ที่เที่ยวสิงห์บุรี รวมสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดสิงห์บุรี รำลึกถึงความดีของคนกล้าชาวบ้านบางระจัน พร้อมกราบไหว้พระนอนคู่บ้านคู่เมือง
เมื่อเอ่ยถึง "จังหวัดสิงห์บุรี"
หลายคนอาจจะคิดถึงเมืองขนาดกะทัดรัดที่เป็นทางผ่านไปยังภาคเหนือ แต่หารู้ไม่ว่าจังหวัดนี้ซ่อนประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานที่ถูกถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่
ดังคำขวัญของจังหวัดที่ว่า "ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง"
รวมทั้งยังเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากมาย เช่น
วัดพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน
และยังหลงเหลือพิพิธภัณฑ์ สถานที่โบราณต่าง ๆ
เอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมอีกด้วย วันนี้เราเลยแวะไปหยิบเอา 11 ที่เที่ยวสิงห์บุรี ที่ห้ามพลาดมาแนะนำกัน ส่วนจะมีที่ไหนบ้างนั้นอย่ารอช้า ตามไปชมกันเลย ^^
1. วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
2. อนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน
ด้วยพื้นที่เมืองยุทธศาสตร์การทำสงครามในสมัยอยุธยา ทำให้พื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีกลายเป็นสถานที่แห่งความทรงจำที่แสนภูมิใจของชาวไทยต่อวีรกรรมอันหาญกล้าของชาวบ้านบางระจัน และเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์จึงได้มีการสร้าง "อนุสาวรีย์บางระจัน" ขึ้น จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ประชาชนทั่วไปได้มานั่งพักผ่อนภายในสวนรุกชาติ ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติสุดร่มรื่นบนพื้นที่ประมาณ 115 ไร่ กลางสวนโดดเด่นด้วยรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน
พร้อมทั้งสามารถเข้าไปศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญได้จากอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน ซึ่งจัดห้องนิทรรศการอยู่ตลอด โดยแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
3. แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย
หนึ่งในสถานที่เก่าแก่ของเมืองสิงห์บุรี ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของวัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) หมู่ 7 บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน โดย "แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย" ถูกค้นพบตามริมแม่น้ำน้อยตลอดระยะทาง 2 กิโลเมตร ซึ่งมีจำนวนมากถึง 200 เตา มีการสันนิษฐานผู้สร้างไว้สองแบบ คือ เป็นชาวจีนและช่างปั้นต่างถิ่นที่อพยพมาตั้งรกรากบริเวณนี้ หรืออาจจะเป็นช่างปั้นจากสุโขทัย สำหรับผลิตภัณฑ์จากแม่น้ำน้อย ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็น ไหสี่หู ครก โอ่งอ่าง กระปุกใส่ปูน ขวดปากแตรทรงสูง หวด ฝา เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม กระสุนดินเผาขนาดต่าง ๆ เป็นต้น
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อยขึ้นเพื่อรักษาชิ้นงานประวัติศาสตร์แห่งนี้ไว้ โดยมีลักษณะเป็นอาคารโปร่ง พร้อมจัดแสดงนิทรรศการเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย และตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจำนวนหนึ่งที่พบในแหล่งนี้
4. อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์
ตั้งอยู่ในตำบลทับยา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 309) สำหรับชื่อ "แม่ลา" นั้นมาจากชื่อแม่น้ำในจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ทำให้ปลาที่จับได้จากที่นี่่มีรสชาตินุ่ม เนื้อนิ่ม อร่อย มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ของฝากขึ้นชื่อของจังหวัด แต่ปัจจุบันเนื่องจากจำนวนปลาที่ลดน้อยลง ทางราชการจึงมองหาทางอนุรักษ์และฟื้นฟูโดยการขุดลอกลำน้ำ และสร้าง "อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์" ขึ้น พร้อมกับเนรมิตบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะน่าพักผ่อน เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับเดินเล่น ถ่ายรูป และนั่งปิกนิกพักผ่อนแบบครอบครัวในช่วงวันหยุด
5. คูค่ายพม่า
อีกหนึ่งสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ มีลักษณะเป็นเนินดินรูปตัว L ยาวประมาณ 5-15 เมตร กว้าง 3 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่า ซึ่ง "คูค่ายพม่า" เป็นอีกหนึ่งฉากที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงออกศึกรบกับพระเจ้าเชียงใหม่ที่มาตั้งทัพอยู่บริเวณปากแม่น้ำพุทรานั่นเอง ส่วนในปัจจุบันบริเวณนี้ถูกปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน บริเวณด้านหน้าโดดเด่นด้วยกำแพงค่ายสีแดงอิฐ และมีศาลาปูนปั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยืนถือดาบ รวมทั้งสร้างพระพุทธรูปให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์ สำหรับเก็บวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุ ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 และด้วยจำนวนที่มากขึ้นของโบราณวัตถุทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกส่งต่อให้กรมศิลปากรดูแล พร้อมเปลี่ยนชื่อมาเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี" ลักษณะเป็นอาคาร 2 หลัง แบ่งออกเป็น 4 ห้อง โดยอาคารเพิ่ม ดุริยางกูร จัดแสดงชั้นบนเป็นศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น
ส่วนอาคารศักดิ์บุรินทร์ จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง แหล่งเตาแม่น้ำน้อย และชั้นล่างจัดแสดงการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดบริการในวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.00 น. โดยเสียค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 10 บาท และชาวต่างชาติคนละ 50 บาท อีกทั้งยังสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี โทรศัพท์ 0 3658 1986
7. วัดหน้าพระ
วัดตั้งอยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ โดยสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า ลักษณะโดดเด่นของวัดแห่งนี้ คือ องค์พระปรางค์ ที่ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ 8 วา ที่ภายหลังมีการบูรณะเพิ่มเติมด้วยสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น ซึ่งตัวพระปรางค์ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นพระวิหารหลวง และทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ มีเจดีย์ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบหลายองค์เช่นกัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่มองหาสถานที่เก่าแก่ เหมาะสำหรับถ่ายภาพเก็บความทรงจำเป็นอย่างยิ่งเลยก็ว่าได้
8. วัดพิกุลทอง
"วัดพิกุลทอง" หรือ "วัดหลวงพ่อแพ" หรือชื่อเดิมคือวัดใหม่พิกุลทอง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ อดีตเจ้าอาวาส เป็นพระที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมาก โดยตัวอาคารจัดแสดงเดี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ส่วนอีกด้านเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ สีทองอร่าม ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค รอบ ๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคต ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่าง ๆ และพระสังกัจจายองค์ใหญ่ให้โชคลาภ ท่ามกลางความร่มรื่นของธรรมชาติบริเวณวัดอีกด้วย
9. วัดสว่างอารมณ์
วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ เป็นแหล่งรวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษาการก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ซึ่งการหล่อพระของที่วัดทำโดยพระสงฆ์ ด้วยกรรมวิธีเก่าแก่ที่ใช้ถ่านแกลบผสมดินและน้ำ พอกด้วยขี้ผึ้ง
ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ที่่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเก็บรวบรวมหนังใหญ่จากช่างฝีมือในสมัยอยุธยาไว้กว่า 300 ตัว รวมทั้งมีการสืบทอดการเชิด-พากย์หนังใหญ่ จากคณะหนังเร่ ของครูเปีย ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ได้ 4 ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฑ์), ชุดศึกมงกุฎ-บุตรลบ, ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง โดยพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น.
10. วัดโพธิ์เก้าต้น
วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง ถือเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีบทบาทสำคัญเมื่อครั้งที่ชาวบ้านบางระจันสู้รบเพื่อปกป้องบ้านเมืองในอดีต ซึ่งภายในวัดมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เนื่องจากเดิมใช้เป็นที่ตั้งมั่นในการต่อต้านพม่าที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2308 ที่สามารถต้านกองทัพของพม่าไว้ได้ถึง 5 เดือน และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 สำหรับชื่อ "วัดไม้แดง" นั้น มาจากต้นไม้แดงที่มีอยู่ในบริเวณวัดจำนวนมาก โดยต้นไม้แดงนั้นมีอายุยืนยาวมาก บางต้นยืนต้นตายมาแล้วกว่า 200 ปี ส่วนบริเวณวัดมีการสร้างค่ายจำลองไว้ด้านหน้าของวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน อีกทั้งภายในวัดยังมีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ หรือ หลวงพ่อยิ้ม พระผู้เป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้านเมื่อครั้งทำศึกสงครามให้มีกำลังใจเข้มแข็งในการสู้รบ ให้นักท่องเที่ยวได้มาเคารพ กราบไหว้และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล
นอกจากนี้ยังมี "ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน" ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดด้วย โดยสินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายจะเป็นอาหารท้องถิ่น ขนมโบราณที่หากินยาก ผลิตภัณฑ์ทำมือ รวมไปถึงพืชผักและผลไม้สด ๆ จากไร่ของชาวบ้าน ซึ่งจะเริ่มขายกันในราคาเพียงแค่หลักสิบเท่านั้น เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น. ดูเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน
- ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน สิงห์บุรี ย้อนอดีตช้อปปิ้ง กิน เที่ยว
ปิดท้ายด้วย "ศูนย์อนุรักษ์ควายไทยเขางาม" สัตว์คู่บ้านคู่เกษตรกรชาวไทยมายาวนาน รวมทั้งเป็นพาหนะที่ใช้ออกศึกดังที่จะเห็นได้จากเรื่องหมู่บ้านบางระจัน ที่นายทองเหม็น ชาวบ้านบางระจันขี่ กระบือ หรือ ควาย ในการทำศึกสงครามระหว่างอยุธยากับพม่า ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์อนุรักษ์ควายไทยเขางาม" ขึ้นเพื่อดูแลกระบือ และอนุรักษ์ไม่ให้หายไปจากประเทศไทย หลังจากที่เทคโนโลยีที่ทันสมัยของจักรกลเข้ามาแทนที่ความใกล้ชิดและความสัมพันธ์ระหว่างกระบือและชาวไร่-ชาวนา โดยทางศูนย์แห่งนี้จะทำการพัฒนาตลอดจนมอบกระบือให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงขนายพันธุ์ต่อ ๆ ไป และสำหรับผู้ที่ไถ่ชีวิตกระบือมาจากโรงฆ่าสัตว์สามารถส่งต่อให้ทางศูนย์ได้เลี้ยงดูและขยายพันธุ์ต่อได้อีกด้วย
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเดินทางเข้ามาสัมผัสความน่ารัก แสนรู้ของกระบือ อย่างใกล้ชิดได้ฟรีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แถมยังได้ความรู้เกี่ยวกับกระบือไปอีกด้วย ซึ่งที่นี่เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทรศัพท์ 0 3650 7135
ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่แอบซ่อนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมายเลย ซึ่งนักท่องเที่ยวหลายคนที่อาจจะมองข้ามสิงห์บุรีไปลองแวะไปเที่ยวที่นี่กันดีกว่า รับรองว่าได้ความสนุกพร้อม ๆ ไปกับแกะรอยบันทึกประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยภูมิใจอีกด้วย ^^
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
, singburi.go.th
1. วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
วัดคู่บ้านคู่เมืองสิงห์บุรี
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีที่สันนิษฐานว่าท้าวอู่ทองเป็นผู้สร้างขึ้นในสมัยก่อนอยุธยาเป็นราชธานี
ภายในวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู
สร้างตามลักษณะพระพุทธรูปแบบสุโขทัย
พระพุทธไสยาสน์ใหญ่และยาวที่สุดของประเทศมีความยาว 47 เมตร 42 เซนติเมตร (1
เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว) ลักษณะพระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ
พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก
ภาพจาก pacharaphoto / shutterstock.com
นอกจากนี้ยังมี "พระกาฬ" เป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และ "พระแก้ว"
พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์ และมีพระพุทธลักษณะงดงาม
ซึ่งพระกาฬและพระแก้วสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
ใช้เป็นพระประธานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการอีกด้วย ส่วนบริเวณโดยรอบของวัดถูกจัดแบ่งเป็นสัดส่วน
มีถนนและสถานที่จอดรถกว้างขวาง โดยตลอดสองข้างทางจะมีศาลาสำหรับนั่งพักผ่อน
รวมทั้งยังมีร้านค้า จำหน่ายอาหาร และของที่ระลึก
ส่วนบริเวณทางเข้าด้านหน้าวิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ ต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติ
ที่ผลิดอกบานสะพรั่งสวยงามอยู่เสมอ
ส่วนด้านในตัววิหารเป็นรูปแบบศิลปกรรมอย่างไทย2. อนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน
ด้วยพื้นที่เมืองยุทธศาสตร์การทำสงครามในสมัยอยุธยา ทำให้พื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีกลายเป็นสถานที่แห่งความทรงจำที่แสนภูมิใจของชาวไทยต่อวีรกรรมอันหาญกล้าของชาวบ้านบางระจัน และเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์จึงได้มีการสร้าง "อนุสาวรีย์บางระจัน" ขึ้น จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ประชาชนทั่วไปได้มานั่งพักผ่อนภายในสวนรุกชาติ ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติสุดร่มรื่นบนพื้นที่ประมาณ 115 ไร่ กลางสวนโดดเด่นด้วยรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน
พร้อมทั้งสามารถเข้าไปศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญได้จากอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน ซึ่งจัดห้องนิทรรศการอยู่ตลอด โดยแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
3. แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย
หนึ่งในสถานที่เก่าแก่ของเมืองสิงห์บุรี ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของวัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) หมู่ 7 บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน โดย "แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย" ถูกค้นพบตามริมแม่น้ำน้อยตลอดระยะทาง 2 กิโลเมตร ซึ่งมีจำนวนมากถึง 200 เตา มีการสันนิษฐานผู้สร้างไว้สองแบบ คือ เป็นชาวจีนและช่างปั้นต่างถิ่นที่อพยพมาตั้งรกรากบริเวณนี้ หรืออาจจะเป็นช่างปั้นจากสุโขทัย สำหรับผลิตภัณฑ์จากแม่น้ำน้อย ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็น ไหสี่หู ครก โอ่งอ่าง กระปุกใส่ปูน ขวดปากแตรทรงสูง หวด ฝา เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม กระสุนดินเผาขนาดต่าง ๆ เป็นต้น
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อยขึ้นเพื่อรักษาชิ้นงานประวัติศาสตร์แห่งนี้ไว้ โดยมีลักษณะเป็นอาคารโปร่ง พร้อมจัดแสดงนิทรรศการเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย และตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจำนวนหนึ่งที่พบในแหล่งนี้
4. อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์
ตั้งอยู่ในตำบลทับยา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 309) สำหรับชื่อ "แม่ลา" นั้นมาจากชื่อแม่น้ำในจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารของปลา ทำให้ปลาที่จับได้จากที่นี่่มีรสชาตินุ่ม เนื้อนิ่ม อร่อย มัน โดยเฉพาะปลาช่อนแม่ลา ของฝากขึ้นชื่อของจังหวัด แต่ปัจจุบันเนื่องจากจำนวนปลาที่ลดน้อยลง ทางราชการจึงมองหาทางอนุรักษ์และฟื้นฟูโดยการขุดลอกลำน้ำ และสร้าง "อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์" ขึ้น พร้อมกับเนรมิตบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะน่าพักผ่อน เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับเดินเล่น ถ่ายรูป และนั่งปิกนิกพักผ่อนแบบครอบครัวในช่วงวันหยุด
5. คูค่ายพม่า
อีกหนึ่งสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ มีลักษณะเป็นเนินดินรูปตัว L ยาวประมาณ 5-15 เมตร กว้าง 3 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่า ซึ่ง "คูค่ายพม่า" เป็นอีกหนึ่งฉากที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงออกศึกรบกับพระเจ้าเชียงใหม่ที่มาตั้งทัพอยู่บริเวณปากแม่น้ำพุทรานั่นเอง ส่วนในปัจจุบันบริเวณนี้ถูกปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน บริเวณด้านหน้าโดดเด่นด้วยกำแพงค่ายสีแดงอิฐ และมีศาลาปูนปั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยืนถือดาบ รวมทั้งสร้างพระพุทธรูปให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์ สำหรับเก็บวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุ ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 และด้วยจำนวนที่มากขึ้นของโบราณวัตถุทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกส่งต่อให้กรมศิลปากรดูแล พร้อมเปลี่ยนชื่อมาเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี" ลักษณะเป็นอาคาร 2 หลัง แบ่งออกเป็น 4 ห้อง โดยอาคารเพิ่ม ดุริยางกูร จัดแสดงชั้นบนเป็นศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น
ส่วนอาคารศักดิ์บุรินทร์ จัดแสดงศิลปวัตถุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง แหล่งเตาแม่น้ำน้อย และชั้นล่างจัดแสดงการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดบริการในวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.00 น. โดยเสียค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 10 บาท และชาวต่างชาติคนละ 50 บาท อีกทั้งยังสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี โทรศัพท์ 0 3658 1986
7. วัดหน้าพระ
วัดตั้งอยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ โดยสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า ลักษณะโดดเด่นของวัดแห่งนี้ คือ องค์พระปรางค์ ที่ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ 8 วา ที่ภายหลังมีการบูรณะเพิ่มเติมด้วยสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น ซึ่งตัวพระปรางค์ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นพระวิหารหลวง และทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ มีเจดีย์ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบหลายองค์เช่นกัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่มองหาสถานที่เก่าแก่ เหมาะสำหรับถ่ายภาพเก็บความทรงจำเป็นอย่างยิ่งเลยก็ว่าได้
8. วัดพิกุลทอง
"วัดพิกุลทอง" หรือ "วัดหลวงพ่อแพ" หรือชื่อเดิมคือวัดใหม่พิกุลทอง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ อดีตเจ้าอาวาส เป็นพระที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมาก โดยตัวอาคารจัดแสดงเดี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ส่วนอีกด้านเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ สีทองอร่าม ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค รอบ ๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคต ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่าง ๆ และพระสังกัจจายองค์ใหญ่ให้โชคลาภ ท่ามกลางความร่มรื่นของธรรมชาติบริเวณวัดอีกด้วย
9. วัดสว่างอารมณ์
วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ เป็นแหล่งรวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษาการก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ซึ่งการหล่อพระของที่วัดทำโดยพระสงฆ์ ด้วยกรรมวิธีเก่าแก่ที่ใช้ถ่านแกลบผสมดินและน้ำ พอกด้วยขี้ผึ้ง
ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ที่่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเก็บรวบรวมหนังใหญ่จากช่างฝีมือในสมัยอยุธยาไว้กว่า 300 ตัว รวมทั้งมีการสืบทอดการเชิด-พากย์หนังใหญ่ จากคณะหนังเร่ ของครูเปีย ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ได้ 4 ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฑ์), ชุดศึกมงกุฎ-บุตรลบ, ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง โดยพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น.
10. วัดโพธิ์เก้าต้น
วัดโพธิ์เก้าต้น หรือ วัดไม้แดง ถือเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีบทบาทสำคัญเมื่อครั้งที่ชาวบ้านบางระจันสู้รบเพื่อปกป้องบ้านเมืองในอดีต ซึ่งภายในวัดมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เนื่องจากเดิมใช้เป็นที่ตั้งมั่นในการต่อต้านพม่าที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2308 ที่สามารถต้านกองทัพของพม่าไว้ได้ถึง 5 เดือน และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 สำหรับชื่อ "วัดไม้แดง" นั้น มาจากต้นไม้แดงที่มีอยู่ในบริเวณวัดจำนวนมาก โดยต้นไม้แดงนั้นมีอายุยืนยาวมาก บางต้นยืนต้นตายมาแล้วกว่า 200 ปี ส่วนบริเวณวัดมีการสร้างค่ายจำลองไว้ด้านหน้าของวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน อีกทั้งภายในวัดยังมีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ หรือ หลวงพ่อยิ้ม พระผู้เป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้านเมื่อครั้งทำศึกสงครามให้มีกำลังใจเข้มแข็งในการสู้รบ ให้นักท่องเที่ยวได้มาเคารพ กราบไหว้และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล
นอกจากนี้ยังมี "ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน" ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดด้วย โดยสินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายจะเป็นอาหารท้องถิ่น ขนมโบราณที่หากินยาก ผลิตภัณฑ์ทำมือ รวมไปถึงพืชผักและผลไม้สด ๆ จากไร่ของชาวบ้าน ซึ่งจะเริ่มขายกันในราคาเพียงแค่หลักสิบเท่านั้น เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-17.00 น. ดูเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน
- ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน สิงห์บุรี ย้อนอดีตช้อปปิ้ง กิน เที่ยว
ภาพจาก adul24 / Shutterstock.com
11. ศูนย์อนุรักษ์ควายไทยเขางามปิดท้ายด้วย "ศูนย์อนุรักษ์ควายไทยเขางาม" สัตว์คู่บ้านคู่เกษตรกรชาวไทยมายาวนาน รวมทั้งเป็นพาหนะที่ใช้ออกศึกดังที่จะเห็นได้จากเรื่องหมู่บ้านบางระจัน ที่นายทองเหม็น ชาวบ้านบางระจันขี่ กระบือ หรือ ควาย ในการทำศึกสงครามระหว่างอยุธยากับพม่า ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์อนุรักษ์ควายไทยเขางาม" ขึ้นเพื่อดูแลกระบือ และอนุรักษ์ไม่ให้หายไปจากประเทศไทย หลังจากที่เทคโนโลยีที่ทันสมัยของจักรกลเข้ามาแทนที่ความใกล้ชิดและความสัมพันธ์ระหว่างกระบือและชาวไร่-ชาวนา โดยทางศูนย์แห่งนี้จะทำการพัฒนาตลอดจนมอบกระบือให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงขนายพันธุ์ต่อ ๆ ไป และสำหรับผู้ที่ไถ่ชีวิตกระบือมาจากโรงฆ่าสัตว์สามารถส่งต่อให้ทางศูนย์ได้เลี้ยงดูและขยายพันธุ์ต่อได้อีกด้วย
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเดินทางเข้ามาสัมผัสความน่ารัก แสนรู้ของกระบือ อย่างใกล้ชิดได้ฟรีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แถมยังได้ความรู้เกี่ยวกับกระบือไปอีกด้วย ซึ่งที่นี่เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทรศัพท์ 0 3650 7135
ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่แอบซ่อนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมายเลย ซึ่งนักท่องเที่ยวหลายคนที่อาจจะมองข้ามสิงห์บุรีไปลองแวะไปเที่ยวที่นี่กันดีกว่า รับรองว่าได้ความสนุกพร้อม ๆ ไปกับแกะรอยบันทึกประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยภูมิใจอีกด้วย ^^
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
, singburi.go.th