เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระแม่ลักษมี เทพีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พร้อมแนะนำสถานที่ไหว้และเคล็ดลับการไหว้ขอพร พระแม่ลักษมี ให้ได้ผลสมหวังดังปรารถนา พระแม่ลักษมี ชายาของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ได้ชื่อว่าเป็นเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวยตามคติความเชื่อเทวะมันตรา พระแม่ลักษมีจึงได้รับการเคารพบูชาทั้งในประเทศต้นกำเนิดศาสนาฮินดูอย่างอินเดียและในประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย รวมถึงในไทยก็มีผู้คนจำนวนมากที่ศรัทธาในองค์พระแม่ลักษมี เดินทางไปกราบไหว้บูชากันอยู่เรื่อย ๆ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยไปกราบไหว้บูชา พระแม่ลักษมี และอยากจะไปขอพร วันนี้เราได้รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระแม่ลักษมี ทั้งสถานที่ไหว้ บทสวดขอพร วิธีการไหว้ ของไหว้ที่ถูกต้องเหมาะสม ในการบูชาและขอพรจากพระแม่ลักษมี มาเป็นแนวทางสำหรับทุกคนกัน พระแม่ลักษมี เป็นเทพีตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นพระชายาของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ผู้ที่นับถือศรัทธาจะถือว่า พระแม่ลักษมี เป็นเทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักจะประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ โดยในภาพมักเขียนถึงพระแม่ลักษมีว่าเป็นสตรีที่งดงาม มี 2 กรแบบคนธรรมดา (บางตำราก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทอง เสื้อทรงสีเหลือง แดง หรือชมพู นั่งหรือยืนบนดอกบัว (บางตำราก็ว่านั่งบนหลังช้าง) และมือถือดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก (บางตำราก็ว่าถือหม้อน้ำในมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งหงายลงสู่พื้น มีเหรียญทองโปรยปรายลงมา เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย) พระแม่ลักษมีมักจะอวตารไปเป็นชายาของพระวิษณุ (พระนารายณ์ ผู้ดูแลรักษาโลก) อยู่ทุกครั้งไป เช่น เมื่อ พระวิษณุ อวตารเป็น พระราม พระแม่ลักษมีก็ตามไปเกิดเป็น พระนางสีดา ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุ อวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี และในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น ด้วยความรักเดียวใจเดียวและความซื่อสัตย์ มั่นในรักของพระแม่ลักษมีที่มีต่อพระสวามี ผู้ที่นับถือพระองค์จึงเชื่อกันว่า การบูชาพระแม่ลักษมีจะช่วยเสริมดวงด้านความรักได้อีกด้วย พระแม่ลักษมี เทวีแห่งความงดงาม ความอุดมสมบูรณ์ และความร่ำรวย มีปางหลักหรือร่างอวตารทั้งหมด 8 ปาง หรือที่เรียกกันว่า พระอัษฏลักษมี ดังนี้ ปางหลักแห่งองค์พระแม่ลักษมีเทวี ปางนี้มีทั้งยืนและนั่งบนดอกบัว มีช้างเป็นบริวาร สวมอาภรณ์สีสันสวยงาม มี 4 กร 2 มือด้านหลังถือดอกบัว 2 มือด้านหน้ายกให้พรและโปรยเหรียญทอง ประทานพรความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน ความรัก แก่ผู้บูชา เป็นปางที่พบเห็นได้มากที่สุดในภาพเขียน นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งปางที่มีความใกล้เคียงกับปางคชลักษมี นั่นคือ ปางอิศวารยะลักษมี ปางแห่งความกล้าหาญชาญชัย ปางนี้มีทั้งยืนและนั่งบนดอกบัว สวมอาภรณ์สีขาวล้วน มี 4 กร 2 มือด้านหลังถือดอกบัว 2 มือด้านหน้ายกและหงายทั้ง 2 ข้างเพื่อประทานพร ผู้บูชาจะได้รับความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าทำ เป็นปางแห่งชัยชนะและโชคลาภด้านความเสี่ยงทุกประเภท ปางแห่งความอุดมสมบูรณ์ในพืชพรรณ พืชไร่ นา สวน ป่าไม้ ดอกไม้ ปางนี้มี 8 กร แต่ละกรจะถือพืชพรรณต่าง ๆ เช่น ต้นข้าว ปางนี้เป็นปางที่พระองค์ลงมาปรากฏเพื่อโปรดสรรพมนุษย์ที่ทำกินเพาะปลูกบนผืนแผ่นดิน เช่น เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ผู้บูชามักขอพรให้การเพาะปลูกมีผลผลิตงอกงาม ชาวไทย ลาว และเขมร รู้จักกันในนามของ “พระแม่โพสพ” นั่นเอง ปางแห่งทรัพย์สมบัติ เงินทอง มี 6 หรือ 8 กร ทรงศาสตราวุธต่าง ๆ เช่น หอยสังข์ จักร ธนู ดอกบัว โถอัญมณี ยกมือประทานพรและโปรยเหรียญทอง ประทานความร่ำรวยในทรัพย์สินเงินทองแก่ผู้บูชา ปางแห่งความสำเร็จในการงานและความคิดสร้างสรรค์ มี 4 กร ถือดอกบัว ธงไชย มือด้านหน้ายกและหงายทั้ง 2 ข้าง เพื่อประทานพร ให้พรด้านการทำงาน การทำมาหาเลี้ยงชีพ เป็นไปด้วยความราบรื่น ปางแห่งปัญญา ความรอบรู้ การศึกษาเล่าเรียน มี 8 กร ผู้บูชาจะได้รับสติปัญญาที่เลิศล้ำ ทั้งศาสตร์วิทยาการอันก้าวหน้าและศิลปะทุกแขนง ปางแห่งวีรชน นักสู้ ผู้มีพละกำลังอันไม่มีที่สิ้นสุด มี 8 กร ทรงคันธนู ศร สังข์ ดาบ และศาสตราวุธอื่น ๆ ยกมือประทานพร ผู้บูชาจะได้รับพลังอำนาจและความยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น ปางแห่งชัยชนะและความแคล้วคลาดพ้นภัย มี 8 พระกร ทรงหอยสังข์ มีด ดาบ ตะบองหรือขวาน มีอานุภาพในการขจัดศัตรู ประทานความมียศถาบรรดาศักดิ์และการสรรเสริญจากผู้คน ประทานความสำเร็จทุกประการ (หากต้องการบูชาจะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฏผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก) ปางแห่งครอบครัว ความผูกพันระหว่างแม่ลูก ความอบอุ่นในครอบครัว รวมถึงการขอพรให้มีลูก-ทายาท ลูกหลานเชื่อฟังคำสั่งสอนและเติบโตอย่างแข็งแรง มี 6 กร ทรงดาบ มือด้านหลังถือหม้อทั้ง 2 ข้าง อุ้มเด็กชายนั่งบนตัก นอกจากนี้ตามตำราอื่น ๆ ยังปรากฏพระแม่ลักษมีอยู่มากมายหลายภาคหลายปาง เช่น กีรติลักษมี ปางแห่งชื่อเสียง การสรรเสริญและปางแห่งความซื่อสัตย์จงรักภักดี, อโรคยาลักษมี ปางแห่งความปลอดภัยในชีวิต ความไร้โรค และการเดินทางปลอดภัย, เสาวนาทรียะลักษมี ปางแห่งความงดงามของสตรีเพศ ความสะอาดสะอ้าน อ่อนช้อย มีเสน่ห์, และสิทธะลักษมี ปางแห่งความนิ่งสงบ จิตวิญญาณ และการเข้าถึงคำสอนของมหาเทพ เป็นต้น ก่อนการสวดบูชาต่อพระแม่ลักษมี ต้องสวดมนต์ต่อจากพระพิฆเนศเสมอ โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา จากนั้นสวด คาถาบูชาพระแม่ลักษมี ซึ่งบทสวดมนต์พระแม่ลักษมีนั้นมีหลายบท เลือกสวดได้ดังต่อไปนี้ โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะฮา โอม มหาลักษมีไย นะมะฮา โอม มหาลักษะ มะไย นะโม นะมะหะ โอม วิษณุ ปริยาไย นะโม นะมะหะ โอม ธะนะ ประชาไย นะโม นะมะหะ โอม วิศวะ ชะนันไย นะโม นะมะหะ ยา เดวี สารวะ ภูเตชู ลักษมี รูเปนะ สัม สติตา นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย นะโม นะมะฮา โอม พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ ทุติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ โอม เจ ลักษมี มหามาตา / มะนุสสา อัญชะลี ยะ ปูจา โอมมหาราณี รีตู ปรารัม / กรุณา ตรี โลคา มาตินัม อดัม อาสสานุม ปัทมินนี / นะโม ตุสเต เจ โฮมา มาตา กี เจ โฮมา ลักษมี มา เจ โฮ มา / ลักษมี มา มหา ลักษมี มาตากี โอม นมัสสักกา โอม มหาลักษมีเทวี ศักติ โอม โอม ชยะตี ชคะนิธิวะตี ภาคยะวตี ธะนะวันตี ชยะ ชลละชะ วิลาสินี คตะมหานะ วิจรัญตี ชยะ ศรี กะมะเล หะริปรีเย ชลละนิธิ ตนะเย อัมพา วิณาวัตตะ สุนทระทาสา อิกะมานะ เตระหินะ อวะลัมพา ฯ โอม ลักษมีกานตัม กะมะลา นะยานัม โยคิภิรัทยา นะคัมยัม วันเทวิษณุม ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกะนาถัม โอม ศานตาการัม ภูชะคะสะยะนัม ปัทมานาภัม สุเรศัม วิศวาธารัม คะคะนะสะทฤศัม เมฆะวรรณัมศุภางคัม ลักษมีการตัมกะมะกะละนะยะนัม โยคิภีระธยานะคัมมะยัม วันเทวิษณุ ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกานาถัม โอม นะมัสศิโรเม เตาเลหะมาละ สะลามะมาเรกุลา อาตะคัจฉะ มาลายะเฮ ดุนนะยะโฮ กะโฮนะฮีนะ ตุนนะฮี ยะวานะระโฮ ดูบัมบารา อาดัมบารา นะฮีนะ นะโฮนะ วายะฮี ลักษมีเดาเลาะหะมาล อาคัจชะมาฮาล อะสุราฮาล ทะชัชชะมาฮาล ทะชัชชะมาฮาล ทะชัชชะมาฮาละ ปูชิตตะวา โอม ไชย ปัทมา วิศาลกษิ ไชย ตวัม ศรี ปติ ปริเย ไชย มาตา มหาลักษมี สมสรณะ วรรณวะ ธารนี ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี ผู้ทรงมีพระเนตรงดงามดั่งดอกบัว ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี ผู้เป็นที่รักแห่งองค์พระวิษณุมหาเทพ ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี ผู้เป็นมหามารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี ผู้นำพาเราข้ามมหาสมุทรอันไพศาล โดยปกติแล้วชาวฮินดูมักจะบูชาพระพิฆเนศและบูชาพระแม่ลักษมีไปพร้อม ๆ กัน เพราะพระพิฆเนศเป็นมหาเทพผู้ทรงภูมิปัญญายิ่งใหญ่ ผู้ขจัดอุปสรรคและอำนวยความสำเร็จในทุกสิ่ง และพระลักษมี เทวีแห่งความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเสริมให้เกิดแต่ความเป็นสิริมงคล สมหวังดังปรารถนา ปกติแล้วผู้ที่นับถือจะนำพระแม่ลักษมีมาไว้ในบ้าน เพื่อคุ้มครองคนในบ้าน โดยจะนิยมไหว้ทุกวันศุกร์ และมีวันสำคัญ ๆ ที่นิยมไหว้บูชาพระแม่ลักษมี ดังนี้ วันสีดา นวมี จะมีพิธีบูชาพระแม่ลักษมี ที่อวตารเป็นนางสีดา ทุกวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนอัษฐะ หรือเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม ใครที่อยากประสบความสำเร็จในด้านความรัก โชคลาภ ต้องไปไหว้สักครั้ง วันดีปาวาลี หรือพิธีแห่งแสงสว่าง อีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของชาวฮินดู เป็นทั้งวันปีใหม่ของอินเดีย และเป็นวันบูชาพระแม่ลักษมีเทวี เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งร่ำรวย ขอพรเพื่อความสำเร็จ จัดขึ้นทุกวันแรม 14 ค่ำ เดือนการติก หรือเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่พระแม่ลักษมีจะทรงประทานความมั่งคั่งร่ำรวย ในวันนี้ผู้คนจะทำการบูชาพระลักษมีด้วยแสงไฟจากตะเกียงประทีป โดยจุดให้สว่างตลอดวันตลอดคืน มีการสวดมนต์บูชาด้วยโศลกสรรเสริญต่าง ๆ รวมถึงการเอ่ยพระนาม 108 แห่งพระแม่ลักษมี เพื่อเป็นการยกย่องสรรเสริญและขอพรให้พระแม่ลักษมีประทานความสมบูรณ์แก่ชีวิต และเวลาเข้าร่วมพิธีผู้คนก็มักจะเอากระเป๋าสตางค์ สมุดบัญชีธนาคาร มาใส่พานร่วมพิธีด้วย บนโต๊ะบูชาไฟก็จะมี 5 น้ำอมฤต คือ น้ำสะอาด นมสด เนย น้ำผึ้ง โยเกิร์ต เพื่อตักอาบและถวายเทวรูปพระลักษมี โดยเริ่มจากนำดอกกุหลาบจุ่มน้ำมาประพรมตามองค์เทวรูป ตามด้วยน้ำอมฤตทั้ง 5 โดยสิ่งบูชาทั้งหมดเกิดจาก 4 ธาตุ คือ ดอกไม้ ผลไม้ (ธาตุดิน), น้ำอมฤต (ธาตุน้ำ), แสงจากไฟและแสงจากประทีป (ธาตุไฟ) และการสวดคาถาบูชา (ธาตุลม) วันวาราลักษมี วรัทตัม ตรงกับวันข้างขึ้นของเดือนศรวณะ ตามปฏิทินฮินดู มักจะตรงกับวันศุกร์ ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนศรวณะ ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เป็นวันบูชาพระแม่ลักษมี เพื่อขอความรักโดยเฉพาะ มักนิยมขอพรให้คู่ครองและตนเองพบกับความรุ่งเรืองและสมหวังในความรัก หรือขอพรเพื่อความอยู่ดีกินดีในครอบครัว ตามความเชื่อของชาวฮินดู ในพิธีจะมีการอัญเชิญพระอัษฏลักษมี 8 องค์ มาให้พรแบบครบถ้วน ผู้ที่เข้าร่วมพิธีจะแต่งตัวด้วยสีสันที่สดใส เน้นไปทางสีโทนชมพู บานเย็น สีแดง มีการตกแต่งสถานที่ต้อนรับพระแม่ด้วยดอกไม้และดอกบัว ในประเทศไทยจะมีพิธีกรรมนี้ที่วัดแขก สีลม และวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดวิษณุ) เขตยานนาวา กรุงเทพฯ ปกติแล้วคนฮินดูจะนิยมไหว้พระแม่ลักษมีทุกวันศุกร์ และควรใส่เสื้อสีชมพู เพราะพระแม่ลักษมีชอบสีชมพู โดยของที่ต้องเตรียมมีดังนี้ ดอกบัวสีชมพู (หรือดอกไม้อื่น ๆ ที่มีสีแดง/ชมพู) จะใช้ 1 ดอก หรือ 2 ดอกก็ได้ แต่ดีที่สุดควรใช้ 8 ดอก เพราะเหมือนเป็นการระลึกถึงพระอัษฏลักษมี หรือพระแม่ลักษมี 8 ปาง น้ำเปล่า (หรือน้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด) นม ขนมพื้นบ้านของอินเดีย เช่น ขนมดอกบัวชมพู, ขนมดอกกุหลาบ, โมทกะ และลาดู ผลไม้ 5 ชนิด หรือผลไม้รสอ่อน เช่น มะพร้าว หรือแอปเปิลแดง 5-8 ผลขึ้นไป เพราะมีความเชื่อว่าหากจะขอพรในเรื่องความรัก อยากได้คู่ครอง หรือความอุดมสมบูรณ์ในชีวิต ให้นำแอปเปิลแดงไปไหว้พระแม่ลักษมี จะช่วยส่งเสริมให้คนคนนั้นได้รับพรจากพระแม่ลักษมีเป็นพิเศษ และเมื่อขอพรเสร็จแล้วก็สามารถลาของไหว้และนำกลับมาได้เลย กำยาน หรือธูป 9 ดอก ทั้งนี้ ห้ามถวายสิ่งที่ทำมาจากเนื้อสัตว์และขนมที่มีไข่เป็นส่วนประกอบเด็ดขาด หนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนนิยมมากราบไหว้ขอพรพระแม่ลักษมี คือ ดาดฟ้าชั้น 4 ศูนย์การค้าเกษร วิลเลจ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. โดยสามารถเตรียมของไหว้ ได้แก่ ดอกบัวสีชมพู น้ำอ้อย หรือผลไม้รสอ่อน ๆ เช่น มะพร้าว มาเอง เพราะที่นี่ไม่จำหน่าย นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ) นะโมเม องค์พระแม่ลักษมีผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทีเปธูปะผานัง สักการะวันทนัง สุปัพพยันนัง โภชนานัง สปริวารัง อุททังวรัง อาคัจฉันตุ ปริภัณชันตุ สัพพุทติ หิตายะ สุขายะ สันติ อุเทวานัง เตปิถุมเหอนุรักขันติ อาคัจฉายะ อาคัจฉา หิมานิมามา ขอเชิญองค์พระแม่ลักษมี ได้โปรดรับเครื่องสังเวย อันพวกข้าพเจ้าได้จัดถวายสักการะแด่ท่าน ขอท่านได้โปรดรับอย่างมีความสุข เมื่อท่านได้เสวยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอได้โปรดกำจัดอุปสรรคทั้งหลาย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย และโรคาภัยต่าง ๆ รวมทั้งทุกขเวทนาต่าง ๆ ขออย่าได้แผ้วพาน และในทุกกรณีที่มีปัญหาประการใด ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะ และได้รับผลสำเร็จ ตามที่ข้าพเจ้าปรารถนาทุกประการ ฯ โดยเมื่อไหว้เสร็จแล้ว ให้เดินผ่านหน้าองค์พระแม่ไปออกอีกทาง ห้ามกลับไปออกทางเดิม เพราะเชื่อกันว่าการทำแบบนี้จะทำให้พระแม่มองเห็นและประทานพรให้ตามที่ขอนั่นเอง โดยรถยนต์ส่วนตัว สามารถจอดรถที่เกษร วิลเลจ ได้เลย โดยรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีชิดลม ใช้ทางออก 6 แล้วเดินไปตามสกายวอล์กเรื่อย ๆ จะเจอทางเชื่อมเข้าตึกเกษร วิลเลจ อยู่ด้านขวามือ เมื่อเข้ามาแล้วกดลิฟต์ขึ้นไปชั้น 4 ได้เลย ออกมาจะเจอกับป้ายบอกทางให้เดินไปยังโซนดาดฟ้า ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระแม่ลักษมีนั่นเอง แต่งตัวให้มีสีสันสดใส เน้นเป็นเสื้อสีแดง สีชมพู สีบานเย็น สีส้ม หรือสีสด ๆ ฉูดฉาด ส่วนไอเทมอื่น ๆ เช่นกางเกง หมวก กระเป๋า จะเป็นสีใดก็ได้ แต่งตัวให้ดูดี ให้รู้สึกว่ามีความมั่นใจในตัวเอง นอกเหนือจากของไหว้ทั่วไป สิ่งที่ควรนำไปสักการะพระแม่ลักษมี คือ ชุดส่าหรี และชุดเครื่องประดับ วันที่ดีที่สุดในการขอพรกับพระแม่ลักษมี คือ วันศุกร์ เวลาใดก็ได้ (ยกเว้นช่วงตี 3) แต่ถ้าไม่สะดวกจะเป็นวันไหน เวลาไหนก็ได้ การขอพรนั้นให้เริ่มต้นด้วยบทสวดถึงพระพิฆเนศก่อน จากนั้นจึงค่อยกล่าวบทสวดถึงพระแม่ลักษมี และเริ่มกล่าวกับพระแม่ว่า วันนี้ข้าพเจ้า (ระบุชื่อ-นามสกุลอย่างชัดเจน) ได้มาสักการะองค์พระแม่ลักษมีเทวี วันนี้ลูกได้น้อมนำสิ่งของมาถวาย (กล่าวชื่อสิ่งของที่นำมาถวายแต่ละอย่าง) ซึ่งการทำเช่นนี้เสมือนเป็นการพูดคุย และให้ความจริงใจแก่พระแม่ลักษมี คิดไว้เสมอว่าเราต้องคุยกับท่านก่อน เล่าเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตว่าเป็นอย่างไร คำกล่าวนี้ไม่มีบทตายตัว อยู่ที่ตัวเราว่าจะพูดคุยเล่าเรื่องราวกับท่านอย่างไรบ้างให้เข้ากับพรที่จะขอพระแม่ และเมื่อเล่าเรื่องต่าง ๆ กับพระแม่เสร็จแล้วจึงค่อยขอพรเรื่องที่ต้องการ โดยขอเพียงเรื่องเดียว กล่าวสิ่งที่ตนเองปรารถนา สำหรับคนที่ต้องการขอพรด้านความรัก ขอเนื้อคู่กับพระแม่ลักษมี ให้ระบุลักษณะคนที่ต้องการมาเป็นคู่อย่างละเอียด และให้อธิษฐานกับพระแม่ว่า “ขอให้เจอเนื้อคู่มีบุญสัมพันธ์กัน หรือเนื้อคู่ที่ศีลเสมอกัน และถ้ายังไม่ถึงเวลาที่จะได้เจอ ขอให้พระแม่อวยชัยให้มีโชค มีลาภ และประสบความสำเร็จในด้านการงานและการเงิน” เมื่อทำการสวดบูชาพร้อมขอพรเรียบร้อยแล้ว เพื่อทำให้พระแม่ตอบรับพรและคำปรารถนา ให้เดินผ่านด้านหน้า เพื่อให้พระแม่ลักษมีเห็นเรา ไม่ควรเดินวนกลับทางเดิมที่เข้ามาเป็นอันขาด เคล็ดลับนี้จะทำให้ท่านมองเห็นและตอบรับพรเราทุกประการ หากพรที่ขอสัมฤทธิผล ให้กลับมาไหว้บูชาอีกครั้ง ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวน่ารู้ก่อนไปไหว้ขอพรจากพระแม่ลักษมี เทพีแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ และความรัก ทั้งสถานที่ไหว้ ข้อปฏิบัติ ข้อห้าม รวมถึงการเตรียมของไหว้และการบูชา ซึ่งหลักการบูชาพระแม่ลักษมีนั้นไม่ได้ต้องการพิธีมากมาย สิ่งสำคัญคือความตั้งใจจริง อย่างไรก็ตาม การจะทำให้คำขอสัมฤทธิผล ผู้ขอก็ต้องพึ่งความสามารถของตัวเองและการลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการด้วย ไหว้พระแม่ลักษมี วัดไผ่เงิน ขอพรเฮง ๆ ปัง ๆ เรื่องเงินทองและความรัก วิธีบูชาพระแม่ลักษมีที่บ้าน พร้อมของไหว้ และคาถาบูชาขอพร 9 สถานที่สักการะ พระพิฆเนศ ในกรุงเทพ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดแขกสีลม และพิธีนวราตรี พระแม่อุมาเทวี ประวัติ พร้อมวิธีการไหว้ ขอพรความรักรุ่ง การงานราบรื่น วิธีไหว้ขอพรความรัก พระแม่ลักษมี ในวันวาราลักษมี วรัทตัม 12 ส.ค. หนึ่งปีมีครั้งเดียว หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้งขอบคุณข้อมูลจาก : siamganesh.com, gaysornvillage.com
แสดงความคิดเห็น