ชวนเที่ยวไทยในรูปแบบใหม่ ได้เที่ยว ได้ความรู้ ได้ส่งเสริมชุมชนอย่างแท้จริง กับการเยือนแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ทั่วไทย ซึ่งได้ซ่อนสิ่งดี ๆ ทางวัฒนธรรมไว้มากมาย
![๕๐ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน ๕๐ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน]()
จะดีแค่ไหนถ้าการไปเที่ยวแล้วกลับมามีทั้งความสุขและความรู้ และยังได้แรงบัลดาลใจดี ๆ ติดมาด้วย วันนี้เราจะมาแนะนำอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวไทยที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าที่เที่ยวธรรมชาติและสถานบันเทิงสุดทันสมัยต่าง ๆ นั่นก็คือ "แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน" อ๊ะ ๆ เห็นชื่อแบบนี้บางท่านอาจจะคิดว่าดูน่าเบื่อ แต่อยากให้เปิดใจสักนิดค่ะ บอกเลยว่าถ้าได้ลองไปทำความรู้จักกับแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนกันให้มากขึ้น จะหลงรักชุมชนเหล่านั้น รวมถึงความเป็นไทยขึ้นอีกเป็นกองแน่ ๆ ที่สำคัญในประเทศไทยมีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนหลายแห่ง ซึ่งเราได้คัดตัวท็อป ๙ แห่ง มาไว้ให้ที่นี่แล้ว จะมีที่ไหนบ้าง ตามไปเก็บข้อมูลกันได้เลย
๑. แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่
![]()
![]()
![]()
![]()
ถ้าใครเคยผ่านไปผ่านมาในอำเภอสูงเม่น จะต้องสะดุดตากับวัดสวย ๆ ริมถนนยันตรกิจโกศล ช่วงตำบลสูงเม่นกันมาบ้าง ด้วยเป็นวัดที่มีกำแพงสวยงามแปลกตาและยังโดดเด่นด้วยพระอุโบสถ สถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามมาก ๆ วัดที่ว่านี้ก็คือ "วัดสูงเม่น" วัดเก่าแก่ของจังหวัดแพร่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งในสมัยกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีสถาปัตยกรรมของอาคารและเจดีย์ต่าง ๆ แบบล้านนาเก่าแก่ พร้อมทั้งยังพบโบราณวัตถุล้ำค่าหลายอย่าง ทั้งพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ พระพุทธรูปถอดชิ้นส่วนได้ พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย และพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี คัมภีร์ใบลานที่สมบูรณ์มากที่สุดในประเทศไทย
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
และด้วยความที่มีทั้งโบราณวัตถุและโบราณสถานสวยล้ำค่า จึงได้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดสูงเม่น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม ทั้งนี้นักท่องเที่ยวก็ยังจะได้มากราบไหว้ขอพรพระประธานภายในพระอุโบสถ ชมความงดงามของพระอุโบสถสไตล์ล้านนาอายุกว่า ๒๐๐ ปี สักการะพระบรมธาตุและสารีริกธาตุ ณ เจดีย์ทรงหกเหลี่ยมสีทองอร่าม ชมหอพระไตรปิฎกอักขระภาษาล้านนา และร่วมถวายผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน อิ่มบุญกันถ้วนหน้า ได้ความรู้กันเต็มเปี่ยม
ที่ตั้ง : ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
เฟซบุ๊ก : วัดสูงเม่น
๒. แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดหลวงนางอย จังหวัดลำปาง
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
วัดหลวงนางอย ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวดาวเด่นของจังหวัดลำปางไปแล้ว เมื่อมีการสร้างขัวแตะ หรือสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในภาคเหนือ ระยะทางยาว ๔๐๐ เมตร เพื่อเชื่อมโยงระหว่างวัดหลวงนางอยกับพระอุโบสถ ผ่านกลางทุ่งนาสีเขียวขจี บรรยากาศสวยสะกดใจ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือวัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองลำปาง สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๐๐ เดิมชื่อวัดดอนแก้วทรายมูล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๔๐๐
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
จุดเด่นของวัดหลวงนางอยคือพระอุโบสถสถาปัตยกรรมล้านนาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบเมียนมา ซึ่งมีรายละเอียดของการตกแต่งที่ละเมียดละไม พร้อมทั้งยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เช่น พระพุทธรูปโบราณปางต่าง ๆ ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน วิหารน้อย เครื่องสักการะโบราณ หีบพระธรรม ฯลฯ จึงได้ก่อเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหลวงนางอย และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดหลวงนางอยในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าเที่ยวชมได้ทุกวัน และร่วมตักบาตรยามเช้ากับบรรยากาศสวย ๆ ของวัดหลวงนางอยได้อีกด้วย
ที่ตั้ง : ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
๓. พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
สำหรับใครที่กำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่จะได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน รวมทั้งยังอยู่ในกรุงเทพฯ เราขอแนะนำให้ลองไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งสามารถเที่ยวได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภายในพิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนาจะจัดการแสดงและสาธิตเกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านหลากหลายชนิดจากทั่วทุกภาคของไทย เช่น หมากขุม, หุ่นกระบอกพื้นบ้าน, ของเล่นจากเครื่องปั้นดินเผา, ของเล่นเครื่องจักรสาน, เครื่องบินกระดาษ, หุ่นมือ, หนูวิ่ง, พัดบุหงา, ว่าวไทย, โคมกระบอก, เดินกะลา, ไม้โถกเถก เป็นต้น เป็นการฝึกทักษะทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ได้อย่างดีทีเดียว
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา กรุงเทพฯ เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐-๑๘.๐๐ น. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
ที่ตั้ง : เลขที่ ๗๒/๔๙๒-๔๙๓ ถนนศาลาธรรมสพน์ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
เฟซบุ๊ก : รุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้าน
๔. ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ จังหวัดชลบุรี
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
จากไม้ไผ่ธรรมดากลายเป็นสินค้าล้ำค่า สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ชวนไปชมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยมาเนิ่นนาน กับศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แหล่งเรียนรู้การจักรสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
นักท่องเที่ยวจะได้ชมและเรียนรู้การจักสานไม้ไผ่สุดประณีตจากช่างฝีมือหัตถกรรมจักสานฝีมือเทพของเมืองไทย ตื่นตาตื่นใจไปกับผลิตภัณฑ์สวย ๆ ที่สร้างสรรค์จากไม้ไผ่ธรรมดา สู่สินค้าที่มีมูลค่า ส่งจำหน่ายไปทั่วโลก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นลายดอกพิกุล อันเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น
![]()
![๕๐ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน ๕๐ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน]()
ทั้งนี้ใครที่สนใจสินค้าสามารถเลือกซื้อไปใช้ ไปเป็นของที่ระลึก หรือเป็นของฝากให้กับคนพิเศษก็ได้เช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐ ๓๘๔๖ ๑๓๑๓, ๐๘ ๑๘๙๙ ๔๔๗๑
ที่ตั้ง : ๓๖ ถนนอินทอาษา ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์และเฟซบุ๊ก : tbhc1978.com, ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่
๕. ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ จังหวัดสุพรรณบุรี
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
สนุกสนานไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวไตดำ หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ ณ ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอันโดดเด่นของจังหวัดสุพรรณบุรี และที่เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ดี ๆ ที่อยากจะชวนให้ลองไปสัมผัสกันสักครั้ง
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
นักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่สนุกสนาน ได้เดินชมบ้านเรือนเก่าแก่ของชาวไตดำ ที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน และสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชาวไตดำ รวมทั้งเครื่องแต่งกายประจำท้องถิ่น ซึ่งจะให้นักท่องเที่ยวได้ลองสวมใส่กัน นอกจากนี้ก็ยังมีการแสดงและสาธิตการทอผ้าแบบโบราณ การทำเครื่องจักสานตามภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำเครื่องประดับพื้นเมือง การตำข้าวและฟาดข้าว การทำอาหารพื้นเมือง และกิจกรรมอื่น ๆ ให้ได้ชมกันอย่างจุใจ สามารถจัดเป็นทริปเที่ยวแบบวันเดย์ทริปได้สบาย ๆ หรือถ้าอยากไปนอนโฮมสเตย์ก็มีให้บริการเช่นกัน
ที่ตั้ง : ๑๗๓ หมู่ ๑ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
เฟซบุ๊ก : ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ
๖. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดศรีสุพนอาราม (เรือโบราณ) จังหวัดอุบลราชธานี
![]()
![]()
![]()
![]()
ใครที่ชอบชมโบราณวัตถุต่าง ๆ โดยเฉพาะของทางภาคอีสาน ต้องไม่พลาดที่จะมาเที่ยวชมที่นี่ค่ะ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดศรีสุพนอาราม (เรือโบราณ) จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งรวบรวมโบราณวัตถุที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ก่อตั้งโดยพระอธิการฉลอง ธัมมิโก และชาวบ้านในท้องถิ่น ปัจจุบันมีโบราณวัตถุ สิ่งของ และข้าวของเครื่องใช้โบราณมากกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น เช่น รอยพระพุทธบาทจำลอง ขันหมาก ขันโตกไม้ เครื่องจักสาน เครื่องดักสัตว์ ไหโบราณ ผ้าซิ่น เงินโบราณ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน พระพุทธรูปโบราณ หนังสือใบลาน เป็นต้น
![]()
![]()
![]()
แต่สิ่งที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่ก็คือ "เรือโบราณอายุกว่า ๒๐๐ ปี" ซึ่งมีการค้นพบในท้องถิ่นบริเวณลำเซบก มีลักษณะเป็นเรือขนาดใหญ่ ทำจากต้นตะเคียนเพียงต้นเดียว มีความกว้าง ๑.๘๕ เมตร ยาว ๒๑.๖๐ เมตร ปัจจุบันตั้งไว้ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวได้ทุกวัน
ที่ตั้ง : บ้านหนองช้างน้อย ตำบลหนองช้างใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
๗. พิพิธภัณฑ์สระกำแพงใหญ่ วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
![]()
![]()
![]()
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือปราสาทศรีพฤทเธศวร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ และของประเทศไทย ด้วยเป็นปราสาทของโบราณแบบบาปวนตอนปลายที่งดงามมาก ตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัยรวมทั้งหมด ๖ หลัง มีทับหลังปราสาทที่ยังคงสมบูรณ์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบารายหรือสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า "สระกำแพง"
![]()
![]()
![]()
สันนิษฐานว่าที่นี่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป มีการขุดค้นพบประติมากรรมและโบราณสถานหลากหลายชิ้น จึงได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สระกำแพงใหญ่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของปราสาทสระกำแพงใหญ่ และประวัติศาสตร์สมัยขอมเรืองอำนาจ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมขอมได้อย่างดีทีเดียว
![]()
![]()
เฟซบุ๊ก : museumthailand.com
๘. แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนบ้านร้อยปีเทียนสือ จังหวัดระนอง
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
ระนองไม่ได้งดงามเฉพาะธรรมชาติเท่านั้น ในด้านวัฒนธรรมของชุมชนเก่าแก่ที่นี่ก็มีให้เที่ยวชมเช่นกัน บ้านร้อยปีเทียนสือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของระนอง เป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดระนอง มีลักษณะเป็นบ้านโบราณตามสไตล์เปอรานากันอายุกว่า ๑๕๐ ปี ดั้งเดิมเป็นบ้านของนายเทียนสือ ซึ่งมีข้าวของเครื่องใช้โบราณที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชาวบาบ๋า-ย่าหยา และยังมีเครื่องแต่งกายพื้นเมือง รวมทั้งเครื่องแต่งกายสวยงามที่ใช้โอกาสต่าง ๆ ของชาวบาบ๋า-ย่าหยา จัดแสดงไว้ให้ได้ชมกันด้วย
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
ไม่เพียงเท่านั้นภายในบ้านก็ยังมีรูปภาพเก่า ๆ จัดแสดงไว้ทั่วบ้าน ซึ่งสามารถเล่าเรื่องราวความเป็นมาของบ้านร้อยปีเทียนสือ และชาวบาบ๋า-ย่าหยา ที่อยู่ในจังหวัดระนองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ถ้าไปเที่ยวชมในโอกาสพิเศษก็จะได้ลิ้มลองอาหารพื้นเมืองอร่อย ๆ กันด้วย ทั้งอร่อยและให้ชิมไม่อั้น ดีต่อใจมาก ๆ เลย :)
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนบ้านร้อยปีเทียนสือ เปิดให้เข้าเที่ยวชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ ๐๘ ๑๐๘๘ ๒๖๒๙
ที่ตั้ง : ซอยผาตาด ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
เฟซบุ๊ก : บ้านร้อยปีเทียนสือ
๙. แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
ถ้าพูดถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของพี่น้องชาวใต้ นอกจากการแสดงมโนราห์แล้ว อีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ "หนังตะลุง" ไม่ว่าใครได้ชมการแสดงสดเป็นต้องหลงรัก เพราะทั้งตลก สนุกสนาน มีเรื่งราวที่น่าติดตาม แต่กว่าจะมาเป็นการแสดงหนังตะลุงที่โดนใจผู้ชมได้นั้น จะต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การแกะรูปหนัง ที่ไม่ใช่ว่าใครก็จะทำได้ เพราะต้องใช้ความเชี่ยวชาญพอสมควรกว่าจะได้เป็นรูปหนังตะลุงที่มีลวดลายสวยงาม พอได้รูปหนังมาแล้ว ก็ยังต้องมาฝึกเล่าเรื่องไปพร้อมกับการหัดเชิดรูปหนัง สร้างเป็นการแสดงที่สนุกสนานให้กับผู้ชม
![]()
![]()
![]()
แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่นนี้ให้อยู่คู่กับชาวสงขลาไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ที่นี่นักท่องเที่ยวจะได้ชมการแกะรูปหนังอย่างใกล้ชิด และยังจะได้ลองแกะรูปหนังด้วยมือของตัวเองด้วย พร้อมทั้งยังจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหนังตะลุงอย่างเต็มอิ่ม ถ้าโชคดีก็จะได้ชมการแสดงหนังตะลุงแบบฟรี ๆ อีกต่างหาก เที่ยวก็ได้ ความรู้ก็มีติดตัวกลับบ้าน ไม่มีอะไรสุขไปกว่านี้แล้วจริง ๆ
ที่ตั้ง : ๖๖๖ หมู่ ๒ ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
แต่ละสถานที่ที่เราคัดสรรมา ล้วนมีความน่าสนใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถรองรับความชอบของนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างดีทีเดียว เป็นการเที่ยวที่คุ้มค่าจริง ๆ ว่าไหมคะ :D อ๊ะ ๆ แต่ถ้ายังไม่อิ่มใจ อยากลองไปเที่ยวแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนที่หลากหลายมากกว่านี้ เราขอแนะนำให้ไปติดตามดูในหนังสือ ๕๐ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน
ซึ่งจัดทำโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในหนังสือได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนไว้อีกเพียบเลยค่ะ รับรองได้เลยว่าจะต้องถูกใจแน่นอน :)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, culture.go.th, Phrae : สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่, ททท., sungmen.weebly.com, วัดสูงเม่น, pr.prd.go.th, region3.prd.go.th, culture.go.th, รุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้าน, tbhc1978.com, ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่, museumthailand.com, ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ, sac.or.th, bandon.go.th, nongchangyai.go.th, lib2.ubu.ac.th, พิพิธภัณฑ์สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, museumthailand.com, isan.tiewrussia.com,
บ้านร้อยปีเทียนสือ, culture.go.th และ khuanniangcity.go.th

๑. แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่












ที่ตั้ง : ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
เฟซบุ๊ก : วัดสูงเม่น
๒. แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดหลวงนางอย จังหวัดลำปาง












ที่ตั้ง : ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
๓. พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร















ที่ตั้ง : เลขที่ ๗๒/๔๙๒-๔๙๓ ถนนศาลาธรรมสพน์ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
เฟซบุ๊ก : รุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้าน
๔. ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ จังหวัดชลบุรี














ทั้งนี้ใครที่สนใจสินค้าสามารถเลือกซื้อไปใช้ ไปเป็นของที่ระลึก หรือเป็นของฝากให้กับคนพิเศษก็ได้เช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐ ๓๘๔๖ ๑๓๑๓, ๐๘ ๑๘๙๙ ๔๔๗๑
ที่ตั้ง : ๓๖ ถนนอินทอาษา ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์และเฟซบุ๊ก : tbhc1978.com, ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่
๕. ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ จังหวัดสุพรรณบุรี












ที่ตั้ง : ๑๗๓ หมู่ ๑ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
เฟซบุ๊ก : ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ
๖. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดศรีสุพนอาราม (เรือโบราณ) จังหวัดอุบลราชธานี







ที่ตั้ง : บ้านหนองช้างน้อย ตำบลหนองช้างใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
๗. พิพิธภัณฑ์สระกำแพงใหญ่ วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ








ที่ตั้ง : บ้านกำแพงใหญ่ วัดสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๘. แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนบ้านร้อยปีเทียนสือ จังหวัดระนอง
















ที่ตั้ง : ซอยผาตาด ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
เฟซบุ๊ก : บ้านร้อยปีเทียนสือ
๙. แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา












ที่ตั้ง : ๖๖๖ หมู่ ๒ ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
แต่ละสถานที่ที่เราคัดสรรมา ล้วนมีความน่าสนใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถรองรับความชอบของนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างดีทีเดียว เป็นการเที่ยวที่คุ้มค่าจริง ๆ ว่าไหมคะ :D อ๊ะ ๆ แต่ถ้ายังไม่อิ่มใจ อยากลองไปเที่ยวแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนที่หลากหลายมากกว่านี้ เราขอแนะนำให้ไปติดตามดูในหนังสือ ๕๐ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน
หรือเพียงสแกนคิวอาร์โค้ด
ซึ่งจัดทำโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในหนังสือได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนไว้อีกเพียบเลยค่ะ รับรองได้เลยว่าจะต้องถูกใจแน่นอน :)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, culture.go.th, Phrae : สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่, ททท., sungmen.weebly.com, วัดสูงเม่น, pr.prd.go.th, region3.prd.go.th, culture.go.th, รุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้าน, tbhc1978.com, ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่, museumthailand.com, ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ, sac.or.th, bandon.go.th, nongchangyai.go.th, lib2.ubu.ac.th, พิพิธภัณฑ์สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, museumthailand.com, isan.tiewrussia.com,
บ้านร้อยปีเทียนสือ, culture.go.th และ khuanniangcity.go.th