x close

เที่ยวกรุงเทพ ชมมนต์ขลัง เสาชิงช้า



สรุปข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบโดย คุณ OaddybeinG

          เสาชิงช้า ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม บนถนนบำรุงเมือง เขตพระนคร

ประวัติความเป็นมา

          มีพราหมณ์นาฬิวันชาวเมืองสุโขทัย มีนามว่า พระครูสิทธิชัย (กระต่าย)นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายหรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์เพื่อเป็นการแสดงถึงการต้อนรับพระอิศวรในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ในเดือนยี่ของทุกปี (แต่ต่อมาพระราชพิธีนี้ได้ถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ.2478) อันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 ต่อมาได้สร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณเทวสถาน จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน

         การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรงกรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492ให้เป็นโบราณวัตถุสถานสำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2492

          สำหรับการปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ.2463 โดยมีคำจารึกติดไว้ที่เสาชิงช้า ดังนี้…

          "ไม้เสาชิงช้าคู่นี้ กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลังเมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยตีลี โอโนเวนส์ จำกัดซึ่งทำการค้าไม้ได้ให้ไม้สร้างขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายหลุยส์โทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นผู้ที่เคยเข้ามาตั้งเคหะสถาน อยู่ในประเทศสยามกว่า 50 ปีสาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2463"

          ต่อมา พ.ศ.2490เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากธูปกราบไหว้ไฟจากธูปตกลงไปในรอยแตกทำให้ไฟไหม้เสาขึ้น รัฐบาลครั้งนั้นมีดำริจะรื้อแต่เมื่อมีเสียงวิพากวิจารณ์มากขึ้นจึงระงับไว้มีคำสั่งให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว โดย พ.ศ.2502 กระจังที่เป็นลวดลายผุลงได้เปลี่ยนใหม่และทาสี พ.ศ.2513 สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมากต้องเปลี่ยนเสาใหม่ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงการ ปรับปรุงบูรณะได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการงานแล้วเสร็จและได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2515

          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเสาชิงช้ามีอายุการใช้งานมานานและเสาส่วนกลางมีความชำรุดมาก จึงได้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์เสาชิงช้าใหม่เมื่อ พ.ศ.2548 กรมศิลปากรดำเนินการเปลี่ยนเสาใหม่โดยใช้ไม้สักทองที่มีลำต้นขนาด ใกล้เคียงเสาชิงช้าเดิมจำนวน 6ต้นจากจังหวัดแพร่ และดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2549




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  และ tarachai.tripod.com



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เที่ยวกรุงเทพ ชมมนต์ขลัง เสาชิงช้า อัปเดตล่าสุด 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14:13:29 3,360 อ่าน
TOP