เที่ยวกาฬสินธุ์ สัมผัสอีกหนึ่งเสน่ห์การท่องเที่ยวที่กาฬสินธุ์ ท่ามกลางวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เรียบง่าย จนแอบหลงรักอย่างไม่รู้ตัว
เรารู้จักกาฬสินธุ์ในฐานะเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไท ที่มีความละเอียดลออในการถักทอ ช่วงเวลาหนึ่งซึ่งได้มีโอกาสสัมผัสทำให้พบว่าเมืองสงบเงียบมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ที่ไม่ค่อยถูกเอ่ยชื่อถึงบ่อยนัก กลับมีหลายเรื่องที่น่าจะหยิบมาเล่า เป็นเกร็ดความรู้ในอีกมุมหนึ่งของจังหวัดนี้
กาฬสินธุ์ หนึ่งในจังหวัดภาคอีสาน ที่แต่ก่อนใครหลายคนอาจมองว่าเป็นแค่ทางผ่าน แต่เอาเข้าจริง ๆ กาฬสินธุ์เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ที่เรารู้จักกันดีอย่าง พระธาตุยาคู พิพิธภัณฑ์สิรินธร และเขื่อนลำปาว แต่นอกเหนือไปจากสถานที่ท่องเที่ยวแลนด์มาร์กเหล่านี้แล้ว วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงภูมิปัญญาของชาวกาฬสินธุ์ ล้วนมีเสน่ห์น่าดึงดูดใจอยู่ไม่น้อย เหมือนกับที่ Artoftraveler.com อาสาพาเราเที่ยวกาฬสินธุ์ในอีกหนึ่งมุมมองที่ต่างออกไปจากเดิม จนทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเรา อดไม่ได้ที่จะหลงชื่นชมวิถีชีวิตที่แสนเรียบง่าย และหาไม่ได้จากที่ไหนอย่างแน่นอน ว่าแล้ว…รีบตามเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
++++++++++
เรารู้จักกาฬสินธุ์ในฐานะเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไท ที่มีความละเอียดลออในการถักทอ ช่วงเวลาหนึ่งซึ่งได้มีโอกาสสัมผัสทำให้พบว่าเมืองสงบเงียบมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ที่ไม่ค่อยถูกเอ่ยชื่อถึงบ่อยนัก กลับมีหลายเรื่องที่น่าจะหยิบมาเล่า เป็นเกร็ดความรู้ในอีกมุมหนึ่งของจังหวัดนี้
หมูทุบอบไฟธรรมชาติบ้านนาจารย์
เนื้อหมูที่เลี้ยงด้วยมันสำปะหลังอัดเม็ด ส่วนสะโพกขาหลังและเนื้อสัน เลาะพังผืดและส่วนที่เป็นไขมันออก แล่เป็นชิ้นหนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร เคล้าเครื่องปรุงอย่าง เกลือ ซีอิ๊วขาว น้ำตาล เครื่องปรุงสมุนไพรสูตรเฉพาะ หมักทิ้งไว้หนึ่งคืน รุ่งเช้านำมาตากแดดในโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Green House) ราว 6 ชั่วโมง
นำหมูที่ได้มาอบด้วยความร้อน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ค่อย ๆ ทุบด้วยค้อนกลม ทุบตามเส้นใยในขณะที่ยังร้อน หากปล่อยให้เย็นแล้วนำมาทุบ เนื้อหมูจะแตกขาดไม่สวยงาม หมูที่ผ่านการทุบจะจัดวางลงในกระด้ง แล้วนำไปผึ่งความร้อนจากเตาถ่าน เพื่อไล่ความชื้น ช่วยให้เนื้อหมูกรอบนุ่ม จากนั้นจึงนำมาบรรจุลงกล่องเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
หมูทุบอบไฟธรรมชาติบ้านนาจารย์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2544 ในขณะที่ราคาหมูตกต่ำ คุณอัจฉรา เดชพรรณา ผู้นำชุมชนในขณะนั้น จึงคิดหาทางออกด้วยการนำมาแปรรูป โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้ รวมถึงสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากหลายหน่วยงาน จากนั้นจึงรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนเป็น
"กลุ่มแม่บ้านแปรรูปเนื้อสัตว์บ้านนาจารย์" ขึ้นมา นอกจากหมูทุบแล้ว ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยังมี หมูเค็ม ปลาร้าบอง ปลาร้าทรงเครื่อง เป็นของฝากที่สร้างชื่อให้หมู่บ้าน สร้างรายได้และรอยยิ้มให้คนในชุมชน สร้างความอร่อยให้กับคนกิน… สอบถามสั่งซื้อได้ที่ โทร. 08 7215 8459
เนื้อหมูที่เลี้ยงด้วยมันสำปะหลังอัดเม็ด ส่วนสะโพกขาหลังและเนื้อสัน เลาะพังผืดและส่วนที่เป็นไขมันออก แล่เป็นชิ้นหนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร เคล้าเครื่องปรุงอย่าง เกลือ ซีอิ๊วขาว น้ำตาล เครื่องปรุงสมุนไพรสูตรเฉพาะ หมักทิ้งไว้หนึ่งคืน รุ่งเช้านำมาตากแดดในโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Green House) ราว 6 ชั่วโมง
นำหมูที่ได้มาอบด้วยความร้อน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ค่อย ๆ ทุบด้วยค้อนกลม ทุบตามเส้นใยในขณะที่ยังร้อน หากปล่อยให้เย็นแล้วนำมาทุบ เนื้อหมูจะแตกขาดไม่สวยงาม หมูที่ผ่านการทุบจะจัดวางลงในกระด้ง แล้วนำไปผึ่งความร้อนจากเตาถ่าน เพื่อไล่ความชื้น ช่วยให้เนื้อหมูกรอบนุ่ม จากนั้นจึงนำมาบรรจุลงกล่องเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
หมูทุบอบไฟธรรมชาติบ้านนาจารย์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2544 ในขณะที่ราคาหมูตกต่ำ คุณอัจฉรา เดชพรรณา ผู้นำชุมชนในขณะนั้น จึงคิดหาทางออกด้วยการนำมาแปรรูป โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้ รวมถึงสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากหลายหน่วยงาน จากนั้นจึงรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนเป็น
"กลุ่มแม่บ้านแปรรูปเนื้อสัตว์บ้านนาจารย์" ขึ้นมา นอกจากหมูทุบแล้ว ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มยังมี หมูเค็ม ปลาร้าบอง ปลาร้าทรงเครื่อง เป็นของฝากที่สร้างชื่อให้หมู่บ้าน สร้างรายได้และรอยยิ้มให้คนในชุมชน สร้างความอร่อยให้กับคนกิน… สอบถามสั่งซื้อได้ที่ โทร. 08 7215 8459
กุ้งก้ามกราม กาฬสินธุ์
"เมื่อก่อนเราเป็นชาวนาปลูกข้าว แต่ยิ่งทำเหมือนจะยิ่งแย่ลง ข้าวราคาตก" พัชราวลัย ไร่ไสว เล่าความรู้สึกก่อนจะเปลี่ยนเส้นทางจากนาข้าวเป็นฟาร์มกุ้งที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง ในชื่อ "P.P. ฟาร์ม กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์"
ช่วงเวลาที่คิดหาช่องทางเพื่อมาเสริมอาชีพทำนา เธอมีโอกาสเข้ามาดูงานเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบฟาร์มปิดในพื้นที่ภาคกลาง จึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคกลางกับภาคอีสาน เมื่อมั่นใจจึงได้ลงมือทำ จนปัจจุบันพื้นที่นาทั้งหมดเปลี่ยนเป็นฟาร์มกุ้ง 100%
"เรื่องน้ำเราไม่ห่วงเพราะเราอยู่ในเขตชลประทาน แต่ปัญหาที่เราเจอในช่วงแรกคือ ดินที่เคยเป็นที่นามาก่อน คุณภาพจะแย่กว่าปกติ เพราะมีสารตกค้างจากปุ๋ยและยา ก็ปรับแก้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ปี จึงเข้าที่เข้าทาง"
หลังจับกุ้งแล้ว จะต้องลอกบ่อให้แห้ง โรยปูนขาวให้ทั่วเพื่อปรับสภาพดิน ตากบ่อไว้สักระยะหนึ่ง
"ไม่มีระยะเวลาแน่นอน แล้วแต่ว่าแดดแรงมากหรือน้อย เมื่อได้ที่เราถึงจะเติมน้ำเข้าบ่อ ของเราขุดลึกประมาณเมตรครึ่ง ตื้นกว่านี้มีโอกาสที่กุ้งจะตายหรือโตช้าเพราะความร้อนจากแดด ลูกกุ้งจะเลี้ยงในบ่ออนุบาลประมาณเดือนครึ่ง จึงย้ายไปอยู่ในบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ ควบคุมปริมาณกุ้งไม่ให้หนาแน่นเกินบ่อละหนึ่งหมื่นตัว แล้วแต่ขนาดของบ่อ ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เป็นลูกกุ้งจนจับขายประมาณ 5 เดือน"
ปัจจุบันอำเภอยางตลาด บ้านของพัชราวลัย ถือเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งแหล่งใหญ่ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ลูกค้าหลักคือ ร้านอาหารในพื้นที่กาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงอย่าง ขอนแก่น สกลนคร หนองคาย ฯลฯ P.P.ฟาร์มฯ ยังเป็นสถานที่อบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป … สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 3639 4696
แม้ว่ากุ้งเลี้ยงตัวจะไม่โตเหมือนกุ้งจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่คนกาฬสินธุ์เขารับประกันความสด เพราะกุ้งเดินทางเข้าร้านแบบวันต่อวัน ห้ามพลาดเมนูกุ้งเผากับน้ำจิ้มรสแซ่บ เมื่อมาเมืองนี้
"เมื่อก่อนเราเป็นชาวนาปลูกข้าว แต่ยิ่งทำเหมือนจะยิ่งแย่ลง ข้าวราคาตก" พัชราวลัย ไร่ไสว เล่าความรู้สึกก่อนจะเปลี่ยนเส้นทางจากนาข้าวเป็นฟาร์มกุ้งที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง ในชื่อ "P.P. ฟาร์ม กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์"
ช่วงเวลาที่คิดหาช่องทางเพื่อมาเสริมอาชีพทำนา เธอมีโอกาสเข้ามาดูงานเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบฟาร์มปิดในพื้นที่ภาคกลาง จึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคกลางกับภาคอีสาน เมื่อมั่นใจจึงได้ลงมือทำ จนปัจจุบันพื้นที่นาทั้งหมดเปลี่ยนเป็นฟาร์มกุ้ง 100%
"เรื่องน้ำเราไม่ห่วงเพราะเราอยู่ในเขตชลประทาน แต่ปัญหาที่เราเจอในช่วงแรกคือ ดินที่เคยเป็นที่นามาก่อน คุณภาพจะแย่กว่าปกติ เพราะมีสารตกค้างจากปุ๋ยและยา ก็ปรับแก้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ปี จึงเข้าที่เข้าทาง"
หลังจับกุ้งแล้ว จะต้องลอกบ่อให้แห้ง โรยปูนขาวให้ทั่วเพื่อปรับสภาพดิน ตากบ่อไว้สักระยะหนึ่ง
"ไม่มีระยะเวลาแน่นอน แล้วแต่ว่าแดดแรงมากหรือน้อย เมื่อได้ที่เราถึงจะเติมน้ำเข้าบ่อ ของเราขุดลึกประมาณเมตรครึ่ง ตื้นกว่านี้มีโอกาสที่กุ้งจะตายหรือโตช้าเพราะความร้อนจากแดด ลูกกุ้งจะเลี้ยงในบ่ออนุบาลประมาณเดือนครึ่ง จึงย้ายไปอยู่ในบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ ควบคุมปริมาณกุ้งไม่ให้หนาแน่นเกินบ่อละหนึ่งหมื่นตัว แล้วแต่ขนาดของบ่อ ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เป็นลูกกุ้งจนจับขายประมาณ 5 เดือน"
ปัจจุบันอำเภอยางตลาด บ้านของพัชราวลัย ถือเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งแหล่งใหญ่ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ลูกค้าหลักคือ ร้านอาหารในพื้นที่กาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงอย่าง ขอนแก่น สกลนคร หนองคาย ฯลฯ P.P.ฟาร์มฯ ยังเป็นสถานที่อบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป … สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 3639 4696
แม้ว่ากุ้งเลี้ยงตัวจะไม่โตเหมือนกุ้งจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่คนกาฬสินธุ์เขารับประกันความสด เพราะกุ้งเดินทางเข้าร้านแบบวันต่อวัน ห้ามพลาดเมนูกุ้งเผากับน้ำจิ้มรสแซ่บ เมื่อมาเมืองนี้
ขนมปาด บ้านสองห้อง
ขนมปาดเป็นขนมมงคลที่ทำเนื่องในโอกาสสำคัญอย่างงานบุญต่าง ๆ แต่หน้าตา สี รสชาติของขนมปาดที่บ้านสองห้อง อ.ร่องคำ กลับไปละม้ายขนมเปียกปูนมากกว่าขนมปาดทางภาคเหนือ ที่ออกสีน้ำตาลเข้มเพราะมีส่วนผสมของน้ำตาลอ้อย เขาจะใช้ข้าวเกษตรพันธุ์เหลือง 11 ของ อ.กมลาไสย แช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง แล้วนำมาโม่ด้วยโม่หินแบบวิธีโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบางแล้วโม่ซ้ำจนได้แป้งเนื้อละเอียดเนียน จับมาผสมกะทิ เติมสีแต่งกลิ่นด้วยน้ำใบเตยคั้นสด
ยกขึ้นเตา กวนไปเรื่อย ๆ ประมาณหนึ่งชั่วโมง แป้งสุกแล้วเพิ่มหวานด้วยน้ำตาลทราย เทใส่ถาด ผึ่งไว้ให้เย็น เสริมหน้าตาให้สวยด้วยงาขาวคั่ว ตัดแบ่งเป็นชิ้นวางลงบนใบตอง โรยด้วยมะพร้าวขูดพร้อมเสิร์ฟ
"ถ้าใส่น้ำตาลไปพร้อมกันตอนแรก จะทำให้แป้งที่กวนได้เละ ไม่จับตัว น้ำนี่ก็เหมือนกัน ถ้าใส่มากจะทำให้แห้งช้า ใช้เวลากวนนานขึ้น แป้งจะแข็งกระด้างไม่อร่อย"
… คุณป้าบอกเคล็ดลับให้ฟัง …
ขนมปาดเป็นขนมมงคลที่ทำเนื่องในโอกาสสำคัญอย่างงานบุญต่าง ๆ แต่หน้าตา สี รสชาติของขนมปาดที่บ้านสองห้อง อ.ร่องคำ กลับไปละม้ายขนมเปียกปูนมากกว่าขนมปาดทางภาคเหนือ ที่ออกสีน้ำตาลเข้มเพราะมีส่วนผสมของน้ำตาลอ้อย เขาจะใช้ข้าวเกษตรพันธุ์เหลือง 11 ของ อ.กมลาไสย แช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง แล้วนำมาโม่ด้วยโม่หินแบบวิธีโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบางแล้วโม่ซ้ำจนได้แป้งเนื้อละเอียดเนียน จับมาผสมกะทิ เติมสีแต่งกลิ่นด้วยน้ำใบเตยคั้นสด
ยกขึ้นเตา กวนไปเรื่อย ๆ ประมาณหนึ่งชั่วโมง แป้งสุกแล้วเพิ่มหวานด้วยน้ำตาลทราย เทใส่ถาด ผึ่งไว้ให้เย็น เสริมหน้าตาให้สวยด้วยงาขาวคั่ว ตัดแบ่งเป็นชิ้นวางลงบนใบตอง โรยด้วยมะพร้าวขูดพร้อมเสิร์ฟ
"ถ้าใส่น้ำตาลไปพร้อมกันตอนแรก จะทำให้แป้งที่กวนได้เละ ไม่จับตัว น้ำนี่ก็เหมือนกัน ถ้าใส่มากจะทำให้แห้งช้า ใช้เวลากวนนานขึ้น แป้งจะแข็งกระด้างไม่อร่อย"
… คุณป้าบอกเคล็ดลับให้ฟัง …