เขาคิชฌกูฏ 2565 ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ จันทบุรี มีขึ้นระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง 1 เมษายน 2565 ณ เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด 19
อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ หรือที่ใคร ๆ เรียกกันจนติดปากว่า "เขาคิชฌกูฏ" มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ได้แก่ น้ำตกกระทิง, น้ำตกคลองช้างเซ, ยอดเขาพระบาท และที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษนั้น เห็นจะเป็นการนมัสการ "รอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ" หรือ "พระบาทพลวง" นั่นเอง

โดยประชาชนจะนิยมไปนมัสการรอยพระบาทพลวงเป็นจำนวนมากเพื่อเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง ทั้งกลางวันและกลางคืน ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเขาคิชฌกูฏก็ได้จัดงานนมัสการพระบาทพลวงเป็นประจำทุกปีในช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 อีกด้วย และในปี 2565 ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง 1 เมษายน 2565 ณ เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ภายใต้มาตรการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี KhaoKhitchakut National Park ได้ระบุรายละเอียดการเข้าร่วมงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ ประจำปี 2565 ดังนี้
1. กำหนดจำนวนผู้แสวงบุญที่จะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทต่อช่วงเวลา ตามมาตรการการเว้นระยะห่าง
- 1 คน ใช้พื้นที่ 4 ตร.ม. รองรับได้ 5,900 คน ต่อช่วงเวลา ปรับลด 25% เหลือ 4,425 คน หักเจ้าหน้าที่และคนงานที่ปฏิบัติงานบนเขา ปรับเหลือ 4,000 คนต่อช่วงเวลา
- 1 วัน แบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา ใน 1 วัน จะมีผู้แสวงบุญไม่เกิน 16,000 คน
1) ช่วงเวลา 06.00-12.00 น.
2) ช่วงเวลา 12.00-18.00 น.
3) ช่วงเวลา 18.00-24.00 น.
4) ช่วงเวลา 00.00-06.00 น.
- ผู้แสวงบุญที่ประสงฆ์เดินขึ้นเขา (ทางบ้านแกลง จำนวน 100 คนต่อวัน และทางพลวง จำนวน 100 คนต่อวัน)
- สายรัดข้อมือแยกสี สำหรับแต่ละช่วงเวลาและคนเดิน เพื่อควบคุมความหนาแน่นและจำกัดเวลาของผู้แสวงบุญในแต่ละช่วงเวลา
2. การคัดกรองคน ผู้แสวงบุญที่จะมานมัสการรอยพระพุทธบาท
2.1 ต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม โดยแสดงเอกสารรับรองการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 (Vaccine Certificate) หรือการยืนยันจากแอปพลิเคชันหมอพร้อม
2.2 แสดงเอกสารรายงานผลการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Rapid Antigan test (ไม่เกิน 72 ชั่วโมง) จากสถานพยาบาลของรัฐ/เอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง แสดงผลทดสอบว่า “ไม่พบเชื้อ” (Not Detected)
2.3 กรณีผู้ที่เคยป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้รับการรักษาหายแล้ว ต้องมีเอกสารรับรองผลการตรวจรักษาว่าหายป่วยมาแล้วไม่เกิน 90 วัน
ในกรณีไม่มีผลการตรวจเชื้อฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้เข้างาน (ไม่มีการตรวจด้วย ATK หน้างาน)
3. จองเข้างานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง (เขาคิชฌกูฏ) ประจำปี 2565 ล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน QueQ
3.1 เลือกคิวรถ : วัดกะทิง/วัดพลวง (คิวรถคณะสงฆ์) หรือเดิน : บ้านแกลง/พลวง
คิวรถยนต์บริการ |
จำนวน (คน) |
จอง (คน) |
คิววัดพลวง (111 คิว คิดเป็น 78%) | 3,120 |
3,000 |
คิววัดกะทิง (31 คิว คิดเป็น 22%) |
888 | 1,000 |
*รวม |
*4,000 |
*4,000 |
เพิ่มเติม |
บ้านแกลง (คนต่อวัน) | พลวง (คนต่อวัน) |
ผู้ประสงค์เดินขึ้นเขา | 100 | 100 |
3.2 เลือกช่วงเวลาที่จะมา
1) ช่วงเวลา 06.00-12.00 น.
2) ช่วงเวลา 12.00-18.00 น.
3) ช่วงเวลา 18.00-24.00 น.
4) ช่วงเวลา 00.00-06.00 น.
3.3 รายละเอียดที่ผู้จองต้องระบุ
- ชื่อผู้จองและคณะ (ไม่เกิน 8 คน และระบุชื่อ-นามสกุลทุกคน)
- ที่อยู่..................................หมายเลขโทรศัพท์........................................
- ได้รับวัคซีนแล้ว และมีผลตรวจโควิดหรือหายจากการป่วยด้วยโรคโควิด
3.4 ผู้จองรับทราบเงื่อนไขการใช้บริการรถยนต์บริการ ซึ่งบรรทุกไม่เกิน 8 คนต่อคัน ผู้ที่มาด้วยกันขึ้นรถคันเดียวกัน เตรียมเอกสารหลักฐานการฉัดวัคซีนและเอกสารรายงานผลการตรวจเชื้อฯ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเข้างาน
ทั้งนี้ ผู้แสวงบุญต้องจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ 100% (ช่องอีเวนต์) ไม่รับ Walk in (ทั้งผู้ที่จะขึ้นรถบริการและผู้ที่จะเดินขึ้นเขา)
4. รถยนต์บริการ
- บรรทุกไม่เกิน 8 คนต่อคัน ผู้แสวงบุญที่มากลุ่มเดียวกันนั่งรถคันเดียวกัน (นั่งด้านหลัง ไม่นั่งร่วมกับคนขับ) อัตราค่าบริการคนละ 200 บาท
5. การทำความสะอาด
5.1 บริเวณวัด (วัดกะทิง, วัดพลวง)
5.2 บริเวณคิวรถ (คิววัดกะทิง, คิวคณะสงฆ์)
5.3 บริเวณด่านเก็บค่าบริการเข้าอุทยาน หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ คก.1 (พระบาทพลวง)
5.4 บริเวณจุดทำบุญต่าง ๆ ทั้งด้านล่างและด้านบนเขาพระบาท (ราวจับ บันได้ ที่นั่ง และระฆัง เป็นต้น)
5.4 รถยนต์บริการ (ก่อน/หลังจากรับส่งผู้แสวงบุญ จะต้องฉีดพ่นฆ่าเชื้อทั้งคัน)
หมายเหตุ : อุโมงค์ฆ่าเชื้อสำหรับรถยนต์
6. การคัดกรอง
6.1 จุดคัดกรองผู้แสวงบุญ (ด้านล่าง) ได้แก่
1) วัด 2 จุด ได้แก่ วัดพลวง และวัดกะทิง
2) คิวรถ 2 จุด ได้แก่ คิวรถวัดพลวง และคิวรถวัดกะทิง
ทั้งนี้ การตรวจวัดอุณหภูมิ (บริเวณคิวรถมีอุโมงค์คัดกรอง ติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน กล้องถ่ายภาพความร้อน) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
3) ด่านตรวจหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ คก.1 (พระบาทพลวง) 1 จุด
หมายเหตุ : ลงทะเบียน “ไทยชนะ” ทุกจุดบริการ/จุดทำบุญ
6.2 จุดทำบุญบนเขาพระบาท ได้แก่ ลานพระสิวลี, พระนอน, ฐานป่าไม้, เนินพระเมตตา, รอยเสือใหญ่, จุดพักเลี้ยงน้ำชา/น้ำมะตูม, ประตูสวรรค์, ลานบาท, จุดชมวิว, ลานอินทร์, ผ้าแดง
Note
- กำหนดเวลาและจำนวนคนในการใช้พื้นที่ / จุดทำบุญแต่ละจุด, ลงทะเบียน “ไทยชนะ”
- งดกิจกรรมบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมทำวัตรสวดมนต์ กิจกรรมปลุกเสกกระเป๋า พรมน้ำมนต์ เป็นต้น

ภาพจาก isarescheewin / Shutterstock.com
7. ระบบควบคุมและติดตามตรวจสอบ
7.1 ศูนย์ควบคุมจำนวนผู้แสวงบุญ ไม่ให้เกินจำนวนที่กำหนดไว้ต่อช่วงเวลาหนึ่งหนึ่ง บริเวณด่านเก็บค่าบริการเข้าอุทยาน (หน่วยฯ คก.1)
Note อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ + จอแสดงผล
7.2 Guard-Covid คือ สายตรวจเจ้าหน้าที่อุทยาน ที่คอยควบคุม ติดตาม การปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด
7.3 คณะกรรมการเพื่อตรวจติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงพื้นที่ตรวจสอบ
7.4 ติดตั้งกล้อง CCTV ทั่วบริเวณพื้นที่จัดงานประเพณีฯ เพื่อความสะดวกในการตรวจติดตาม
แนวทางปฏิบัติสำหรับคณะผู้จัดงาน / เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน*
1. ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม
2. ก่อนเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องได้รับการตรวจเชื้อโควิด และต้องตรวจซ้ำทุก 7 วัน
3. ปฏิบัติตามมาตรการการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย และการรักษาความสะอาด/การฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์
4. กำหนดจุดทางเข้า - ทางออก ไม่ให้ปะปนกัน
5. ทำความสะอาดพื้นที่และฆ่าเชื้อบริเวณจุดสัมผัส เช่น ที่นั่ง ราวบันได ห้องสุขา อย่างสม่ำเสมอ โดยมีป้ายแสดง “ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว” และตารางลงเวลาการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ
- สำหรับรถยนต์บริการ ทำความสะอาดที่นั่ง/ฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังจากที่ผู้โดยสารลงจากรถ โดยเฉพาะราวเหล็ก และเบาะที่นั่ง (อุโมงค์ฆ่าเชื้อสำหรับรถยนต์)
6. จัดเตรียมจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อให้เพียงพอและทั่วถึง
7. ควบคุมจำนวนผู้แสวงบุญให้ไม่เกินจำนวนสูงสุดที่รองรับได้ในช่วงเวลาหนึ่งหนึ่ง จำกัดจำนวนคนและเวลาในการใช้พื้นที่บริเวณจุดทำบุญต่าง ๆ ไม่ให้มีผู้แสวงบุญหนาแน่นบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
Note งดกิจกรรมบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมทำวัตรสวดมนต์ กิจกรรมปลุกเสกกระเป๋า พรมน้ำมนต์ เป็นต้น บริเวณบริการน้ำชา/น้ำมะตูม ใช้แก้วกระดาษ (ใช้ครั้งเดียวทิ้ง)
8. QR Code ไทยชนะ
- พื้นที่บริการแต่ละจุด ต้องมี QR Code ไทยชนะ/สมุดลงทะเบียนผู้เข้าใช้พื้นที่ (ระบุชื่อและ นามสกุล, หมายเลขโทรศัพท์ และเวลาเข้า - ออก) ได้แก่
1) วัดพลวงและวัดกะทิง เช่น ศาลาทำบุญ, โรงทาน, ร้านอาหาร เป็นต้น
2) ด่านตรวจหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ คก.1 (พระบาทพลวง) ซึ่งเป็นจุดจำหน่ายบัตรค่าบริการผ่านเข้าพื้นที่อุทยาน
3) จุดทำบุญบนเขาพระบาท เช่น ลานบาท, ผ้าแดง เป็นต้น
9. รถยนต์บริการบรรทุกผู้แสวงบุญได้ ไม่เกิน 8 คนต่อคัน ผู้แสวงบุญที่มากลุ่มเดียวกันนั่งรถคันเดียวกัน (นั่งด้านหลัง ไม่นั่งหน้าร่วมกับพนักงานขับรถ)
เพิ่มเติมสำหรับรถยนต์บริการ (ยึดตามแนวทางเดิม ปี 2560 - 2563)
1. รถยนต์บริการและพนักงานขับรถต้องมาขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากทางอุทยาน (ตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2547)
2. รถยนต์บริการต้องผ่านการตรวจสภาพรถและมีการตรวจซ้ำทุก 15 วัน
3. พนักงานขับรถต้องผ่านการตรวจร่างกายหาสารเสพติด (และสุ่มตรวจระหว่างงานประเพณีฯ) และพักผ่อนอย่างเพียงพอ (มีการเช็คเวลาการขับรถและทำบัตรประจำตัว)
4. พนักงานขับรถ ก่อนเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ ด้วย ATK (Antigen Test Kit) ดำเนินการตรวจโดยบุคลากรเฉพาะด้าน และต้องตรวจซ้ำทุก 7 วัน
Note ชุดตรวจสารเสพติดและชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) คิวรถเป็นผู้รับผิดชอบ
*หมายเหตุ : คณะผู้จัดงาน / เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงพ่อค้า แม่ค้า พระสงฆ์ คนงาน พนักงานขับรถ เจ้าหน้าที่อุทยาน ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร พยาบาล เป็นต้น ที่มาปฏิบัติหน้าที่ในงานประเพณี
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้แสวงบุญ
1. ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม
2. มีเอกสารแสดงผลการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Rapid Antigen Test (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังการตรวจ) แสดงผลทดสอบว่า “ไม่พบเชื้อ” (Not Detected)
3. กรณีผู้ที่เคยป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้รับการรักษาหายแล้ว ต้องมีเอกสารรับรองผลการตรวจรักษาว่าหายป่วยมาแล้วไม่เกิน 90 วัน
4. ลงทะเบียนจองล่วงหน้าสำหรับงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง (เขาคิชฌกูฏ) ผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ในที่นี้เป็นการจองคิวขึ้นรถ โดยเลือกคิวรถวัดพลวงหรือคิวรถวัดกะทิงหรือเดิน, เลือกวันที่ - ช่วงเวลาที่จะมานมัสการรอยพระพุทธบาทฯ และกรอกรายละเอียดผู้จอง
5. เมื่อมาถึงคิวรถ/วัด แสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน, เอกสารการตรวจเชื้อไวรัสฯ, ตรวจวัดอุณหภูมิ, ติดสติ๊กเกอร์ และเช็คอินผ่านเว็ปไซต์ “ไทยชนะ” เพื่อผ่านเข้าพื้นที่
6. ปฏิบัติตามมาตรการการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย และการรักษาความสะอาด/การฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์
7. แสดงหลักฐานการจองคิวรถ ต่อเจ้าหน้าที่ (คิวรถวัดพลวงหรือคิวรถวัดกะทิง) และชำระค่าบริการรถยนต์
8. ชำระค่าบริการผ่านเข้าอุทยาน
9. เช็กอินผ่านเว็บไซต์ “ไทยชนะ” หรือลงชื่อในสมุดลงทะเบียน เพื่อเข้าในพื้นที่จัดงานประเพณีฯ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (เช็กเอาต์ผ่านเว็บไซต์ “ไทยชนะ” เมื่อออกจากพื้นที่)
10. หากผู้แสวงบุญเข้าไปในจุดที่จัดไว้สำหรับทำบุญหรืออื่นๆ เช่น ลานพระสิวลี, ลานบาท, ผ้าแดง เป็นต้น จะต้องเช็กอินผ่านเว็ปไซต์ “ไทยชนะ” หรือลงชื่อในสมุดลงทะเบียน และเช็กเอาต์เมื่อออกจากจุดนั้น ๆ
สามารถอัปเดตมาตรการการป้องกันและติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี KhaoKhitchakut National Park

ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ
ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏมีอยู่ว่า นายติ่งและคณะได้ขึ้นบนเขาเพื่อไปหาไม้กฤษณามาขาย และได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้าง ระหว่างนั้นเพื่อนของนายติ่งคนหนึ่งได้ถอนหญ้าเพื่อนอนพักก็พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้ และเมื่อช่วยกันตรวจดูก็พบหินแผ่นหนึ่ง มีพื้นที่เป็นรอยรูปก้นหอย ต่อมานายติ่งและเพื่อนได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ รุ่งขึ้นก็มีงานปิดรอยพระพุทธบาทจำลอง นายติ่งซื้อทองไปปิดแล้วจึงพูดว่าแถวบ้านตนก็มีรอยแบบนี้เช่นเดียวกัน พอดีมีพระได้ยินเข้าจึงไปเรียนให้เจ้าอาวาสวัดรับทราบ เจ้าอาวาสจึงเรียกนายติ่งเข้าไปสอบถาม พร้อมกับส่งคณะขึ้นไปพิสูจน์ดู ก็พบว่าเป็นความจริง และเมื่อตรวจดูบริเวณรอบ ๆ ก็พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์อีกหลายอย่าง รอยพระพุทธบาทนั้นท่านทรงเหยียบจารึกไว้ที่ศิลาแผ่นใหญ่ บรรจุคนนั่งได้ร้อยกว่าคน บนยอดเขาสูงสุด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร

ภาพจาก iDear Studio / Shutterstock.com
ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาทมีหินกลมก้อนหนึ่งใหญ่มาก เรียกว่า "หินลูกพระบาท" ตั้งขึ้นมาอย่างน่าแปลกประหลาดมหัศจรรย์ มองดูคล้ายลอยอยู่เฉย ๆ มีคนกล่าวว่าเขาเคยเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วหลุดออกมาได้ และยังมีหินอีกลูกอยู่ตรงข้ามกับหินลูกพระบาทนี้ ก็มีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้ จากรอยพระพุทธบาทกับรอยพระหัตถ์นั้น ห่างกันประมาณ 5 เมตร และยิ่งแปลกไปกว่านั้น ในก้อนหินตรงกันข้ามกับรอยพระหัตถ์ ยังมีรูปรอยเท้าใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่ารอยเท้าพญามาร เพียงแหงนหน้าขึ้นไปจะมองเห็นได้ทันที สูงประมาณ 15 เมตร
ต่อจากนั้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากหินลูกนี้ไปเพียง 15 วา มีหินลูกข้างบนเป็นลานและมองเห็นรอยรถหรือรอยเกวียน เมื่อยืนบนหินลูกนั้นมองลงไปทางทิศเหนือจะเห็นถ้ำเต่า หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรอยพระพุทธบาทจะเห็นถ้ำช้าง และถ้ามองจากรอยพระพุทธบาทขึ้นไป จะเห็นหินก้อนหนึ่งมีรูปลักษณะคล้ายช้างจริง เลยจากช้างไปสูงสุดนั้นเรียกกันว่าห้างฝรั่ง เพราะฝรั่งได้ขึ้นไปตั้งห้างส่องกล้องเพื่อทำแผนที่ มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีถ้ำอีกถ้ำหนึ่งเรียกว่าถ้ำสำเภา เพราะมีหินก้อนหนึ่งข้างบนถ้ำมีลักษณะคล้าย ๆ เรือสำเภา และยังมีอีกถ้ำหนึ่งใต้พระบาทนี้เรียกว่าถ้ำตาฤาษี

ภาพจาก Nuk2013 / Shutterstock.com
โดยการจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก...ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขา แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชน ได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ภาพจาก isarescheewin / Shutterstock.com
ส่วนกิจกรรมในงานกราบสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ การเดินทางเริ่มต้นที่วัดพลวงไปตามถนนระยะทาง 8 กิโลเมตร จากนั้นเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1.2 กิโลเมตร ทิวทัศน์บนยอดเขาคิชฌกูฏหรือเขาพระบาทเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ที่นำมาผูกกับตำนานทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศิลาเจดีย์ รอยพระพุทธบาท หินรูปบาตรคว่ำ ถ้ำฤาษี ลานแข่งรถพระอินทร์ หินที่มีรูปร่างคล้ายเต่าและช้างขนาดยักษ์ บนยอดเขาพระบาทซึ่งมีอากาศเย็นสบายนั้น สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเทือกเขาสระบาป เขาสุกิม เกาะนมสาว และตัวเมืองจันทบุรีได้อย่างชัดเจน

ภาพจาก isarescheewin / Shutterstock.com

ภาพจาก isarescheewin / Shutterstock.com
ซึ่งในช่วงเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง
พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาจะเดินทางขึ้นเขาไปแสวงบุญเป็นจำนวนมาก
เพราะนอกจากจะได้นมัสการพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์แล้ว
ยังจะได้ชมความงดงามแปลกอัศจรรย์ของหินลูกพระบาท ก้อนหินกลมใหญ่ริมหน้าผา
และได้รับความสดชื่นจากบรรยากาศบนยอดเขาคิชฌกูฏ
นอกจากนี้ผู้ที่ถึงวัดพลวงตอนเย็น
สามารถพักค้างคืนเพื่อเริ่มขึ้นยอดเขาในตอนเช้าได้
โดยทางวัดมีที่พักและที่อาบน้ำไว้รองรับคนได้จำนวนมาก
ภาพจาก อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ
สำหรับการเดินทางนั้นก็ง่ายแสนง่าย หากมาตามถนนสุขุมวิท ถึงทางแยกเข้าตัวเมืองจันทบุรี (สี่แยกเขาไร่ยา) ให้เลี้ยวลงถนนทางน้ำตกกระทิง หรือถนนบำราศนราดูร จากทางแยกเขาไร่ยา ไปถึงน้ำตกกระทิงประมาณ 20 กิโลเมตร เลยวัดกะทิงไป 400 เมตร ถึงแยกขวามือไปวัดพลวง เป็นถนนลูกรังระยะทาง 3 กิโลเมตร เมื่อถึงวัดพลวงจะเป็นจุดเริ่มต้นขึ้นไปยังยอดเขา มีรถรับจ้างรับไปส่งถึงจุดที่ใกล้ที่สุด และเดินเท้าต่ออีกประมาณ 40 นาที
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก

