วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามงานศิลป์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

          วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ อันสะท้อนถึงความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

 
          วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ เป็นหนึ่งในวัดสำคัญของกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อทั้งในเรื่องความงดงามทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งในอดีตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระผนวช และได้เสด็จมาประทับที่วัดนี้เป็นครั้งแรกก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และพระมหากษัตริย์อีกหลายพระองค์ นับได้ว่าเป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร


ประวัติวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร


          วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ "วังหน้า" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน หลังจากที่วัดนี้สร้างเสร็จแล้ว สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้นิมนต์ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นทรงพระผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ให้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบวรนิเวศวิหารแห่งนี้

1. เรื่องเล่ารอบรั้ววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร 
 
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร 
 
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นสถานที่ที่รวบรวมศิลปกรรมของไทยไว้หลายช่วงสมัย ทั้งศิลปะไทยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศิลปะแบบจีน หรือแม้กระทั่งศิลปะแบบตะวันตก ผ่านการรังสรรค์ผลงานอย่างประณีตและลงตัวในทุกรายละเอียด และเพียงแค่เราเดินชมไปรอบ ๆ บริเวณวัด รับรองเลยว่าคุณจะได้รับความรู้มากมายเลยทีเดียวเชียว

          - พระอุโบสถ

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามและโดดเด่นด้วยศิลปะผสมผสานทั้งแบบจีนและตะวันตก สร้างขึ้นโดยฝีมือช่างวังหน้าในรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารตรีมุข คือมีลักษณะเป็นอาคาร 3 หลังต่อกัน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและลวดลายปูนปั้น ตามพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระสุวรรณเขต  พระประธานองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ด้านใน เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ และพระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          เมื่อเข้ามายังในตัวพระอุโบสถ เราจะเจอกับพระประธาน ซึ่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารจะมีความแตกต่างจากวัดอื่น ตรงที่จะมีพระประธานอยู่ด้วยกันถึงสององค์ พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ทางด้านหลังคือ "พระสุวรรณเขต" เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และเป็นพระประธานเดิมในพระอุโบสถแห่งนี้

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ทางด้านหน้าคือ "พระพุทธชินสีห์" โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่าง ๆ นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยมากที่สุดองค์หนึ่ง

           - พระเจดีย์

       
  ออกจากพระอุโบสถมาไม่ไกลเราก็จะเจอกับพระเจดีย์ อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
รูปตุ๊กตาจีนบริเวณพระเจดีย์ใหญ่

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
เทวรูปประจำทิศทั้ง 6 อยู่โดยรอบพระเจดีย์

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
ทางเข้าสู่คูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระไพรีพินาศเจดีย์

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระเจดีย์กะไหล่ทอง

         ภายในพระพระเจดีย์ใหญ่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำคัญ คือ "พระไพรีพินาศเจดีย์" เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ และ "พระเจดีย์กะไหล่ทอง" บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฐานพระเจดีย์เป็นแท่นศิลา สลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะไว้เหนือแผ่นภาพสลักนั้นด้วย

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระไพรีพินาศ
 
         อีกทั้งพระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งนั่นคือ "พระไพรีพินาศ" เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร พระหัตถ์ขวาหงายขึ้น งดงามด้วยศิลปะสมัยศรีวิชัย มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระไพรีนินาศที่น่าสนใจ ด้วยเพราะครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับพระองค์นี้มาจากผู้ที่นำมาถวาย ปรากฏว่าเรื่องราวที่กำลังเป็นที่โจษขานเกี่ยวกับพระองค์ รวมถึง "ไพรี" หรือ "ศัตรู" ของพระองค์ท่านก็พ่ายแพ้ไปจริง ๆ จึงได้พระราชทานนามว่า "พระไพรีพินาศ" จนเป็นที่เลื่องลือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนโดยทั่วไป
 
          -  พระวิหารพระศาสดา

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่ต้องมาเยือนเมื่อมาเที่ยววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระศาสดา พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งแต่เดิมประดิษฐานอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารแห่งนี้

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          ความน่าสนใจของพระวิหารพระศรีศาสดา ไม่เพียงแต่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญเท่านั้น หากลองสังเกตให้ดี ทางด้านมุขหลังของพระวิหาร เราจะพบ "พระพุทธไสยา" ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ศิลปะสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ภายใต้ฐานของพระไสยายังบรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย

          - วิหารเก๋ง

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จ และโปรดให้ประดับตกแต่งด้วยลวดลายอย่างจีน พร้อมภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก

          ด้านในของพระวิหารเก๋งจีนหลังนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่

          - พระพุทธวชิรญาณ เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

          - พระพุทธปัญญาอัคคะ พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

          - พระพุทธมนุสสนาค พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

          นอกจากนี้ภายใต้ฐานพระพุทธชินสีห์จำลองภายในพระวิหารเก๋ง ยังเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกด้วย

          - พระตำหนักเพ็ชร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักเพ็ชร ถวายเป็นท้องพระโรงแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปี พ.ศ. 2457 ที่ตั้งพระตำหนักนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์และหนังสือพุทธศาสนาอื่น ๆ แทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่

          ปัจจุบันภายในห้องพระโรงในพระตำหนักเพ็ชรเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขนาดเท่าพระองค์จริง ด้วยช่างผีมือไทยรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ยังประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6, พระรูปสีน้ำมัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และตู้พัดยศ พัดรอง ตลอดจนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ

          - พระตำหนักปั้นหย่า

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          อีกหนึ่งสถานที่สำคัญในเขตสังฆาวาสภายในวัดบวรนิเวศวิหาร งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เดิมพระตำหนักปั้นหย่าตั้งอยู่สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาสร้างใหม่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่ยังทรงพระผนวชได้เสด็จมาประทับ หลังจากนั้นมาพระตำหนักปั้นหย่าก็กลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่มาผนวชที่วัดนี้ 

         - กังหันชัยพัฒนา



วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

         พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระอัจฉริยภาพ และได้มีพระราชดำริคิดค้นงานประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ล้วนก่อเกิดประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากมาย รวมถึง "กังหันชัยพัฒนา" ที่ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยกังหันน้ำชัยพัฒนาตัวแรกได้นำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสีย ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระยะเวลา 4-5 ปี ก่อนนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ


2. กราบพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


          แต่เดิมตามธรรมเนียมการสร้างวัดประจำรัชกาล เมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ๆ สวรรคต หรือมีการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จะมีการอัญเชิญพระสรีรางคารมาประดิษฐานไว้ที่ฐานพระประธานของวัดประจำรัชกาล หากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการสร้างวัดประจำรัชกาลตามคติธรรมเนียมเดิมอีก แต่พระมหากษัตริย์ทรงรับวัดไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ต่าง ๆ และให้ถือว่าวัดนั้นเป็นวัดประจำรัชกาลไป

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          ซึ่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถ รวมถึงพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยเช่นกัน

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

การเดินทางมายังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร


          เข้ามาทางถนนหลานหลวง ตรงไปเรื่อยจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังจากนั้นจะเจอแยกไฟแดงแรก  ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ไม่นานจะเห็นวัดบวรนิเวศราชวรวิหารตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ (สามารถดูเส้นทางการเดินทางได้ที่ GPS วัดบวรนิเวศวิหาร หรือโทรศัพท์ 02 629 5854)

          หากใครอยากชื่นชมสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งสไตล์ตะวันตกและไทยประยุกต์ ต้องไม่พลาดมาเที่ยววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร อันเป็นเครื่องสะท้อนถึงสายสัมพันธ์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแต่ละพระองค์ ในฐานะองค์พระบรมราชูปถัมภ์แห่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารอย่างหาที่สุดมิได้

แนะนำ สถานที่ไหว้พระ กรุงเทพฯ อื่น ๆ ที่น่าสนใจ



ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก วัดบวรนิเวศวิหาร, watbowon.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามงานศิลป์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อัปเดตล่าสุด 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 11:48:55 51,452 อ่าน
TOP
x close