เที่ยวบ้านพระบาทห้วยต้ม กินอาหารมังสวิรัติ พาใจไปพักกับความเรียบง่าย

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          บ้านพระบาทห้วยต้ม ลำพูน หมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่กินมังสวิรัติทั้งหมู่บ้าน เป็นที่เที่ยวลำพูน ที่ต้องไปสัมผัสกันสักครั้ง ใครที่ชอบการท่องเที่ยวแบบสโลว์ไลฟ์บอกเลยว่าที่นี่จะตอบโจทย์คุณได้อย่างดีทีเดียว
 
          สถานที่ท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบให้เราได้ไปเที่ยวพักผ่อน บางสถานที่ท่องเที่ยวยังได้รับความนิยมจนกระทั่งกลายเป็นว่าคึกคักมากเกินไปหน่อย ทำให้ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่วันนี้กระปุกดอทคอมจะขอพาไปเที่ยวอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวดี ๆ ที่จะทำให้เราได้ทั้งพักผ่อนและเรียนรู้ไปในตัว นั่นก็คือ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตโดดเด่น ถ้าให้เรียกตามประสาวัยรุ่นก็ต้องบอกว่าเป็นหมู่บ้านที่อินดี้มาก ๆ เพราะชาวบ้านกว่า 20,000 คน กินแต่อาหารมังสวิรัติเท่านั้น อ๊ะ ๆ เริ่มอยากรู้จักหมู่บ้านแห่งนี้แล้วใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นตามเราไปเที่ยวกันเลย
บ้านพระบาทห้วยต้ม

          กิจกรรมการเที่ยวบ้านพระบาทห้วยต้ม ขอแนะนำว่าให้วางแผนเป็นแบบ 3 วัน 2 คืนค่ะ จะได้ไม่ต้องรีบมากมาย แต่ทริปนี้เรามาในโครงการเหนือฝันล้านแรงบันดาลใจ อันเป็นความร่วมมือของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและ Local Alike ซึ่งเรามีภารกิจที่จะต้องไปทำกันต่อ จึงได้มาเที่ยวที่นี่ในแบบฉบับ 2 วัน 1 คืน ซึ่งแค่นี้ก็ได้อิ่มเอมกับหมู่บ้านแห่งรอยยิ้มแห่งนี้แล้ว รับรองได้เลยว่าคุณจะได้พักจิตพักใจและพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญที่สุด ยังได้แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต เปลี่ยนมุมมองความคิดบางอย่างไปเลยล่ะ
 
Day 1 : ตัวเมืองลำพูน-บ้านพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้

พระธาตุหริภัญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

          เราเดินทางมาถึงลำพูนในช่วงสาย ๆ แน่นอนว่ามาลำพูนทั้งที เราจะต้องแวะไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของลำพูนกันก่อนค่ะ ซึ่งไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี พระบรมธาตุหริภุญชัย ก็ยังคงสวยสง่างามและยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น โดยมีความเชื่อกันว่าพระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุประจำปีระกา

พระธาตุหริภัญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

          ตัวพระบรมธาตุหริภุญชัย มีสีเหลืองทองอร่าม ภายในบรรจุโกศทองคำของพระเกศธาตุ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีลักษณะเจดีย์แบบลังกา ด้านนอกทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มกุมภัณฑ์และฉัตรประจำสี่มุมตามลักษณะของพระธาตุในภาคเหนือ

พระธาตุหริภัญชัย
เฉาก๊วยนมสด ของอร่อยห้ามพลาดเมื่อไปเยือนวัดพระบรมธาตุหริภุญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

พระธาตุหริภัญชัย

          ช่วงเวลาแนะนำให้มาสักการะคือช่วงเช้าและช่วงเย็น เพราะอากาศไม่ร้อนจนเกินไป ใครที่ต้องการเดินวนรอบพระธาตุจะได้ไม่ร้อนมากนัก

เที่ยวลำพูน

เที่ยวลำพูน

เที่ยวลำพูน

          ใครที่มองหาร้านอาหารพื้นเมืองสุดอร่อยของลำพูน ต้องไม่พลาดไปลิ้มลองอาหารอร่อย ๆ ได้ที่ร้านดาวคะนอง มีเมนูอาหารพื้นเมืองให้เลือกทานหลากหลายเมนูเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นไส้อั่ว, น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, ลาบหมูคั่ว, แกงโฮะ, แกงอ่อมหมู, แกงฮังเล และลาบเป็ด เป็นต้น แต่ที่ชอบมาก ๆ ก็คือให้เราตักของหวานทานเองได้เลย จะกินมากน้อยแค่ไหน จัดไป !

เที่ยวลำพูน

เที่ยวลำพูน

          จากตัวเลือกลำพูนเราต้องเดินทางไปยังอำเภอลี้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หลับยาวได้เลย ใครต้องแวะเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ พยายามอย่าทานน้ำเยอะนะคะ เพราะเส้นทางนี้มีปั๊มน้ำมันน้อย T^T

          อำเภอลี้ เป็นอำเภอเล็ก ๆ ของลำพูนค่ะ ไม่ได้เป็นเส้นทางหลักในการไปเยือนเชียงใหม่ เพราะฉะนั้นอำเภอนี้จึงเป็นอำเภอที่นักท่องเที่ยวตั้งใจจะเข้ามาแวะเที่ยวชมจริง ๆ ถึงจะผ่านเข้ามาค่ะ

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          เราเดินทางถึงบ้านพระบาทห้วยต้มในช่วงบ่ายแก่ ๆ สถานที่แรกที่เราจะไปกันก็คือ ศูนย์วิจัยงานหัตถกรรมบ้านห้วยต้ม ชาวบ้านน่ารักมาก ๆ ค่ะ มีขนมและน้ำดื่มสมุนไพรสุดเย็นฉ่ำมาต้อนรับ

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          บ่ายนี้เราจะมาดูวิธีการทอผ้าแบบโบราณกันค่ะ โดยมี พี่หนานวิมล สุขแดง ประธานกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนพระบาทห้วยต้ม ได้เล่าให้เราฟังก่อนว่า เดิมทีพื้นที่แห่งนี้แห้งแล้งมาก โดยหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้ริเริ่มมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ เมื่อชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ทราบว่าท่านมาอยู่ที่นี่ จึงได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่นี่จนกลายเป็นหมู่บ้าน และใช้ชีวิตแบบพอเพียง กินอาหารมังสวิรัติ ดำเนินชีวิตอยู่ในหลักพระพุทธศาสนา
 
บ้านพระบาทห้วยต้ม

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯ เยี่ยมเยือนราษฎรบ้านพระบาทห้วยต้ม ทรงมีพระราชดำริว่าชาวบ้านขาดแคลนพื้นที่ทำกินและมีข้าวไม่พอบริโภค เป็นโรคขาดสารอาหาร ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ รับหมู่บ้านพระบาทห้วยต้มให้อยู่ภายใต้การดูแลของโครงการหลวงเป็นต้นมา


บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          หลังจากนั้นพี่สายทอง เงินเลิศสกุล ประธานศูนย์วิจัยงานหัตถกรรมพระบาทห้วยต้ม ก็มาเล่าให้ฟังถึงประวัติการทอผ้า และแนะนำลายผ้าต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านพระบาทห้วยต้ม ที่เห็นลายสวย ๆ บนผ้าทอเหล่านี้ มีเรื่องราวทั้งนั้นนะคะ และผู้หญิงในหมู่บ้านทุกคนก็จะต้องทอผ้าเป็น โดยแน่นอนว่าจะต้องทอเพื่อให้ตัวเองใส่เอง ให้พ่อแม่ และที่สำคัญคือ ต้องทอให้เจ้าบ่าวในอนาคตด้วย น่ารักจัง ^^

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          ช่วงแดดร่มลมตก หนานวิมลชวนพวกเราไปเยี่ยมชมหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย เป็นหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ห้ะ...รอบ ๆ หมู่บ้านก็ดูเจริญนี่นา แต่ทำไมหมู่บ้านนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้ พี่หนานวิมลรีบชี้แจงให้เราฟังค่ะ ว่าจริง ๆ แล้วชาวบ้านปฏิเสธที่จะไม่เอาไฟฟ้าเองค่ะ เพราะว่าอยากจะใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายจริง ๆ และการใช้ชีวิตแบบนี้ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรมากมายด้วย ปัจจุบันก็มีชาวบ้านได้ย้ายเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นจากเดิมอีกต่างหาก เห็นไหมคะ...แค่เรารู้จักพอเพียง ชีวิตมันก็จะเพียงพอสำหรับเราเอง :)

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          สิ่งที่สำคัญของหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย ก็คือ บ่อน้ำน้อย เป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ ที่มีน้ำผุดขึ้นมาตลอดเวลา ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำน้ำในบ่อนี้ไปดื่มกิน ฝากไว้นิดหนึ่งค่ะ ว่าถ้าอยากไปเที่ยวชมหมู่บ้านแห่งนี้ควรไปกับไกด์ท้องถิ่นนะคะ ไกด์จะได้แนะนำถึงข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของการเยี่ยมชมหมู่บ้านให้ฟังได้ค่ะ
 
          อยากจะบอกว่าบรรยากาศรอบ ๆ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้มนั้น เงียบสงบมาก เหมาะแก่การมาปั่นจักรยานช้า ๆ เที่ยวชมรอบ ๆ หมู่บ้าน ใครที่ชอบปั่นจักรยานจะต้องหลงรักแน่นอน

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          คราวนี้ก็มาถึงสถานที่ท่องเที่ยวอันเป็นไฮไลท์ของเราแล้ว จากหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย จะเห็นพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยอันโดดเด่น เราจะไปเก็บภาพยามเย็นของพระมหาธาตุเจดีย์กัน พอเราลงจากรถ ต้องอึ้งทึ่งอีกรอบ กับท้องฟ้าสวย ๆ ที่อยู่เบื้องหลังพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย โอ้แม่เจ้า เหมือนกับมีลำแสงส่องประกายออกมาเลยทีเดียว บรรยากาศรอบ ๆ ก็ยังเงียบสงบ ได้ยินเพียงแค่เสียงกระดิ่งที่ลมพัดมาเบา ๆ เป็นระลอก ๆ อากาศก็เย็นสบาย บอกเลยค่ะว่าจิตใจสงบมาก ๆ :)
 
          เย็นย่ำค่ำพอดี ได้เวลากินข้าวแล้วค่ะ อย่างที่บอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้ ชาวบ้านจะกินอาหารมังสวิรัติ เอาล่ะสิ ได้ยินมาว่าอาหารมังสวิรัติจืดชืดและไม่อร่อย ฉันจะผ่านมื้อนี้ไปได้ไหมน้า...
 
บ้านพระบาทห้วยต้ม

          ชุดขันโตกแบบพื้นเมือง ถูกจัดมาอย่างสวยงาม แค่เพียงกลิ่นของกับข้าวที่โชยมาก็ต้องบอกว่าหอมหวนชวนกินแล้วค่ะ แต่ก่อนที่จะทานข้าว ก็มีพิธีเรียกขวัญแบบพื้นเมืองให้กับทุกคนด้วย เป็นประเพณีที่เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะปกปักรักษาพวกเราตลอดการเดินทางค่ะ
 
บ้านพระบาทห้วยต้ม
เด็ก ๆ แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองมารำอย่างสวยงามให้ชมกัน

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          ถึงเวลาต้องมาพิสูจน์ขันโตกมังสวิรัติมื้อนี้กันแล้วค่ะ มีความลุ้นมาก ว่ารสชาติจะเป็นยังไง 555 คำแรกเข้าปากมาแล้วค่ะ อื้อหือ...เพลงโอ๊ย โอ๊ย ของเบน ชลาทิต ลอยเข้ามาในหัวเลย โอ๊ย...มันอร่อยมาก อร่อยแบบน้ำหูน้ำตาจะไหล

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          ไม่ได้โม้จริง ๆ นะคะ ขอท้าให้มาลองเลยค่ะ โดยเฉพาะน้ำพริกดำหรือมุ่ยและซู รสชาติจัดจ้าน เหมาะกับคนชอบความเผ็ดร้อนมาก !
 
Day 2 : ตักบาตรวันพระใหญ่ วัดพระบาทห้วยต้ม ชมตลาดเช้าสุดคลาสสิก
 
          วันนี้เราตื่นเร็วนิดหนึ่ง ประมาณตี 5 เพื่อไปตักบาตรอาหารคาว และตักบาตรผักกันค่ะ แต่ก่อนจะไปใส่บาตรได้ก็ต้องซื้อของใส่บาตรกันก่อน ไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหนไกลค่ะ เพราะด้านหน้าวัดจะมีตลาดเช้า ซึ่งจำหน่ายเฉพาะอาหารมังสวิรัติและผักสด

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          ตอนเดินเข้าไปในตลาดแอบกรี๊ดกร๊าดในใจเบา ๆ ทำไมของกินมันเยอะแยะมากมายขนาดนี้ หน้าตาก็ดึงดูดใจให้อยากกินไปเสียหมดทุกอย่าง แถมราคายังถูกแสนถูก เริ่มต้นด้วยหลัก 5 บาท แม่เจ้า...งานนี้ไม่ต้องบอกนะคะว่าพุงกางขนาดไหน T^T สรุปว่าได้มาทั้งของทำบุญตักบาตร และของกินของตัวเอง 555

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          พอเราเดินไปที่วัด ชาวบ้านก็เริ่มทยอยมาแล้วค่ะ โดยชาวบ้านมักจะถอดรองเท้าไว้ที่หน้าวัดค่ะ เพราะถือคติที่ว่าจะได้ไม่เอาเศษหินเศษทรายติดกลับบ้านไป และการตักบาตรในตอนเช้าช่วงหกโมงเช้านั้น จะเป็นการตักบาตรอาหารคาวหวาน ส่วนรอบสายช่วงประมาณ 08.00 น. จะเป็นการตักบาตรผัก เพราะฉะนั้นในวันพระแบบนี้ ชาวบ้านก็จะหยุดทำงาน เพื่อมาทำบุญ เข้าวัดเข้าวากับครอบครัวค่ะ
 
บ้านพระบาทห้วยต้ม
          
         การแต่งกายของชาวบ้าน ก็จะใส่ชุดพื้นเมืองมากันทุกบ้าน เป็นผ้าทอที่ทอกันเอง ลวดลายและสีสันสวยงาม ใครจะจีบผู้หญิงกะเหรี่ยงต้องดูให้เป็นนะคะว่าเขาแต่งงานหรือยัง วิธีการดูก็ง่าย ๆ ค่ะ หากผู้หญิงคนไหนโสด ก็จะนุ่งเป็นชุดกระโปรงยาวสีขาว ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะนุ่งเสื้อกับผ้าถุงค่ะ ส่วนผู้ชายแต่งเหมือนกันคือ เสื้อพื้นเมืองและผ้าถุง

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          เช้านี้อาหารของเราก็ยังเป็นแบบมังสวิรัติค่ะ แต่ก่อนจะทานข้าว ก็มีการสาธิตวิธีการทำน้ำพริกดำให้ชมกันด้วย

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

บ้านพระบาทห้วยต้ม

          การปิดทริปนี้จะเป็นกิจกรรมอย่างอื่นไปไม่ได้ค่ะ นอกจากการช้อปปิ้ง ฮ่า ๆๆ ต้องบอกก่อนว่าที่บ้านพระบาทห้วยต้ม นอกจากจะมีงานทอผ้าอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแล้ว ก็ยังมีการทำเครื่องเงินอีกด้วย ซึ่งที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตงานแปรรูปเงินที่มีชื่อเสียงของทางภาคเหนือเลยทีเดียว หึ...หึ...หึ กระเป๋าแบนไปตามระเบียบจ้า
 
          บ้านพระบาทห้วยต้ม ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก ๆ ค่ะ โดยเฉพาะผู้หญิง เพราะมีกิจกรรมสนุก ๆ ให้ทำได้หลายอย่าง อีกทั้งยังปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ localalike.com หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5324 8604-5
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคเหนือ
Local Alike
แอร์เอเชีย
 


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เที่ยวบ้านพระบาทห้วยต้ม กินอาหารมังสวิรัติ พาใจไปพักกับความเรียบง่าย อัปเดตล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 15:00:21 25,803 อ่าน
TOP
x close