วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติสวย โอบล้อมด้วยภูเขา ป่าเขา และถ้ำต่าง ๆ เอาใจนักท่องเที่ยวสายแอดเวนเจอร์มาเช็กอิน
เชียงราย จังหวัดเหนือสุดของประเทศ โอบล้อมด้วยขุนเขาแห่งธรรมชาติและสายลมหนาว ทั้งยังเป็นจังหวัดที่ยังคงไว้ด้วยกลิ่นอายประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน นักท่องเที่ยวหลายคนติดใจในภาพความงามของดอยสูงเสียดฟ้า วัดวาอาราม และดอกไม้งามช่วงฤดูหนาว แต่อย่างไรก็ดี ยังอีกมีหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือ วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้มีความน่าสนใจอย่างไร วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปเยี่ยมชมให้เห็นกับตาตัวเองกันค่ะ
ภาพจาก chiangraifocus.com
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นวนอุทยานที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอยู่ 2 แห่ง ได้แก่
1. บริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง ตั้งอยู่ท้องที่บ้านน้ำจำ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นที่ในส่วนของที่ตั้งสำนักงาน
2. บริเวณขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ท้องที่บ้านจ้อง ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
2. แหล่งท่องเที่ยวในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ภาพจาก chiangraifocus.com
ภายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่
- ถ้ำหลวง มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในงดงามด้วยหินงอก หินย้อย ธารน้ำ และถ้ำลอด ที่สวยงาม
- ถ้ำพระ เป็นถ้ำขนาดเล็ก ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หินงอก หินย้อย ที่งดงามแปลกตา
- ถ้ำพญานาค หรือ ถ้ำมัลติกาเทวี เป็นถ้ำขนาดเล็ก ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอริยบุคคล ซึ่งได้มรณภาพในถ้ำนี้
- ถ้ำเลียงผา มีลักษณะเป็นเวิ้งมีหุบเขาเหวล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน บริเวณถ้ำยังพบฟอสซิลหอยฝาเดียว และหอยสองฝาโบราณอายุหลายร้อยล้านปี
- ขุนน้ำนางนอน อยู่ห่างจากถ้ำหลวงประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เต็มอิ่มกับความสวยงามของบึงน้ำจืด ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และยังเป็นที่ตั้งของ "ถ้ำทรายทอง" ถ้ำบนหน้าผาเหนือบึงน้ำ ซึ่งภายในยังไม่ได้รับการสำรวจ จึงยังคงความเป็นธรรมชาติที่สวยงาม
3. ตำนานเรื่องเล่า "ดอยนางนอน"
ใครที่เดินทางไปแม่สาย คงคุ้นตากับลักษณะภูเขาที่ทอดตัวเป็นแนวยาว คล้ายกับผู้หญิงที่นอนทอดกายยาวขนานไปกับถนนในเขตอำเภอแม่จันและอำเภอแม่ฟ้าหลวง แนวภูเขาที่เราเห็นนี้มีชื่อว่า "ดอยนางนอน" มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่หลายลูกติดต่อสลับซับซ้อน เป็นที่ตั้งของพระธาตุดอยตุง และมีแหล่งท่องเที่ยวถ้ำอยู่หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ "ถ้ำหลวง"
ในส่วนของตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับดอยนางนอน มีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน ได้แก่
- ตำนานที่ 1 เจ้าหญิงเมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา แอบรักกับชายเลี้ยงม้าในวัง และหนีตามกันมาถึงที่ราบใกล้แม่น้ำโขง เมื่อเดินทางถึงที่นั่น เจ้าหญิงก็ทรงครรภ์ได้หลายเดือน และเดินทางต่อไม่ไหว และบอกกับสามีว่าจะรออยู่ที่นี่ สามีได้อาสาไปหาอาหารมาให้ จนหายไป รอเท่าไรก็ไม่กลับมาเสียที นั่นเป็นเพราะถูกฆ่าโดยทหารของพระราชบิดา และด้วยความเสียใจ นางจึงใช้ปิ่นปักผมแทงพระเศียรของพระองค์จนเลือดไหล กลายเป็นแม่น้ำสาย และตัวพระองค์ที่นอนทอดกายยาว เป็นดอยนางนอนจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
- ตำนานที่ 2 เจ้าหญิงเมืองพุกามกรีธาทัพออกตามหาเจ้าชายที่นางรัก และขยายอาณาเขตมาเรื่อยๆ จนมาถึง "เวียงสี่ทวง" จึงพบกับเจ้าชาย แต่ปรากฏว่าเจ้าชายหนีหายไปกับสาวสวยชาวเวียงนี้อีกครั้ง นางรู้สึกเศร้าสลดจนตรอมใจตาย ก่อนตายได้ตั้งจิตอธิษฐานให้ร่างของนางกลายเป็นเทือกเขา ที่ชาวบ้านพากันเรียกว่า "ดอยนางนอน" น้ำตาที่ไหลรินกลายเป็น "ขุนน้ำนางนอน" ส่วนไพร่พลของนางก็กลายมาเป็นชนเผ่าหลากชาติพันธุ์บนภูเขาแห่งนี้
- ตำนานที่ 3 พญาครุฑลักพาลูกสาวพญานาค มาซ่อนอยู่ในเทือกเขาแห่งนี้ พญานาคผู้พ่อออกตามหา ก็พบลูกสาวนอนอยู่กับพญาครุฑในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ ปัจจุบันเรียกว่า "ขุนน้ำนางนอน" พญานาคขอลูกสาวคืน แต่พญาครุฑขอแลกกับทองคำ ทุกวันนี้แหล่งน้ำที่พญานาคนำทองคำขึ้นจากบาดาล มาแลกลูกสาวนั้นเรียกว่า "หนองตานาค" บริเวณที่พญานาคส่งทองคำให้พญาครุฑนั้นเรียกว่า "หนองละกา" และทองคำถูกนำไปเก็บไว้ที่ "ถ้ำทรายทอง" นั่นเอง
4. ลักษณะเด่นของ "ถ้ำหลวง"
ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ และเชื่อกันว่ามีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้าง ภายในถ้ำนักท่องเที่ยวจะพบกับความงดงามของเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย เป็นสถานที่ท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยว เพราะเป็นสถานที่ที่จะพบอุปสรรคความยากลำบากภายในถ้ำตลอดระยะทาง
จากบริเวณปากถ้ำ เมื่อเดินลงไปแล้วต้องข้ามลำธารขนาดเล็ก ก่อนจะไล่ระดับขึ้น-ลง มีช่องลมทำให้มีอากาศหายใจได้สะดวก แต่ในฤดูน้ำหลาก หรือช่วงฤดูฝนหากมีปริมาณน้ำมาก บริเวณลำธารก่อนเข้าไปในถ้ำจะถูกปิดกั้นด้วยน้ำ ทำให้ไม่สามารถเข้า-ออกได้ ต้องรอให้ระดับน้ำลดลงเท่านั้น
5. ช่วงเวลาเหมาะสมของการเที่ยวถ้ำหลวง
ถ้ำหลวง จะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมพื้นที่ตั้งแต่ช่วงฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน) เพราะเป็นช่วงที่น้ำจะไหลเข้าท่วมภายในถ้ำ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเที่ยวถ้ำหลวงจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ทั้งนี้ภายในถ้ำหลวงไม่ได้มีการติดแสงไฟส่องสว่าง รวมถึงป้ายแสดงเส้นทางหรือรายละเอียดต่าง ๆ ภายในถ้ำที่ไม่ค่อยชัดเจน ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวชมถ้ำหลวงจำเป็นที่จะต้องติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
6. เที่ยวถ้ำ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
ภาพจาก chiangraifocus.com
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเที่ยวถ้ำ แนะนำว่าควรสวมเสื้อผ้าที่รัดกุม รองเท้าหุ้มส้น เพื่อที่ว่าจะได้เดินบนพื้นถ้ำได้อย่างมั่นคง สวมหมวกเพื่อป้องกันศีรษะชนกับโขดหิน รวมถึงควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปให้พร้อม อย่างไฟฉาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ห้ามใช้คบไฟ เทียนไข หรือตะเกียงที่มีเปลวไฟ เพราะจะทำให้เกิดควันและเขม่าไฟลอยไปจับผนังถ้ำ และหินงอก หินย้อย ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
7. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ไม่มีบ้านพักบริการ นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปพักแรม แนะนำให้เตรียมเต็นท์ไปกางเอง โดยมีห้องน้ำและห้องสุขาแยกหญิง-ชาย ไว้คอยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
8. การเดินทางมายังวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
อยู่ห่างจากถนนจังหวัดเชียงราย-อำเภอแม่สาย (ถนนพหลโยธิน) 2.2 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างอำเภอแม่จัน-อำเภอแม่สาย ถนนลาดยางตลอดสายจนถึงวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (สามารถดูเส้นทาง GPS : วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน)
9. รายละเอียดค่าเข้าวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าเที่ยวชมวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) โทรศัพท์ 053 711 402
ใครที่อยากสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่เชียงราย ลองมาเที่ยวที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน กันดูนะ แล้วคุณจะรู้เลยว่าที่นี่ยังมีธรรมชาติสวย ๆ รอให้คุณได้เข้ามาค้นหา ลองหาเวลาว่าง ๆ แล้วมาเที่ยวที่นี่กันดูนะคะ ^ ^
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1. ที่ตั้งวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ภาพจาก chiangraifocus.com
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นวนอุทยานที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอยู่ 2 แห่ง ได้แก่
1. บริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง ตั้งอยู่ท้องที่บ้านน้ำจำ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นที่ในส่วนของที่ตั้งสำนักงาน
2. บริเวณขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ท้องที่บ้านจ้อง ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
2. แหล่งท่องเที่ยวในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ภาพจาก chiangraifocus.com
ภาพจาก chiangraifocus.com
- ถ้ำหลวง มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในงดงามด้วยหินงอก หินย้อย ธารน้ำ และถ้ำลอด ที่สวยงาม
- ถ้ำพระ เป็นถ้ำขนาดเล็ก ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หินงอก หินย้อย ที่งดงามแปลกตา
- ถ้ำพญานาค หรือ ถ้ำมัลติกาเทวี เป็นถ้ำขนาดเล็ก ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอริยบุคคล ซึ่งได้มรณภาพในถ้ำนี้
- ถ้ำเลียงผา มีลักษณะเป็นเวิ้งมีหุบเขาเหวล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน บริเวณถ้ำยังพบฟอสซิลหอยฝาเดียว และหอยสองฝาโบราณอายุหลายร้อยล้านปี
- ขุนน้ำนางนอน อยู่ห่างจากถ้ำหลวงประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เต็มอิ่มกับความสวยงามของบึงน้ำจืด ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และยังเป็นที่ตั้งของ "ถ้ำทรายทอง" ถ้ำบนหน้าผาเหนือบึงน้ำ ซึ่งภายในยังไม่ได้รับการสำรวจ จึงยังคงความเป็นธรรมชาติที่สวยงาม
3. ตำนานเรื่องเล่า "ดอยนางนอน"
ในส่วนของตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับดอยนางนอน มีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน ได้แก่
- ตำนานที่ 1 เจ้าหญิงเมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา แอบรักกับชายเลี้ยงม้าในวัง และหนีตามกันมาถึงที่ราบใกล้แม่น้ำโขง เมื่อเดินทางถึงที่นั่น เจ้าหญิงก็ทรงครรภ์ได้หลายเดือน และเดินทางต่อไม่ไหว และบอกกับสามีว่าจะรออยู่ที่นี่ สามีได้อาสาไปหาอาหารมาให้ จนหายไป รอเท่าไรก็ไม่กลับมาเสียที นั่นเป็นเพราะถูกฆ่าโดยทหารของพระราชบิดา และด้วยความเสียใจ นางจึงใช้ปิ่นปักผมแทงพระเศียรของพระองค์จนเลือดไหล กลายเป็นแม่น้ำสาย และตัวพระองค์ที่นอนทอดกายยาว เป็นดอยนางนอนจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
- ตำนานที่ 2 เจ้าหญิงเมืองพุกามกรีธาทัพออกตามหาเจ้าชายที่นางรัก และขยายอาณาเขตมาเรื่อยๆ จนมาถึง "เวียงสี่ทวง" จึงพบกับเจ้าชาย แต่ปรากฏว่าเจ้าชายหนีหายไปกับสาวสวยชาวเวียงนี้อีกครั้ง นางรู้สึกเศร้าสลดจนตรอมใจตาย ก่อนตายได้ตั้งจิตอธิษฐานให้ร่างของนางกลายเป็นเทือกเขา ที่ชาวบ้านพากันเรียกว่า "ดอยนางนอน" น้ำตาที่ไหลรินกลายเป็น "ขุนน้ำนางนอน" ส่วนไพร่พลของนางก็กลายมาเป็นชนเผ่าหลากชาติพันธุ์บนภูเขาแห่งนี้
- ตำนานที่ 3 พญาครุฑลักพาลูกสาวพญานาค มาซ่อนอยู่ในเทือกเขาแห่งนี้ พญานาคผู้พ่อออกตามหา ก็พบลูกสาวนอนอยู่กับพญาครุฑในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ ปัจจุบันเรียกว่า "ขุนน้ำนางนอน" พญานาคขอลูกสาวคืน แต่พญาครุฑขอแลกกับทองคำ ทุกวันนี้แหล่งน้ำที่พญานาคนำทองคำขึ้นจากบาดาล มาแลกลูกสาวนั้นเรียกว่า "หนองตานาค" บริเวณที่พญานาคส่งทองคำให้พญาครุฑนั้นเรียกว่า "หนองละกา" และทองคำถูกนำไปเก็บไว้ที่ "ถ้ำทรายทอง" นั่นเอง
4. ลักษณะเด่นของ "ถ้ำหลวง"
ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ และเชื่อกันว่ามีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้าง ภายในถ้ำนักท่องเที่ยวจะพบกับความงดงามของเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย เป็นสถานที่ท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยว เพราะเป็นสถานที่ที่จะพบอุปสรรคความยากลำบากภายในถ้ำตลอดระยะทาง
จากบริเวณปากถ้ำ เมื่อเดินลงไปแล้วต้องข้ามลำธารขนาดเล็ก ก่อนจะไล่ระดับขึ้น-ลง มีช่องลมทำให้มีอากาศหายใจได้สะดวก แต่ในฤดูน้ำหลาก หรือช่วงฤดูฝนหากมีปริมาณน้ำมาก บริเวณลำธารก่อนเข้าไปในถ้ำจะถูกปิดกั้นด้วยน้ำ ทำให้ไม่สามารถเข้า-ออกได้ ต้องรอให้ระดับน้ำลดลงเท่านั้น
5. ช่วงเวลาเหมาะสมของการเที่ยวถ้ำหลวง
6. เที่ยวถ้ำ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
ภาพจาก chiangraifocus.com
7. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ภาพจาก chiangraifocus.com
8. การเดินทางมายังวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
อยู่ห่างจากถนนจังหวัดเชียงราย-อำเภอแม่สาย (ถนนพหลโยธิน) 2.2 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างอำเภอแม่จัน-อำเภอแม่สาย ถนนลาดยางตลอดสายจนถึงวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (สามารถดูเส้นทาง GPS : วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน)
9. รายละเอียดค่าเข้าวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ใครที่อยากสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่เชียงราย ลองมาเที่ยวที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน กันดูนะ แล้วคุณจะรู้เลยว่าที่นี่ยังมีธรรมชาติสวย ๆ รอให้คุณได้เข้ามาค้นหา ลองหาเวลาว่าง ๆ แล้วมาเที่ยวที่นี่กันดูนะคะ ^ ^
ขอขอบคุณข้อมูลจาก