
ใกล้ถึงช่วงสิ้นปีแบบนี้ ใครที่กำลังเตรียมตัวหาที่เที่ยวหน้าหนาว ภาคอีสานก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ วันนี้เราได้รับโอกาสดี ๆ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้พาไปสำรวจ "เส้นทางตามรอยพระบาทในถิ่นอีสาน" ณ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินพื้นที่ภาคอีสานอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2498 และหลังจากเสด็จพระราชดำเนินในวันนั้น ได้มีโครงการตามแนวพระราชดำริผุดขึ้นมามากมาย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่พระองค์เคยเสด็จฯ ที่ยังความปลาบปลื้มใจให้กับลูกหลานชาวอีสานมาจนถึงทุกวันนี้ เส้นทางตามรอยพระบาทเส้นนี้ จะสร้างความประทับใจให้เราได้มากน้อยแค่ไหน ตามมาดูด้วยกันเลย
.jpg)
.jpg)
.jpg)
และนี่คือ...ดอกไม้ป่านานาชนิด ที่กำลังชูช่อออกดอกสวยงาม สีสันของพวกมันเรียกร้องความสนใจให้นักท่องเที่ยวอย่างเราต้องหันมาเก็บภาพอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
และสำหรับนักท่องเที่ยวคนไหนที่อยากเดินทางมาชมทุ่งดอกไม้ป่าที่ภูอานม้า แนะนำว่าให้ติดต่อรถนำเที่ยวที่เป็นรถเช่าของชุมชนท้องถิ่น เพราะจะสะดวกกว่าการนำรถมาด้วยตัวเอง เพราะเส้นทางบนภูอานม้าจะมีลักษณะเป็นลานหิน ค่อนข้างขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ อบต.นาคำ โทร. 045 399 360 หรือ เฟซบุ๊ก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
เส้นทางตามรอยพระบาทในถิ่นอีสานถัดมา คือ "แก่งสะพือ" ที่นี่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของอำเภอพิบูลมังสาหาร ความพิเศษของสถานที่แห่งนี้ เห็นจะหนีไม่พ้น ต้องแวะมาชมลายพระหัตถ์บนหินอ่อน ที่เคยทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จฯ เยือน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498
.jpg)
หลังจากเดินเข้ามาไม่นาน นักท่องเที่ยวก็จะเจอกับร้านค้าต่าง ๆ ที่ขายทั้งของกินและของฝากอยู่มากมาย
.jpg)
...เดินเข้ามาในแก่งสะพือไม่นาน คุณจะได้เห็นลายพระหัตถ์บนหินอ่อนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่เคยทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาไว้เป็นอนุสรณ์
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
ถัดมาไม่ไกลจากแก่งสะพือ เราพาคุณมาสำรวจเส้นทางตามรอยพระบาทกันต่อที่ "เขื่อนสิรินธร" หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่า เขื่อนโดมน้อย เป็นเขื่อนดินเนกประสงค์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังมีประโยชน์ด้านการชลประทาน ป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยวอีกด้วย อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเคยเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิรินธรและโรงไฟฟ้าลำโดมน้อยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนามเขื่อนว่า "เขื่อนสิรินธร"
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
แต่ก่อนที่เราจะไปชมพระอาทิตย์ตกดินสวย ๆ เราได้แวะเก็บภาพธรรมชาติที่ "สะพานแขวนยาวที่สุดในอีสาน" กันก่อน ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมจากฝั่งที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะกับดอนตะนะ นับเป็นอีกหนึ่งจุดชมวิวสองฟากฝั่งปากแม่น้ำมูล และใช้เดินข้ามเข้าไปชมธรรมชาติบนดอนตะนะได้อย่างเพลิดเพลิน หรือจะถ่ายเซลฟี่ก็ดูดีไปอีกแบบ
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
...ทัศนียภาพที่คุณจะได้เห็น เมื่ออยู่บนสะพานแขวน
.jpg)
.jpg)
.jpg)
คราวนี้ก็ถึงเวลาดูพระอาทิตย์ตกขอบฟ้าของจริงที่แก่งตะนะกันแล้ว
.jpg)
บอกเลยว่าบรรยากาศช่วงเย็น ๆ ของที่นี่นับได้ว่าวิวระดับหลักล้าน เพราะคุณจะได้ยินเสียงน้ำไหล เคล้าคลอไปกับบรรยากาศช่วงโพล้เพล้ ที่แสงพระอาทิตย์กำลังทอแสงเป็นสีส้ม มันช่างฟินอะไรเช่นนี้ เราจึงขออยู่ที่นั่นเพื่อซึมซับบรรยากาศยามเย็นเป็นเวลานานสักพักเลยทีเดียว
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
ณ ห้วงเวลาที่เราอยู่ที่น้ำตกสร้อยสวรรค์ ไม่เพียงแต่ขนาดของตัวน้ำตกที่เราชื่นชมเท่านั้น หากแต่กระแสน้ำหรือธารน้ำที่สาดกระเซ็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เราชุ่มชื่นหัวใจได้ไม่แพ้กัน
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
![เที่ยวอุบลราชธานี เที่ยวอุบลราชธานี]()
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
หยดน้ำค้างจากเมื่อคืนยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้เราได้เห็นอย่างชัดเจน
.jpg)
.jpg)
.jpg)
เห็นแล้วหรือยังคะว่า....การเดินทางตามรอยพระบาทที่จังหวัดอุบลราชธานีครั้งนี้ ทำให้เราได้มองเห็นความงดงามของสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไล่เรียงตั้งแต่ทุ่งดอกไม้ป่าเล็ก ๆ เฝ้าชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่แก่งตะนะ หรือแม้กระทั่งวิถีชีวิตผู้คน เหล่านี้ล้วนเปิดมุมมองการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีในมุมใหม่ที่ต่างไปจากเดิม ดังนั้นแล้ว...ความรู้สึกที่เราเส้นทางตามรอยพระบาทเส้นนี้ จึงเป็นมากกว่าความประทับใจ หากแต่เป็นความงดงามอย่างยากเกินบรรยาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, dnp.go.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, dnp.go.th