x close

นมัสการ พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก buddhadharmarelicsmuseum

          เชื่อหรือไม่...พิพิธภัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในเมืองไทย? หลายคนคงยังไม่ทราบว่าในเมืองฟ้าอมร ตึกรามบ้านช่องสูงเสียดฟ้า อย่างกรุงเทพมหานคร บนพื้น ๆ เล็ก ๆ ใจกลางกรุง ยังมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่ายิ่ง ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปกราบนมัสการ พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ หรือ Buddha Dharma Relics Museum พิพิธภัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุที่ใหญ่ที่สุดในโลกกันค่ะ

          พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่ในสถานที่กลางเมืองกรุงเทพมหานคร ในอาคารบางกอกสแคว์ ถนนพระราม 3 ซึ่งเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กว้างขวางกว่า 1,500 ตารางเมตร เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเผยแพร่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อให้ทุกท่านได้มาร่วมสักการะ ได้เรียนรู้และระลึกถึงในพระพุทธองค์

          โดย พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ ได้เก็บรักษและรวบรวม "พระบรมสารีริกธาตุ" ไว้มากกว่า 600 พระองค์ และเป็นแห่งแรกในโลกที่มีการนำแสดงถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลากหลายประเทศในเอเซีย โดยมีการรวบรวมในกลุ่มวาจารญาณ, มหาญาณ, เทรวาส, หินณญาณ, เต๋า และพราหมณ์

          ทั้งนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ มีการจัดแสดงแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ได้แก่...

พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ

          ก่อนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพานได้รับสั่งกับพระอรหันต์สาวกผู้มีนามว่า พระควัมบดี ว่า ถ้าเมื่อถึงกาลที่พระองค์ได้ถึงดับขันธ์ปรินิพานแล้ว ให้ พระควัมบดี นำพระทนต์ทั้ง 33 องค์ (ฟัน) ไปมอบให้กับพระเจ้ามหาศิริมาลาอโศกา ผู้ครองดินแดนสุวรรณภูมิ และเมื่อถึงกาลดับขันธ์ปรินิพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระควับดี จึงได้ปฏิบัติตามพระกระแสรับสั่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยได้มอบพระทนต์ทั้ง 33 องค์ ให้กับ พระเจ้ามหาศิริมาลาอโศกา เมื่อทรงรับมอบแล้ว จึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้นายทหารขุดบ่อน้ำขึ้นมา 2 บ่อ และสรงน้ำพระทนต์ทั้ง 33 ซีก ซึ่งบ่อน้ำนี้ก็ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ที่ หมู่บ้านตะทอน รัฐมินยาง ประเทศพม่า

          ซึ่งหลังจากที่พระองค์ได้ทรงรับสั่งให้นายทหารขุดบ่อน้ำแล้ว ก็ยังทรงมีรับสั่งให้สร้างเจดีย์ที่ทำด้วยหิน 33 เจดีย์ เพื่อบรรจุ พระทนต์ ทั้ง 33 องค์ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ในเจดีย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 236 พระเจ้าจุฬา ศิริมาลา อโศกา พระองค์เป็นผู้ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และพระองค์ได้มีการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญคือ ได้มีการอัญเชิญพระทนต์ทั้ง 33 องค์ จากเจดีย์ทั้ง 33 แห่ง ที่พระเจ้ามหาศิริมาลาอโศกา ได้สร้างไว้ครั้งอดีต มาบรรจุหีบทองคำทั้ง 33 ใบ และนำไปเก็บไว้ในหอทองคำ ทั้ง 33 แห่ง ที่สร้างขึ้นใหม่

          และพระองค์ก็ทรงตรัสว่า "ถ้าหากว่าพระทนต์ทั้ง 33 องค์ ศักดิ์สิทธิ์จริง ก็ขอให้พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ไปทั่วโลก" และหลังจากนั้นหีบทองคำทั้ง 33 ใบ ก็ได้หายไป แต่ได้ถูกค้นพบในเวลาต่อมา ซึ่งได้กระจายไปทั่วในเขตแผ่นดินสุวรรณภูมิ และในเวลาต่อมาพระทนต์ 1 องค์ ได้ถูกค้นพบที่เจดีย์เก่าแก่ที่ได้พังลงมา ณ หมู่บ้าน ตะทอน รัฐมินยาง ประเทศพม่า และได้มีการเก็บรักษาจากรุ่นสุ่รุ่นมา จนกระทั่งได้มอบให้กับพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งของพม่า ซึ่งมีนามว่า โคดานะ ซึ่งต่อมาท่านได้สร้างพิพิธภัณฑ์ พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อต้องการเผยแพร่ พุทธศาสนิกชน ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้ามากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ



หอพระราชวัง

          สำหรับห้องนี้มีพระบรมสารีริกธาตุ ที่จัดแสดงในหลากหลายสัณฐาน อาทิ เช่น พระสมอง, พระโลหิต, พระมังสะ, พระจุมมะ ฯลฯ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กลางห้องโถงเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ทั้ง 3 ฤดู โดยมียักษ์ 2 ตน ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ที่คอยปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ภายในห้องยังประกอบไปด้วย หอพระเขี้ยวแก้ว 1 ใน 33 องค์ ซึ่งทุกท่านสามารถกราบสักการะขอพรจากพระเขี้ยวแก้วได้ และยังมีภาพฝาผนังที่เล่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง 14 ตอนที่สำคัญ



วงมณี

          สำหรับผู้ที่ต้องการให้ประสบความสำเร็จตามสิ่งที่ปรารถนา โดยหมุนวงมณีที่ภายในบรรจุด้วยมนต์ของธิเบต เพียง 3 รอบ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการประสบความสำเร็จ เพื่อให้จิตใจสงบ และมีบุญญานุภาพที่ช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีให้ไปจากชีวิตของเราอีกด้วย ทางเรายังได้เตรียมผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำนายในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ประจำที่ห้องนี้อีกด้วย เพื่อบริการให้กับท่านที่สนใจในด้านการทำนาย



หอพระบุศบก

          จุดเริ่มการแสดงพระบรมสารีริกธาตุเริ่มจากห้องนี้ ท่านจะได้สัมผัสถึงความตระการตา ของกระดูกส่วนหน้าอกขององค์พระศรีศากยมุนี พระพุทธเจ้า ที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ทอง โดยมีกินรี 2 ตนคอยต้อนรับทุกท่านที่มาชม และได้สัมผัสกับพระบรมสารีริกธาตุอย่างใกล้ชิด ชำระจิตใจให้สงบและถึงพร้อม เพื่อเตรียมตัวไปสู่ห้องถัดไป



ศาลาพระคเนศ

          ศาลพระพิฆเนศปาง 51 ตา ตั้งอยู่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้เพราะเราได้มีการอัญเชิญมาจาก รัฐเชนไน ประเทศอินเดีย ได้มีการทำพิธีปลุกเสกจากพราหมณ์ ที่วัดพระพิฆเนศทั้ง 8 แห่งที่สำคัญของประเทศอินเดีย อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ ได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ท่าน อิสสระ สมชัย ได้เป็นประธานในการเปิดศาลพระพิฆเนศ ปาง 51 ตา นี้ด้วย

          ซึ่งพระพิฆเนศปาง 51 ตา เป็นปางที่ 33 ซึ่งเกิดมาในช่วงกลียุค พระพิฆเนศปาง 51 ตา เป็นปางพิเศษที่รวมมหาเทพหลายองค์มาอยู่ในพระพิฆเนศปางนี้ อาทิเช่น พระศิวะ พระแม่อุมา พระนารายณ์ พระลักษมี พระแม่กายตรี พระแม่ติรีปุราสุนดารี ฯลฯ ซึ่งผุ้ใดที่บูชาปางนี้จะมีแต่ความสุขความเจริญด้วยโชคลาภ เงินทอง อำนาจ ชื่อเสียง และสุขภาพ ซึ่งมีประโยชน์ครอบจักวาลสำหรับผู้ที่เคารพบูชา ทางพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญชวนผู้ที่นิยมบูชาพระพิฆเนศ สามารถมาเคารพสักการะได้ที่ศาลพระพิฆเนศ 51 ตาแห่งนี้ เรามีพราหมณ์จากประเทศอินเดียคอยให้บริการสำหรับท่านที่สนใจ



ห้องศิลปะเทวรูปของเขมร

          ซึ่งมีความงดงามทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประติมากรรมในรูปแบบเขมร ซึ่งแรกเข้ามาทุกท่านจะได้พบกับประติมากรรมแบบโบราณรูปหินแกสลักศิลาพญา นาคราช



ศิลปะเทวรูปของอินเดีย

          เมื่อท่านได้สัการะขอพรกับพระอิศวรในนครเขมรแล้ว ท่านก็จะได้พบกับเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนภารตะองค์สีทองสูงกว่า 4 เมตร พระนามว่า พระตรีมูรติ ผู้เป็นเทพพระเจ้าแห่งความรักความศรัทธา และความสำเร็จทั้งปวง โดยพลังแห่งบรมเทพทั้งสามพระองค์รวมอยู่ในร่างแห่งมหาเทพพระตรีมูรติ นั้นคือ พระอิศวรเจ้า พระนารายณ์ และพระพรหมณ์ ผู้เป็นเทพพระเจ้าที่อยู่เหนือทั้งสามโลก ซึ่งการจัดแสดงในส่วนนี้ได้นำรูปแบบการนำเสนอในแนวศิลปะแบบอินเดียทั้งรูป แบบประติมากรรมเทวรูปต่าง ๆ และผนังภาพเล่าเรื่องราวเกียวกับการบูชาเทพในรูปแบบของศิลปะอินเดีย



ศิลปะวัฒนธรรมของเอเชีย

          ความศรัทธาอันสูงสุดยังคงเป็นสิ่งสวยงามที่ยังคง อยู่คู่กับผู้ที่ศรัทธา ในสายธารแห่งธรรมของพระพุทธศาสนา รวบรวมไว้ในหลากหลายเรื่องราวของวัฒนธรรมอันดีงามทั้งภาพประกอบบอกเล่าความเป็นมา รวมถึงภาพศิลปจิตรกรรม งานประติมากรรมทางพุทธศิลป์ อีกทั้งเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละพระองค์ ของชาวเอเชียที่มีประวัติอันยิ่งใหญ่และยาวนานควบคู่กับความเคารพความศรัทธา และความเชื่อที่อยู่ในกฏเกณฑ์ของพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของมนุษย์ในสังคมของชาวเอเชียที่อยู่ร่วม กันมาอย่างสงบสุข ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ ได้นำมาจัดแสดงให้ท่านได้เห็น พร้อมข้อมูลต่างๆ ให้ได้ศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในบรรยากาศอันแสนสวยงามและสงบสุข ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้



ห้อง 18 พระอรหันต์

          เมื่อจะกล่าวถึงเรื่องราวการเผยแพร่ในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่องค์พระศาสดาได้กำหนดพระธรรมคำสอนไว้ในพระไตรปิฏก โดยมีศิษย์ยานุศิษย์หลากหลายกลุ่มที่ยึดมั่นศรัทธาในคำสอนของพระพุทธองค์ แต่ที่เห็นจะขาดมิได้ในกลุ่มพระผู้ซึงศึกษาในพระธรรมนั้น ที่เป็นลูกศิษย์เอกของพระพุทธเจ้า โดยองค์พระศาสดาได้ให้หลักธรรมคำสอนพระพุทธรรมต่าง ๆ อย่างมากมาย และด้วยความอุสาห์ในการศึกษาพระธรรมและปฏิบัติชอบในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ จึงสำเร็จในพระธรรมและบรรลุเป็นชั้นพระอรหันต์ทั้ง 18 พระองค์ เรียกกันว่า “พระ 18 อรหันต์” ซึ่งแต่ละองค์จะมีความรู้ซึ้งถึงพระธรรมคำสอนเป็นอย่างดี เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อีกทั้งเรื่องความสามารถที่วิเศษในแต่ละองค์ก็มาความแตกต่างกันไป



หอพระธรรมธิเบต

          สถานที่รวบรวมพระสารีริกธาตุของพรพอรหันต์ธาตุทั้ง 600 พระองค์ และพระพุทธรูปที่สวยงามมากมาย ศิลปในรูปแบบงานของทิเบต อีกทั้งยังได้มีการจัดสร้างเทวรูปพระโพธิสัตว์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะบูชาในพิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ โดยสร้างขึ้นจากไม้จันทร์หอมองค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ระยะเวลาในการจัดสร้างนานกว่า 2 ปี



          สำหรับผู้ที่ต้องการไปท่องเที่ยวและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ สามารถไปได้ที่อาคารบางกอกสแคว์ 762/2 ถนนพระราม 3 เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ถึง 22.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ พิพิธภัณฑ์ พุทธรรม พระบรมสารีริกธาตุ โทรศัพท์ 02-295-3398, 02-295-4233, 02-295-1433, 081-889-8221 E-mail : royaldzi@hotmail.com

 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นมัสการ พิพิธภัณฑ์ พระพุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ อัปเดตล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 15:39:36 9,598 อ่าน
TOP