x close

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

 

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (อ.ส.ท.)

 

          โบราณสถานที่น่าสนใจ ...

          พระราชวังโบราณ  หรือพระราชวังหลวง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยานั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์

 

          วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ

 

         
         วัดราชบูรณะ เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ

 



          วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพลป.พิบูลสงครามได้บูรณะวิหารพระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

 

          นอกจากนี้ ในเขตอุทยานฯ ยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น วัดพระราม วัดญาณเสน วัดธรรมมิกราช วัดวรโพธิ์ วัดวรเชษฐาราม วัดพระราม พระราชวังจันทร์เกษม วัดสุวรรณดาราราม วัดโลกยสุธาราม วัดธรรมิกราช วัดเสนาสนาราม เจดีย์พระศรีสุริโยทัย กำแพงและป้อมปราการกรุงเก่า (เกาะนอกเมือง) วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ วัดหน้าพระเมรุ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดพนัญเชิง วัดกุฏีดาว วัดภูเขาทอง วัดพระยาแมน หมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านญี่ปุ่น เพนียดคล้องช้าง โบสถ์นักบุญยอเซฟ

การเดินทาง 

          เส้นทางแรก
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน)ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

          เส้นทางที่สอง  ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข ๓๐๒ (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ (ถนนติวานนท์)ข้ามสะพานนนทุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทางปทุมธานีสามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข ๓๑๑๑) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๓ เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

          เส้นทางที่สาม ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๓๐๙ ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน  เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

          อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ นาฬิกา อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท

 

แนะนำการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรมเพียบ

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อัปเดตล่าสุด 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14:03:26 26,508 อ่าน
TOP