ่งชัน - อรุณอมรินทร์ - ราชพฤกษ์) หรือจะลงที่ป้ายท่าช้าง แล้วต่อเรือข้ามฟากมายังวัด เช่น สาย 32 (ปากเกร็ด - วัดโพธิ์), 44 (แฮปปี้แลนด์ - ท่าเตียน), 47 (ท่าเรือคลองเตย - กรมที่ดิน), 53 (เทเวศร์ - สนามหลวง), 64 (นนทบุรี - สนามหลวง), 503 (รังสิต - สนามหลวง), 524 (หลักสี่ - สายใต้ใหม่) และลงที่ป้ายโรงพยาบาลศิริราช จากนั้นเดินหรือนั่งรถโดยสารมายังวัดประมาณ 600 เมตร เช่น สาย 81 (สะพานปิ่นเกล้า - อ้อมน้อย), 91 (สนามหลวง - หมู่บ้านเศรษฐกิจ), 91ก (สนามหลวง 2 - สนามหลวง), 149 (พุทธมณฑลสาย 2 - เอกมัย) เป็นต้น
- โดยรถไฟฟ้า MRT : ลงสถานีสนามไชย จากนั้นเดินหรือนั่งรถโดยสารมายังท่าช้างประมาณ 1.5 กิโลเมตร และต่อเรือข้ามฟากมายังวัด
บทความ ไหว้พระวัดในกรุงเทพฯ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สถานที่ไหว้พระกรุงเทพฯ แจกพิกัด 20 วัด ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี
- ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพฯ ตะลอนทัวร์ขอพรเสริมสิริมงคลตามย่านต่าง ๆ
- เที่ยวกรุงเทพฯ ชม 9 วัดพระประธานแปลก ที่คุณไม่ควรพลาด
- ปักหมุด 12 วัด แก้ดวงตก ล้างอาถรรพ์ หนุนดวงเสริมบารมี ชีวิตติดขัดไปไหว้แล้วดีขึ้น
- เปิดลิสต์ 25 วัดดังที่สายมูไม่ควรพลาด ขอพรเรื่องอะไรแล้วปัง ไปดูกัน