ตามรอย "บุพเพสันนิวาส" ชมสถานที่ถ่ายทำและสถานที่สำคัญในละคร กับสถานที่ท่องเที่ยวไทยสวย ๆ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เหมือนย้อนเวลากลับสู่อดีต ต้องรีบเก็บไว้ในลิสต์ที่เที่ยววันหยุดครั้งต่อไป
เพิ่งผ่านไปแค่ไม่กี่ตอน "บุพเพสันนิวาส" ก็ทำเอาแฟนละครติดหนึบกันแล้วค่ะ เพราะโปรดักชั่นและฝีมือการแสดงของนักแสดงที่ดีเกินคาด จึงทำให้ละครเรื่องนี้มาอยู่ในใจผู้ชมเรียบร้อยแล้ว แต่สังเกตไหมคะ ว่าสถานที่ถ่ายทำในละครเรื่องนี้นั้นสวยงามมาก ๆ ทำให้ละครเรื่องนี้ยิ่งน่าสนใจขึ้นอีกเท่าตัว เราก็เลยแอบไปเก็บรายละเอียดของสถานที่ถ่ายทำและสถานที่สำคัญจากละครเรื่องนี้มาฝากกัน มีที่ไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ
วัดไชยวัฒนาราม เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2173 โดยพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์อยุธยาในสมัยนั้นโปรดให้สร้างขึ้น ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นปรางค์ประธานที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละมุมของฐานมีปรางค์ประจำทิศตั้งอยู่ด้วย ซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนต้น นอกจากนี้ก็ยังมีจุดอื่น ๆ ที่ห้ามพลาด อาทิ ระเบียงคด, พระอุโบสถ, เมรุ, ภาพปูนปั้น, พระประธาน เป็นต้น เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ในช่วงเวลา 19.30-21.00 น. จะมีการเปิดไฟส่องไปยังโบราณสถานภายในวัด บรรยากาศสวยงามมาก
2. วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันตก บริเวณตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 1896 เป็นพระอารามหลวงที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ในการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และเมื่อครั้งที่เสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 วัดนี้ไม่ได้ถูกกองทัพพม่าทำลายมากนัก ปัจจุบันจึงยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ สิ่งที่โดดเด่นภายในวัด ก็คือ ปรางค์พระประธาน มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมสีขาวสวยงาม นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่น่าเที่ยวชม อาทิ มณฑป 2 หลังที่อยู่ด้านข้างของปรางค์พระประธาน, พระอุโบสถ, หมู่พระเจดีย์สิบสององค์, วิหารพระนอน, พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, พระนอน เป็นต้น
3. วัดธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดธรรมาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเล็ก ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา มีอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปี อดีตที่นี่เป็นฐานที่มั่นในการตั้งค่ายของพม่า เพราะอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี ใกล้กับปากแม่น้ำลพบุรี และมีทุ่งกว้างเรียกว่า ทุ่งประเชต อยู่ด้านหลังของวัด แต่เมื่อเสียกรุง ในปี พ.ศ. 2310 วัดนี้ก็ถูกเผาทำลาย แต่เมื่อขึ้นสู่สมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง ความสำคัญของวัดธรรมารามอีกหนึ่งข้อคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ มีพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่สำคัญดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส คือ พระอุบาลีมหาเถระ พระสงฆ์ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับพุทธศาสนาในสมัยนั้น และปัจจุบันก็มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระขึ้นที่นี่ด้วย โดยจัดแสดงประวัติ เครื่องใช้ เครื่องอัฐบริขารของพระอุบาลีมหาเถระจากประเทศศรีลังกา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-16.30 น.
4. วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ที่ตำบลวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีบันทึกไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดที่พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ปฏิสังขรณ์หลังจากที่กลับมาจากฝรั่งเศส และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดโกษาวาส และวัดนี้ก็ยังเป็นสถานศึกษาของนายสิน หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เพื่อการศึกษาภาษาไทย ขอมและพระไตรปิฎก สิ่งสำคัญภายในวัด ก็คือ ปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา มีการก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาทหรือไม้กางเขน ทางทิศใต้สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ หาชมได้ยากยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงามตั้งอยู่ภายในศาลาการเปรียญ โดยเชื่อกันว่าลายจำหลักไม้หน้าบันนั้นเป็นของดั้งเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวชมได้ทุกวัน
5. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพจาก museumsiam.org
ภาพจาก museumsiam.org
ภาพจาก museumsiam.org
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่บนถนนโรจนะ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีอาคารจัดแสดงถึง 3 อาคารด้วยกัน คือ 1. หมู่อาคารเรือนไทย สร้างอยู่ในสระน้ำ มีลักษณะเป็นเรือนไทยภาคกลาง ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของผู้คนในอดีต 2. อาคารศิลปะในประเทศไทย มี 2 ชั้น จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดอยุธยา และ 3. อาคารเจ้าสามพระยา จัดแสดงศิลปวัตถุสำคัญ ๆ จากสมัยอยุธยา โดยรวมแล้วที่นี่มีสมบัติล้ำค่ามากมาย
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ด้วย ใครที่สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์สมัยโบราณ และอยากเห็นข้าวของต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา สามารถมาเที่ยวชมได้ทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
6. หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน จังหวัดสระบุรี
หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่ 6 ตำบลดาวเรือง อำเภอเมืองสระบุรี ก่อตั้งโดยอาจารย์ทรงชัย วรรณกุล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน มีการรวบรวมสถานที่และสิ่งของ อาทิ เรือนของเจ้าเมืองสระบุรี, เรือนของพันตรีหลวงจบกระบวนยุทธ, เรือนของเสือคง โจรเลื่องชื่อในอดีตในจังหวัดสุพรรณบุรี, ผ้าทอโบราณ, เรือพื้นบ้านที่ใช้ในลุ่มน้ำป่าสักและภาคกลางกว่า 20 ลำ เป็นต้น การจัดแสดงจะจำลองให้มีองค์ประกอบเหมือนบ้านที่อยู่อาศัยจริง ในแต่ละห้องก็จะจัดแสดงวัตถุและบรรยากาศแบบชาวไทยวนในด้านต่าง ๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.
7. ตลาดน้ำดาวเรือง จังหวัดสระบุรี
ตลาดน้ำดาวเรือง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักในตำบลดาวเรือง อำเภอเมืองสระบุรี เป็นตลาดน้ำบรรยากาศย้อนยุค มีโครงอาคารจากวัสดุธรรมชาติ ทำให้เข้ากันกับบรรยากาศของริมแม่น้ำป่าสัก ชาวบ้านจะขายสินค้าท้องถิ่นในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผัก-ผลไม้พื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมทำมือจากชาวบ้านในชุมชน ราคาย่อมเยา สามารถมาเที่ยวชมได้ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00-16.00 น.
8. เพนียดคล้องช้าง จังหวัดอยุธยา
ภาพจาก Waraphorn Aphai / Shutterstock.com
ภาพจาก ช่อง 3
9. วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10. ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
11. เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
สำหรับเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่เที่ยวสวย ๆ ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ นิดเดียว ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ มีพื้นที่ทั้งหมดราว ๆ 800 ไร่ ภายในเมืองโบราณจะมีการจำลองงานสถาปัตยกรรมไทยหลากหลายยุค หลากหลายสมัยมาไว้ที่นี่ พร้อมทั้งมีการจัดจำลองบรรยากาศให้เข้ากับงานสถาปัตยกรรมนั้น ๆ และยังมีการจัดสรรพื้นที่ ปรับแต่งภูมิทัศน์ให้สวยงาม ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพรรณ ทำถนนลาดยางอย่างดี เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเดิน ปั่นจักรยาน หรือขับรถยนต์ส่วนบุคคลเที่ยวชมได้อย่างสะดวก
นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. มีค่าเข้าชมหลายแบบ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ancientcitygroup.net
สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับละครเรื่องบุพเพสันนิวาส
12. บ้านหลวงรับราชทูต จังหวัดลพบุรี
บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านหลวงวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน / Constantine Phaulkon) จะถูกพูดถึงในตอนที่เกศสุรางค์ และครอบครัวหมืื่นสุนทรเทวาไปเยือนเมืองละโว้ เกศสุรางค์ได้เดินทางไปเยี่ยมแม่มะลิ หรือมารี กีมาร์ (Marie Guimar) หรือท้าวทองกีบม้าที่บ้านหลังนี้
ปัจจุบันที่นี่ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีลักษณะเป็นกลุ่มบ้านที่ก่อสร้างขึ้นด้วยอิฐ มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีกำแพงล้อมโดยรอบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ด้านทิศตะวันตก เป็นตึก 2 ชั้นหลังใหญ่ 1 หลัง และอาคารชั้นเดียวแคบยาว มีซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม, พื้นที่ตรงกลาง มีฐานสิ่งก่อสร้าง สันนิษฐานว่าเป็นหอระฆัง และมีโบสถ์คริสตศาสนา พร้อมกับซุ้มประตูทางเข้ารูปจั่ว และด้านทิศตะวันตก มีกลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น ซึ่งมีบันไดทางขึ้นเป็นรูปครึ่งวงกลม ซุ้มประตูก็เป็นโค้งครึ่งวงกลมด้วยเช่นกัน ในอดีตที่นี่เป็นสถานที่รับรองเอกอัครราชทูตจากฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้พำนักอยู่ที่นี่เป็นคนสุดท้าย จึงเรียกกันว่าบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ปัจจุบันที่นี่หลงเหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ก็ยังเห็นโครงสร้างต่าง ๆ อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น.
13. พระที่นั่งไกรสรสีหราช
ภาพจาก ททท.
ภาพจาก ททท.
พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น หรือตำหนักทะเลชุบศร) จะถูกพูดถึงตอนที่เกศสุรางค์และหมื่นสุนทรเทวาไปเที่ยวชมเมืองละโว้อีกเช่นกัน ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้มีการก่อสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประทับพักร้อน และใช้สำรวจจันทรุปราคา มีลักษณะเป็นพระที่นั่งชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน ผังอาคารเป็นทรงจัตุรมุข แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นห้องโถงมีมุขเด็จ, ส่วนกลางเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และส่วนหลังเป็นที่พักฝ่ายใน สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ด้วยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเคยใช้เป็นสถานที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 และทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 ร่วมกับคณะทูตและบาทหลวงจากประเทศฝรั่งเศสที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี ปัจจุบันที่นี่หลงเหลือเพียงแค่ซากกำแพงและผนัง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
14. ป้อมเพชร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
15. พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
16. พระนารายณ์ราชนิเวศน์ (วังนารายณ์) จังหวัดลพบุรี
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หันหน้าเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงโดยรอบสูงใหญ่ มีใบเสมาเรียงรายตลอดสันกำแพง มีป้อมรายล้อมทั้งหมด 7 ป้อม มีประตูทางเข้า 7 ประตู ด้านในมีพระที่นั่งและสถานที่สำคัญ อาทิ พระที่นั่งจันทรพิศาล, พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท, พระที่นั่งสุทธาสวรรย์, ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง, ตึกพระเจ้าเหา, สิบสองท้องพระคลัง (พระคลังศุภรัตน์), โรงช้างหลวง, หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ, หมู่ตึกพระประเทียบ เป็นต้น ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.
17. วัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดพระรามก็เป็นส่วนหนึ่งของละครเรื่องบุพเพสันนิวาสด้วยค่ะ เป้นอีกตอนที่สำคัญของเรื่องเลย โดยขุนศรีวิสารวาจา (หมื่นสุนทรเทวา) จะพาเกศสุรางค์ไปเที่ยวชมงานแข่งเรือ และงานก่อกองทรายที่วัดแห่งนี้ มีฉากฟิน ๆ อยู่ในตอนนี้เพียบเลย เกศสุรางค์ก็เริ่มหวั่นไหวกับขุนศรีวิสารวาจา ก็ตอนไปดูแข่งเรือนี่แหละ ^^
สำหรับวัดพระราม ก็มีประวัติไม่ธรรมดาเช่นเดียวกันค่ะ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวัดที่ใหญ่โตโอ่อ่าของอยุธยาเลยทีเดียว วัดนี้สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระราเมศวร ราวปี พ.ศ. 1912 พระองค์ได้โปรดเกล้าให้สร้างวัดนี้ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา โดยตัววัดนั้นมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามตามแบบศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น มีพระปรางค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง คล้ายกับศิลปะจากเขมร มีบึงน้ำกว้างใหญ่อยู่หน้าวัด หรือที่เรียกกันว่าบึงพระรามนั่นเอง นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวชมที่นี่ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
18. สะพานบ้านดินสอ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
สะพานบ้านดินสอ เป็นอีกสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา และจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ก็มีฉากที่ขุนศรีวิสารววาจา ได้พาเกศสุรางค์ไปเลือกซื้อดินสอไม้และสมุดที่ป่า (ตลาด) บ้านดินสอ
ปัจจุบันสะพานบ้านดินสอ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นสะพานอิฐมอญ ทอดข้ามผ่านคลองฉะไกรน้อย เพื่อเชื่อมระหว่างป่าดินสอและวัดบรมพุทธาราม ด้านล่างของสะพานเป็นทางลอดเรือโค้งไม่ใหญ่มากนัก เพื่อให้เรือเล็กสัญจรไปมาได้ แต่ปัจจุบันหลงเหลือเพียงซากสะพานเท่านั้น ตัวลำคลองฉะไกรน้อยก็หลงเหลือเป็นเพียงสระน้ำเล็ก ๆ รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ร่มรื่น
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ภาพจาก ช่อง 3
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, , , , ,, library.tru.ac.th, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี, ช่อง 3, info.dla.go.th, infothailand.eu, ayutthaya.go.th, sac.or.th, museumsiam.org, เฟซบุ๊ก หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี, museumthailand.com, เฟซบุ๊ก วังช้างอยุธยา แล เพนียด Ayutthaya Elephant Palace & Royal Kraal, เฟซบุ๊ก วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่, catholichaab.com, ayutthaya.go.th, ททท., library.tru.ac.th, ททท., library.tru.ac.th, ตลาดน้ำกองถ่ายฯ ค่ายสุรสีห์, ancientcitygroup.net