เยี่ยมอดีต เยือนพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
  
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (คู่หูเดินทาง)

          สถาปัตยกรรมอีกสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นสำคัญของเมืองไทย ชื่อของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี คงอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากแวะเวียนไปเยี่ยมชม โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมและทรงพระสำราญในฤดูร้อน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบผังด้วยพระองค์เอง ทรงกำหนดแบบพระราชนิเวศน์ให้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องขาวสี่เหลี่ยม ใต้ถุนสูง เทพื้นคอนกรีตตลอดพระตำหนัก ซึ่งอยู่กระจายกันเป็นกลุ่ม ๆ มีระเบียงและบันไดเป็นเอกเทศ แต่มีทางเดินเชื่อมถึงกันได้โดยตลอด ห้องทุกห้องหันหน้าเพื่อชมวิวทะเล และมีทางเดินไปสู่ทะเลด้วย

          พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป โดยได้รับการออกแบบจากสถาปนิกชาวอิตาลี นอกจากนี้ ยังมีการใช้ต้นไม้ใหญ่เช่นต้นมะตูม รวมไปถึงการใช้ต้นไม้ที่มีอยู่เดิมเช่นต้นไทร และการใช้ไม้มงคลต่าง ๆ จะสังเกตได้ว่าบริเวณหน้าพระราชวังนั้นจะเห็นสนามหญ้าสีเขียวโดยรอบ ซึ่งความเป็นจริงแล้วหญ้าไม่สามารถขึ้นบนพื้นทรายได้ จึงได้นำดินมาถมพื้นให้สูงขึ้นและใช้หญ้าแฝกทำเป็นแนวกำแพงเรียงติดกันกั้น ไว้เพื่อไม่ให้ดินทรุดตัวลงและสามารถปลูกหญ้าได้นั่นเอง ส่วนเสาทุกต้นของตัวพระราชวังจะถูกหล่อน้ำไว้เพื่อไม่ให้มดหรือแมลงเข้ามา ทำลายไม้หรือเครื่องเรือนบนพระตำหนักได้

          ขณะเดินเยี่ยมชมบริเวณพระราชวังก็จะได้ยินเสียงบรรเลงดนตรีไทยแบบสด ๆ จากคณะปี่พาทย์ เป็นการช่วยสร้างบรรยากาศแบบย้อนยุคได้ดีเลยทีเดียว


พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


          พระราชนิเวศน์นี้ประกอบด้วยพระที่นั่งใหญ่ 3 องค์ มีนามเรียงกันจากชั้นในสุดมาจนถึงประตูพระราชนิเวศน์ด้านหน้าและมีชื่อที่คล้องจองกัน ดังนี้…

1. พระที่นั่งสมุทรพิมาน

          มีสองหมู่ คือหมู่เดิมด้านในและหมู่ใหม่ด้านหน้า เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาคารหลังใหญ่สุดทรงใช้เป็นห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ ห้องทรงพระอักษร และห้องสรง ส่วนห้องเสวยเป็นศาลารูปสีเหลี่ยม มีลูกกรงรอบไม่กั้นฝา ลักษณะคล้ายศาลา เป็นที่ซึ่งโปรดประทับในเวลากลางวัน ปัจจุบันจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระบรมรูปให้คนทั่วไปได้สักการะ ในส่วนพระที่นั่งสมุทรพิมานหมู่เดิมเคยเป็นประทับของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ระหว่างมีพระครรภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

2. พระที่นั่งพิศาลสาคร

          เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก นอกจากพระที่นั่งแล้วยังมีเรือนเล็ก ๆ เป็นกลุ่มอาคารสำหรับฝ่ายใน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีบันไดขึ้นลงชายหาดและพลับพลาริมทะเลซึ่งทอดขนานคู่ไปกับพระที่นั่งสมุทร พิมานซึ่งเป็นส่วนของฝ่ายหน้า

3. พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์

          เป็นอาคารสองชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมและจัดงานสโมสรต่างๆ รวมถึงการแสดงละครซึ่งพระองค์ทรงโปรดอย่างยิ่ง


พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
 พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


Tip

          เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ 1 วัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศเท่ากัน คือ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท และมีรถจักรยานให้เช่าขับชมบริเวณภายในรอบ ๆ ค่าย มีรถสำหรับผู้พิการ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านขายเครื่องดื่มและไอศกรีมไว้คอยให้บริการอีกด้วย
         
          การขออนุญาตเข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือแจ้งมาที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน โดย เรียนผู้อำนวยการสำนักงานมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และส่งหนังสือแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 032 508 444-5 โทรสาร 032 508 039

          การขึ้นชมบนหมู่อาคารพระที่นั่ง มีการจัดแบ่งรอบให้ขึ้นชม โดยทุก10 นาที สามารถขึ้นชมได้ 20 ท่าน ตามลำดับผู้มาก่อนหลัง

          พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ถือเป็นส่วนพระราชฐาน ผู้เข้าเยี่ยมชมควรให้ความเคารพสถานที่ และควรแต่งกายให้สุภาพ ไม่ใส่เสื้อแขนกุดและสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่า สำรวมกิริยา มารยาท ใช้วาจาให้สุภาพ ไม่ส่งเสียงดัง และห้ามกระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคาร ทรัพย์สิน และภูมิทัศน์โดยรอบ

          พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียงใด ๆ และไม่อนุญาตให้ผู้นำคณะนักท่องเที่ยว (มัคคุเทศก์) นำชมหมู่พระที่นั่งพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เว้นแต่ได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

          ห้ามเล่นการพนัน สูบบุหรี่ นำสุราหรือของมึนเมา สิ่งเสพติด สัตว์เลี้ยง รวมถึงห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มจากภายนอก เข้ามารับประทานในส่วนพระราชฐาน

          ห้ามบันทึกภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในส่วนพระราชฐาน เพื่อเผยแพร่ เพื่อการค้าและเพื่อการโฆษณา เว้นแต่ได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

          การขึ้นชมหมู่พระที่นั่งฯ ต้องขึ้นลงตามทางที่กำหนด ชมตามเวลาที่แบ่งเป็นรอบที่กำหนด ควรถอดหมวก แว่นกันแดดก่อนขึ้นชม ห้ามนำขาตั้งกล้อง ร่ม และวัตถุปลายแหลมขึ้นไป ห้ามวิ่งบนระเบียงหมู่พระที่นั่ง พิงระเบียงและนั่งบนราวระเบียงโดยรอบ ห้ามมิให้ล่วงล้ำเข้าไปในเขตที่มีสายดอกรักกั้นไว้ และควรถอดรองเท้า แล้วนำติดตัวไปในถุงที่เตรียมไว้ให้


  

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เยี่ยมอดีต เยือนพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อัปเดตล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 15:05:46 5,373 อ่าน
TOP
x close