x close

ชมฟรี เทศกาลบางกอกแหวกแนว 13-14 ก.พ. เที่ยงวันยันเที่ยงคืน


เทศกาลบางกอกแหวกแนว
ภาพจาก bangkokedge.com

          มาแล้ว...เทศกาลแห่งความคิด "บางกอกแหวกแนว" เทศกาลสำคัญแห่งการรวมตัวของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร พบกันในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2559 ณ มิวเซียมสยาม, จักรพงษ์วิลล่า และโรงเรียนราชินี
 

          มิวเซียมสยาม ร่วมกับจักรพงษ์วิลล่า, โรงเรียนราชินี, สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์, สิงห์ คอร์ปอเรชั่น, การบินไทย กรุงเทพมหานคร และกระทรวงวัฒนธรรม จัดงานเทศกาลประจำปีแห่งท่าเตียน ภายใต้ชื่อ "บางกอกแหวกแนว" เทศกาลสำคัญแห่งการรวมตัวของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ตั้งแต่เวลา 12.00-24.00 น. ณ บริเวณมิวเซียมสยาม จักรพงษ์วิลล่า และโรงเรียนราชินี

          โดยในงานประกอบด้วยภาพยนตร์ วรรณกรรม หนังสือ ดนตรีและแดนซ์ เสวนาและเวิร์กช็อป อาหารและเครื่องดื่มและการแสดงต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ประกอบไปด้วยกิจกรรมในบริเวณมิวเซียมสยาม จักรพงษ์วิลล่า และโรงเรียนราชินี มีการออกร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านหนังสือ อีกทั้งคุณยังจะได้พบกับนักคิดระดับโลก, นักเขียนระดับเบสท์เซลเลอร์ พร้อมพบบรรดาศิลปิน นักรัก นักดนตรี นักโทษ เชฟ ฯลฯ ร่วม 60 คน มาเปิดมุมมองศิลปะการใช้ชีวิตในทุกด้านอีกด้วย 

กำหนดการงานบางกอกแหวกแนว

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 : ทุกกิจกรรมเริ่ม 13.00 น.
 
เทศกาลบางกอกแหวกแนว
          เสวนาหัวข้อ ASIAN STORIES ที่โรงเรียนราชินี

          1. เควิน ควาน จาก Crazy Rich Asians งานเขียนชิ้นแรกของเขากลายเป็นหนึ่งในหนังสือขายดีที่สุดระดับโลก

          2. ยุงจาง เธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากผลงานหนังสืออัตชีวประวัติของเธอที่ชื่อว่า Wild Swans หรือ "หงส์ป่า" ในฉบับซึ่งขายได้มากกว่าสิบสามล้านเล่มทั่วโลก

          3. คริสโตเฟอร์ จี มัวร์ Missing in Rangoon (พ.ศ. 2556) The Marriage Tree (พ.ศ. 2557) และ Crackdown (พ.ศ. 2558) เทศกาลบางกอกแหวกแนวนี้ คริสโตเฟอร์ จะสนทนากับ จอห์น เบอร์เด็ทท์ ในเรื่องมนตร์เสน่ห์ของกรุงเทพฯ

          4. ฮียอนเซียว ลี ผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือและนักกิจกรรม ปัจจุบันเธออาศัยและศึกษาอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ เธอหลบหนีออกจากเกาหลีเหนือสู่อิสรภาพ ภัยอันตรายที่เธอเผชิญนั้นได้รับการถ่ายทอดอย่างละเอียด เธอได้รับเกียรติให้เล่าประสบการณ์ของเธอใน TED TALK ซึ่งมีผู้ชมกว่าสองล้านคน ในเทศกาลบางกอกแหวกแนวนี้เธอจะมาเล่าเรื่องราวประสบการณ์ที่เธอได้เผชิญให้ผู้ฟังได้เห็นภาพเสี้ยวหนึ่งของการเป็นประชากรของประเทศเกาหลีเหนือ
 
          เสวนาหัวข้อ LIVERABLE CITIES มิวเซียมสยามห้อง 1

          - กรุงเทพฯ แนวไหน/การแปลงพื้นที่เป็นเมือง โดย "ฮยอนบังชิน" จะเสวนาเรื่องการแปลงพื้นที่เมือง (Gentrification) หัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจของเมืองใหญ่ระดับโลกแทบทุก ๆ เมือง

          - สมบัติปู่เราอยู่กับมันอย่างไร โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา/กรุงเทพฯ สวรรค์ของชาวเกย์

          Workshop Indoor มิวเซียมสยาม ห้อง 2

          - บางกอกดอกดวง โดย "เซียมไล้" นักประดิษฐ์ตัวอักษรชื่อดัง

          - เส้นทางนักเขียนเรื่องท่องเที่ยว โดย "โจ คัมมิงส์" Lonely Planet หนึ่งในหนังสือไกด์บุ๊กที่ขายดีที่สุดในโลก ที่เขาเขียน

          - ไดอารี่การ์ตูน : บันทึกเรื่องราวชีวิตด้วยภาพ โดย "แคธี แม็กคลาวด์" เป็นศิลปินและนักวาดภาพประกอบ

          - ศิลปะการชาชงจาก "เคนเน็ท ริมดาห์" เขาจะมาเล่าถึงชาในประเทศไทย ทั้งประวัติศาสตร์ ประเภทของชาที่เจริญเติบโตได้ดีในไทย และชาอันทรงคุณค่าที่เจริญเติบโตได้ดีเยี่ยมในภาคเหนือของไทย

          - ศิลปะแห่งอาหารไทย โดย "เชฟดวงพร" ได้รับการยกย่องให้เป็นเชฟหญิงที่ดีที่สุดของเอเชีย สำหรับการจัดอันดับร้านอาหาร 50 อันดับที่ดีที่สุดในเอเชีย ดวงพรจะแบ่งปันเทคนิคการทำอาหารของเธอในการสาธิตปรุงอาหารไทยที่ทำให้เธอได้รับการยอมรับและยกย่องระดับโลก

          - ตุ๊กตาหุ่นระบำชาวเขา จากคณะเชียงใหม่ ฮอบบีฮัท คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับการแสดงโดยวิลาวัณย์ เศวตเศรนี

          ภาพยนตร์และดนตรี มิวเซียมสยาม

          - รวมหนังสั้น เรื่องเล่าจากหัวลำโพง โดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี

          - Free concert-Hugo อรอรีย์ เล็ก กรีซซี่ คาเฟ่

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 : ทุกกิจกรรมเริ่ม 13.00 น.

 
เทศกาลบางกอกแหวกแนว
          เสวนา OUR URBAN EDGE สถานที่โรงเรียนราชินี

          1. สร้างสรรค์ โดย "ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ" ผู้ทรงความรู้เรื่องวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย หนังสือของเขาที่ชื่อว่า Very Thai เป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย จนเกิดเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์

          2. เอเชียยุคใหม่กับโลกภายนอก โดย "กวน โรบินสัน" บรรณาธิการอาวุโสประจำกรุงเทพฯ แห่งหนังสือพิมพ์ Nikkei Asian Review ก่อนหน้านี้เธอเป็นบรรณาธิการอาวุโสและผู้สื่อข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ Financial Times

          3. ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต โดย "วีรพร นิติประภา" ผู้เขียนคำโฆษณา ผู้กำกับศิลป์ คอลัมนิสต์ แฟชั่นสไตลิสต์ ไปจนถึงบรรณาธิการนิตยสาร ในขณะเดียวกันเธอยังออกแบบอัญมณีและภูมิทัศน์ "ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต" รางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2556

          4. แถลงการณ์บางกอก โดย "ดวงฤทธิ์ บุนนาค" สถาปนิกที่ได้รับการยกย่องโดยรางวัลระดับโลกจากหลายหน่วยงาน เช่น รางวัล FX Award ของสหราชอาณาจักร ASA AWARD รางวัลเหรียญทอง ARCASIA และได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top 10 Executive Award 2005 โดย Market of Alternative Investment (MAI) ดวงฤทธิ์จะปิดเทศกาลด้วยกิจกรรมเสวนาหัวข้อ "Bangkok Manifesto" ให้ผู้เข้าร่วมเทศกาลได้มีส่วนร่วมในการระดมสมอง วางพิมพ์เขียวให้กับเมืองกรุงเทพฯ อย่างที่ทุกคนอยากให้เป็น

          เสวนา SOUTHEAST ASIAN LIVES มิวเซียมสยาม ห้อง 1

          1. พม่า อนาคตบทบาททางสามแพร่ง โดย "มา ถิดา" ศัลยแพทย์ นักเขียน นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน และอดีตนักโทษทางความคิดชาวพม่า เธอเป็นที่รู้จักดีในประเทศเมียนมา ในฐานะปัญญาชนระดับแถวหน้าที่มีหนังสือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2536 เธอถูกตัดสินจำคุก 20 ปีในเรือนจำอินเส่งในข้อหา "คุกคามความสงบของสาธารณะ ติดต่อกับองค์กรผิดกฎหมายและแจกจ่ายงานเขียนที่ผิดกฎหมาย" ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเป็นเพียงเพราะเธอเป็นผู้สนับสนุนของออง ซาน ซูจี เธอใช้เวลาเกือบ 6 ปี ในเรือนจำสภาพย่ำแย่ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในห้องขังเดี่ยว ระหว่างการจองจำเธอได้รับรางวัลจากองค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระดับโลก อย่าง Reebok Human Rights Award และ PEN/Barbara Goldsmith Freedom to Write Award ใน พ.ศ. 2539 เธอได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2539 บนพื้นฐานด้านมนุษยชนหลังรับโทษเป็นเวลา 5 ปี 6 เดือน และอีก 6 วัน ปัจจุบันเธอกำลังเขียนชีวประวัติของตนเอง และในเทศกาลบางกอกแหวกแนวนี้เธอจะมาเล่าถึงชีวิตและการทำงาน รวมทั้งทิศทางสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมา

          2. ราชันผู้พลัดถิ่น โดย "สุดาห์ ชาห์" หนังสือ The King in Exile-The Fall of the Royal Family of Burma คือผลงานของการศึกษาค้นคว้ากว่า 7 ปี ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธอ ปัจจุบันสำนักพิมพ์มติชนได้แปลหนังสือของเธอในชื่อภาษาไทยว่า "ราชันผู้พลัดแผ่นดิน เมื่อพม่าเสียเมือง" สุดาห์ ชาห์ เป็นนักค้นคว้าที่ไม่ย่อท้อและในตลอดเวลา 7 ปี ที่เธอใช้เขียนหนังสือเล่มนี้เธอได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถในการขุดค้นชีวิตของ พระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยาลัต และพระธิดาทั้งสี่ สุดาห์ ชาห์ จะสนทนากับ เอ็มม่า ลาร์กิน ผู้เขียนหนังสือ Finding George Orwell in Burma โดยสุดาห์จะเปิดเผยถึงรายละเอียดอันน่าหลงใหลเกี่ยวกับกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า

          3. นานาปัญหาแม่น้ำเอเชีย

          4. ความพิศวงเบื้องหลังแดรกคูล่า โดย "เคเกอร์ สโตเกอร์"

          Workshop มิวเซียมสยาม ห้อง 2

 
          1. ร่วมสร้างหนังสือภาพ โดย "ซาเวียร์ โคมาส" ผลงานชิ้นล่าสุดของเขาคือหนังสือ The House of the Raja ของเขาได้ถูกนำมาจัดแสดงทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย และได้รับการกล่าวถึงในนิตยสารชั้นนำระดับโลกหลาย ๆ ฉบับ ที่เขาสร้างสรรค์ด้วยการคลุกคลีกับผู้คนและอาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับครอบครัวคนท้องถิ่น ผลลัพธ์คือ ผลงานที่เต็มไปด้วยมนตร์เสน่ห์ชวนให้หวนระลึกถึงเหตุการณ์ และยังสะท้อนถึงความซับซ้อนหลากหลายระดับของปัญหาที่มีอยู่ในภูมิภาค ซาเวียร์จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับช่างภาพหน้าใหม่ที่ต้องการ เรียนรู้ในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพถึงวิธีการเล่าเรื่องผ่านภาพและการคัดเลือกภาพที่ดีที่สุดมานำเสนอ

          2. ย้อนเวลาสร้างสรรค์งานเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดย "แคลร์ คีฟ-ฟอกซ์" หนังสือ Siamese Tears จะเปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลบางกอกแหวกแนว โดยหนังสือเล่าเรื่องราวกลอุบายและภัยอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤตการณ์ปากน้ำในปี พ.ศ. 2436 นอกจากนี้แคลร์ยังจะมีการนำเวิร์กช็อปไปพัฒนาทักษะการเขียนของตัวเองให้มากขึ้นอีกด้วย
 
          3. เสียงจากชุมชน โดย "จักรพันธ์ วิลาสินีกุล" ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 และหลายประเทศในแถบอุษาคเนย์ ได้เคยจัดเวิร์กช็อปแล้วมากมายและกำลังทำงานเกี่ยวกับการใช้ศิลปะเพื่อปฏิรูปชุมชน
 
          Workshop Outdoor มิวเซียมสยาม

          1. สาธิตการปรุงอาหารพม่า โดย "โรเบิร์ต คาร์แม็ค" และ "มอริสัน โพคิงฮอร์น" เป็นที่รู้จักกันดีจากเว็บไซต์และบล็อกของเขาทั้งคู่ในนาม The Globetrotting Gourmet โรเบิร์ตได้เขียนหนังสือตำราทำอาหารมาแล้วถึง 5 เล่ม เขายังเป็นฟู้ดสไตลิสต์ให้กับรายการทีวี และเขียนเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาได้ฝึกฝนศิลปะการทำอาหารชั้นเยี่ยมและได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันอาหารในฝรั่งเศส เขาทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับหนังสือชุด The Good Cook ของ Time-Life Books ส่วนมอริสันนั้นเป็นนักออกแบบผ้า ผู้ออกแบบหนึ่งในหนังสือตำราอาหารที่ขายดีที่สุดอย่างเล่ม The Burma Cookbook ทั้งคู่เพิ่งย้ายไปที่จังหวัดพระตะบองของประเทศกัมพูชา และเปิดบูติกเกสต์ เฮ้าส์ โดยที่นั่นยังเปิดร้านขายของ และร้านอาหาร พร้อมทั้งสาธิตการทำอาหารพม่าให้กับผู้ชมที่สนใจอีกด้วย

          2. นวดแผนโบราณ โดยวัดโพธิ์

          ภาพยนตร์และดนตรี มิวเซียมสยาม

 
          - Y/UUR Music ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องดนตรีไทยโดยนักดนตรี 9 คน ตั้งแต่เพลงพื้นบ้านยันเพลงเกี่ยวข้าว มาป๊อป มิวสิค มาอินดี้โดยนักดนตรี 9 คน

          - หลังจากกิจกรรมกระตุกต่อมสร้างสรรค์ในช่วงกลางวัน ทุกคนจะได้มาพักผ่อนช่วงเย็นด้วยการชมภาพยนตร์และฟังดนตรีจากนักร้องชั้นนำ เช่น DJ MAFT SAI, ปาล์มมี่, The paradise Bangkok หมอลำอินเตอร์
         เทศกาลบางกอกแหวกแนว
          นอกจากนี้เทศกาลยังมีบัตร Chill Pass เพื่อใช้เข้า-ออกพื้นที่สวนของจักรพงษ์วิลล่าให้คุณได้พักผ่อนในบรรยากาศอันแสนสบาย ท่ามกลางแมกไม้และความงดงามของสถาปัตยกรรม รวมทั้งกิจกรรมลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับเข้าชมภายในบ้านจักรพงษ์ อีกทั้งพื้นที่ด้านนอกมิวเซียมสยามจะกลายเป็นพื้นที่ปิกนิกเอาท์ดอร์ ให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมการแสดงและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในพื้นที่เวิร์กช็อปเอาท์ดอร์ นิทรรศการในมิวเซียมสยามนั้นเปิดให้เข้าชมตามปกติ โดยมิวเซียมสยามได้จัดกิจกรรมสนุกสำหรับเด็กไว้ที่ด้านนอก

เทศกาลบางกอกแหวกแนว
          ทั้งนี้สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก เทศกาลบางกอกแหวกแนว Bangkok Edge Festival หรือโทรศัพท์ 0 2622 1900 พร้อมลงทะเบียนสำหรับเสวนาและเวิร์กช็อปได้ที่ registration@bangkokedge.com งานนี้เข้าชมฟรี !!

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
bangkokedge.com, เฟซบุ๊ก เทศกาลบางกอกแหวกแนว Bangkok Edge Festival

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชมฟรี เทศกาลบางกอกแหวกแนว 13-14 ก.พ. เที่ยงวันยันเที่ยงคืน อัปเดตล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17:45:26 5,560 อ่าน
TOP