







เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สัตหีบบีชดอทคอม
ถ้าจะเอ่ยถึงฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชื่อของ "สัตหีบ" คงปรากฎอยู่ในความคิดของใครหลาย ๆ คน แต่จริง ๆ แล้วนอกจากการเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือ "สัตหีบ" ยังมีอะไรดี ๆ รอให้นักเดินทางแวะเวียนไปสมผัสอีกมากมาย เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ "สัตหีบ" รวมถึงแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวสัตหีบ ให้ได้รู้จักกันมากขึ้นอีกด้วย เอ้า...ถ้าเตรียมตัวพร้อมแล้ว ก็ไปเที่ยว "สัตหีบ" กันเลย
"อนุรักษ์เต่าทะเล เสน่ห์ธรรมชาติ อภิวาทหลวงพ่ออี๋ เขาชีจรรย์พระใหญ่ ไหว้กรมหลวงชุมพร ถิ่นขจรราชนาวี"...
นี่คือคำขวัญของ สัตหีบ อำเภอเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวเมืองชลบุรี 85 กิโลเมตร ตามประวัติเล่ากันว่า ช่วงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเลเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านประกอบอาชีพประมง ทำไร่ ทำนา และด้วยพื่นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ทำให้ใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก โดยเรือเมล์หรือเรือใบ ซึ่งในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับถือมากอยู่คนหนึ่ง คือ "ยายแจง" ผู้มีฐานะดี มีที่ดินเรือกสวนไร่นามากมาย (ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียน โรงเรียนสิงห์สมุทร และบริเวณเขาแหลมเทียน อันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก)
ต่อมาเมื่อ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือ และทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจง ก็ยินดีที่จะถวายให้
สำหรับที่มาของชื่อ สัตหีบ นั้น มีหลายคนให้ความคิดเห็นว่า "สัตต" แปลว่า เจ็ด ในขณะที่ "หีบ" หมายถึง หีบ ฉะนั้น คำว่า "สัตหีบ" ก็น่าจะแปลว่า "หีบเจ็ดใบ" ซึ่งสอดคล้องกับตำนานประวัติเจ้าแม่แหลมเทียน ที่ได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์
ส่วนอีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์ทหารเรือ โดยระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่ม เพราะป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ปากน้ำสมุทรปราการ ใกล้เมืองหลวงมากเกินไป ทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า "สัตตหีบ" เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า "สัตหีบ" หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา

สถานที่ท่องเที่ยวสัตหีบ


โดยเฉพาะบริเวณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรือใบประเภทโอเคขนาด 13 ฟุตชื่อ " เวคา " จากพระราชวังไกลกังวลหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกเดินทางตั้งแต่เวลา 04.28 น.ตัดข้ามอ่าวไทยขึ้นฝั่งที่อำเภอสัตหีบ บริเวณหาดเตยงาม โดยเป็นระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 60 ไมล์ทะเล เวลาทั้งสิ้น 17 ชั่วโมง และได้นำธงราชนาวิกโยธินมาปักไว้ ณ ที่หาดเตยงามแห่งนี้ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509




ชายหาดของ เกาะขาม มี 2 หาดใหญ่ ๆ คือ หาดด้านทิศเหนือและทิศใต้ ชายหาดด้านทิศเหนือเป็นทรายค่อนข้างละเอียด เหมาะสำหรับการว่ายน้ำและสันทนาการทางน้ำ ด้านทิศใต้เป็นหาดทรายหยาบมีหินกรวดและซากปะการังทับถมเต็ม ซึ่งจุดเด่นของ อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม นอกจากอุดมไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นแล้ว ยังเป็นสถานที่แห่งแรกของ ประเทศไทยที่ได้มีการเคลื่อนย้ายปะการัง ที่กำลังจะเสื่อมโทรมจากมลภาวะบริเวณ เกาะเตาหม้อ มาลงไว้ที่เกาะขาม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างแนวปะการัง ในบริเวณที่เสื่อมโทรมและตายไปให้ดียิ่งขึ้น




และนี่เป็น สถานที่ท่องเที่ยวสัตหีบ เพียงไม่กี่แห่งที่เรานำมาแนะนำกัน เพราะจริง ๆ แล้ว สัตหีบ ยังสถานที่ท่องเที่ยวเจ๋ง ๆ รอให้เพื่อน ๆ เดินทางไปสัมผัสด้วยตัวเองอีกเพียบ

การเดินทาง
ใช้เส้นทางถนนสายบางนา-ตราด เป็นทางหลวงหมายเลข 34 ขับรถผ่านจังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอศรีราชา ผ่านเมืองพัทยาโดยใช้เส้นทางถนนสุขุมวิทเป็นหลัก จนถึงอำเภอสัตหีบ หรือใช้เส้นทางถนนเลี่ยงเมืองไปใช้ถนนวงแหวนรอบนอก เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

