ล้ง 1919 รื้อฟื้นพื้นที่ประวัติศาสตร์สู่การเป็นแหล่งศิลปะไทย-จีนแห่งใหม่

ล้ง 1919

          เปิดตัวแหล่งศึกษาศิลปะวัฒนธรรมไทย-จีน แห่งใหม่ \'ล้ง 1919\' พื้นที่ประวัติศาสตร์เก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอายุกว่า 160 ปี

          พาไปทำความรู้จักกับ "ล้ง 1919" พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีการพูดถึงอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลมีเดีย ด้วยมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีประวัติโดดเด่น จากท่าเรือเก่าแก่อายุกว่า 160 ปี สู่การบูรณะครั้งใหญ่เพื่อการฟื้นคืนชีพให้ที่นี่มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย-จีน และที่เที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ อีกด้วย

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

          "ล้ง 1919" ตั้งอยู่สุดถนนเชียงใหม่ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ โดยพื้นที่จะอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับย่านตลาดน้อย-เยาวราช ที่นี่ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากท่าเรือกลไฟเก่าแก่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม มีความโดดเด่นในเรื่องของศิลปะไทย-จีน ซึ่งจะมีทั้งพิพิธภัณฑ์ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย-จีน พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้าศิลปะและงานฝีมือของศิลปินรุ่นใหม่ รวมไปถึงพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจบรรยากาศสบาย ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ล้ง 1919

          สำหรับประวัติของ ล้ง 1919 ได้ถูกบอกเล่าโดยคุณรุจิราภรณ์ หวั่งหลี ผู้บริหารโครงการ จากการที่ได้เปิดพื้นที่แห่งนี้ให้สื่อมวลชลได้เก็บภาพบรรยากาศกันก่อนเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งคุณรุจิราภรณ์ได้เล่าว่าในยุคสมัยที่การขนส่งทางเรือเฟื่องฟูนั้น ฮวย จุ่ง ล้ง (แปลว่า ท่าเรือกลไฟ) ก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2393 โดยการก่อตั้งของพระยาพิศาล ศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) มีพื้นที่ทั้งหมดราว ๆ 6 ไร่ พร้อมพื้นที่อาคาร 6,800 ตารางเมตร
         
          ต่อมาเมื่อท่าเรือแห่งประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาททางการค้ากับต่างชาติมากขึ้น ท่าเรือฮวย จุ่ง ล้ง ก็ได้ลดบทบาทลง นายตัน ลิบ บ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี จึงได้รับช่วงเป็นเจ้าของต่อจากตระกูลพิศาลบุตรในปี พ.ศ. 2462 และได้ปรับพื้นที่ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานและโกดังเก็บสินค้า พร้อมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยให้เช่าของคนงานในพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้กลายมาเป็นชื่อโครงการ "ล้ง" นั่นเอง

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

          ความโดดเด่นของพื้นที่แห่งนี้ สิ่งแรกก็คือ สถาปัตยกรรม โดยเป็นรูปแบบงานสถาปัตยกรรมจีนที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน พื้นเป็นไม้ หลังคาสร้างจากกระเบื้อง มีลักษณะเป็นอาคารหมู่แบบซาน เหอ หยวน ซึ่งเป็นการวางผังอาคารแบบจีนโบราณ โดยจะมีอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน 3 ด้าน เป็นผังรูปทรงตัว U มีพื้นที่ว่างตรงกลาง มักใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

          สิ่งที่โดดเด่นของอาคารดังกล่าว นอกจากรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการออกแบบภายในที่คำนึงถึงหลักฮวงจุ้ย พร้อมทั้งมีงานจิตรกรรมฝาผนังแบบศิลปะจีนอันเก่าแก่อายุกว่า 160 ปี ที่สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

          โดยเราจะเห็นจิตรกรรมฝาผนังอย่างเด่นชัดบนขอบประตูและหน้าต่าง ซึ่งก็จะมีการบูรณะใหม่ โดยใช้วิธีแบบโบราณ ให้คงแบบเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด

ล้ง 1919
          
         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรงานบูรณะจิตรกรรมรูปเขียนจีนบนฝาผนัง ณ ฮวย จุง ล้ง และทรงพระกรุณาลงฝีพระหัตถ์แต่งแต้มงานบูรณะ พร้อมทั้งพระกรุณาโปรดเกล้าลงพระนามาภิไธยด้วยหมึกจีนบนผนัง

ล้ง 1919

ล้ง 1919
         
          อีกสิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยในพื้นที่ของล้ง 1919 ก็คือ "ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว" ซึ่งประดิษฐานอยู่คู่กับฮวย จุง ล้ง มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง-ปัจจุบัน องค์เจ้าหม่าโจ้วทำขึ้นจากไม้ มีทั้งหมด  3 ปาง ได้แก่ ปางเด็กสาว ปางผู้ใหญ่ และปางผู้สูงอายุ ทั้ง 3 ปางนี้ชาวจีนได้นำขึ้นเรือมาจากจีน เมื่อถึงประเทศไทยก็ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าแห่งนี้ ชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายในไทยก็มักที่จะมาสักการะขอพร ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนจีนในแผ่นดินไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็มีอายุราว ๆ 167 ปี แล้ว

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

ล้ง 1919

          และจากการบูรณะท่าเรือฮวย จุง ล้ง ครั้งนี้ ก็จะประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ ดังนี้

          1. ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว
          2. อาคารจัดงานอีเว้นท์ หรืองานเลี้ยงสังสรรค์
          3. ลานกิจกรรมกลางแจ้ง
          4. Co-Working Space
          5. ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดีไซน์และงานฝีมือจากศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่
          6. ร้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ อาทิ ร้านนายห้าง, ร้านอาหารโรงสี, ร้านกาฟงกาแฟ ฯลฯ
          7. บริเวณที่นั่งพักผ่อนบริเวณระเบียงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
          8. ท่าเรือสัญจรทางแม่น้ำเจ้าพระยา
          9. ศิลปวัฒนธรรม อาทิ อาคารไม้สถาปัตยกรรมจีนโบราณ, ภาพจิตรกรรมฝาผนังจากปลายพู่กันจีน
          10. ท่าเรือหวั่งหลี

ล้ง 1919

          ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก LHONG 1919 หรือโทรศัพท์ 09 1187 1919

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
LHONG 1919

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ล้ง 1919 รื้อฟื้นพื้นที่ประวัติศาสตร์สู่การเป็นแหล่งศิลปะไทย-จีนแห่งใหม่ อัปเดตล่าสุด 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา 17:03:44 55,074 อ่าน
TOP
x close