x close

ภาษาไทย ภาษาชาติ ยกย่องปูชนียบุคคล เชิดชูผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช ๒๕๖๑

         กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประกาศผลการคัดเลือกปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประจำปี ๒๕๖๑
ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         "เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."

         ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทยอย่างเห็นได้ชัด และตั้งแต่นั้นมา...รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ" เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย อันเป็นเอกลัษณ์ประจำชาติ

         ปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าบนโลกแห่งเทคโนโลยีที่หมุนอย่างรวดเร็วใบนี้ มีผลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย เมื่อภาษาและสังคมเป็นของคู่กัน เมื่อสังคมเปลี่ยน ภาษาก็ย่อมเปลี่ยนตาม เพราะฉะนั้นภาษาจึงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เราจึงพบเห็นคำแปลก ๆ แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของเราเสมอ บ้างก็เป็นคำทับศัพท์ บ้างก็เป็นคำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม และบ้างก็เป็นคำศัพท์สแลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนหลายคนเริ่มที่จะวิตกถึงการเปลี่ยนแปลงทางภาษาดังกล่าว จนอาจนำไปสู่การใช้ภาษาไทยอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

         กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในฐานะองค์กรของรัฐ จึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และเป็นประจำทุกปี กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลและองค์กรที่มีการดำเนินงานและมีการใช้ภาษาไทยหรือภาษาถิ่น ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงได้จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ  และได้จัดพิธีมอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ บุคคลและองค์กรที่มีส่วนสำคัญ เป็นตัวอย่างของการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลพร้อมกล่าวยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ได้รับรางวัล ประจำปี ๒๕๖๑

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         สำหรับบุคคลและองค์กรที่ได้เข็มและโล่เชิดชูเกียรติทางด้านภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑  แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

๑. ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ๒ ราย ได้แก่
 
         ๑) รองศาสตราจารย์ประจักษ์ สายแสง ตำแหน่ง : ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๒) ศาสตราจารย์วิภา กงกะนันทน์ ตำแหน่ง : นักเขียน, ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดี

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

๒. ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ๙ ราย ได้แก่

         ๑) นายกรกันต์ สุทธิโกเศศ ตำแหน่ง : ผู้ประกาศข่าว, นักแสดง, นักร้อง, พิธีกร

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๒) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิทธิ์ กอบบุญ ตำแหน่ง : อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาไทยและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๓) นายสาธิต กรีกุล ตำแหน่ง : ผู้ประกาศข่าวกีฬาและผู้บรรยายกีฬา ช่อง ๓

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๔) นายเสน่ห์ วงษ์กำแหง ตำแหน่ง : ข้าราชการบำนาญ, นักเขียน

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๕) นางสาวอำไพ สังข์สุข ตำแหน่ง : นักเขียนและครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวชิรธรรมโศภิต จังหวัดเพชรบุรี

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๖) นายคะซูฮิโกะ บันโนะ ตำแหน่ง : ประธานสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๗) นายอดัม แบรดชอว์  ตำแหน่ง : ผู้ดำเนินรายการ/อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๘) นายฮาราลด์ ลิงค์ ตำแหน่ง : ประธานบริษัท บี.กริม และกรรมการสภากาชาดไทย

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๙) นายทูกสบิลกุน ทู เมอคุเล็ก (ทูก-สะ-บิน-กุน – ทู-เมอ-คุ-เล็ก) ตำแหน่ง : เอกอัคราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

๓. ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ๗ ราย ได้แก่

         ๑) นายจุมพล ทองตัน (โกไข่) ตำแหน่ง : นักร้อง, นักประพันธ์

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๒) นายชูชาติ ใจแก้ว ตำแหน่ง : ครูภูมิปัญญาสอนโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๓) นายบุญทิพย์ สุริยะจันทร์ ตำแหน่ง : รองประธานชมรมศิลปินมโนราของจังหวัดพัทลุง

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๔) ร้อยตำรวจตรีปรีชา สุขจันทร์ ตำแหน่ง : ข้าราชการตำรวจ, ครูภูมิปัญญาสอนเพลงบอก จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๕) นายศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว ตำแหน่ง : นักจัดรายการวิทยุ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๖) นายสมจิตร ทองบ่อ ตำแหน่ง : นักร้องลูกทุ่งหมอลำ จังหวัดขอนแก่น

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๗) นายสุนทร คำยอด ตำแหน่ง : อาจารย์ และนักจัดรายการวิทยุ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

๔. ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ๓ ราย

         - ประเภทบุคคล ได้แก่ พระเทพสุธรรมญาณ (แฉล้ม เขมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล/ประธานมูลนิธิพระวิเชียรโมลี จังหวัดสงขลา

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         - ประเภทองค์กร ได้แก่

         ๑) สถาบันปัญญ์สุข

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         ๒) ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย จังหวัดลพบุรี

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 2561

         บุคคลและองค์กรเหล่านี้ ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจ ในฐานะผู้ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ และเราเองในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง นั่นเพราะหากชนชาติใดรักษาภาษาของตนเองไว้ได้ ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาความเป็นชาติไว้ด้วยเช่นกัน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภาษาไทย ภาษาชาติ ยกย่องปูชนียบุคคล เชิดชูผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช ๒๕๖๑ อัปเดตล่าสุด 15 สิงหาคม 2561 เวลา 11:04:14 10,160 อ่าน
TOP