ไอคอนสยามชวนเที่ยวชุมชนย่านคลองสาน สืบสานวัฒนธรรมโบราณ ฟื้นชีวิตชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา
ไอคอนสยาม หรือ กลุ่มสยามพิวรรธน์ ดำเนินกิจการภายใต้ความเชื่อว่า การจะพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต้องดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนรอบไอคอนสยาม เชื่อมโยง New Town เข้ากับ Old Town พร้อมยึดหลักการ “เติบโตแบบยั่งยืนไปพร้อมกัน” อันจะทำให้ย่านการค้าเก่าแก่ดั้งเดิมกลับมามีชีวิตชีวาและรุ่งเรืองโดดเด่นอีกครั้ง
เราเริ่มที่ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิเป็นที่แรก ที่นี่เป็นชุมชนชาวมุสลิม เดิมชื่อชุมชนบ้านแขก วัดสุวรรณ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยชาวมุสลิมที่อพยพมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตราด โดยการนำของขุนรามฤทธิไกร (นายอะหมัด โตประวัติ)
ในอดีตชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้มีอาชีพนักประดาน้ำ รับจ้างกู้เรือและงมสิ่งของที่จมหายในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันชุมชนชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นนับถือศาสนาอิสลาม นับถือพุทธเป็นส่วนน้อยราว 10 เปอร์เซ็นต์
ตัวชุมชนจะมีลักษณะเป็นตรอก-ซอก-ซอยขวางไปกับตัวแม่น้ำ รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปเที่ยวในชุมชนต้องใช้การเดินเท้า ซึ่งจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยเฉพาะประเพณีและวัฒนธรรมของคนมุสลิม
สำหรับการเดินทางไปยังชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ หากออกจาก ICONSIAM ให้เลี้ยวซ้าย เดินข้ามคลองเล็ก ๆ มาประมาณ 100 เมตร จะถึงเจริญนครซอย 7 จุดสังเกตข้างหน้าจะมีป้ายชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ
ให้เลี้ยวซ้ายเดินตรงเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะพบจุดเช็กอินแรก จะเป็นย่านร้านอาหารไทย-อิสลาม มีให้เลือกทั้งอาหารตามสั่ง และข้าวแกงต่าง ๆ
บริเวณเดียวกันจะมี 3 แยกให้เลี้ยวขวาไปตามทาง จากนั้นเลี้ยวซ้าย จะพบจุดเช็กอินที่ 2 จุดนี้จะเป็นภาพวาดศิลปะบนกำแพง Graffiti แสดงวิถีชิวิตดั้งเดิมของคนในชุมชน
ตรงไปอีกราว 50 เมตร จะพบจุดเช็กอินที่ 3 มัสยิดสุวรรณภูมิ จุดนี้เป็นจุดไฮไลท์ที่ห้ามพลาด เนื่องจากมีโบราณวัตถุสำคัญของชุมชน คือ โคมไฟที่ใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงในหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 6 พระราชทานให้แก่มัสยิดทั่วประเทศจำนวน 69 มัสยิด
นอกจากนี้ยังมี\'มิรบัญ (ที่สำหรับแสดงธรรม) และ เมียะหร็อบ (ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด) ซึ่งเป็นงานไม้แกะสลักฝีมือประณีต สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5
จากมัสยิดเดินไปตามทาง สุดทางเป็นท่าเรือ ฝั่งตรงข้ามมีอาคารเก่าทรงโคโลเนียล เหมาะแก่การเช็คอินยามพระอาทิตย์ตก
สำหรับชุมชนวัดสุวรรณ ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ ชุมชนแห่งนี้มีความเก่าแก่ร่วมสมัยกับชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ คือสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ชุมชนแห่งนี้มีวัดสุวรรณ หรือที่มีชื่อเดิมว่า วัดสุวรรณอุบาสิการาม เป็นพุทธสถานสำคัญ ตามประวัติวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปีเดียวกันกับที่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือเมื่อปี พ.ศ.2325
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชาวจีนเป็นผู้สร้างวัด เนื่องจากอุโบสถหลังเดิมมีลักษณะแบบเก๋งจีน ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นพระประธาน
ภายในชุมชนมีหัตถกรรมหัวโขน จากบ้านโขนไทย เป็นศิลปะที่โดดเด่น แสดงให้เห็นวิถีชีวิตและวัฒนธรมของคนในชุมชน
นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมณฑปเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่คนในชุมชนนับถือ เป็นหนึ่งในจุด Unseen ที่น้อยคนนักจะรู้จัก
ออกจากชุมชนมัสยิดสุวรรภูมิแล้วเลี้ยวซ้าย เดินตรงไปทางที่จะไปสะพานธนบุรี ราว 100 เมตร จะพบซอยท่าน้ำวัดสุวรรณ ถนนเจริญนครซอย จุดนี้เป็นหนึ่งในท่าเรือสำคัญที่เชื่อมระหว่างชุมชนย่าน ICONSIAM และฝั่งพระนคร บริเวณเขตบางรัก
ก่อนเข้าไปเที่ยวในชุมชน แนะนำให้ข้ามถนนเจริญนครไปกราบสักการะพระพุทธรูปโบราณ สมัยสุโขทัย ที่วัดสุวรรณ
สักการะสิ่งศักดิ์แล้ว เมื่อข้ามกลับมาจากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร จะพบซอยเล็ก ๆ ซ้ายมือ บริเวณติดกับมณฑปโบราณ เข้าไปในซอยประมาณ 20 เมตรจะพบกลุ่มอาชีพบ้านโขนไทย
ที่นี่เป็นแหล่งทำหัวโขนฝีมือตามแบบแผนช่างโบราณ มีการประดิษฐ์เครื่องแต่งตัวละคร ตุ๊กตานางรำ และหัวโขนขนาดจิ๋วสำหรับเป็นของที่ระลึก
เมื่อกลับออกมาจากซอย ซ้ายมือจะเป็นมณฑปเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่ามีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่คนในชุมชนนับถือ
เดินต่อเข้าไปในชุมชนก่อนถึงบริเวณท่านเรือข้ามฟาก มีร้านอาหารอีสานชื่อดัง ภายในร้านเดียวกันเจ้าของยังประกอบอาชีพรับแกะสลักหินอ่อน หินแกรนิต ควบคู่กันไปด้วย ระหว่างรออาหารสามารถขอไปเรียนรู้วิชาการแกะสลักจากเจ้าของร้านได้
ใกล้ ๆ จะมีร้านข้าวแกงเจ้าเก่า รสเด็ด ราคาประหยัดไว้คอยให้บริการเช่นกัน เที่ยง ๆ จะมีคนข้ามฝากจากฝั่งบางรักมาฝากท้องอยู่พอสมควร
จุดสุดท้ายตรงไปสุดทางเป็นท่าเรือข้ามฟากวัดสุวรรณ สามารถข้ามไปเที่ยวชุมชนริมน้ำย่านบางรักได้อย่างสะดวก
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวบางส่วนที่เราหยิบยกมาแนะนำเพียงเท่านั้น จริง ๆ แล้ว ทั้ง 2 ชุมชนยังมีจุดเด่นทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลอีกมากมาย เพื่อนๆ ที่มาช้อปปิ้งที่ไอคอนสยามเสร็จแล้ว อยากหาที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพิ่มเติม ลองไปสัมผัสกับทั้ง 2 ชุมชนนี้ดู รับรองมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด
“ผู้ประกอบการอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้” หลายคนมักกล่าวว่าการมาถึงของผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่จะเป็นการทำลายชุมชนหรือธุรกิจรายย่อยขนาดเล็ก หากทว่าในความเป็นจริงมิได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
โดยนักท่องเที่ยวสามารถใช้เวลานอกเหนือจากการช้อปปิ้ง ไปเที่ยวชมวัด วัง พิพิธภัณฑ์ อาคารเก่า หรือชมชุมชนรอบข้าง พร้อมสัมผัสวิถีชุมชนริมน้ำย่านคลองสาน ซึ่งเป็นชุมชนการค้าเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ได้ครบวงจรแบบ One Day Trip
สำหรับชุมชนที่เราจะแนะนำวันนี้ต่างมีจุดเด่น มีวิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หนึ่งชุมชนมุสลิมเก่าแก่ หนึ่งชุมชนชาวพุทธโบราณ ส่วนจะมีที่ไหนกันบ้างตามเราไปเที่ยวกันได้เลย
ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ เจริญนครซอย 7
เราเริ่มที่ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิเป็นที่แรก ที่นี่เป็นชุมชนชาวมุสลิม เดิมชื่อชุมชนบ้านแขก วัดสุวรรณ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยชาวมุสลิมที่อพยพมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตราด โดยการนำของขุนรามฤทธิไกร (นายอะหมัด โตประวัติ)
ในอดีตชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้มีอาชีพนักประดาน้ำ รับจ้างกู้เรือและงมสิ่งของที่จมหายในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันชุมชนชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นนับถือศาสนาอิสลาม นับถือพุทธเป็นส่วนน้อยราว 10 เปอร์เซ็นต์
ตัวชุมชนจะมีลักษณะเป็นตรอก-ซอก-ซอยขวางไปกับตัวแม่น้ำ รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปเที่ยวในชุมชนต้องใช้การเดินเท้า ซึ่งจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยเฉพาะประเพณีและวัฒนธรรมของคนมุสลิม
- เส้นทาง Walk Tour
สำหรับการเดินทางไปยังชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ หากออกจาก ICONSIAM ให้เลี้ยวซ้าย เดินข้ามคลองเล็ก ๆ มาประมาณ 100 เมตร จะถึงเจริญนครซอย 7 จุดสังเกตข้างหน้าจะมีป้ายชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ
ให้เลี้ยวซ้ายเดินตรงเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะพบจุดเช็กอินแรก จะเป็นย่านร้านอาหารไทย-อิสลาม มีให้เลือกทั้งอาหารตามสั่ง และข้าวแกงต่าง ๆ
บริเวณเดียวกันจะมี 3 แยกให้เลี้ยวขวาไปตามทาง จากนั้นเลี้ยวซ้าย จะพบจุดเช็กอินที่ 2 จุดนี้จะเป็นภาพวาดศิลปะบนกำแพง Graffiti แสดงวิถีชิวิตดั้งเดิมของคนในชุมชน
ตรงไปอีกราว 50 เมตร จะพบจุดเช็กอินที่ 3 มัสยิดสุวรรณภูมิ จุดนี้เป็นจุดไฮไลท์ที่ห้ามพลาด เนื่องจากมีโบราณวัตถุสำคัญของชุมชน คือ โคมไฟที่ใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงในหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 6 พระราชทานให้แก่มัสยิดทั่วประเทศจำนวน 69 มัสยิด
นอกจากนี้ยังมี\'มิรบัญ (ที่สำหรับแสดงธรรม) และ เมียะหร็อบ (ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด) ซึ่งเป็นงานไม้แกะสลักฝีมือประณีต สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5
จากมัสยิดเดินไปตามทาง สุดทางเป็นท่าเรือ ฝั่งตรงข้ามมีอาคารเก่าทรงโคโลเนียล เหมาะแก่การเช็คอินยามพระอาทิตย์ตก
ชุมชนวัดสุวรรณ เจริญนครซอย 9
สำหรับชุมชนวัดสุวรรณ ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ ชุมชนแห่งนี้มีความเก่าแก่ร่วมสมัยกับชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ คือสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ชุมชนแห่งนี้มีวัดสุวรรณ หรือที่มีชื่อเดิมว่า วัดสุวรรณอุบาสิการาม เป็นพุทธสถานสำคัญ ตามประวัติวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปีเดียวกันกับที่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือเมื่อปี พ.ศ.2325
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชาวจีนเป็นผู้สร้างวัด เนื่องจากอุโบสถหลังเดิมมีลักษณะแบบเก๋งจีน ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นพระประธาน
ภายในชุมชนมีหัตถกรรมหัวโขน จากบ้านโขนไทย เป็นศิลปะที่โดดเด่น แสดงให้เห็นวิถีชีวิตและวัฒนธรมของคนในชุมชน
นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมณฑปเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่คนในชุมชนนับถือ เป็นหนึ่งในจุด Unseen ที่น้อยคนนักจะรู้จัก
- เส้นทาง Walk Tour
ออกจากชุมชนมัสยิดสุวรรภูมิแล้วเลี้ยวซ้าย เดินตรงไปทางที่จะไปสะพานธนบุรี ราว 100 เมตร จะพบซอยท่าน้ำวัดสุวรรณ ถนนเจริญนครซอย จุดนี้เป็นหนึ่งในท่าเรือสำคัญที่เชื่อมระหว่างชุมชนย่าน ICONSIAM และฝั่งพระนคร บริเวณเขตบางรัก
ก่อนเข้าไปเที่ยวในชุมชน แนะนำให้ข้ามถนนเจริญนครไปกราบสักการะพระพุทธรูปโบราณ สมัยสุโขทัย ที่วัดสุวรรณ
สักการะสิ่งศักดิ์แล้ว เมื่อข้ามกลับมาจากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร จะพบซอยเล็ก ๆ ซ้ายมือ บริเวณติดกับมณฑปโบราณ เข้าไปในซอยประมาณ 20 เมตรจะพบกลุ่มอาชีพบ้านโขนไทย
ที่นี่เป็นแหล่งทำหัวโขนฝีมือตามแบบแผนช่างโบราณ มีการประดิษฐ์เครื่องแต่งตัวละคร ตุ๊กตานางรำ และหัวโขนขนาดจิ๋วสำหรับเป็นของที่ระลึก
เมื่อกลับออกมาจากซอย ซ้ายมือจะเป็นมณฑปเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่ามีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่คนในชุมชนนับถือ
เดินต่อเข้าไปในชุมชนก่อนถึงบริเวณท่านเรือข้ามฟาก มีร้านอาหารอีสานชื่อดัง ภายในร้านเดียวกันเจ้าของยังประกอบอาชีพรับแกะสลักหินอ่อน หินแกรนิต ควบคู่กันไปด้วย ระหว่างรออาหารสามารถขอไปเรียนรู้วิชาการแกะสลักจากเจ้าของร้านได้
ใกล้ ๆ จะมีร้านข้าวแกงเจ้าเก่า รสเด็ด ราคาประหยัดไว้คอยให้บริการเช่นกัน เที่ยง ๆ จะมีคนข้ามฝากจากฝั่งบางรักมาฝากท้องอยู่พอสมควร
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวบางส่วนที่เราหยิบยกมาแนะนำเพียงเท่านั้น จริง ๆ แล้ว ทั้ง 2 ชุมชนยังมีจุดเด่นทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลอีกมากมาย เพื่อนๆ ที่มาช้อปปิ้งที่ไอคอนสยามเสร็จแล้ว อยากหาที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพิ่มเติม ลองไปสัมผัสกับทั้ง 2 ชุมชนนี้ดู รับรองมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด