กรมอุทยานฯ ประกาศปิดเกาะยูง ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เพื่อเสริมความแข็งแรงปะการัง หวังรักษาปะการังเขากวาง แหล่งสุดท้ายในอันดามัน
วันที่ 6 มีนาคม 2559 รศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า เมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2558 ตนได้ทำหนังสือถึงสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อขอให้ปิดพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลในบริเวณเกาะยูง ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปะการังเขากวางที่สมบูรณ์แหล่งสุดท้ายในทะเลอันดามัน เพื่อหวังป้องกันและบรรเทาปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน เป็นต้นไป และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักอุทยานฯ ได้รับหลักการและเตรียมจะปิดเกาะยูงแล้วภายในเดือนมีนาคม 2559
รศ.ธรณ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ อุณหภูมิของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกสูงมาก เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญได้แผ่ความร้อนมาถึงบริเวณเกรตแบร์ริเออร์รีฟที่เป็นแหล่งปะการังที่ยาวที่สุดในโลกที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว และหากมหาสมุทรอินเดียที่อุณหภูมิยังไม่สูงนัก ไม่สามารถกันน้ำร้อนที่ไหลมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกได้ โอกาสที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในบริเวณทะเลอันดามันเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงต้องทำการปิดเกาะยูงไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปยุ่มย่าม ทั้งการดำน้ำและทำกิจกรรมอื่น ๆ ทุกประเภท ก็เพื่อเตรียมความพร้อมให้ปะการังบริเวณนั้นมีสุขภาพแข็งแรงที่สุด เพื่อให้เหล่าปะการังมีความพร้อมที่จะรับมือกับน้ำร้อนมากที่สุด หากมหาสมุทรอินเดียต้านน้ำร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกเอาไว้ไม่อยู่
อย่างไรก็ตาม การปิดเกาะยูงก็ไม่ได้ปิดโอกาสทางการท่องเที่ยว เพราะห่างจากเกาะยูงไปประมาณ 1 กิโลเมตรก็มีเกาะไผ่ ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงามไม่แพ้เกาะยูงเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วันที่ 6 มีนาคม 2559 รศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า เมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2558 ตนได้ทำหนังสือถึงสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อขอให้ปิดพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลในบริเวณเกาะยูง ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปะการังเขากวางที่สมบูรณ์แหล่งสุดท้ายในทะเลอันดามัน เพื่อหวังป้องกันและบรรเทาปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน เป็นต้นไป และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักอุทยานฯ ได้รับหลักการและเตรียมจะปิดเกาะยูงแล้วภายในเดือนมีนาคม 2559
รศ.ธรณ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ อุณหภูมิของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกสูงมาก เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญได้แผ่ความร้อนมาถึงบริเวณเกรตแบร์ริเออร์รีฟที่เป็นแหล่งปะการังที่ยาวที่สุดในโลกที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว และหากมหาสมุทรอินเดียที่อุณหภูมิยังไม่สูงนัก ไม่สามารถกันน้ำร้อนที่ไหลมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกได้ โอกาสที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในบริเวณทะเลอันดามันเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงต้องทำการปิดเกาะยูงไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปยุ่มย่าม ทั้งการดำน้ำและทำกิจกรรมอื่น ๆ ทุกประเภท ก็เพื่อเตรียมความพร้อมให้ปะการังบริเวณนั้นมีสุขภาพแข็งแรงที่สุด เพื่อให้เหล่าปะการังมีความพร้อมที่จะรับมือกับน้ำร้อนมากที่สุด หากมหาสมุทรอินเดียต้านน้ำร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกเอาไว้ไม่อยู่
อย่างไรก็ตาม การปิดเกาะยูงก็ไม่ได้ปิดโอกาสทางการท่องเที่ยว เพราะห่างจากเกาะยูงไปประมาณ 1 กิโลเมตรก็มีเกาะไผ่ ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงามไม่แพ้เกาะยูงเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก