มาร่วมเฝ้าสังเกตการณ์ดูเหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นที่สำคัญระดับโลก เบนจุดที่แคบที่สุดของแหลมมลายู ในเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพนับแสนตัว ณ เขาดินสอ จังหวัดชุมพร ระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ของทุกปี
ในเดือนกันยายนภูมิอากาศทางตอนเหนือของโลกแถบประเทศรัสเซีย มองโกเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม เริ่มมีอากาศหนาวเย็นและมีหิมะ ส่งผลให้นกล่าเหยื่อทั้งหลายที่อาศัยอยู่แถบซีกโลกทางตอนเหนือเริ่มขาดแคลนอาหาร นกเหล่านี้จึงต้องลงทางลงมาทางซีกโลกใต้ ซึ่งมีอากาศอบอุ่นและมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะสามารถชมเหยี่ยวอพยพ ณ เขาเรดาร์ ประจวบคีรีขันธ์ ได้แล้วที่นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดไฮไลท์ ในการชมเหยี่ยวเช่นกัน
จังหวัดชุมพรซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็นจุดที่เฝ้าสังเกตการณ์ดูเหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นที่สำคัญระดับโลก เนื่องจากเป็นจุดที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยในแต่ละปีระหว่างเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน จะมีเหยี่ยวอพยพจำนวนมากนับแสนตัวบินผ่านมายังจังหวัดชุมพรและพักค้างคืนก่อนที่จะบินไปสู่จุดหมายปลายทางประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย
เขาดินสอ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นจุดที่นักดูเหยี่ยวอพยพและนักถ่ายภาพทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ต่างก็มุ่งมั่นที่จะเฝ้าดูและถ่ายภาพ ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทั้งวันตั้งแต่ 07.00-17.00 น. สำหรับชนิดของเหยี่ยวอพยพที่พบจำนวนถึง 26 ชนิด มีอยู่ 6 ชนิดหลัก ที่มีจำนวนมาก นับแสนตัวถึงหลักหมื่นตัว ได้แก่ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) เหยี่ยวผึ้ง (Oriental Honey buzzard) เหยี่ยวหน้าเทา (Gray-faced Buzzard) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน (Chinese Sparrowhawk) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Sparrowhawk) และเหยี่ยวชิครา (Shikra) โดยเฉพาะเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำพบได้ประมาณมากที่สุดของโลก
และในระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม 2558 ประเทศไทย ยังได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติเครือข่ายนักวิจัยและการอนุรักษ์นกล่าเหยื่อในทวีปเอเชีย ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดชุมพร ประเทศไทย (9 Asian Raptor Research & Conservation Network ; ARRCN) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร ขอชวนเชิญชวนทุกท่านมาร่วมชมปรากฏการณ์การอพยพย้ายถิ่นของนกล่าเหยื่อ ที่จังหวัดชุมพร สักครั้งหนึ่งแล้ว ท่านจะพบกับความมหัศจรรย์ที่ยากลืมเลือน
ทั้งนี้สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลบางสน โทรศัพท์ 0 77 59 1003 , 08 6255 5537 หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) สำนักงานชุมพร โทรศัพท์ 0 7750 1831, 0 7750 2775-6 Email: tatchumphon@tat.or.th พร้อมทั้งสามารถอัพเดทความเคลื่อนไหวของงานผ่าน เฟซบุ๊ก TATChumphonRanong
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
, เฟซบุ๊ก TATChumphonRanong
ในเดือนกันยายนภูมิอากาศทางตอนเหนือของโลกแถบประเทศรัสเซีย มองโกเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม เริ่มมีอากาศหนาวเย็นและมีหิมะ ส่งผลให้นกล่าเหยื่อทั้งหลายที่อาศัยอยู่แถบซีกโลกทางตอนเหนือเริ่มขาดแคลนอาหาร นกเหล่านี้จึงต้องลงทางลงมาทางซีกโลกใต้ ซึ่งมีอากาศอบอุ่นและมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะสามารถชมเหยี่ยวอพยพ ณ เขาเรดาร์ ประจวบคีรีขันธ์ ได้แล้วที่นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดไฮไลท์ ในการชมเหยี่ยวเช่นกัน
จังหวัดชุมพรซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็นจุดที่เฝ้าสังเกตการณ์ดูเหยี่ยวอพยพย้ายถิ่นที่สำคัญระดับโลก เนื่องจากเป็นจุดที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยในแต่ละปีระหว่างเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน จะมีเหยี่ยวอพยพจำนวนมากนับแสนตัวบินผ่านมายังจังหวัดชุมพรและพักค้างคืนก่อนที่จะบินไปสู่จุดหมายปลายทางประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย
เขาดินสอ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นจุดที่นักดูเหยี่ยวอพยพและนักถ่ายภาพทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ต่างก็มุ่งมั่นที่จะเฝ้าดูและถ่ายภาพ ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทั้งวันตั้งแต่ 07.00-17.00 น. สำหรับชนิดของเหยี่ยวอพยพที่พบจำนวนถึง 26 ชนิด มีอยู่ 6 ชนิดหลัก ที่มีจำนวนมาก นับแสนตัวถึงหลักหมื่นตัว ได้แก่ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) เหยี่ยวผึ้ง (Oriental Honey buzzard) เหยี่ยวหน้าเทา (Gray-faced Buzzard) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน (Chinese Sparrowhawk) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Sparrowhawk) และเหยี่ยวชิครา (Shikra) โดยเฉพาะเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำพบได้ประมาณมากที่สุดของโลก
และในระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคม 2558 ประเทศไทย ยังได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติเครือข่ายนักวิจัยและการอนุรักษ์นกล่าเหยื่อในทวีปเอเชีย ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดชุมพร ประเทศไทย (9 Asian Raptor Research & Conservation Network ; ARRCN) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร ขอชวนเชิญชวนทุกท่านมาร่วมชมปรากฏการณ์การอพยพย้ายถิ่นของนกล่าเหยื่อ ที่จังหวัดชุมพร สักครั้งหนึ่งแล้ว ท่านจะพบกับความมหัศจรรย์ที่ยากลืมเลือน
ทั้งนี้สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลบางสน โทรศัพท์ 0 77 59 1003 , 08 6255 5537 หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) สำนักงานชุมพร โทรศัพท์ 0 7750 1831, 0 7750 2775-6 Email: tatchumphon@tat.or.th พร้อมทั้งสามารถอัพเดทความเคลื่อนไหวของงานผ่าน เฟซบุ๊ก TATChumphonRanong
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
, เฟซบุ๊ก TATChumphonRanong