x close

กิน เที่ยว ย่านสามแพร่ง วังเก่าในอดีต

ย่านสามแพร่ง

 


กิน เที่ยว ย่านสามแพร่ง วังเก่าในอดีต  (Weekend Magazine)

            ก่อนสงกรานต์ได้ข่าวมาว่าทางไปรษณีย์ไทยจะจัดทำแสตมป์ชุดพิเศษ นักชิม ทั้งหลายคงแทบจะไม่มีใครไม่รู้จัก แพร่งภูธร แพร่งนรา และ แพร่งสรรพ ศาสตร์ ที่คั่นระหว่างถนนตะนาวและถนนอัษฎางค์ หรือที่คนแถวนั้นเรียก กันว่า "สามแพร่ง" เพราะถือเป็นย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อเรื่อง อาหารอร่อย และนอกจากชื่อเสียงในเรื่องอาหารแล้ว ย่าน "สามแพร่ง" นี้ ยังคงอบอวลไปด้วยบรรยากาศแบบเมืองกรุงเทพฯ แต่ก่อนเก่า ที่เราสัมผัส ได้จากห้องแถวไม้สองชั้นและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่ สมัยปู่ย่าสืบต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

            แพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งสรรพศาสตร์ ล้วนแล้วแต่เคยเป็นวังที่ ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแพร่งภูธรตั้งชื่อตาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวและเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2440 จึงได้ขายวังให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

            ปัจจุบันแพร่งภูธร เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารขึ้นชื่อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านบะหมี่แพร่งภูธร ร้านอุดมโภชนา เปิดขายข้าวหมูแดง ข้าวสตู ข้าวหน้าแกงกะหรี่มา กว่า 70 ปี ร้านไอติมกะทิโบราณนัฐพรที่เราติดใจไอศกรีมนมรสชาติหวาน มันจนไปทีไรอดสั่งเพิ่มไม่ได้ทุกที อีกหนึ่งร้านที่นักชิมเริ่มจะบอกต่อ ๆ กันก็ คือร้านปอเปี๊ยะสองหมวย ซึ่งมีเมนูพิเศษปอเปี๊ยะห่อไข่อัดไส้ข้างในไว้ เพียบ และปิดท้ายด้วยร้านขายต้มยำสมองหมูที่หาทานกันไม่ได้ง่าย ๆ จึงมีลูกค้าทั้งขาจรและขาประจำแวะเวียนกันมาทานจนแน่นร้านทั้งวัน 

            ทางซ้ายของแพร่งภูธรคือถนนแพร่งนรา แพร่งนี้ตั้งชื่อตามพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเขียน แพร่งนรานี้มีอาคารหลังเก่าที่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ โรงเรียนตะละภัฏศึกษา ที่เป็นส่วน หนึ่งของโรงละครปรีดาลัย โรงมหรสพแห่งแรกของกรุงเทพฯ ที่พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์โปรดให้สร้างขึ้น แพร่งนรานี้มี ร้าน "ขนมเบื้องแพร่งนราร้านเดิม" ซึ่งใช้สูตรขนมเบื้องจากต้นเครื่องชาววัง แป้งของที่นี่จึงทั้งทั้งหอมทั้งกรอบ ส่วนไส้ก็รสชาติกลมกล่อมน่าลองทั้ง ไส้หวานและไส้เค็ม 

            แพร่งสุดท้ายเดินเลี้ยวซ้ายจากแพร่งนรามาไม่ไกล แม้ว่าจะมองไม่เห็นตึก เก่าตั้งขนานอยู่เต็ม 2 ฟากถนนเหมือนสองแพร่งแรก แต่ตรงหน้าแพร่ง สรรพศาสตร์ยังคงหลงเหลือซุ้มประตูรูปแบบศิลปะตะวันตก ซึ่งเคยเป็นซุ้มประตูของวังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับบัญชากรมช่างใน พระบรมมหาราชวัง ต่อมาใน พ.ศ. 2510 วังนี้เกิดเพลิงไหม้เสียหายจนหมด คงเหลือแต่ซุ้มประตูวัง และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน 

            ใครที่อยากไปชิมอาหารอร่อย ๆ ราคาไม่แพง แถมยังอิ่มบรรยากาศสุด คลาสสิก น่าจะลองมาเดินเล่นแถว "สามแพร่ง" นี้ดูสักครั้ง (แต่ร้าน อาหารส่วนใหญ่จะปิดวันอาทิตย์) เดินเที่ยวเสร็จแล้วจะเลยไปไหว้พระที่โบสถ์พราหมณ์ ศาลเจ้าพ่อเสือ และวัดสุทัศน์ก็ได้เพราะเดินไม่ไกล มาเที่ยวครั้งนี้จะได้อิ่มท้อง อิ่มบุญ และอิ่มอกอิ่มใจในคราวเดียว

แนะนำการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรมเพียบ

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กิน เที่ยว ย่านสามแพร่ง วังเก่าในอดีต อัปเดตล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14:12:29 2,317 อ่าน
TOP